Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อยากทราบว่าทำไมบาตรที่ถูกต้องตามพระวินัยถึงต้องมี8ตะเข็บครับ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ปุณณโก
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 22 พ.ค. 2008
ตอบ: 3

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ค.2008, 4:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมเป็นนักศึกษาปริญญาโทสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ครับ พอดีได้มีโอกาสไปศึกษาเกี่ยวกับชุมชนบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ที่เป็นชุมชนสุดท้ายที่ยังคงสืบทอดกิจการการทำบาตรด้วยมืออยู่ และได้ทราบจากคนในชุมชนว่าบาตรที่ถูกต้องตามพระวินัยนั้นคือบาตรที่ทำจากเหล็กและมี8ตะเข็บตามกรรมวิธีการทำบาตรที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ จึงมีคำถามขึ้นมาว่าทำไมบาตรที่ถูกต้องตามระบุในพระวินัยถึงต้องมี8ตะเข็บ มีนัยสำคัญอะไรจึงมีการระบุชี้ชัดลงไปในพระวินัย และที่มาของจำนวนตะเข็บที่กำหนดว่าต้องเป็น8ตะเข็บนั้นเนื่องด้วยเหตุใด
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Story Note
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2007
ตอบ: 97

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ค.2008, 5:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ

น่าจะเป็นอุบายธรรมแฝงอยู่ พอเห็นโพสต์ 8 ตะเข็บ ซึ่งเราก็ไม่เคยได้ยินมาก่อน
แต่ทำให้เรานึกถึง อริยมรรค 8 ..หนทางสู่ความประเสริฐ ทางสู่ความไม่มีทุกข์
หนทางไปไกลจากกิเลส

เทียน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
นนท์
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 21 ก.พ. 2008
ตอบ: 17
ที่อยู่ (จังหวัด): นครปฐม

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ค.2008, 6:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

8 ตะเข็บอะไรกัน ที่ว่า 8ตะเข็บนั้นเขานับขอบเป็น8 ความจริงมี7เสี่ยง7ส่วน เนื่องจากสมัยก่อนมีการใช้ศรึษะคนตายเอามาทำเป็นบาตร เคยได้ยินว่าศรีษะแตก 7 เสี่ยงไหม นั่นแหละคือที่มา แม้จะเป็นจากบาตรหัวกระโลก บาตรดิน และบาตรเหล็กตามวิวัฒนาการแล้ว แต่ก็ยังคงความเป็น7เสี่ยงเอาไว้อยู่
 

_________________
อยู่อย่างเข้าใจในทุกสิ่ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ค.2008, 8:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คงไม่มีความหมายอะไร ดอกขอรับ คงเป็นความสะดวก ในการประกอบชิ้นงานมากกว่า
เพราะบาตรที่แท้จริงนั้น เป็นดินขอรับ ไม่ใช่เหล็ก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ปุณณโก
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 22 พ.ค. 2008
ตอบ: 3

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ค.2008, 9:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หากจะหาพระวินัยที่กำหนดในเรื่องเกี่ยวกับบาตรนี้ พร้อมทั้งที่มาของการบัญญัติพระวินัยนั้นไม่ทราบว่าจะหาได้จากที่ไหนครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
jojam
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 27 พ.ค. 2004
ตอบ: 62

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 4:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพราะบาตรที่แท้จริงนั้น เป็นดินขอรับ ดินขอรับ ไม่ใช่เหล็ก
(Buddha ไม่ได้ทรงเป็น พระพุทธเจ้า อย่าบัญญัติเอง ซิ ขอรับ)

ปัตตปฏิสังยุตตกถา
น ภิกฺขเว ทารุมโย, น โสวณฺณยโย, น รูปิย ฯ เป ฯ น มณิ ฯ เป ฯ น เวฬุริย ฯ เป น ผลิก ฯ เปฯ น กํงส ฯ เป ฯ น กาจ ฯ เป ฯ น ติ ปุ น ติปุ ฯ เป ฯ น สีส ฯ เปฯ น ตมุพโลหมโย ปตฺโต ธาเรตพฺโพ.
อนุ ฯ เปฯ เทฺว ปตฺเต อโยปตฺตํง มตฺติกาปตฺตํ

บาตรที่ทรงอนุญาติ 2 บาตรดิน1 บาตรโลหะ1

ในสมัยก่อน หากเป็น ผ้าชิ้นใหญ่ จะห่มก็ต้อง แบ่งขันธ์ แล้วนำมาตัดเย็บ
เพื่อไม่ให้ผู้อื่นมีความต้องการ ไม่ให้ถูกลักไป (อ้างอิงตาม การตัดเย็บจีวร)
** บาตร ที่ควรจึง เพียง มี 2 ชนิด

ภาชนะที่ทำมาจากวัสดุที่มีค่า สื่อฟ้าผ่า และสวยงาม จึงไม่ควรนำมาใช้ หากพอเลือกได้

ปกติจะพิจารณาขนาดบาตรอที่ควรอยู่ที่ 10-11นิ้ว หากใหญ่เกิน 11 นิ้ว ต้องอาบัติ
(บาตรที่ใหญ่ประโยชน์ก็เพื่อจะได้เก็บ จีวร และ สังฆาฏิ เก็บไว้ในบาตรเพื่อให้ผ้าหลบฝน)
** หากใช้บาตร 7 นิ้ว เวลารับบาตรเป็น ข้าวร้อน หรือน้ำเต้าหู ความร้อน แผ่ทั่วบาตรไม่มีจุดเลี่ยง

ภาชนะเครื่องใช้ที่ ทำด้วยโลหะ1 ทำด้วยดิน1 ทำด้วยทองแดง1
เรียกว่า "ถาลก" เป็นอนุโลมบาตร

บาตรสมัยก่อน ไม่มีวิธีกลึง จึงต้อง ใช้กรรมวิธี 8 ตะเข็บ เพื่อให้บาตร ไม่เบี้ยว ได้รูป
ถนอมรักษา บาตรตาม ด้วยการบ่ม หรือ รมดำ เพื่อ "กันสนิม"
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ปุณณโก
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 22 พ.ค. 2008
ตอบ: 3

ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ค.2008, 12:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รบกวนขอความคิดเห็นหน่อยนะครับ
1 ท่านคิดว่าบาตรที่ทำด้วยมือที่มี8ตะเข็บนั้น มีคุณค่าแตกต่างจากบาตรปั๊มหรือไม่อย่างไรในทางพุทธศาสนา
2 ท่านคิดเห็นอย่างไรกับโครงการอนุรักษ์บาตรที่ทำด้วยมือ มีความจำเป็นหรือไม่ และหากจำเป็นเพราะคุณค่าอะไรจึงควรคู่แก่การอนุรักษ์
3 ท่านคิดเห็นอย่างไรกับกรณีบาตรปั๊มที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันส่งผลให้อาชีพทำบาตรด้วยมือลดน้อยลงไปในปัจจุบัน
4 ท่านคิดเห็นอย่างไรต่อการอนุรักษ์อาชีพทำบาตรด้วยมือด้วยการส่งเสริมให้มีการผลิตบาตรเพื่อเป็นสินค้าที่ระลึก เป็นOTOP
รบกวนเท่านี้ก่อนครับ ขอบคุณครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
jojam
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 27 พ.ค. 2004
ตอบ: 62

ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ค.2008, 3:37 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

+ท่านคิดว่าบาตรที่ทำด้วยมือที่มี8ตะเข็บนั้น มีคุณค่าแตกต่างจากบาตรปั๊มหรือไม่อย่างไรในทางพุทธศาสนา
- สำหรับพระสงฆ์ใช้เพื่อรองรับใส่สิ่งของ (เห็นว่าใช้ได้เหมือนกันภาชนะเหมาะสมทั้งคู่)
สำหรับธรรมวินัยศาสดาบัญญัติ ไม่มีอาบัติ ข้อนี้ ว่าต้องใช้บาตรเหล็ก 8 ตะเข็บ
** ศีลอาจาริยะ ผู้ดูแลหมู่สงฆ์ที่จะตั้งย่อยๆ (ให้เป็นอาบัติทุกกฏ ก็ได้ เพื่อให้ ไม่ติดพอใจในบาตร:เพื่อความมักน้อย)

+ท่านคิดเห็นอย่างไรกับโครงการอนุรักษ์บาตรที่ทำด้วยมือ มีความจำเป็นหรือไม่ และหากจำเป็นเพราะคุณค่าอะไรจึงควรคู่แก่การอนุรักษ์
-ทางสายกลาง ให้พิจารณาอย่างไร เป็นส่วนฆราวาส(ไม่เกี่ยวกับสงฆ์) หากทำด้วยความประณีต ความศรัทธา มันดีไหม ไม่ได้ห้าม เลือกตามได้ตามใจ

+ท่านคิดเห็นอย่างไรกับกรณีบาตรปั๊มที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันส่งผลให้อาชีพทำบาตรด้วยมือลดน้อยลงไปในปัจจุบัน
-บาตรเป็นภาชนะ ควรเน้นที่การใช้งาน กลุ่มคนที่ถวายเครื่องใช้สงฆ์ ก็มีหลายระดับ หากใช้บาตรเหล็ก ดูแลยาก ก็ต้อง ระมัดระวัง ต้องมีสติ ต้องดูแล ทนุถนอม อย่างมาก มีเสียพัง ก็พิจารณากันไปก็ใช่ว่าไม่ควร (บาตร ปั่ม แสตนเลดน์ ลุ่ยๆ ปีนลงเขา ขึ้น ก็สะดวก ไม่มีจุดเปราะ แข็งแรง ใช่ว่าไม่ควร)
**คิดว่าพระธุดงค์ มากขึ้น บาตรปั่ม เหมาะสมกว่า หากบาตรเหล็ก คุณภาพต่ำ เหล็กบาง ทำไม่ปราณีต รั่วง่าย ทำมาชุ่ยๆ คงลำบากผู้ใช้

+ท่านคิดเห็นอย่างไรต่อการอนุรักษ์อาชีพทำบาตรด้วยมือด้วยการส่งเสริมให้มีการผลิตบาตรเพื่อเป็นสินค้าที่ระลึก เป็นOTOP
-อนุรักษ์ ก็ อนุรักษ์ จะพัฒนาฝีมือ วัตถุดิบก็ทำไป otop อะไร มีแต่เพิ่มต้นทุน หา เอาประโยชน์อะไรตรงนี้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง