Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 มิตรแท้ของเจ้าชาย (ธรรมสภา) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
amai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ย.2004, 7:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

มิตรแท้ของเจ้าชาย

นิทานธรรม ฉบับพิเศษ
จัดพิมพ์โดย ธรรมสภา



ครั้งนั้นในเมืองพารณสี แคว้นกาสี มีพระราชาชื่อพระเจ้าพรหมทัต พระองค์มีพระโอรสที่เกิดจากพระอัครมเหสีและพระสนมอื่นๆ รวม 100 พระองค์ ในชาตินี้พระพุทธเจ้าของเราเกิดเป็นอำมาตย์ผู้ฉลาด ได้รับแต่งตั้งให้ดูแลถวายความรู้ด้านศิลปวิทยาแก่เจ้าชายสังวรกุมาร พระราชโอรสพระองค์เล็กของพระราชา

พระราชาทรงดูแลพระโอรสทุกพระองค์เป็นอย่างดี เมื่อพระโอรสพระองค์ใดเจริญวัยพอที่จะศึกษาศิลปวิทยาได้ ก็ทรงมอบพระโอรสพระองค์นั้นให้อำมาตย์ที่ทรงไว้วางพระทัยดูแลและสอนศิลปวิทยา ครั้นจบการศึกษาแล้วก็ทรงส่งไปให้ครองเมืองต่างๆ ที่อยู่ในการปกครองของพระองค์ ผลปรากฏว่าพระโอรส 99 พระองค์ทรงได้ครองเมืองทั่วถ้วนทุกพระองค์

ฝ่ายเจ้าชายสังวรกุมารก็อยู่ในฐานะเช่นเดียวกัน ดังนั้นหลังจากทรงจบการศึกษาแล้ว จึงตรัสปรึกษากับอำมาตย์ผู้เป็นพระอาจารย์ “หากพระบิดาส่งฉันไปครองเมือง เหมือนเสด็จพี่ทุกพระองค์ ฉันควรจะทำอย่างไรดี ควรไปหรือไม่ควรไป”

“ข้าแต่พระกุมาร” อำมาตย์กราบทูล “พระองค์ไม่ควรไป”

“ทำไมล่ะ”

“พระองค์ใฝ่ฝันอยากจะครองราชบัลลังก์มิใช่หรือ”

“ใช่”

“ถ้าอย่างนั้น หม่อมฉันขอกราบทูลว่าไม่ควรไป”

“เหตุผลล่ะ”

“เหตุผลล่ะ ? เจ้าชายรับสั่งถาม

“ตอนนี้พระองค์อย่าเพิ่งตรัสถามถึงเหตุผลเลย จำไว้แต่ว่าเมื่อพระราชบิดาตรัสถามถึงพระประสงค์ ก็ขอให้กราบทูลอย่างที่หม่อมฉันสอนเถิด” จากนั้นอำมาตย์ก็สอนคำที่ควรและคำที่ไม่ควรแก่เจ้าชาย เพื่อใช้กราบทูลแด่พระราชา

วันหนึ่ง พระราชาทรงทราบว่าพระโอรสพระองค์เล็กทรงศึกษาศิลปวิทยาจบแล้ว ทรงรับสั่งให้เข้าเฝ้า แล้วรับสั่งว่า “พี่ๆ ของลูกเมื่อศึกษาจบแล้วก็ได้ไปครองเมือง ลูกเองก็จะได้เช่นนั้นด้วย ชอบใจเมืองไหน บอกพ่อมา”

“ข้าแต่พระบิดา หม่อมฉันเป็นลูกคนเล็ก ขึ้นชื่อว่าลูกแล้ว คือผู้ที่รับใช้ใกล้ชิดอยู่เบื้องบาทของบิดา เมื่อหม่อมฉันจากไปเสียไกล แทบเบื้องพระบาทของพระบิดาก็จักว่างเปล่าไม่มีผู้อยู่รับใช้ใกล้ชิด ขอให้หม่อมฉันได้อยู่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระบาทเถิด”

พระราชาทรงพอพระทัยคำกราบทูลของเจ้าชายมาก จึงทรงอนุญาตให้ตามที่ทูลขอ เจ้าชายสังวรกุมารก็อยู่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระบาทมานับแต่นั้น จนเป็นที่ไว้วางพระทัยของพระบิดา

“ท่านอาจารย์ จะให้ฉันทำอะไรต่อไปอีก” เจ้าชายทรงปรึกษากับพระอาจารย์ในวันหนึ่ง หลังจากแน่พระทัยว่าคำแนะนำขึ้นต้นของพระอาจารย์ผ่านพ้นไปด้วยดี

“ข้าแต่พระกุมาร พระบิดาทรงมีอุทยานเก่าหลายแห่ง แต่ละแห่งมีไม้ดอกไม้ผลขึ้นอยู่มากมาย หากพระองค์ได้มาสักแห่งหนึ่ง ก็จะทำการสงเคราะห์ข้าราชบริพารที่รับราชการสนองพระเดชพระคุณพระราชบิดามา พระองค์อย่าตรัสถามถึงเหตุผลเลย ขอให้พระองค์สงเคราะห์ข้าราชบริพารอย่างเต็มพระทัยก็แล้วกัน” อำมาตย์ทูลชี้แจ้ง

เจ้าชายทรงทำตามที่อำมาตย์แนะนำอย่างเต็มพระทัย ทรงขยายการสงเคราะห์ออกไปถึงชาวเมือง ทาส กรรมกร กำลังพล รวมทั้งสัตว์พาหนะ อาทิ ช้าง ม้า และสัตว์ต่างๆ ที่ควรสงเคราะห์
อำมาตย์ผู้เป็นอาจารย์กราบทูลแนะนำให้กระทำการสงเคราะห์พวกทูตกับพวกพ่อค้า ในเรื่องที่พักที่หลับที่นอน อาหารการกินอย่าให้บกพร่อง ส่วนพวกพ่อค้าเรื่องภาษีอากร หากลดหรือยกให้บ้างบางส่วนก็ควรทำ ตอนนี้ขอพระองค์อย่าเพิ่งตรัสถามถึงเหตุผลเลย

เจ้าชายสังวรกุมารทรงทำตามที่พระอาจารย์แนะนำ ผลปรากฏในเวลาต่อมาว่าไม่มีใครที่ไม่รู้จักพระองค์และไม่มีใครที่จะไม่รักพระองค์


(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
amai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ย.2004, 7:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อมาพระราชาประชวรหนัก และรู้พระองค์ว่าจะมีพระชนม์อยู่ได้ไม่นาน จึงรับสั่งให้ประชุมอำมาตย์ และตรัสสั่งเสีย “ลูกเราทุกคนมีสิทธิได้เศวตฉัตรเหมือนกัน แต่คนที่ครองใจคนทั้งหลายได้ย่อมมีสิทธิ์มากกว่า ขอให้พวกเจ้ายกเศวตฉัตรให้ลูกเราคนนั้นเถิด”

ครั้นตรัสสั่งเสียได้ไม่นาน พระราชาก็สวรรคต อำมาตย์ทั้งหลายก็ปรึกษาหารือกันโดยยึดพระดำรัสตรัสสั่งของพระราชาเป็นหลัก ทุกคนมีความเห็นสอดคล้องกันว่าเจ้าชายที่ครองใจคนทั้งหลายไว้ได้ คือ เจ้าชายสังวรกุมาร จึงถวายเศวตฉัตรทูลเชิญเจ้าชายขึ้นครองราชย์เฉลิมพระนามว่า “พระเจ้าสังวรมหาราช” ทันที

หลังจากได้ครองราชย์แล้ว พระเจ้าสังวรมหาราชก็ทรงหวนนึกถึงเหตุผลที่พระอาจารย์ทูลแนะนำให้ทำสังคมสงเคราะห์ได้ชัดเจน

ฝ่ายเจ้าชาย 99 พระองค์เมื่อทรงทราบข่าวพระบิดาสวรรคต และทรงทราบว่าพระอนุชาพระองค์เล็กได้ครองราชสมบัติต่างก็ไม่พอพระทัย จึงพร้อมกันยกทัพมาล้อมเมืองพาราณสีไว้แล้วส่งสาส์นไปถวายพระเจ้าสังวรมหาราชว่าให้เลือกเอาระหว่างสงครามกับความสงบ หากไม่ต้องการให้เกิดสงครามก็ขอให้ยกราชสมบัติให้เจ้าพี่พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง แต่ถ้าต้องการสงครามก็ครองราชสมบัติต่อไป

“จะทำอย่างไรดีท่านอาจารย์” พระเจ้าสังวรมหาราชตรัสถามพระอาจารย์ด้วยพระสุรเสียงแสดงความวิตกกังวล

“ขอให้สบายพระทัยเถิด พระเจ้าข้า” พระอาจารย์กราบทูล “ฝ่าบาทไม่จำเป็นต้องรบกับเจ้าพี่ทั้งหลายหรอก แต่ขอให้ทรงปฏิบัติตามที่หม่อมฉันแนะนำ คือ แบ่งพระราชทรัพย์ของพระบิดาที่มีอยู่ในพระคลังออกเป็นร้อยส่วน แล้วส่งไปถวายเจ้าพี่พระองค์ละหนึ่งส่วน พร้อมทั้งทูลว่าไม่ขอรบด้วย”

พระเจ้าสังวรมหาราชทรงทำตามคำแนะนำ เจ้าชายอุโบสถกุมารพระเจ้าพี่พระองค์โตครั้นได้พระราชทรัพย์เป็นส่วนแบ่งแล้วก็พอพระทัย จึงทรงเกลี้ยกล่อมพระอนุชาทั้ง 98 พระองค์ให้เลิกคิดชิงราชสมบัติโดยตรัสว่า

“น้องทั้งหลาย พวกเราคงไม่สามารถจะเอาชนะพระราชาได้หรอก พระองค์เป็นน้องคนเล็กแต่ไม่เป็นศัตรูกับพวกเราผู้เป็นพี่ซึ่งกำลังจะแย่งราชสมบัติ มิหนำซ้ำยังส่งพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระบิดามาให้พวกเรา ตำแหน่งกษัตริย์มีอยู่ตำแหน่งเดียว พวกเราทั้งหมดจะเป็นกษัตริย์มีอยู่ตำแหน่งเดียว พวกเราทั้งหมดจะเป็นกษัตริย์พร้อมกันทีเดียวย่อมไม่ได้ บัดนี้ น้องชายคนเล็กของเราก็ได้เป็นกษัตริย์แล้ว จึงขอให้เราทุกคนยอมรับและกลับไปครองเมืองตามที่พระบิดามอบให้ตามเดิมเถิด”

เจ้าชายทุกพระองค์พอได้ฟังเจ้าพี่พระองค์โตตรัสดังนั้น ก็พระทัยอ่อนยอมปฏิบัติตาม และก่อนเสด็จกลับเมืองของตนก็ได้พากันเข้าเฝ้าพระเจ้าสังวรมหาราช พระอนุชา ถึงพระตำหนัก และเมื่อถวายบังคมแล้วก็ประทับนั่งบนราชอาสน์ที่ต่ำกว่า ส่วนพระเจ้าสังวรมหาราชก็ประทับนั่งบนพระแท่นสีหาสน์ภายใต้เศวตฉัตร ตรัสสนทนากับเจ้าพี่

เจ้าชายทั้งหมดประทับอยู่กับพระเจ้าสังวรมหาราชนานถึง 1 เดือน และก่อนลากลับทุกพระองค์ก็ถวายคำมั่นสัญญาว่า “ขอเดชะมหาราช ขอพระองค์จงทรงพระเกษมสำราญในราชสมบัติเถิด หม่อมฉันทุกคนจะเป็นต่างพระเนตรพระกรรณคอยดูแลเมืองในปกครองให้เรียบร้อย ขอทรงอย่าวิตกกังวลเลย”

พระเจ้าสังวรมหาราชทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรรม ตามคำแนะนะของพระอาจารย์ผู้เป็นบัณฑิต ส่งผลให้แว่นแคว้นพระองค์สงบสุขตลอดรัชกาล

นิทานธรรมเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า มิตรแท้นั้นคือ มิตรที่หวังประโยชน์เพื่อมิตรอย่างแท้จริง ครูอาจารย์ที่ดีนับว่าเป็นมิตรแท้



................... เอวัง ...................
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 19 ธ.ค.2004, 3:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ขอขอบพระคุณ..... คุณสอาด พักษร
artp009@yahoo.com
สมาชิกลำดับที่ : 27 เป็นพิเศษ

สำหรับการเป็นผู้พิมพ์เนื้อหาทั้งหมดของหนังสือ "นิทานธรรม ฉบับพิเศษ"
จัดพิมพ์ โดย ธรรมสภา จำนวน 2 เล่ม..... ลงในเว็บธรรมจักร นะค่ะ

ขอให้การเสียสละตนเองเพื่อส่วนรวมและพระพุทธศาสนา นำมาซึ่งความ
เจริญรุ่งเรืองร่มเย็นในพระธรรมของพระพุทธองค์นะค่ะ คุณสอาด
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
Son
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 ต.ค.2005, 3:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



6018.gif


นิทานเรื่องนี้ดีมาก
 
ชินาภรณ์ ดมโชคมงคล
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2006, 6:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ให้ความรู้ดีมาก ขอให้คนอ่านกันเยอะๆๆๆๆๆๆ นะคะ เเละขอปรบมือให้ ปรบมือให้
 
suvitjak
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen

ตอบตอบเมื่อ: 06 มิ.ย.2008, 1:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พุทโธ บ้านเมืองเราต้องการคนแบบนี้มากเลย
 

_________________
ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง