ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
30 พ.ค.2008, 11:38 am |
  |
อ่าน รายละเอียด บทความจาก
http://www.thawsischool.com/gift/sujit.pdf
อ้างอิงจาก: |
จาก บทความ
"....ฉะนั้นต้องพิจารณาลด ละ เลิก วิถีเถรวาทเป็นสำคัญ เว้นเสียแต่จะเห็นเป็นอย่างอื่นที่ดีกว่า แต่ถ้ายังไม่ยอมรับความจริงก็ต้องตกอยู่ในความด้อยประสิทธิภาพต่อไปจนกว่าจะหาไม่..." |
.................................................
".....ถ้าไม่มีมหายาน ก็เป็นที่น่ากลัวว่าพระพุทธศาสนาจะสูญสิ้นไปโดยเร็ว ผู้นับถือจะลดน้อยไปทุกที และจะกลายเป็นศาสนาเล็กๆ ไม่แพร่หลายกว้างขวาง
ถ้าไม่มีเถรวาท ก็น่ากลัวว่าพระพุทธศาสนาจะถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง ทำให้เตลิดเปิดเปิงไป โดยไม่มีอะไรเหนี่ยวรั้ง ไม่มีผู้รักษาหลักการที่แท้จริงเอาไว้
เป็นอันว่าทั้งสองนิกายทำหน้าที่อย่างดีอยู่คนละทาง
มหายานสร้างความไพศาล เถรวาทสร้างความมั่นคง...."
หลวง วิจิตร วาทการ
มีข้อมูล ในลักษณะมองต่างมุมมาฝากครับ
การมองปัญหา โดยทดลองไปยืนตรงผู้อื่นยืน แล้วมองปัญหาเดิมนั้น มีประโยชน์จริงๆครับ
แต่ การจะสรุปว่า การศึกษาของไทยไม่ติดอันดับโลกเพราะไทยนับถือพุทธนิกายเถรวาทนั้น....อาจจะไม่ ตรงประเด็น เสียทีเดียว
เพราะถ้าจะวัดจัดอันดับการศึกษาทางโลกมาบ่งชี้ย้อนกลับถึงศาสนาของประเทศนั้นๆแล้ว ว่าระดับการศึกษาในประเทศนั้นๆมีการศึกกษาทางโลกที่ดีกว่า แสดงว่า ศาสนาในประเทศนั้นดีกว่า.....เรา-ท่านควรจะนับถือศาสนาตามประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาทางโลกสูงสุดไปเลยครับ. ก็ศาสนาคริสต์นั้นล่ะครับ.
แต่ถ้าบทความนี้ มีเจตนาจะชี้ให้เห็นว่า การไม่ปักความเชื่อไว้กับอาจารย์ หรือ ตำรา แล้ว... ตรงนี้ผมเห็นด้วยเลยครับ. เพราะ กาลามสูตร ก็กล่าวไว้เช่นนั้น. การไม่ปักความเชื่อแบบยึดมั่นถือมั่น(ทิฏฐุปาทาน) และ การมองนอกกรอบในมุมมองใหม่ มีประโยชน์จริงๆ....
เถรวาทเน้นการรักษาหลักการดั้งเดิมของคำสอนพระพุทธเจ้าศากยมุนี ซึ่งทำให้สามารถรักษาพระธรรมวินัยได้ใกล้เคียงครั้งพุทธกาลมากที่สุด.....แต่ก็ทำให้การเผยแผ่ศาสนาไปยังกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมความเชื่อประเพณีที่แตกต่างจากหลักการดั้งเดิมของเถรวาท(คือ สังคมอินเดีย) เป็นไปได้ช้า เมื่อเทียบกับทางมหายาน
มหายานมีจุดเด่นตรงประยุกต์เข้ากับวัฒนธรรมความเชื่อต่างๆได้ง่ายกว่า ทำให้เผยแผ่ได้ง่ายกว่า..... แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีโอกาสจะคลาดเคลื่อนออกจากหลักการดั้งเดิมของคำสอนพระพุทธเจ้าศากยมุนีได้ง่ายกว่าด้วย
แต่ ถ้าจะพ้นทุกข์จริงๆแล้ว....ต้องไม่เป็นอะไรเลยครับ
เถรวาท ก็ไม่เป็น
มหายาน ก็ไม่เป็น
"เป็น" ก็ คือ ภพ
มีแต่เพียงขันธ์๕ ที่ มีแล้ว หาไม่.... เกิดแล้ว ดับไป |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
30 พ.ค.2008, 11:44 am |
  |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
30 พ.ค.2008, 10:02 pm |
  |
เป็นเรื่องแปลกมากๆ ครับ
ที่เวลานักวิชาเกิน หรือ นักการศาสนา ที่โปรมหายานในไทย พูดถึงทิเบต.....จะพูดถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ใช้ชีวิตสมถะ สงบ สันโดษ กับธรรมชาติ และศาสนา ไม่ได้พูดถึง ความเจริญทางการศึกษาทางโลก (ซึ่งมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันกับการเจริญทางวัตถุ) เลย และจะยกย่องทิเบต โดยเฉพาะองค์ดาไลลามะ ว่าเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณเลยทีเดียว......
แต่ เวลาจะพูดกล่าวโทษ เถรวาทในไทย กลับไปยกเอา ความเจริญทางการศึกษาทางโลก(ซึ่งมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันกับการเจริญทางวัตถุ)มากล่าวโทษ แนวคิดเถรวาทของไทย แบบนี้....
ผมไม่เคยเห็นว่าเขาจะกล่าวโทษ แนวคิดมหายานแบบทิเบตว่า ทำให้ทิเบตล้าหลังความเจริญทางการศึกษาทางโลก แบบที่กล่าวโทษแนวคิดเถรวาทของไทยเลย....
ทั้งๆ ที่ การศึกษาทางโลกของทิเบตนั้น น่าจะอยู่ในอันดับท้ายๆของโลกเสียด้วยซ้ำ
ตรงนี้ เป็นจุดที่ผมสัมผัสได้ถึงอคติ ของนักวิชาเกินเหล่านี้ครับ
ส่วน พุทธมหายานใน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม ในขณะนี้ อยู่ในอาการที่อาจจะไปไม่รอด ดังที่ทราบกันอยู่
และ ผู้คนในประเทศเหล่านี้ในปัจจุบัน ต่างพากันหันไปเป็น คนไม่มีศาสนา หรือ นับถือศาสนาอื่น กันมากมายแล้ว. ที่ชัดมาก คือ เกาหลีใต้ ที่ในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่หันไปนับถือศาสนาคริสต์กัน และ เกาหลีใต้เป็นแหล่งส่งออกมิชชันนารีไปยังดินแดนต่างๆในโลก(คงจำบาทหลวงชาวเกาหลีใต้ที่ถูกจับในอาฟกานิสถานได้)
ดังนั้น ถ้าจะมีนักวิชาเกิน(พิมพ์ไม่ผิด)บางท่าน สรุปเอาเองว่า เป็นเพราะแนวคิดเถรวาทในไทย ทำให้ไทยมีมาตรฐานการศึกษาทางโลกที่ต่ำกว่า ประเทศที่นับถือพุทธมหายานเหล่านี้ ....
จึงเป็นการกล่าวที่ ขาดเหตุผล เอาแต่มุ่งกล่าวโทษเถรวาทโดยไม่ยืนอยู่บนพื้นฐานของความจริง
และ ถ้าคนไทยเส้นตื้น ไปหลงเชื่อนักวิชาการเหล่านี้ พากันหันไปฝักใฝ่พุทธมหายานกันจริงๆ.....
นอกจากไทยเรา จะไม่ได้มีมาตรฐานการศึกษาทางโลกที่สูงขึ้นแล้ว ไทยเราอาจจะสูญเสียคำสอนของพระพุทธเจ้าศากยมุนีที่บริสุทิ์ ไปโดยไม่รู้ตัว
แทนที่ ไทยเราจะกลายเป็นพุทธมหายาน อย่างที่นักวิชาการโปรมหายานบางท่านปราถนาจะเห็น
ไทยเรา อาจจะ กลายเป็นดำเนินตามรอยของเกาหลีใต้ คือ คนส่วนใหญ่ของประเทศหันไปนับถือศาสนาอื่น ก็ได้.... |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
31 พ.ค.2008, 5:31 am |
  |
คุณตรงประเด็นครับ อรรถกถาจารย์ของเถรวาท ทุกท่านล้วนเป็นผู้ทรงคุณ อธิบายพระพุทธพจน์ให้พุทธบริษัทเมื่อครั้งพุทธกาล
พระพุทธศาสนาในประเทศไทย ที่มั่นคงได้จนมาถึงทุกวันนี้ ก็เพราะการรักษาคำสอนดั้งเดิมเอาไว้ ไม่เปิดโอกาสให้คำสอนของอาจารย์รุ่นใหม่ที่มีมิจฉาทิฏฐิ แก้ไขพระไตรปิฏก อรรถกถา ของเถรวาทได้ตามใจชอบ แบบนิกายมหายาน
ที่ลานธรรมเสวนา คุณเคยเสนอให้แก้ไขคัมภีร์ของเถรวาทให้ถูกต้องแต่ยกย่องคำสอนของอาจารย์สมัยหลัง
แต่ คำสอนของเกจิอาจารย์สมัยหลังอย่างท่านพุทธทาส ต่างหาก ที่ต้องพิจารณาให้ดี
http://www.buddhadasa.com/index_subj.html
อย่าเชื่อเพียงเพราะว่าเข้ากับทฤษฏีที่คุณหมอเรียนมา
อย่าเชื่อเพราะดูน่าเชื่อถือ
อย่าเชื่อเพราะมีการอ้างว่า กระดูกท่านเป็นพระธาตุ (ที่คุณหมออ้างในลานธรรมบ่อย ยกย่องท่านเป็นพระอรหันต์)
คุณหมอตรงประเด็นครับ ที่ลานธรรมคุณกล่าวย่ำยี พระอภิธรรม อรรถกถา มาอย่างเสียหาย ที่ลานธรรมจักรแห่งนี้ คุณก็ตามมาเผยแพร่ทิฏฐิของคุณอีกหรือครับ ?
-------------------------------------------------------------------------------
เหตุที่พระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ของเถรวาท ไม่น่าเชื่อถือ ในทัศนคติของท่านพุทธทาส จากหนังสือ อภิธรรมคืออะไรและ ปฏิจจสมุปบาท
ทีนี้จะพูดเรื่อยๆ ไปตามที่เห็นว่าสมควรจะพูด ทำไมเราจึงกล้าวิจารณ์ขนาดนี้ ?จะชอบไหม ว่าทำไมเราจึงกล้าวิจารณ์กันอย่างอิสระเช่นนี้? ในข้อนี้จะขอพูดไว้ทีเดียวหมดเลย สำหรับใช้ได้ทุกๆคราวทุกๆเรื่องว่า ทำไมเราจึงกล้าวิจารณ์กันขนาดนี้
ข้อหนึ่ง ก็เพราะว่าพระไตรปิฏกทีแรกจำกันมาด้วยปาก ฟังด้วยหู บอกกันด้วยปากเรื่อยมาเป็นเวลาตั้ง ๔๐๐- ๕๐๐ ปี จึงได้เขียนเป็นตัวหนังสือ มันอาจจะมีผิดเพี้ยนหลงลืมโดยไม่เจตนาในชั่ว ๔๐๐ - ๕๐๐ ปีนี้ ฉะนั้นเราจึงต้องกล้าวิจารณ์
อีกข้อหนึ่งแม้เป็นตัวหนังสือแล้ว มันก็ตั้ง ๒๐๐๐ ปีมาแล้ว ที่เขียนเป็นตัวหนังสือแล้วเมื่อ พศ. ๕๐๐ มาถึงเดี๋ยวนี้มัน ๒๐๐๐ ปีแล้ว ฉะนั้นมันอาจจะมีอะไรสูญหาย หรือเพิ่มเข้ามาชดเชยหรือว่าเพิ่มเติมเข้าไปโดยเจตนาบ้าง ไม่เจตนาบ้าง อย่างนี้มันอาจจะมี แม้แต่คัดลอกผิดมันก็มี ฉะนั้นเราจึงกล้าวิจารณ์
ทีนี้การกล้าวิจารณ์นี้ไม่ใช่เราอวดดี พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้โดยกาลามสูตร อย่าเชื่อแม้แต่เพราะเหตุว่าสมณะองค์นี้เป็นครูของข้าพเจ้า แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง อย่าเชื่อเพราะมันมีในพระไตรปิฏก, อย่าเชื่อเพราะมันน่าเชื่อ,อย่าเชื่อเพราะมันมีเหตุผลทางตรรก ทาง Logic ทางปรัชญา เป็นต้น ให้เชื่อเมื่อมันปรากฏแก่ใจแล้วว่ามันเป็นเช่นนั้นจริง พระพุทธเจ้าทรงเปิดให้อย่างอิสระถึงที่สุดอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงกล้าวิจารณ์ แม้แต่วิจารณ์พระพุทธเจ้าเอง นี่พูดอย่างนี้บาปหรือไม่บาปก็ไปคิดเอาเองเถอะ บางคนคิดว่าพูดจาบจ้วงพระพุทธเจ้า แต่ว่าพระพุทธเจ้าท่านสั่งว่าอย่างนั้น
------------------------------------------------------------------------
อธิบายผิดกันมาตั้งแต่เมื่อไร.
เอาละทีนี้จะพูดต่อไปถึงความรู้ที่มันจะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นว่า ทำไมจึงอธิบายผิด ? และ อธิบายผิดกันมาตั้งแต่เมื่อไร ?
เดี๋ยวนี้ในเมืองไทยก็ดี ในประเทศพม่าก็ดี ในประเทศลังกาก็ดี สอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียวกันแทบทั้งนั้น คือสอนตามข้อความที่มีอธิบายอยู่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เรื่องมี ๓ ชาติ คร่อม ๓ ชาตินี้ พวกฝรั่งชั้นเก่งที่สุดก็ถือเอาตามนี้. อธิบายเอาตามนี้เป็นคุ้งเป็นแควไปเลย. แปลว่าทุก ๆ ประเทศที่เป็นพุทธบริษัทเขากำลังสอนปฏิจจสมุปบาทชนิดที่คร่อม ๓ ชาติ, สายเดียวคร่อม ๓ ชาติ. กันอยู่ทั้งนั้น. นี่เมื่อพูดอะไรแปลกออกไปมันก็จะต้องถูกด่าจากคนทั้งโลกก็ว่าได้. ผมกำลังพยายามที่จะชี้ให้เห็นว่าไม่มีทางที่จะคร่อม ๓ ชาติ. ดังนั้นต้องติดตามว่ามันอธิบายผิดได้อย่างไร ? อธิบายผิดกันมาตั้งแต่เมื่อไร ?
อธิบายกันผิดมาตั้งแต่เมื่อไรอันนี้รู้ได้ยาก. แต่ข้อที่ว่าอธิบายผิดรู้ได้ง่าย เพราะมันผิดจากพระบาลีเดิม และเพราะผิดความมุ่งหมายของปฏิจจสมุปบาท ที่ทรงสอนเพื่อให้ทำลายอัตตา ฉะนั้นจึงถือว่าอธิบายผิด. สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวร. ท่านทรงมีความเห็นว่าเรื่องนี้อธิบายผิดกันมาตั้งพันปีแล้ว. ท่านก็ไม่ทรงศรัทธาในการที่จะอธิบายปฏิจจสมุปบาทคร่อม ๓ ชาติ. แล้วท่านก็อธิบายไปในทำนองว่ามันคร่อมอยู่เพียงชาติเดียว. แต่แล้วก็ไม่แน่พระทัยที่จะอธิบายรายละเอียดก็เลยทิ้งไว้ลุ่น ๆ . แต่ข้อที่ท่านทรงยืนยันความเข้าใจของท่านก็คือ มันคงอธิบายผิดกันมาตั้งพันปีแล้ว. ข้อนี้ผมก็เห็นด้วยพระองค์ท่าน. แต่ผมก็อาจจะเลยไปถึงเกินกว่าพันปี อธิบายกันผิดมา เกินกว่าพันปี เพราะหนังสือวิสุทธิมรรคนี้มีอายุตั้ง ๑,๕๐๐ ปีแล้ว.
ในหนังสือวิสุทธิมรรคนั้นอธิบายปฏิจจสมุปบาทเป็น ๓ ชาติทั้งนั้น คร่อม ๓ ชาติทั้งนั้น แล้วในการแต่งวิสุทธิมรรคนั้น. พระพุทธโฆษาจารย์ก็ยังเขียนไว้ว่า อธิบายตามที่เขามีกันอยู่ก่อนแล้วด้วย ประเดี๋ยวจะเอามาอ่านให้ฟังสำหรับคำพูดของพระพุทธโฆษาจารย์ เรื่องมันมีหลักฐานว่าท่านอธิบายตามที่มีอธิบายกันอยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้นสมัยของท่านมันก็ตั้ง ๑,๕๐๐ ปีแล้ว และถ้าต่อไปจากนั้นอีกมันก็เกือบ ๒,๐๐๐ ปี ผมมีความเห็นว่าอาจจะอธิบายผิดกันมาตั้งแต่หลังสังคายนาครั้งที่ ๓ คือ พ.ศ. ประมาณ ๓๐๐ ก็ได้. ดังนั้นก็แปลว่าผิดกันมาตั้ง ๒,๒๐๐ ปี มันจะต้องอธิบายผิดกันมาตั้ง ๒,๒๐๐ ปีมาแล้ว ไม่ใช่ ๑,๐๐๐ ปีอย่างสมเด็จพระสังฆราชเจ้าท่านว่า ประเดี๋ยวจะชี้ให้ดู.
ถ้าจะพูดว่าเมื่อไรให้แน่นอนนั้น ต้องค้นหาหลักฐานทางโบราณคดี. มันลำบากมากไปอีก. แต่เมื่อเราพูดกันอย่างนี้ที่ไม่มีทางจะผิดได้ มันก็ต้องพิจารณาถึงข้อที่ว่า ทำไมมันจึงเกิดการอธิบายแหวกแนวของพระพุทธเจ้าไปได้ ในเมื่อพระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้เป็นหลัก ๆ อย่างนี้ ไม่มีทางจะคร่อม ๓ ชาติ. ทำไมมันจึงไปคร่อม ๓ ชาติ และให้มีอัตตาขึ้นมาได้.
ข้อนี้ผมตั้งข้อสันนิษฐานว่ามันมีได้โดยที่ไม่รู้. เกิดไม่รู้. เกิดเข้าใจไม่ได้ แล้วก็เดาหรือสันนิษฐานกันโดยไม่เจตนานี้อย่างหนึ่ง เพราะว่าเรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งที่สุดในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ตรัส และใคร ๆ ก็ยอมรับว่ามันเป็นเรื่องลึกซึ้งที่สุด. ทีนี้พอมาถึงสักประมาณ ๓ ๔๐๐ ปี เกิดเข้าใจไม่ได้ ก็เริ่มเกิดความคิดแตกแยก. ทีนี้ต่อมาอีกมันก็แตกแยกหนักเข้า ๆ จนกระทั่งกลายเป็นตรงกันข้ามไป. อย่างนี้เรียกว่าไม่มีใครเจตนาอธิบายให้ผิด มันเป็นเพราะความไม่รู้.
ทีนี้มาเดากันดูอีกทางหนึ่งดีกว่าว่า จะมีทางเป็นไปได้ไหมว่าอาจเกิดมีหนอนบ่อนไส้ขึ้นในพระพุทธศาสนา. มีคนขบถทรยศเป็นหนอนบ่อนไส้เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา แกล้งอธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นหลักของพระพุทธศาสนาให้ผิดเสีย คือให้เป็นสัสสตทิฏฐิในฮินดู หรือกลายเป็นศาสนาพราหมณ์. ปฏิจจสมุปบาทของพระพุทธเจ้าไม่มีทางที่จะมีอัตตา, ชีโว, อาตมันหรืออะไรทำนองนั้น. ไม่มีทางที่จะเป็นอย่างนั้น เพราะว่าเป็นของพุทธ. แล้วถ้ามีใครมาอธิบายปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นหัวใจของพุทธศาสนาให้มันเกิดคร่อม ๓ ชาติอย่างนี้มันก็เกิดเป็นอัตตาขึ้นมา เขาก็กลืนพุทธศาสนาสำเร็จ. ถ้ามีเจตนาเลวร้ายกันถึงขนาดนี้ ก็แปลว่าต้องมีคนแกล้งอธิบายขึ้นมาให้มีช่องให้เกิดอัตตาขึ้นมาในพุทธศาสนา แล้วศาสนาพราหมณ์ก็กลืนศาสนาพุทธวูบเดียวหมดโดยกระทันหัน. นี้เป็นเรื่องสันนิษฐานในแง่เลวร้ายอย่างนี้ก็มีได้
|
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
31 พ.ค.2008, 5:38 am |
  |
ที่ลานธรรมเสวนา คุณหมอตรงประเด็น เคยเปรียบเทียบ นักวิทยาศาสตร์ตะวันตกเคยต่อต้านคำสอนดั้งเดิมในศาสนาของเขา
ดูเหมือนคุณจะเปรียบกับ คัมภีร์เก่าแก่ของเถรวาท ว่าไม่ถูกต้อง ควรทำการแก้ไข |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
31 พ.ค.2008, 7:22 am |
  |
เฉลิมศักดิ์1 พิมพ์ว่า: |
ดูเหมือนคุณจะเปรียบกับ คัมภีร์เก่าแก่ของเถรวาท ว่าไม่ถูกต้อง ควรทำการแก้ไข |
ตามสบายครับ
ผมไม่ปราถนาจะไปทะเลาะกับใครหรอกครับ เสียเวลาเปล่าๆ
ท่าทีในการพิจารณาเชื่อ หรือ ไม่เชื่อ ทุกตัวอักษรในคัมภีร์ระดับรองลงมา(นับจาก พระสูตร-วินัย) นั้น...พระพุทธองค์ท่านแนะไว้แล้วในกาลามสูตร .ซึ่งมีแต่พระพุทธศาสนาเท่านั้น ที่มีแนวทางเช่นนี้.ศาสนาอื่น ถ้าไม่เชื่อในพระคัมภีร์ ถือว่าผิดทันที
เอาเป็นว่า ใครจะเชื่อว่าทุกตัวอักษรในคัมภีร์ระดับรองลงมา(นับจาก พระสูตร-วินัย)ต้องถูกต้องทุกตัวอักษร ก็เป็นสิทธิ์ของท่านนั้น
ส่วนใครจะเลือกพิจารณาใคร่ครวญตามหลักกาลามสูตร ก็เป็นสิทธิ์ของท่านผู้นั้น เช่นกัน
ส่วนเรื่อง การแก้ไขคัมภีร์นั้น ....ไม่จำเป็นต้องทำ.... เพราะพระพุทธองค์ให้แนวทางในการพิจารณาไตร่ตรองในเรื่องการเชื่อคัมภีร์ไว้ในกาลามสูตรอยู่แล้ว ซึ่งรอบครอบรัดกุมที่สุด.การใช้หลักกาลามสูตรในเรื่องนี้ จึงเหมาะสมที่สุด เพราะไม่ไปกระทบกับความเชื่อของบุคคลที่เชื่อทุกตัวอักษรในพระคัมภีร์เข้า
แต่ปัญหากลับตาลปัตร เมื่อผู้ที่เชื่อในทุกตัวอักษรในพระคัมภีร์ระดับรองลงมา(นับจาก พระสูตร-วินัย)....ดูเหมือน จะมาบังคับให้ผู้อื่นต้องเชื่อเหมือนตน |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
01 มิ.ย.2008, 10:15 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
ส่วนใครจะเลือกพิจารณาใคร่ครวญตามหลักกาลามสูตร ก็เป็นสิทธิ์ของท่านผู้นั้น เช่นกัน |
คุณหมอตรงประเด็นครับ กลับไปใช้กาลามสูตร ตรวจสอบการแสดงความเห็นของท่านพุทธทาส จะดีกว่ามั่งครับ
ท่านพุทธทาส ที่คุณเชื่อว่าท่านเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้รู้ ยิ่งกว่า พระอภิธรรมปิฏก พระอภิธัมมัตถสังคหะ วิสุทธิมรรค ฯลฯ
อย่าเชื่อเพียงเพราะว่า มีคนอ้างว่า นี้คือ กระดูกของท่าน ที่กลายเป็นพระธาตุแล้ว ฉะนั้นคำสอนของท่านจึงน่าเชื่อถือมั่ก ๆๆ |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
01 มิ.ย.2008, 1:27 pm |
  |
เฉลิมศักดิ์1 พิมพ์ว่า: |
ท่านพุทธทาส ที่คุณเชื่อว่าท่านเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้รู้ ยิ่งกว่า พระอภิธรรมปิฏก พระอภิธัมมัตถสังคหะ วิสุทธิมรรค ฯลฯ
อย่าเชื่อเพียงเพราะว่า มีคนอ้างว่า นี้คือ กระดูกของท่าน ที่กลายเป็นพระธาตุแล้ว ฉะนั้นคำสอนของท่านจึงน่าเชื่อถือมั่ก ๆๆ |
ผมยังนึกไม่ออกครับ...ว่า ผมไปกล่าวว่า "อัฐิของท่านพุทธทาสเป็น พระธาตุ " ตั้งแต่เมื่อไร
หรือ คุณจะหมายถึงกระทู้นี้
http://larndham.net/index.php?showtopic=30074&st=88
อ้างอิงจาก: |
จะอย่างไร ท่านพุทธทาส ก็เป็นปราชญ์เมธีธรรม ที่ยิ่งใหญ่แห่งสยามประเทศ
ท่านได้รับการยอมรับจากทั่วโลก.....
ทราบมาว่า สถาบันการศึกษาที่มีวิชาพระพุทธศาสนากว่าร้อยแห่งทั่วโลก บรรจุคำสอนของท่านเข้าไว้ในหลักสูตร
ไม่ใช่เฉพาะในวงการพุทธศาสนศึกษาเท่านั้น แม้นแต่ในหมู่นักปฏิบัติ ต่างก็ยอมรับท่านทั้งนั้น .....ลองดู หลวงปู่ บุดดา.... หลวงปู่ ชา .... และ ๆลๆ....
หรือ กรณีที่มีการนำอัฏฐิของท่านพุทธทาสมาจัดไว้ในงานแสดงพระธาตุโดยวางรวมไว้กับพระธาตุของครูบาอาจารย์พระกรรมฐาน ก็บอกอะไรได้ชัดเจนเลยทีเดียว
ว่า
ท่านพุทธทาส .....
เป็นหนึ่งในบรรดา ผู้ที่มัจจุราชตามไม่ทัน หาไม่พบ |
คุณ อ่านดีๆครับ
ผมไม่ได้บอกว่า อัฐิท่านพุทธทาสเป็นพระธาตุน่ะครับ
เพียงแต่บอกว่า มีการนำอัฐิของท่านพุทธทาส มาจัดวางให้ผู้คนได้เข้ากราบไหว้ เช่นเดียวกับ อัฐิของครูบาอาจารย์อื่นๆที่เป็นพระธาตุ.....
อัฐิของพระอรหันต์ ไม่จำเป็นต้องเป็นพระธาตุทุกองค์น่ะครับ โดยเฉพาะพนะอรหันต์ที่มาในแนวทางปัญญาวิมุติครับ
คุณเฉลิมศักดิ์ เอาแต่ใช้อคติต่อท่านพุทธทาสจนเกินเหตุน่ะครับ |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
02 มิ.ย.2008, 5:47 am |
  |
คุณหมอตรงประเด็น ก็อย่าได้มี อคติต่อ พระอภิธรรม พระอภิธัมมัตถสังคหะ วิสุทธิมรรค หรือ คัมภีร์ของเถรวาท ตามอย่างท่านพุทธทาสนะครับ
และคุณหมอตรงประเด็น ก็ไม่ควรเชื่อท่านมากจนเกินไป เพียงเพราะท่านได้รับการยกย่องจากยูเนสโก หรือ แต่งหนังสือจากความเห็นส่วนตัวเป็นจำนวนมาก
รวมทั้งเรื่อง การตีความเรื่อง ชาติ - มรณะ คือ การเกิดดับของอุปาทานขันธ์ ๕ ที่คุณหมอตรงประเด็นเห็นด้วยกับท่านพุทธทาส ( แต่ยังดีที่คุณหมอยังไม่ปฏิเสธว่า ชาติ - มรณะ คือการเกิดดับของขันธ์ ๕ แบบท่านพุทธทาส)
เพราะเชื่อว่าท่านเป็นพระอรหันต์ ที่พระยามัจจุราชตามไม่ทัน
http://larndham.net/index.php?showtopic=30074&st=88
อ้างอิงจาก: |
4.จะอย่างไร ท่านพุทธทาส ก็เป็นปราชญ์เมธีธรรม ที่ยิ่งใหญ่แห่งสยามประเทศ
ท่านได้รับการยอมรับจากทั่วโลก.....
ทราบมาว่า สถาบันการศึกษาที่มีวิชาพระพุทธศาสนากว่าร้อยแห่งทั่วโลก บรรจุคำสอนของท่านเข้าไว้ในหลักสูตร
ไม่ใช่เฉพาะในวงการพุทธศาสนศึกษาเท่านั้น แม้นแต่ในหมู่นักปฏิบัติ ต่างก็ยอมรับท่านทั้งนั้น .....ลองดู หลวงปู่ บุดดา.... หลวงปู่ ชา .... และ ๆลๆ....
หรือ กรณีที่มีการนำอัฏฐิของท่านพุทธทาสมาจัดไว้ในงานแสดงพระธาตุโดยวางรวมไว้กับพระธาตุของครูบาอาจารย์พระกรรมฐาน ก็บอกอะไรได้ชัดเจนเลยทีเดียว
ว่า
ท่านพุทธทาส .....
เป็นหนึ่งในบรรดา ผู้ที่มัจจุราชตามไม่ทัน หาไม่พบ |
-----------------------------------------------------------------
ผมไม่เห็นด้วยที่จะเชิดชู คำสอนของอาจารย์สมัยหลัง ๆ แล้วคิดอคติต่อ นิกายเถรวาท แบบที่ต้องแตกเป็นนิกายมหายาน แล้วต้องล่มสลายไปในที่สุด |
|
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
02 มิ.ย.2008, 7:17 am |
  |
ถามคุณเฉลิมศักดิ์กับคุณตรงประเด็นหน่อยครับว่า ที่เห็นตามลิงค์นั้น เป็นนิกายอะไรครับ
เคยเห็นทางทีวีด้วย ขึ้นเวทีปลุกระดมด้วยภาษาหยาบคาย ที่ถนนราชดำเนินก็มี
ซึ่งทำความสับสนให้แก่ชาวพุทธเป็นอันมาก เป็นพระมหายาน หรือ เถรวาทครับ
ดูรูปครับ
http://www.prachatai.com/webboard/topic.php?id=690548
ส่วนรูปนี้ เห็นออกทีวีหลายๆช่อง คุณเฉลิมศักดิ์เคยดูไหมครับ
ดูครับ คห. 6
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6648169/P6648169.html
(แก้ลิงค์) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 มิ.ย.2008, 9:07 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
03 มิ.ย.2008, 12:33 pm |
  |
คุณสุจิตต์รู้แค่หยิบมือหนึ่ง แล้วก็มาตัดสินว่าทั้งกอง ทั้งยวงนั้น ไม่ดี
อุปมาเมื่อหยิบผลไม้ขึ้นมากินผลหนึ่ง แล้ว "ตัวเองกินแล้วไม่ได้ประโยชน์กับตัว กินแล้วตัวไม่ชอบ"
แล้วก็เลยตัดสินว่า ทั้งต้นนี้คงจะเลวเหมือนกันหมด
ทั้งต้น ทั้งยวง จึงไม่ดี เป็นต้น (เพราะมันไม่ดีกับฉัน.. ซึ่งฉันเป็นมนุษย์..ดังนั้นมนุษย์คนอื่นๆ จึงไม่ควรกิน???)
