ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 พ.ค.2008, 3:27 pm |
  |
ผู้ละเมิดกติกาของสังคม เป็นต้นว่า ไม่ยืนเคารพธงชาติ ฯลฯ
เป็นกรณีตัวอย่างเจตนาแห่งกรรมนิยาม กับ สังคมนิยมน์ (สังคมบัญญัติ)
ที่ท่านอธิบายไว้แล้วนั้นได้
http://board.palungjit.com//showthread.php?t=127779 |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 พ.ค.2008, 5:47 pm |
  |
2. สิ่งที่บัญญัตินั้น กระทบถึงกุศลและอกุศลในกระบวนการของกรรมนิยามด้วย
ในกรณีเช่นนี้ สังคมอาจบัญญัติความดีความชั่วด้วยความรู้ความเข้าใจว่าอะไรเป็นกุศล
อะไรเป็นอกุศล คือ รู้ว่าอะไรเกื้อกูล อะไรเป็นโทษแก่ชีวิตจิตใจของมนุษย์
หรืออาจบัญญัติด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจเลยก็ได้
แต่ไม่ว่าสังคมจะบัญญัติว่าอย่างไรก็ตาม ความเป็นไปตามกรรมนิยามก็ย่อมเป็นไปของมัน
ตามปกติ หาได้เปลี่ยนไปตามบัญญัติของสังคมไม่ ยกตัวอย่าง สมมุติว่า
ในสังคมหนึ่ง คนถือกันว่าการเสพสิ่งเสพติดมึนเมาเป็นการกระทำที่ดีงาม ทำให้คน
มีความสุข ควรสนับสนุน
ถือว่า การมีอารมณ์รุนแรงเป็นสิ่งที่ดี ถือว่าควรปลุกเร้าคนให้ตื่นเต้นเคร่งเครียด
อยากได้อยากเอา วิ่งหาแข่งขันอยู่เสมอจะได้ทำงานสร้างสรรค์ได้มาก
ถือว่าฆ่าคนพวกอื่นเป็นความดี หรือประณีตขึ้นมาอีกว่า ฆ่าสัตว์ดิรัจฉานไม่บาป เป็นต้น
กรณีเช่นนี้ ถือได้ว่าความดีความชั่วในสังคมนิยมน์ ขัดกับกุศลและอกุศลในกรรมนิยาม
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 พ.ค.2008, 5:51 pm |
  |
ถ้ามองในแง่สังคม บัญญัติหรือข้อยึดถือเหล่านี้ อาจก่อให้เกิดผลดีบ้าง ผลร้ายบ้าง
แก่สังคม เช่น การถือว่าเสพสิ่งเสพติดมึนเมาเป็นการดี อาจทำให้คนจำนวนมากในสังคมนั้น
เป็นคนเฉื่อยชาเกียจคร้าน
สังคมนั้นมีอาชญากรรมเช่นลักขโมยมาก มีคนเจ็บป่วยไม่สมประกอบเนื่องจากเหตุนี้ เป็นต้น
หรือ การมีชีวิตที่เคร่งเครียด คนแข่งหาแข่งแข่งเอาตลอดเวลา อาจทำให้สังคมนั้นเจริญ
ก้าวหน้าอย่างมากและรวดเร็ว แต่ต่อมาอาจปรากฏว่า สังคมนั้นมีคนเป็นโรคจิต โรคหัวใจ
กันมาก มีการฆ่าตัวตายมาก มีปัญหาทางจิตและปัญหาทางสังคมอื่นๆมากผิดปกติ หรือ
ในสังคมที่ถือว่า ฆ่าคนพวกอื่นได้เป็นการดี คนของสังคมนั้น มีลักษณะที่ปรากฏแก่คน
พวกอื่นว่าเป็นมนุษย์ที่โหดร้าย ควรหวาดระแวง ไม่น่าไว้วางใจ เป็นต้น
ผลต่างๆที่ปรากฏในระดับสังคมเช่นนี้ หลายอย่างอาจสืบเนื่องมาจากกรรมนิยามด้วย
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 พ.ค.2008, 5:57 pm |
  |
แต่กระนั้นในเบื่องแรก ผลที่เป็นไปในด้านสังคม ก็พึงพิจารณาในแง่สังคม
ผลในด้านกรรมนิยาม ก็พึงพิจารณาในแง่กรรมนิยาม แยกต่างหากจากกันก่อน เสร็จจากนั้น
แล้วจึงค่อยโยงเข้ามาหากันในภายหลัง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
ว่าถึงผลในด้านกรรมนิยาม เจตนาในเรื่องนี้ซ้อนกันอยู่เป็นสองชั้น คือ เจตนาที่ประกอบด้วย
ความยึดถือตามบัญญัตินั้น ที่แสดงออกเป็นความเชื่อถือและค่านิยมเป็นต้น และเจตนาในการ
กระทำตามหรือไม่ยอมกระทำตามบัญญัติในเฉพาะคราวนั้นๆ
แต่ไม่ว่าในกรณีใด การได้รับผลตามกรรมนิยามย่อมเริ่มดำเนินในทันทีเริ่มแต่ตั้งเจตนา เช่น
คนที่จะเสพสิ่งเสพติดมึนมา พอจะเสพเจตนาก็ประกอบด้วยความกระหยิ่มอย่างมัวซัว
เมื่อเสพเป็นนิตย์ ก็สั่งสมสภาพจิตอย่างนั้นเป็นนิสัย
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 พ.ค.2008, 6:01 pm |
  |
คนที่เคร่งเครียดแข่งหาแข่งเอาจะทำงานแต่ละครั้ง เจตนาก็ประกอบด้วยความเครียดเร่งร้อน
และสั่งสมสภาพจิตเช่นนั้นไว้
คนที่ตั้งหน้าฆ่าผู้อื่น แม้จะได้รับความยกย่องและรางวัลในสังคมของพวกตน
แต่ในการกระทำคือ การฆ่าแต่ละครั้งก็ตั้งเจตนาที่ประกอบด้วยความขึ้งเครียดเหี้ยมเกรียม
หรือกระเหี้ยนกระหือรือ
หากปล่อยใจไปเรื่อยๆ ก็จะมีการสั่งสมสภาพจิตเช่นนั้นจนอาจกลายเป็นบุคลิกภาพทั้งหมด
ของเขา คุณภาพของจิตจะเป็นไปในทางที่หยาบมากขึ้น แต่เสื่อมเสียความประณีต
ความนุ่มนวลละมุนละไม และความละเอียดลึกซึ้งเป็นต้น
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
15 พ.ค.2008, 5:30 pm |
  |
ในการวินิจฉัยว่าอะไรเป็นความดี อะไรเป็นความชั่วนี้ เมื่อพูดทางปฏิบัติ เพื่อให้คนทั่วไปใช้
ประโยชน์ได้ทุกระดับ พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ถือข้อพิจารณาเกี่ยวกับกุศลและอกุศลเป็นหลัก
แกนกลาง
จากนั้นทรงผ่อนขยายออกไป ให้ใช้สำนึกเกี่ยวกับความดีความชั่วของตนเอง อย่างที่เรียกว่า
มโนธรรม และให้ถือมติของผู้รู้เป็นหลักประกอบหรืออ้างอิง (สองอย่างนี้เป็นฐานของหิริ
โอตตัปปะ) นอกจากนั้นให้พิจารณาที่ผลของการกระทำอันจะเกิดแก่ตนเองและแก่ผู้อื่น
หรือแก่บุคคลและสังคม
การที่ตรัสเช่นนี้ คงจะเป็นด้วยว่า คนบางคนยังมีปัญญาไม่กว้างขวางลึกซึ้งพอ อาจมองเห็น
ภาวะที่เป็นกุศลและอกุศลไม่ชัดเจน จึงให้ถือเอามติของท่านผู้รู้เป็นหลักประกอบด้วย
และถ้ายังไม่ชัดพอก็มองดูง่ายๆ จากผลการกระทำ แม้แต่ที่เป็นไปตามบัญญัติของสังคม
สำหรับคนทั่วไปการพิจารณาด้วยหลักทั้งสามนี้ ถือได้ว่าเป็นวิธีการตรวจสอบหลายๆชั้น
เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปอย่างรอบคอบ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
15 พ.ค.2008, 5:31 pm |
  |
โดยสรุป เกณฑ์วินิจฉัยกรรมดีและกรรมชั่วมีว่า ในแง่ของกรรม ให้ถือเอาเจตนาเป็นหลัก
ตัดสินว่าเป็นกรรมหรือไม่ และในแง่ที่ว่ากรรมนั้นดีหรือชั่ว ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
ก. เกณฑ์หลัก
1. ตัดสินด้วยความเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล โดย
-พิจารณามูลเหตุว่า เป็นเจตนาที่เกิดจากกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ หรือเกิดจาก
อกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ โมหะ
-พิจารณาตามสภาวะว่า เป็นสภาพเกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจหรือไม่ ทำให้จิตสบาย ไร้โรค
ปลอดโปร่ง ผ่องใส สมบูรณ์ หรือไม่ ส่งเสริมหรือบั่นรอนคุณภาพและสมรรถภาพของจิต
ช่วยให้กุศลธรรม (สภาพที่เกื้อกูล) ทั้งหลายเจริญงอกงามขึ้น
อกุศลธรรมทั้งหลายลดน้อยลง หรือทำให้กุศลธรรมทั้งหลายลดน้อยลง อกุศลธรรมทั้งหลาย
