ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 พ.ค.2008, 9:24 pm |
  |
กระทู้ต่อเนื่องลิงค์นี้
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15732
เพราะเรื่องกรรมดี-กรรมชั่วยังไม่จบประเด็น แต่เห็นว่ายาวเกินจึงมาลงต่อที่นี่ อีกทั้งเรื่องนี้
ละเอียดลึกซึ้งยากต่อการทำความเข้าใจด้วย ฉะนั้นควรอ่านกระทู้เดิมก่อน โดยเฉพาะ
ความหมายของจิตนิยาม กรรมนิยาม และธรรมนิยาม |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ก.ย. 2009, 8:29 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 พ.ค.2008, 9:36 pm |
  |
เกณฑ์วินิจฉัยกรรมดี-กรรมชั่ว
ดังได้กล่าวแล้วว่ากรรมนิยาม มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่สุดกับจิตนิยาม และสังคมนิยมน์
(หรือสังคมบัญญัติ) และความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันนี้ อาจเป็นเหตุให้เกิดความสับสนได้ง่าย
ดังนั้น การที่จะเข้าใจเรื่องกรรมและความดีความชั่วให้ชัดเจน จะต้องแยกแยะขอบ
เขตระหว่างนิยามและนิยมน์เหล่านี้ให้ได้ก่อน
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 พ.ค.2008, 9:40 pm |
  |
กรรมนิยาม อาศัย จิตนิยาม เหมือนซ้อนอยู่บนจิตนิยามนั่นเอง แต่จุดตัดแยกระหว่าง
กรรมนิยามกับจิตนิยามก็ชัดเจน กล่าวคือ เจตนาเป็นเนื้อหาสาระและเป็นตัวทำการของ
กรรมนิยาม ทำให้ กรรมนิยามเป็นอิสระออกมาเป็นนิยามหนึ่งต่างหาก หรือทำให้มนุษย์เป็น
อิสระ มีบทบาทเป็นของตนเองต่างหากจากนิยามอื่นๆ สามารถสร้างโลกแห่งเจตน์จำนง
ของตนเองขึ้นมาได้ จนถึงกับยกตนขึ้นเทียบเท่าหรือแข่งขันกับธรรมชาติ และแบ่งแยกว่า
ตนมีโลกแห่งการประดิษฐ์สร้างสรรค์ต่างหากจากโลกของธรรมชาติ
เจตนาอาศัยกลไกของจิตนิยามเป็นเครื่องมือในการทำงาน และเมื่อเจตนาทำกรรมอย่างใด
อย่างหนึ่งขึ้นแล้ว กระบวนการก่อผลก็ต้องอาศัยจิตนิยามนั่นแหละดำเนินไป
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 พ.ค.2008, 9:44 pm |
  |
เปรียบได้กับคนขับเรือยนต์ คนขับเหมือนเจตนาที่อยู่ฝ่ายกรรมนิยาม เครื่องเรือทั้งหมด
เหมือนกลไกและองค์ประกอบต่างๆ ของจิตที่อยู่ฝ่ายจิตนิยาม
คนขับต้องอาศัยเครื่องเรือ แต่เครื่องเรือจะพาเรือคือชีวิตที่พร้อมด้วยร่างกายไปสู่ที่ไหน
อย่างไร คนขับเป็นอิสระที่จะทำและเป็นผู้รับผิดชอบทำให้เป็นไป
คนขับทั้งอาศัยและทั้งเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากเรือแล้วรับผิดชอบต่อความเป็นไปของเรือ
ที่พร้อมทั้งเครื่องเรือและตัวเรือด้วย
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 พ.ค.2008, 9:47 pm |
  |
เหมือนกรรมนิยามทั้งอาศัยและทั้งเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากจิตนิยาม แล้วรับผิดชอบต่อความ
เป็นไปของชีวิตที่พร้อมทั้งจิตและกายด้วย
ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างกรรมนิยามกับจิตนิยามนี้ ไม่สู้มีปัญหาเพราะไม่สู้มีเรื่องที่มนุษย์