หยิบ .."วิธี" ในบริบท หนึ่ง / ณ เวลาหนึ่ง / ีใช้กับคนจำนวนหนึ่ง .... ที่ตนเห็นว่าบกพร่องขึ้นมา
แล้วมาตัดสินว่า ."หลักการ" ทั้งหลักนั้นผิด
วิปลาสไปถึงขนาดว่า .. เอาเรื่องการท่องบ่นสาธยายมาเป็นตัวตนทั้งสิ้นทั้งปวงของเถรวาท
พอการท่องบ่นสาธยายไม่ได้ผล สำหรับบางคน บางกลุ่ม
ก็เหมาะซะเลย เถรวาท ไม่ดี
แล้วทุกคนในโลกนี่ ก็ล้วนต้องใช้การท่องบ่นสาธยายในการศึกษาทั้งนั้น
ก็ไม่เข้าใจว่า ใครอุตริคิดว่านี่คือเถรวาท ตัวเถรวาท วิธีเถรวาท
คิดประหลาด ... ไม่มีตรรกะ
คุณสุจิตต์คิดเหมือนคนพวกนี้ .... ที่พูดว่า ... ส้มคือผลไม้ ดังนั้นผลไม้คือส้ม
ฟังเผินๆ ดูปกติดี
แต่ความจริงต้องพูดว่า ... ส้มเป็นผลไม้.... แต่ผลไม้ไม่ใช่แค่ส้ม
ท่องจำตามๆกันมา เป็นวิธีหนึ่งของเถรวาท
แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของเถรวาท
ถ้าไม่มีการท่องจำ บ่นๆ สาธยายกันอย่างที่ทำนี้
ป่านนี้คงไม่มีพระพุทธศาสนามั่นคงในประเทศนี้
เพราะสงคราม ปลวก มอด คนต่างศาสนา ... ล้วนแต่ทำลายคัมภีร์ที่เป็นจารึก
ไม่ว่าจะจารึกไว้แน่แค่ไหน
และการท่องบ่นสาธยายพร้อมๆของคณะสงฆ์ทุกๆเช้านี่แหละ
คือวิธีที่ทำให้คุณสุจิตต์และผมได้รับผลานิสงฆ์
จนได้ชูคอคอจองหองแบบที่ทั้งคุณและผมที่ทำอยู่นี้
........................................
ส่วนตัวผม การศึกษาแบบพุทธนี่แหละ คือการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
ทำอย่างไรล่ะ การศึกษาแบบพุทธ?
เถรวาท สอนผมเรื่องอิทธิบาท 4
พูดให้ถูกคือ พระพุทธเจ้าสอนเรื่องอิทธิบาท 4
จะอาจารย์คนไหน พระคนไหน ก็เอามาจากพระพุทธเจ้าทั้งนั้น
ก็ไม่รู้ว่า เด่วนี้ทำไมถึงติดอาจารย์กันนักกันหนา
ก็ในเมื่อความเป็นธรรมมะนั้น มันเป็นโดยตัวธรรมของมัน จริงโดยตัวของมัน
ผู้เป็นอาจารย์ ไม่ได้เป็นผู้กำหนดความจริงเท็จ หรือความเที่ยงแท้ของธรรม
ผู้เป็นอาจารย์จะตายเป็นปุ๋ย หรือตายแล้วเป็นเพชร
ธรรมทั้งหลายก้เป็นอกาลิโกของมันอยู่อย่างนั้น ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมันไปได้
ถ้าจะคิดว่ากระดูกใครแน่กกว่ากัน ลองกระดูกพระพุทธเจ้าดีมั๊ย
แม้แต่กองกระดูกพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันความ เท็จ หรือ จริง ของธรรมมะ
ถูกผิดอย่างไร พุทธธรรมสามารถตรวจคำตอบได้อยู่แล้วจากธรรมหมู่ใหญ่
ของที่เป็นของจริง ของแท้ จะไม่มีแตกแยกออกจากหมู่
สอบกันไปมา สวนกันไปมาได้ จะไม่มีแย้งกัน
ไร้กาลเวลา เป็นจริงเสมอ เป็นจริงทุกสถานที่
อุปมาเหมือนพระทำวัตรเช้าพร้อมๆกัน
พระรูปใด สวดเกิน หรือขาด มันก็จะฟ้องออกมาทันที
ว่าเป็นของแปลก เป็นของเกิน ที่กระเด็นออกมาจากธรรมหมู่ใหญ่
ของที่กระเด็นออกมานั่นแหละ บางคน บางท่าน ซึ่งมีความยึดมั่นถือมั่นมาก
นำมาคิดติดยึด ว่าตัวถูกเหลือเกิน และคิดว่าต้องทำให้สงฆ์หมู่ใหญ่นั้น เชื่อตามตน
ผมอ่านมาก็มาก ดูมากก็มาก พอสมควร
จนถึงบัดนี้ ผมยังไม่เห็นมีหนังสือที่ว่าด้วยการไปสู่ความสำเร็จ
หรือปรัชญาที่ว่าด้วยการนำไปสู่ความสำเร็จ
ไม่มีที่ไหนเลย ... ไม่มีเลยครับ ... ที่แน่นอน เที่ยงแท้ ของจริง เกินกว่า .... อิทธิบาท 4
ผมตรวจสอบง่ายๆ
ลองเอาบรรดาหนังสือ หรือความคิดเหล่านั้น
สอบว่า เป็นจริงในอดีตหรือไม่ ปัจจุบันเป้นจริงไหม อนาคตเป็นจริงไหม
จะพบว่าความคิดเหล่านั้น ... "ผลที่ได้ขึ้นอยู่กับ.. xxx..."
ถ้ามันคือสัจจะธรรม... ต้องไม่มีแต่ ... ต้องจริงเสมอกับทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา
หรือถ้าจะตรวจสอบให้ลึกซึ้ง
ก้ลองทำความรู้จักอิทธิบาท 4 ให้ดี
จากนั้นนำไปลองศึกษาบรรดาผู้ชื่อว่าเป็นปราชญ์ ผู้คนที่ประสบความเร็จ
จะพบว่าทุกคน ...มีคุณสมบุติ 4 อย่างของอิทธิบาท 4 อยู่อย่างครบถ้วน ... ไม่เว้นแม้แต่คนเดียว ...
และวิธีในการประสบความสำเร้จของเขา .. ก็เป้นไปอย่างอิทธิบาท 4 โดยลำดับ เรียงข้อ เลยทั้งสิ้น
นี่คือหัวใจของความสำเร็จที่แท้
เป็ฯจริงทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
เป็นจริงสำหรับทุกคน ทุกนิกาย ทุกจารย์ ทั้งที่เป็นปุ๋ยแล้ว หรือกำลังเสี้ยนอยากจะมีปุ๋ยเป็นผลึกธาตุ
ถ้าคุณสุจิตตจะพอมีบุญ หรือมีต้นทุน หรือโชคดีอยู่บ้าง ไม่หูหนา ตาฟางเพราะอะไรเกินไป
ก็คง่พอจะได้ทำความรู้จักคำว่า อิทธิบาท 4
คุณสุจิต จะพบว่า การสู่ความสำเร็จใดๆนั้น ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับศาสนา
ไม่เกี่ยวกับนิกาย ไม่เกี่ยวกับครูบาอาจารย์ที่ไหน
ไม่เกี่ยวกับใครทั้งสิ้น
เป็นเรื่องของคนคนเดียว ด้วยตน ของตน ที่ทำอิทธิบาท 4 ให้บริสุทธิ์
ถ้าคนคนนั้นหาสิ่งที่รักของตนได้พบ ไม่เกี่ยงว่าทำแล้วจะรวยหรือจน ทำแล้วจะดังหรือไม่
ขอให้มั่นใจว่าพบ สิ่งที่รักของตน (ฉันทะ)
ลงมือทำสิ่งนั้น (วิริยะ)
ถ้ามันเป็นของที่เรารักจริง ของที่ใช่ ข้อ 3 จะเกิดเองคือ
ใจมันจะมุ่งมั่นเอง ไม่ลดละ ไม่อ่อนกำลังลงเลย (จิตตะ)
และเมื่อ 3 ข้อแรกสอดประสานกัน มันจะเกิดข้อ 4 เอง คือ
ยิ่งทำไปฏ้จะยิ่งพัฒนาขึ้น ขวนขวายหาความรู้ที่ถูกที่ดี ขยันพัฒนาตนเอง (วิมังสา)
พูดง่ายๆว่า ยากไม่กลัว .. วิ่งใส่เลยทีเดียว
และเมื่อวงล้อของอิทธิบาท 4 ได้หมุนไปหลายๆรอบมากขึ้น
ตนก้จะเจริญขึ้นๆ จนบางคน เข้าขั้นอัจฉริยะ
คนที่ประสบความสำเร็จตามหลักอิทธิบาท 4 นี้ จะเป็นคนมีความสุข
มีความภาคภูมิใจ มีความเก่งกาจรู้มาก ในสิ่งที่ตนรักนั้นๆ
ผลสำเร็จมันจะตามมาเองอย่างมากมาย
แต่ถ้าขาดปัญญา คิดว่าจะเรียนนู่น นี่ นั่น เพื่อจะได้มีเงินเดือนเยอะ
แล้วเอาอิทธิบาท 4 ไปใช้ ...
มันก้คือการทรยศความคิดตัวเอง ทรยศฉันทะของตน
โดยทำใจรักสิ่งที่ตนกำลังจะทำ ..
เอาขันติมาดันทุรังทำในวิริยะ ...
ถ้าโชคดี... อนาคตคนนี้ ไม่มีอะไรเด่น .. พอไปได้เรื่อยๆ ...
ถ้าโชคร้าย ... เลิกกลางทาง... ก็จบ
เพราะทำอิทธิบาท 4 ไม่บริสุทธิ์ ... ใช้กิเลส ความอยากรวย.. นำพาไป
เหมือนที่โฆษณาอยู่ในทีวีตอนนี้ ว่าถ้าเรียนอย่างนี้ๆๆๆ ที่หลวงกำลังต้องการ .. หลวงจะให้กู้
... เอากิเลสนำ ...
ถ้าเด็กคนนั้นมีฉันทะตรงกับสาขาที่ให้กู้ก็ดีไป โชคดี ...
..........................
คุณสุจิตตคงจะต้องเป็นหนอนใบไม้ วกๆ วนๆ อยู่ในกิ่งก้านสาขาของไม้ต้นใหญ่ต่อไป
ได้แต่หวังเล็กๆว่าจะมีโอกาสมองทุกอย่างปรุโปร่ง
จะได้เลิกป่าวร้องว่า ... ก้านไม้บนกิ่งไม้ที่ตัวเกาะอยู่นั้นคือต้นไม้
ขออนุญาต.. แร๊งงงง.....
ข่มไม่ค่อยไหว .. มือใหม่หัดข่ม |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
04 มิ.ย.2008, 4:11 pm |
  |
ธรรมะสวัสดีค่ะ
คุณตรงประเด็น คุณเฉลิมศักดิ์ 1 คุณกรัชกาย และคุณคามินธรรม
ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดเห็นบ้าง....ดังนี้นะคะ
โดยส่วนตัวแล้วเป็นคนหนึ่งที่ได้ติดตามอ่านข้อคิด บทความ
ของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ในนิตยสาร และสิ่งพิมพ์อยู่บ่อย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ศิลปวัฒนธรรม
แต่จากบทความที่ลิงค์มาให้พิจารณานี้
กุหลาบสีชาว่าน่าจะนับเป็นโอกาสที่ดีที่เราๆ ท่านๆ จะได้มีโอกาสเห็น
สาระธรรมที่สะท้อนอยู่ในนี้ไม่มากก็น้อย...นะคะ
เพราะอะไร?
ลองพิจารณาในประเด็นต่อไปนี้
๑. คุณลักษณะของบทความ
บทความ (Article) นั้นแท้จริงแล้ว คืองานเขียนร้อยแก้วที่ให้ทั้งสาระความบันเทิง
ซึ่งมีทั้งข้อมูลที่เป็นสาระ ความรู้ ข้อเท็จจริง (Fact) ผสมผสานกับความคิดเห็นส่วนตัว
หรืออคติ (Opinion/Bias) เข้าไปปะปนชี้นำผู้อ่านอยู่มาก
ซึ่งต่างกับสารคดี (Feature) ที่มักมีการนำเสนอข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงล้วน
และปราศจากความคิดเห็น
ดังนั้น เราจึงไม่สามารถนำบทความลักษณะนี้มาใช้อ้างอิงใดใดในทางวิชาการได้
เพราะขาดหลักฐานที่กล่าวอ้างอิงจากความเชื่อ ความคิดเห็นที่ปรากฏในนั้น
(ยกเว้น บทความทางวิชาการที่จำเป็นต้องมีหลักฐานอ้างอิง
ซึ่งมักปรากฏอยู่ในรูปของเชิงอรรถ หรือบรรณานุกรม)
ฉะนั้น จึงฟังได้..อ่านได้
แต่ไม่ควรยึดถือเป็นสาระสำคัญในการนำไปสรุปตัดสินประเด็น
ที่ได้รับการกล่าวถึง จากผู้เขียนในลักษณะนี้
๒. ความรู้อันจำกัด และอคติของมนุษย์
เคยมีท่านผู้รู้ทางธรรมท่านหนึ่ง สอนกุหลาบสีชาว่า
ความรู้ทางโลก เรียนเท่าไหร่ก็ไม่มีวันจบ
เกิดมากี่ภพกี่ชาติ ก็หาใช่ว่าจะเรียนจบครบทุกศาสตร์ที่มีในโลกนี้
แตกต่างจาก
ความรู้ทางธรรม หรือ ปัญญาทางธรรม
ถ้าได้เรียนรู้ ปฏิบัติ จนแจ่มแจ้งแล้ว.....จบเลย
ดังนั้นผู้ที่มีชื่อเสียง และเชี่ยวชาญในทางศาสตร์หนึ่ง
ก็หาใช่ว่าจะจำเป็นต้องรู้ลึกซึ้ง รู้ถูกต้องในอีกศาสตร์หนึ่ง
เข้าทำนองเหมือนการศึกษาในระบบปัจจุบัน
ที่ผู้คนอีกไม่น้อยมักเข้าใจว่า
ผู้เรียนจบปริญญาเอกต้องมีความรู้เหนือใคร
แท้จริงแล้วเขาผู้นั้น มีเพียงความรู้ลึกจำกัดเฉพาะเรื่อง
หรือเฉพาะสาขาที่ตนศึกษามาเท่านั้น
หาใช่เป็นพหูสูตร หรือปราชญ์ผู้รอบรู้ทุกเรื่องไม่
(แถมใบปริญญาก็ไม่สามารถรับรองคุณธรรม มโนธรรม
ภูมิธรรมของบุคคลผู้นั้นได้ เรื่องนี้มีประจักษ์ให้เห็นอยู่แล้วในปัจจุบัน)
ดังนั้น เมื่อมีความรู้อันจำกัด ไม่ได้รู้รอบ
และไม่ได้เรียนรู้ศึกษา ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้งมากพอ
หากใช้อคติของตนที่มีต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่งของเรื่องนั้นมาด่วนสรุป
เปรียบเทียบแบบตีขลุม หรือ วิพากษ์ สิ่งนั้นโดยภาพรวม
ก็จะเป็นเช่นที่เราๆ ท่านๆ ให้เห็นในบทความนี้น่ะค่ะ
นอกจากนี้ สำหรับการประเด็นของ
การเปรียบเทียบพุทธศาสนาในนิกายเถรวาท กับพุทธศาสนามหายานนั้น
เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และเสี่ยงต่อการนำอคติของนิกายที่ตนเลือกนับถือมาตัดสิน
เพราะมักลงเอยด้วยความขัดแย้ง กล่าวหา ติเตียน ดูถูกดูแคลนกันเสมอ
เนื่องจากคำสอนของลัทธิ หรือนิกายใดก็มักถูกปลูกฝังให้เชื่อศรัทธาตามนั้น
จึงมัก เป็นเรื่อง ทุกที
หากมีการนำมาเปรียบเทียบเพื่อหักล้างว่า
ใครดีกว่าใคร...ใครสมบูรณ์กว่าใคร
ดังนั้น หากเราต้องการเปรียบเทียบจึงควรศึกษาเปรียบเทียบบนพื้นฐานของความถูกต้อง
โดยต้องเข้าใจก่อนว่า
๑. จุดมุ่งหมายของการเปรียบเทียบเป็นไปเพื่ออะไร
๒. ใช้บรรทัดฐาน หรือประเด็นใดในการเปรียบเทียบ
อาจารย์วศิน อินทสระ ท่านเคยกล่าวไว้ว่า
พุทธศาสนานิกายเถรวาทว่า เป็นเสมือนลำต้น
ที่ยังคงตั้งเด่นเป็นแก่นสง่า...รักษาความคงทนของต้นไม้ไว้
ในขณะที่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนั้น
เปรียบเสมือนใบไม้ ผลไม้ที่ให้ร่มเงาแผ่ไป
มีดอกมีผลมีประโยชน์มากมายแก่สรรพสัตว์
เหนือสิ่งอื่นใด
พุทธศาสนาทั้ง ๒ นิกาย เปรียบเสมือนนกหนึ่งตัว
ที่มี ๒ ปีก ซึ่งช่วยพยุงกันให้ถึงจุดหมาย.....ในที่สุด
ในโอกาสต่อไป จะได้นำบทความที่ปราศจากอคติส่วนตัว
ซึ่งได้กล่าวถึงการเปรียบเทียบของนิกายทั้งสองของพระพุทธศาสนา
มาเปรียบเทียบไว้ในเชิงวิชาการอย่างน่าสนใจ...มานำเสนอเร็วๆ นี้ค่ะ |
|
|
|
    |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
04 มิ.ย.2008, 5:21 pm |
  |
ขอบคุณคับพี่กุหลาบสีชา
- ผมเห็นด้วยกับคุณกุลาบสีชานะคับ
ในประเด็นการเปรียบเทียบที่นำไปสู่ความขัดแย้ง แล้วไม่ได้อะไรขึ้นมา
ว่านิกายใครดีกว่า อาจารย์ใครดีกว่า
เหมือนนับดาวบนฟ้าจริงๆ
- ผมเห็นด้วยว่า Article กับ Feature ต่างกัน
คงคล้ายๆกับ การรายงานข่าว (Solid News) กับ คอลัมภ์วิจารณ์ (Columns)
อันหนึ่งเน้นความถูกต้องของข้อมํล
อันหนึ่งเป็นแค่ opinion ของคนเขียนที่ปรุงแต่งไปตามความเชื่อของตน
แต่ไม่ว่าจะเป็น Feature หรือ Article
- หากเขียนผิดธรรมชาติ ไม่เป็นสัจจะธรรม มันก็ผิด
เขียนเป็นสารานุกรมมันก็ผิด เขียนเป้นคัมภีร์มันก็ผิด เพราะมันไม่เป็นสัจจะธรรม
- หากมันเป้นสัจจะธรรม ไม่ว่าจะเขียนยังไง มันก็ถูกอยู่วันยันค่ำ
ถ้ามันเป็นสัจจะธรรม เขียนใส่หินก็ยังถูก
เรากำลังสนใจความถูกผิดของความคิดในระบบที่เรียกว่า ตรรกะ./ ตรรกวิทยา
ซึ่งไม่ใช่ความเชื่อ แต่เป็นความแน่นอน ตายตัว
ตายตัวขนาดที่ว่า แทนในสมการของวิชาคณิตศาสตร์ได้เลยทีเดียว ที่เรียกกันว่า ตรรกะ ในคณิตศาสตร์ ม. ปลาย และ เป็นวิชาพื้นฐานของคณะวิทยาศาสตร์ทุกคณะ
นอกจากนั้น ในสาขาของปรัชญา ยังมีวิชาที่เรียกว่า ตรรกวิทยา ด้วย
ผมได้โจมตีคุณสุจิตต์ ว่าแค่วิธีตรรกะความคิดของคุณสุจิตต์ก็ผิดแล้ว
ที่เอา วิธีการต่างๆ มานิยามคำว่า วิธีของเถรวาท
ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเอาคำว่าเถรวาทมาใช้
ก็ในเมื่อการท่องจำมันเป้นของที่เขาทำกันทุกที่ ทั่วโลก
ทำไมสรุปว่าเป้นวิธีเถรวาท
คุณสุจิตต์ก็ต้องพึงสังวรณ์ไว้ว่า เป็นชนวนแห่งความขัดแย้ง
ในการที่คนยกนิกายต่างๆ มาเปรียบเทียบ ด้วยการใช้คำว่าวิธีเถรวาท
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคุณสุจิตต์เป็นพวกที่ชอบเปรียบเทียบเรื่องไม่เป็นเรื่อง
ด้วยการเปรียบเทียบว่านิกายเถรวาท ใช้วิธีที่ไม่ดี ไม่เหมาะในการศึกษาของประเทศนี้
และในช่วงท้าย ผมยังได้เสนอแนวคิดที่มองข้าม shot คุณสุจิตต์ไปอีก
ด้วยการเสนอแนวคิดของพระพุทธเจ้า
ที่ไม่ได้มองแค่ว่า
..... ท่องมากดี คิดมากไม่ดี (วิธีเถรวาท)
.....หรือท่องมากไม่ดี คิดมากดี (วิธีของคุณสุจิตต์)
เถียงกันแต่ "วิธีการ"
แต่พระองค์สอนว่า หากอยากประสบความสำเร็จ ให้ใช้อิทธิบาท 4.
ต้องทำในสิ่งที่รัก
ลงมือทำในสิ่งที่รัก
มีใจจดจ่อแน่วแน่ไม่ท้อถอยในสิ่งที่รัก
พัฒนาตนเสมอๆ
ผมว่าอิทธิบาท 4 มันเหมือนดาวนำทาง เวลาเราจะเดินทางไปไหน
เราอาจจะต้อง นั่งรถยนต์ มอเตอร์ไซด์ ลงเรือ ขี่จักรยาน ขี้ม้า ลงเหว สารพัดวิธีที่จะไปให้ถึงที่เราเลือกใช้ได้
แต่เราไม่หลงทาง เพราะเรามีหลักคิดของเรา มีดาวนำทาง
อาจจะตกหลุม ตกเหว โดนลากไปข้างทางบ้าง
แต่ยังไงเมื่อแหงนหน้า ตั้งหลัก เราก้ยังมองเห็นดาว เห็นหลักคิดอิทธิบาท 4 ของเรา
แต่ตำแหน่งความคิดของคุณสุจิตต์มันอยู่แค่ว่า
นั่งรถยนต์ ดีกว่ามอเตอร์ไซด์ .... วนอยู่แค่นั้น
ท่องจำไม่ดี ... ควรให้เด็กคิดเอง ... วนอยู่แค่นั้น
คุณสุจิตต์เป็นนักเขียนน่าจะรู้ดีว่า ...
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของนักเขียนคือการอ่าน
จะเอาอะไรเขียน ถ้าเราไม่อ่าน
เอาข้อมูลจากไหนมาเขียน
สุ จิ ปุ ลิ
ต้องใช้ให้สอดคล้องกันไปตามธรรมชาติ
ตรงไหนต้องคิดมาก ก็ต้องคิดมาก
ถึงเวลาต้องเขียนมาก ก็เขียนมาก
คุณสุจิตตจะมาบอกว่า ชาติไทย ต้องเน้นให้เด็กคิด มากกว่า เน้นให้เด็กจำ จึงจะดีแบบนี้
แถมยังอุตสาห์พ่วงคำว่าเถรวาทเข้ามาอีก
เป็นการแสดงให้เห็นว่าคุณสุจิตต์ ควรจะสำรวจความสมดุลย์ของ สุ จิ ปุ ลิ ตัวเอง
อ่านน้อยไปมั๊ย ฟังน้อยไปไม๊ ... เขียนมากไปมั๊ย พูดมากไปมั๊ย
ใช้เวลา output มากจน input ไม่มีคุณภาพหรือเปล่า |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
human
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 01 พ.ย. 2006
ตอบ: 41
|
ตอบเมื่อ:
04 มิ.ย.2008, 8:59 pm |
  |
พระไตรปิฏก คัมภีร์ต่างๆ ผมว่าเชื่อถือได้นะ ถ้าคุณแปลบาลีออก ที่ให้ยึดตามพระไตรปิฎก หมายถึง พระไตรปิฎกที่เป็นภาษาบาลีนะครับ ไม่ยึดที่แปลเป็นภาษาไทย เพราะว่าต่างคณาจารย์ก็แปลออกมาไม่ตรงกันทั้งหมด เอาเป็นภาษาบาลี ดีที่สุด อยู่ที่ว่าเราแปลออกหรือเปล่า แล้วแปลตรงความหมายหรือเปล่านะครับ อย่าลืมนะครับว่า พระไตรปิฎกนั้น เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า 84000 พระธรรมขันธ์ ธรรมในพระไตรปิฎก เป็นเพียงแค่หยิบมือเดียวที่พระองค์ทรงเห็นว่ามีประโยชน์ต่อมนุษย์ จังนำมาสอนพวกเรา แต่ธรรมที่พระองค์รู้นั้น มีมากกว่าหยิบมือนะครับ
ป.ล. ภิกษุจะดีหรือไม่ดี ไม่ได้อยู่ที่ว่า สังกัดนิกายไหน อยู่ที่ว่า ที่บวชเข้ามานั่นนะ บวชแต่กายหรือว่าบวชใจกันแน่ อยู่ที่ว่า บวชแล้วประพฤติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือเปล่า เท่านั้นครับ |
|
|
|
  |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
04 มิ.ย.2008, 10:57 pm |
  |
ยินดีค่ะคุณคามินธรรม
ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นกันนะคะ
หากพิจารณาเนื้อหาที่อยู่ในบทความดังกล่าวนี้ให้เป็น ธรรม
เราอาจพบหลายประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. เพราะผู้เขียนต้องการสร้าง impact เติมสีสันความแรงให้คอลัมน์
เลยจงใจเลือกใช้คำมาอธิบายตีขลุมแทนความหมายที่ตนต้องการจะสื่อ
โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบใดใด
๒. ยังไม่เข้าใจ
และเข้าไม่ถึงในหัวใจนักปราชญ์ "สุ จิ ปุ ลิ" อย่างแท้จริง
เพราะถึงแม้การจะเป็นนักเขียนที่ดีได้
แม้ว่าจะต้องมีการอ่านมากเพื่อสะสมเป็นคลังข้อมูล
แต่หากว่า ไม่สามารถคัดสรร กลั่นกรอง สังเคราะห์ และวิเคราะห์
ก่อนเรียบเรียงลงมือเขียนได้
งานเขียนชิ้นนั้นก็ขาดความน่าเชื่อถือของข้อมูลมารองรับ
ประเด็นนี้ยังไม่รวมถึงวิธีการเลือกใช้คำ ลีลา และสำนวน
ซึ่งถือเป็นกลวิธีในการเขียนอีกต่างหาก
อาจเข้าทำนอง มี input มาก จนสังเคราะห์แยกแยะไม่ถูก
(หรืออาจใช้ "จิ" เตลิดไปมากสักหน่อย)
แต่ที่มากไปกว่านั้น
คือละเลยที่จะไต่ถามตรวจสอบ (ปุ)
ละเลยที่จะฟังจาก "ผู้รู้ " จริง (สุ)
และคิดไตร่ตรองก่อนเขียน....
(ซึ่ง "ผู้รู้" ก็ไม่ได้มีความหมายจำกัดเฉพาะเป็นเพียงบุคคล
แต่กินความรวมถึงหลักฐาน ตำราที่มีความน่าเชื่อถือทางพระพุทธศาสนา
ในกรณีนี้อาจกินความหมายถึง พระไตรปิฎก หรืออรรถกถาที่มีการเขียนขึ้นในภายหลัง)
....ดังนั้น
๒. นี่จัดเป็นปรากฏการณ์ที่ น่าเป็นห่วง
ของ อวิชชา (ignorance / lack of knowledge)
ที่ซ่อนตัวอยู่เบื้องหลังตัวอักษรหรือไม่
และเมื่อมีความหลง ความไม่รู้ครอบงำ
ประกอบกับมีอคติเป็นทุนเดิมอยู่
ตรรกะใดใด (ที่คุณคามินธรรมว่า) จึงไร้ความหมาย
๓. หรือมีการบัญญัตินิยาม (Definition) ของคำว่า เถรวาท ใหม่ (ที่เรายังไม่รู้)
ให้กลายเป็นศัพท์เฉพาะทางในหมู่นักเขียน นักหนังสือพิมพ์
เอ....หรือเห็นทีงานนี้
อาจต้องมีจดหมายเปิดผนึกของท่านผู้ทรงคุณวุฒิ
ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ไปสอบถาม และทักท้วง ท่านนักเขียนใหญ่ผู้อหังการ์เสียแล้ว
ดีมั้ยคะคุณคามินธรรม  |
|
|
|
    |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
05 มิ.ย.2008, 5:41 am |
  |
สาธุครับคุณกุหลาบสีชา
--------------------------------------------------------------
ผมคัดลอก ประวัติความเป็นมาของพระอภิธรรมที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง ไปเผยแพร่ที่ลานธรรมด้วยนะครับ
อ้างอิงจาก: |
ประวัติความเป็นมาของพระอภิธรรม ในธรรมะเพื่อชีวิต ฉบับวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๑, จัดทำโดย มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา วัดบูรณศิริมาตยาราม, หน้า ๑-๑๖
คัดลอกจากเวป ลานธรรมจักร โดยคุณกุหลาบสีชา |
http://larndham.net/index.php?showtopic=31495&st=0#top |
|
|
|
  |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
05 มิ.ย.2008, 9:27 pm |
  |
ยินดีอย่างยิ่งค่ะคุณเฉลิมศักดิ์ 1  |
|
|
|
    |
 |
tajmahal
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2008
ตอบ: 9
ที่อยู่ (จังหวัด): bkk
|
ตอบเมื่อ:
08 มิ.ย.2008, 12:15 am |
  |
มองแต่แง่เลวเถิด......เขามีส่วนดีบ้างช่างหัวเขา
เวลาอ่านพระไตรปิฏก มีคำอธิบายชัดเจนจนแทบไม่ต้องตีความ
คุณมัทนา ณ หิมวัน ได้เขียนกลอนเป็นทำนองดูถูกครูบาอาจารย์รุ่นเก่าว่าพวกปากคาบคำภีร์แต่ไม่เข้าใจเนื้อหา นึกถึงนิทานลูกหมาน้อยไม่รังเกียจแม่ขี้เรื้อน เราได้รับอานิสงฆ์จากครูอาจารย์รุ่นเก่ารักษาไว้ให้ เป็นพันปี แล้วรุ่นเราทำได้นิดๆหน่อยๆ จะมานึกรังเกียจท่านนะเหรอ ...อายหมาน้อยบ้างเถิด |
|
_________________ จิตใจไม่สงบยุทธภพย่อมปั่นป่วน |
|
        |
 |
มัทนา ณ หิมะวัน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 27 ก.ย. 2007
ตอบ: 34
|
ตอบเมื่อ:
08 มิ.ย.2008, 11:44 am |
  |
นั่งเหงามานาน
อยู่ดีดีก็มีอันต้องร้อนอาสน์
เพราะมีคนพูดพาดพิงถึงข้าพเจ้านั่นเอง
นี่ล่ะหนา...มนุษย์หนอ
โปรดอ่านดีดีใหม่
อ่านให้เข้าใจดีดีนะท่าน
อย่าฟังไม่ได้ศัพท์แล้วจับมากระเดียดเลยพ่อคู้ณ
ช่างทำเรื่องที่ไม่ควรเป็น "ประเด็น" ให้มันเป็น "ประเด็น"กันเสียจริง
ที่ข้าพเจ้ายกกลอนที่คัดลอกมานั้น
ก็มีจุดประสงค์ที่ชัดเจน
ที่ต้องการให้กำลังใจทีมงานธรรมจักรเขา
ในสถานการณ์หนึ่งที่ผ่านมา
เพราะพวกเขาต้องเจอบรรดามารมาผจญก็เท่านั้นเองน่ะท่าน
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14220
"มองแต่แง่ดีเถิด เขาจะมีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา"
มิใช่หรือท่าน?
(ข้าพเจ้าคิดว่าท่านพุทธทาสเอง ท่านคงงงเหมิอนกัน
ที่มีคนนำสารของท่านมาแปลงกลับไปอย่างข้างต้นนี้)  |
|
|
|
  |
 |
คนสองศอ
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 26 ก.ย. 2007
ตอบ: 19
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
08 มิ.ย.2008, 12:31 pm |
  |
เท่าที่อ่านจากบทกลอนของคุณ มัทนา ก็ไม่เห็นว่าครูบาอาจารย์ท่านไหนๆ ท่าน tajmahal
คิดมากไปปล่าวเนี้ย ตาลกน่า ไปกล่าวให้โทษเขา ระวังบาปจะกินกะบาลเอานะ อ่านไรก็อย่าไปตีความให้มันลึกนัก ชีวิตก็มีเพียงเท่านี้ จะเอาอะไรมากกว่าที่เป็นอยู่ละแม่คุณเอ่ย กรำ  |
|
_________________ คนเรา...อิ่มเดียว หลับเดียวก็เพียงพอแล้ว |
|
  |
 |
|