เจริญงอกงามขึ้น ตลอดจนมีผลต่อบุคลิกภาพอย่างไร |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 16 พ.ค.2008, 11:06 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
15 พ.ค.2008, 5:32 pm |
  |
ข. เกณฑ์ร่วม
2. ใช้มโนธรรม คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของตนเองพิจารณาว่า การที่กระทำนั้นตนเอง
ติเตียนตนเองได้หรือไม่ เสียความเคารพตนเองหรือไม่
3. พิจารณาความยอมรับของวิญญู หรือนักปราชญ์หรือบันฑิตชน ว่าเป็นสิ่งที่วิญญูยอมรับ
หรือไม่ ชื่นชมสรรเสริญ หรือตำหนิติเตียน
4. พิจารณาลักษณะ และผลของการกระทำ
-ต่อตนเอง
-ต่อผู้อื่น
ก) เป็นการเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น ทำตนเองหรือผู้อื่นให้เดือดร้อนหรือไม่
ข) เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข หรือเป็นไปเพื่อโทษทุกข์ ทั้งแก่ตนและผู้อื่น
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
15 พ.ค.2008, 6:41 pm |
  |
ก่อนจะพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับการให้ผลของกรรมดีและกรรมชั่วในหัวข้อถัดไป
ขอนำข้อความจากบาลีต่อไปนี้ มาอ้างเป็นหลักสำหรับความที่ได้กล่าวมาในตอนนี้
(ลงพอให้เห็นเค้าคงพอ)
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? ได้แก่ กุศลมูล 3 คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่ประกอบด้วยกุศลมูลนั้น กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม ที่มีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน เหล่านี้ คือ ธรรมเป็นกุศล
ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน? ได้แก่ อกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ เวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่ประกอบด้วยอกุศลมูลนั้น กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม ที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน เหล่านี้ คือ ธรรมเป็นอกุศล
อภิ.สํ.34/663/259 |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
15 พ.ค.2008, 6:44 pm |
  |
อันตรายมี 2 อย่าง คือ อันตรายที่ปรากฏ และอันตรายที่ปกปิด
อันตรายที่ปรากฏเป็นไฉน? ได้แก่ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า
ฯลฯ โจร ฯลฯ โรคตา โรคหู โรคจมูก ฯลฯ หนาว ร้อน หิว กระหาย อุจจาระ ปัสสาวะ
สัมผัสเหลือบยุง ลมแดดและสัตว์เสือกคลาน เหล่านี้เรียกว่าอันตรายที่ปรากฏ
อันตรายที่ปกปิด เป็นไฉน? ได้แก่ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กามฉันทนิวรณ์ พยาบาท
นิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ
ความผูกโกรธ ความลบหลู่ (ลบล้างปิดซ่อนความดีของผู้อื่น) ความยกตัวกดเขาไว้
ความริษยา ความตระหนี่ มารยา ความโอ้อวด ความดื้อกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว
ความดูหมิ่น ความมัวเมา ความประมาท ปวงกิเลส ปวงทุจริต ปวงความกระวนกระวาย
ปวงความร่านรน ปวงความเดือดร้อน ปวงความปรุงแต่งที่เป็นอกุศล เหล่านี้ เรียกว่า
อันตรายที่ปกปิด
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
15 พ.ค.2008, 6:46 pm |
  |
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม เป็นอย่างไร ? คือ
อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ
บุคคลใดเคยทำกรรมชั่วไว้ แล้ว (กลับตัวได้) หันมาทำดีปิดกั้น บุคคลนั้นย่อมทำโลก
ให้แจ่มใส เหมือนดังดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆหมอก ขุ.ธ. 25/23/38
ความดีที่ทำไว้เอง เป็นมิตรติดตามตัวสืบต่อไป สํ.ส.15/163/51
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
15 พ.ค.2008, 6:48 pm |
  |
อานนท์ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่เรากล่าวว่าควรทำโดยส่วนเดียวนี้ เมื่อผู้ใดทำ
ก็พึงหวังอานิสงส์ต่อไปนี้ได้ คือ คนเองก็กล่าวโทษตนไม่ได้ วิญญูทั้งหลายใคร่ครวญแล้ว
ย่อมสรรเสริญ กิตติศัพท์ดีงาม ย่อมขจรไป ตายก็ไม่หลงฟั่นเฟื่อน
เมื่อกายแตกทำลายภายหลังมรณะ ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ องฺ.ทุก.20/264/73
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
15 พ.ค.2008, 6:51 pm |
  |
ภิกษุทั้งหลาย จงฝึกอบรมกุศลเถิด กุศลเป็นสิ่งที่อาจฝึกอบรมได้ หากกุศลเป็นสิ่งที่ไม่อาจ
ฝึกอบรมได้แล้วไซร้ เราคงไม่กล่าวอย่างนั้น...แต่เพราะกุศลเป็นสิ่งที่อาจฝึกอบรมได้
เราจึงกล่าวอย่างนั้น...อนึ่ง หากกุศล คนฝึกอบรมแล้ว จะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความทุกข์แล้วไซร้ เราคงไม่กล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย จงฝึกอบรมกุศลเถิด
แต่เพราะกุศลนี้ คนฝึกอบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย จงฝึกอบรมกุศลเถิด องฺ.ทุก.20/265/74
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
ตามรอย
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2008
ตอบ: 109
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่
|
ตอบเมื่อ:
15 พ.ค.2008, 7:18 pm |
  |
 |
|
_________________ อย่าประมาทลืมตน |
|
   |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
16 พ.ค.2008, 11:10 am |
  |
(ต่อไปนี้เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ชาวพุทธเข้าใจไขว้เขว)
ปัญหาเกี่ยวกับการให้ผลของกรรมดีและกรรมชั่ว
ปัญหาที่ถกเถียงกันมากที่สุดเกี่ยวกับเรื่องกรรม ก็คือ การให้ผลของกรรม โดยสงสัยเกี่ยวกับ
หลัก ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ว่าเป็นจริงอย่างนั้นหรือไม่
บางคนพยายามนำหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่า ในโลกแห่งความเป็นจริง คนที่ทำชั่วได้ดี
และคนที่ทำดีได้ชั่ว มีมากมาย
ความจริงปัญหาเช่นนี้ เกิดจากความเข้าใจสับสนระหว่างกรรมนิยามกับสังคมน์นิยม
โดยนำเอาความเป็นไปในนิยามและนิยมน์ทั้งสองนี้มาปนเปกัน ไม่รู้จักแยกขอบเขต
และขั้นตอนให้ถูกต้อง
ดังจะเห็นว่า แม้แต่ความหมายของถ้อยคำในหลัก ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นั้นเอง
คนก็เริ่มต้นเข้าใจสับสน แทนที่จะเข้าใจความหมายของทำดีได้ดี ว่าเท่ากับทำความดี
ได้ความดี หรือทำความดี ก็มีความดี หรือทำความดี ก็เป็นเหตุให้ความดี
เกิดมีขึ้น หรือทำความดี ผลดีตามกรรมนิยามก็เกิดขึ้น
กลับเข้าใจเป็นว่า ทำความดี ได้ของดี หรือทำดีแล้ว ได้ผลประโยชน์หรือได้อามิส
ที่ตนชอบใจ
เมื่อปัญหามีอยู่เช่นนี้จึงควรมีการศึกษากันให้ชัดเจน
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
16 พ.ค.2008, 11:24 am |
  |
จุดสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหา คือ ความสับสนเกี่ยวกับขอบเขตที่แยกต่างหากจากกัน และที่
สัมพันธ์กันระหว่างกรรมนิยามกับสังคมนิยมน์ เพื่อความแจ่มแจ้งในเรื่องนี้
เบื้องแรกขอให้พิจารณาการให้ผลของกรรม โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ
1. ระดับภายในจิตใจ ว่ากรรมทำให้เกิดผลภายในจิตใจ มีการสั่งสมคุณสมบัติ
คือ กุศลธรรมและอกุศลธรรม คุณภาพและสมรรถภาพของจิต มีอิทธิพลปรุงแต่งความรู้สึก
นึกคิด ความโน้มเอียง ความนิยมชมชอบ และความสุขความทุกข์ เป็นต้น อย่างไรบ้าง
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
16 พ.ค.2008, 12:20 pm |
  |
2. ระดับบุคลิกภาพ ว่ากรรมให้ผลในด้านการสร้างเสริมนิสัย
ปรุงแต่งลักษณะความประพฤติการแสดงออก ท่าทีการวางตนปรับตัว อาการตอบสนอง
ความเกี่ยข้องสัมพันธ์กับคนอื่นๆ และต่อสถานการณ์ หรือสภาพแวดล้อมทั่วๆไปอย่างไรบ้าง
การให้ผลระดับนี้ ต่อเนื่องออกมาจากระดับที่ 1 นั่นเอง และมีขอบเขตคาบเกี่ยวกัน
แต่แยกพิจารณาเพื่อให้มองเห็นแง่มุมของการให้ผลชัดเจนยิ่งขึ้น
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 พ.ค.2008, 12:17 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
16 พ.ค.2008, 12:22 pm |
  |
3. ระดับวิถีชีวิตของบุคคล ว่ากรรมชักนำความเป็นไปในชีวิตของบุคคล ทำให้เขาได้
รับประสบการณ์ ที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนา ประสบผลตอบสนองจากภายนอก
พบความเสื่อมความเจริญ ความล้มเหลว ความสำเร็จ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ และความ
สูญเสียต่างๆที่ตรงข้าม ซึ่งรวมเรียกว่า โลกธรรมทั้งหลาย อย่างไรบ้าง
ผลระดับนี้อาจแยกมองได้สองด้าน คือ
-ผลสนองจากปัจจัยด้านอื่นๆ ของสภาพแวดล้อมที่นอกจากคน
-ผลสนองจากปัจจัยด้านบุคคลอื่นและสังคม
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
16 พ.ค.2008, 12:23 pm |
  |
4. ระดับสังคม ว่ากรรมที่บุคคลและคนทั้งหลายกระทำ มีผลต่อความเป็นไป
ของสังคมอย่างไรบ้าง เช่น ทำให้เกิดความเสื่อมความเจริญ ความร่มเย็นเป็นสุข
ความทุกข์ยากเดือดร้อนร่วมกันของมนุษย์ทั้งหลาย รวมทั้งผลจากการที่มนุษย์กระทำ
ต่อสภาพแวดล้อมอื่นๆ แล้วย้อนกลับมาหาตัวมนุษย์เอง
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
16 พ.ค.2008, 12:24 pm |
  |
จะเห็นได้ชัดว่า ผลในระดับที่ 1 และที่ 2 คือ ผลภายในจิตใจและบุคลิกภาพ เป็นขอบเขต
ที่กรรมนิยามเป็นใหญ่
ระดับที่ 3 เป็นขอบเขตที่กรรมนิยาม กับ สังคมนิยมน์เข้ามาสัมพันธ์กัน และเป็นจุด
ที่มักเกิดความสับสน ก่อให้เกิดปัญหาซึ่งควรพิจารณาในที่นี้
ส่วนระดับที่ 4 แม้จะเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็อยู่นอกขอบเขตของการพิจารณาในหัวข้อนี้
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|