เอาใจใส่ และไม่ว่ามนุษย์จะใส่ใจรู้เรื่องของมันหรือแม้แต่รู้ตัวหรือไม่ก็ตาม มันก็เป็นไป
ตามปกติของมันเรื่อยไปอย่างมองไม่เห็นตัว
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ค.2008, 8:57 am |
  |
(ต่อไปอ่านแล้วพิจารณาดีๆ เพราะเข้าใจคลาดเคลื่อนมานาน โดยเฉพาะประเด็นว่า ทำดี
แล้วไม่ได้ดี)
ด้านที่เป็นปัญหาสับสนอย่างมากก็ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างกรรมนิยาม กับ สังคมนิยมน์
ซึ่งมักมีปัญหาเกี่ยวกับความดีและความชั่ว ว่าอะไรดี อะไรชั่ว
ที่ว่าทำดีทำชั่วเป็นความจริงที่แท้หรือไม่ อะไรเป็นเกณฑ์แบ่งว่าอะไรดี อะไรชั่ว
ในเรื่องนี้มีคนไม่น้อยพูดกันบ่อยๆว่า ความดีและความชั่วเป็นเรื่องของคนหรือสังคมบัญญัติ
กันขึ้น
การกระทำอย่างเดียวกัน สังคมถิ่นหนึ่งหรือสมัยหนึ่งว่าดี อีกถิ่นหนึ่งหรือสมัยหนึ่ง
ว่าไม่ดี
การกระทำอย่างเดียวกัน สังคมบัญญัติให้สมาชิกต้องกระทำ
แต่อีกสังคมบัญญัติให้สมาชิกต้องละเว้น |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ค.2008, 9:02 am |
  |
เช่น สังคมคนป่าบางพวกบัญญัติว่าฆ่าคนพวกอื่นเป็นความดี
แต่สังคมที่เจริญแล้วบัญญัติว่าฆ่ามนุษย์เป็นความชั่วทั้งนั้น
บางศาสนาบัญญัติว่าฆ่าสัตว์ที่เป็นอาหารไม่บาป
บางศาสนาสอนว่าการเบียดเบียนสัตว์ไม่ว่าชนิดใดไม่ดีทั้งนั้น
สังคมบางถิ่นบัญญัติว่าหญิงมีสามีมากหลายได้เป็นความดี
สังคมบางถิ่นว่าหญิงดีต้องมีสามีเดียว ถ้าให้ดียิ่งขึ้น เวลาสามีตายต้องโดดเข้าเผาตัวตาย
ตามสามีไปในกองไฟที่เผาศพสามีด้วย
บางสังคมถือว่าเด็กต้องเคารพต่อผู้สูงอายุกว่าและต้องเชื่อฟังไม่โต้เถียง มิฉะนั้นเป็นการไม่ดี
อีกบางสังคมถือว่าการเคารพกันไม่เกี่ยวกับวัยและทุกคนควรถกเถียงหาเหตุผลกัน
ดังนี้เป็นต้น
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ค.2008, 9:05 am |
  |
คำที่ว่า ความดีความชั่วเป็นเรื่องของมนุษย์และสังคมมนุษย์สมมุติปัญญัติกันขึ้นมาเองนี้
เป็นความจริงอยู่มากทีเดียว
แต่ถึงแม้จะเป็นจริงอย่างนั้นก็ไม่มาเกี่ยวข้องในแง่ที่จะกระทบกระเทือนต่อกรรมนิยาม
แต่ประการใด และก็ไม่น่าจะต้องเอามาสับสนกับเรื่องกรรมนิยามด้วย
เรื่องความดีความชั่วที่เป็นบัญญัติของสังคม ก็เป็นเรื่องของบัญญัติสังคมหรือสังคมนิยมน์
เรื่องความดีความชั่วหรือว่าให้ถูกคือกุศลและอกุศลที่เป็นเรื่องของกรรมนิยาม ก็เป็นเรื่อง
ของกรรมนิยาม แม้ทั้งสองอย่างนี้จะสัมพันธ์กัน แต่ก็เป็นคนละเรื่องกัน มีจุดตัดแยกระหว่าง
กันชัดเจน ความสับสนเกิดจากการนำเอาความดีความชั่วของสังคมนิยมน์ไปปะปนกับความดี
ความชั่วคือกุศลและอกุศลของกรรมนิยาม ที่เป็นคนละแดนกัน และไม่รู้จุดตัดแยกที่ถูกต้อง
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ค.2008, 9:11 am |
  |
ขอย้ำว่า ความดีความชั่วที่เป็นบัญญัติของสังคม ก็เป็นเรื่องของสังคมอยู่ในขอบเขต
ของสังคมนิยมน์
กุศล อกุศลที่เป็นคุณสมบัติของกรรม ก็เป็นเรื่องของกรรมอยู่ในกรรมนิยาม เป็นเรื่องต่างหาก
กัน แต่สัมพันธ์กัน สิ่งที่เป็นทั้งตัวการสร้างสัมพันธ์และเป็นทั้งจุดตัดแยกระหว่างกันของนิยาม
และนิยมน์ทั้งสองนี้ ก็เช่นเดียวกับในกรณีระหว่างกรรมนิยามกับจิตนิยาม คือ ได้เจตนา
หรือเจตน์จำนงนั่นเอง เรื่องนี้เป็นอย่างไร ขอให้ช่วยกันพิจารณาต่อไป
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ค.2008, 9:21 am |
  |
(ขอแทรกความเข้าใจคำว่า นิยาม สักเล็กน้อย เพื่อทำความเข้าใจประเด็น กรรม ความดี
ความชั่วได้ง่ายขึ้น)
พระพุทธศาสนาสอนหลักความจริงว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นคนสัตว์ หรือสิ่งของ
เป็นรูปธรรม หรือนามธธรรม เป็นวัตถุ หรือเป็นเรื่องจิตใจ ไม่ว่าชีวิตหรือโลกที่แวดล้อม
อยู่ก็ตาม (หมายถึงสังขตธรรมทั้งหมด)
ทั้งหมดล้วนเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย เป็นเรื่องของปัจจัยสัมพันธ์
ธรรมดาที่ว่านี้ มองด้วยสายตาของมนุษย์เรียกว่า กฎธรรมชาติ
เรียกในภาษาบาลีว่า นิยาม แปลว่า กำหนดอันแน่นอน ทำนอง หรือแนวทางที่แน่นอน
หรือความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอน เพราะปรากฏให้เห็นว่า เมื่อมีปัจจัยอย่างนั้นๆแล้ว
ก็จะมีความเป็นไปอย่างนั้นๆ แน่นอน
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ค.2008, 10:36 am |
  |
สิ่งที่สังคมบัญญัติ เมื่อมองจากแง่ของกรรมนิยาม อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. สิ่งที่บัญญัตินั้น ไม่เกี่ยวกับกุศลและอกุศลในกรรมนิยามโดยตรง แต่สังคมบัญญัติขึ้น
เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งของสังคมเอง เช่น เพื่อให้คนทั้งหลายในสังคมนั้นอยู่
ร่วมกันด้วยดี มีความสงบสุข เป็นทำนองข้อตกลงหรือพันธสัญญาระหว่างกัน
ในกรณีเช่นนี้ สิ่งที่บัญญัตินั้นอาจเป็นเครื่องช่วยให้สังคมอยู่ดีมีความสงบสุขได้จริงหรือ
อาจไม่จริงก็ได้ อาจเป็นประโยชน์แก่สังคมจริงหรืออาจเป็นโทษก็ได้
ทั้งนี้แล้วแต่ว่าข้อกำหนดนั้นได้บัญญัติกันขึ้นมาด้วยความรู้ความเข้าใจกว้างขวางรอบคอบ
เพียงพอหรือไม่ หรือว่า คนที่ทำหน้าที่บัญญัติมีความสุจริตใจหรือไม่ เป็นต้น
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ค.2008, 10:39 am |
  |
บัญญัตินี้มาในรูปต่างๆ อาจเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีตลอดจนกฎหมาย ดีหรือชั่วในกรณี
อย่างนี้ เป็นเรื่องของสังคมนิยมน์ อาจเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาและแตกต่างกันไปนานัปการ
แต่จะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอย่างไร ก็ไม่ใช่เรื่องของกรรมนิยาม จะต้องแยกไว้ต่างหาก
ไม่ควรเอามาปนเปสับสน และเมื่อคนใดฝ่าฝืนละเมิดบัญญัตินั้น สังคมจะลงโทษอย่างไร
ก็เป็นเรื่องสังคมนิยมน์ ไม่ใช่เรื่องของกรรมนิยาม ให้แยกออกไปอย่างนี้เสียส่วนหนึ่งก่อน
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ค.2008, 10:42 am |
  |
ต่อจากนี้ จึงพิจารณาส่วนที่บัญญัติของสังคมนิยมน์นั้นก้าวเข้ามาเกี่ยวข้องกับขอบเขต
ของกรรมนิยาม กล่าวคือ เมื่อคนในสังคมยอมรับบัญญัตินั้นกันแล้ว ไม่ว่าบัญญัตินั้น
จะเป็นอย่างไร จะดีงามหรือเป็นประโยชน์แท้จริงหรือไม่ก็ตาม
ในเวลาที่คนผู้ใดผู้หนึ่งในสังคมนั้นจะไม่ปฏิบัติตาม จะฝ่าฝืนหรือละเมิดบัญญัตินั้น
เขาจะเกิดมีเจตนาที่จะฝ่าฝืนละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามขึ้นมาทันที-
(ที่ว่านี้ เป็นการพิจารณาชั้นเดียวก่อน ในบางกรณี เรื่องอาจซับซ้อนกว่านี้ได้
โดยมีองค์ประกอบอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ปัญญา ที่จะยอมรับหรือไม่ อย่างไร
ซึ่งมีผลต่อเจตนา ทำให้เป็นเจตนาละเมิดหรือไม่ อ่อนหรือแก่อย่างไร
อันจะต้องวิเคราะห์กันอีกชั้นหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม เมื่อคิดนึกขึ้นมา
ก็เป็นอันต้องมีเจตนาอย่างใดอย่างหนึ่งและมีผลต่อชีวิตจิตใจทุกทีไป)
และเขาก็จะตระหนักรู้ต่อเจตนาของเขานั้นอย่างไม่อาจปิดบัง หรือหลอกตนเองได้
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ค.2008, 10:45 am |
  |
เจตนานี้แหละ คือ จุดเริ่มต้นของกรรมนิยามและเป็นเรื่องของกรรมนิยาม
สังคมหลายแห่งอาจพยายามสืบเอาเจตนานี้ไปประกอบการพิจารณาในการตัดสินลงโทษ
ด้วยว่า เขาผู้นั้นทำการละเมิดด้วยเจตนาหรือไม่ แต่นั้นก็เป็นเรื่องของสังคมนิยมน์
แสดงว่า สังคมนั้นฉลาดรู้จักถือเอาประโยชน์จากกรรมนิยามไปใช้ในทางสังคม
ไม่ใช่เรื่องของกรรมนิยาม
ส่วนในเรื่องของกรรมนิยามเองนั้น ไม่ว่าสังคมจะสืบสวนเอาเจตนานั้นไปใช้หรือไม่
หรือจะได้ล่วงรู้ว่าได้มีการละเมิดเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม กรรมนิยามก็ได้เริ่มทำงานของมัน
ตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเกิดมีเจตนาและใช้เจตนาทำการล่วงละเมิด เป็นต้นไป
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ค.2008, 10:49 am |
  |
กล่าว คือ กระบวนการก่อวิบาก (ผล) ได้เริ่มดำเนินและบุคคลนั้นเริ่มได้รับผลของกรรม
ตั้งแต่บัดนั้นไป
จะเห็นได้ว่าในความเป็นไปเช่นนี้ เรื่องที่ว่าบัญญัติของสังคมนั้นจะดีหรือชั่วจริงหรือไม่
ก็เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาในแง่ของสังคมนิยมน์ไป ไม่เกี่ยวข้องกับกรรม
นิยามโดยตรง
กรรมนิยามเกี่ยวข้องเพียงการรับรู้และใจยอมรับอย่างใดอย่างหนึ่งต่อข้อกำหนดตามที่สังคม
บัญญัติไว้นั้น และดำเนินจากจุดเริ่มที่จิตมีกิจกรรมต่อข้อกำหนดนั้น คือ เริ่มจากเกิดเจตนา
เป็นต้นไป
เมื่อจัดเข้าในระบบชีวิตทางธรรม ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องในขั้นศีล และนี้เป็นจุดที่กฎเกณฑ์
ของมนุษย์เข้ามาเกี่ยวพันกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ซึ่งจะต้องแยกขอบเขตกันให้ดี
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ค.2008, 5:11 pm |
  |
ข้อที่บัญญัติว่าดี หรือชั่วของสังคม จะเป็นของแท้จริงหรือไม่ เป็นเรื่องของสังคมนิยมน์
ไม่เกี่ยวกับกรรมนิยามโดยตรง หมายความว่า ยังมีแง่ที่เกี่ยวข้องโดยอ้อมได้ เช่น
สังคมถือข้อปฏิบัติกันมาอย่างหนึ่งว่าเป็นสิ่งดีงามถูกต้อง ทุกคนต้องปฏิบัติ
ต่อมาเกิดผู้มีปัญญาคนหนึ่งมองเห็นว่า ข้อปฏิบัตินั้นไม่ดีจริง ไม่เป็นประโยชน์หรือถึงกับเป็น
ผลร้ายแก่สังคมนั้น
บุคคลผู้นั้นอาจเพียรพยายามชี้แจงให้ชนร่วมสังคมทั้งหลายเข้าใจตาม พยายามแก้ข้อปฏิบัติ
ที่กำหนดไว้นั้น และอาจถึงกับไม่ยอมทำตามข้อปฏิบัตินั้นเสียทีเดียว
ในกรณีนี้ การกระทำของบุคคลผู้นั้น มิใช่เกิดจากเจตนาขุ่นมัวของผู้ที่จะละเมิดเหมือน
อย่างในกรณีก่อน แต่เกิดจากเจตนาอันประกอบด้วยปัญญาของผู้ที่จะแก้ไขเพื่อประโยชน์สุข
ของมนุษย์ทั้งหลายเป็นต้น |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ค.2008, 5:13 pm |
  |
เนื้อหาที่จะเป็นไปในกรรมนิยาม จึงไม่เหมือนกันสุดแต่คุณสมบัติของเจตนานั้น
แต่มีข้อสำทับว่า
เจตนาที่กระทำนั้นจะเป็นอย่างไรก็ตาม ผู้กระทำย่อมรู้ตระหนักตามที่มันเป็น
และเขาจะต้องรับผลในแง่ของกรรมนิยามตามเจตนานั้น
เขาอาจปิดบังและหลอกสังคมได้ แต่ไม่อาจปิดบังใจตนเองหรือหลอกกฎธรรมชาติได้
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ค.2008, 5:15 pm |
  |
พูดอย่างสั้นๆ ตัวกำหนดในกรรมนิยาม อยู่ที่ว่าเจตนาเป็นกุศล หรือเป็นอกุศลนั่นเอง
เมื่อว่าโดยทั่วไปหรือสำหรับกรณีทั่วไป
การไม่ปฏิบัติตามบัญญัติอย่างใดอย่างหนึ่งของสังคม จะชื่อว่าไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือ
ละเมิดและไม่เป็นไปด้วยเจตนาที่จะละเมิด ก็ต่อเมื่อสังคมนั้นได้ตกลงพร้อมใจกัน
ยกเลิกบัญญัตินั้นแล้ว หรือยอมรับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงบัญญัตินั้นแล้ว
พูดอีกภาษาหนึ่งว่า ต่อเมื่อนั้น จึงจะไม่เป็นการเสียความซื่อสัตย์ หรือทรยศต่อสัญญา
ประชาคม
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 พ.ค.2008, 2:48 pm |
  |
ความที่ว่ามานี้ พอจะอธิบายได้ด้วยตัวอย่างง่ายๆ
สมมุติว่า คนสองคนอยู่ร่วมกัน เพื่อให้การอยู่ร่วมกันนั้นเป็นไปด้วยดีอำนวยความสุขและ
เกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตของทั้งสองฝ่าย
เขาจึงได้ว่างกติกากันไว้เช่นว่า เขาทั้งสองทำงานคนละแห่ง กลับถึงบ้านไม่พร้อมกัน
แต่ควรจะรับประทานอาหารเย็น 19.00 น.
บรรดาเขาทั้งสองนั้น คนหนึ่งชอบแมวไม่ชอบสุนัข อีกคนหนึ่งชอบสุนัข ไม่ชอบแมว
เพื่อความสงบสุขให้ถือว่าการนำสัตว์เลี้ยงใดๆ เข้ามาในบ้านเป็นความไม่ดีงามไม่สมควร
เมื่อตกลงวางกติกากันอย่างนี้แล้ว ถ้าเขาคนใดคนหนึ่งจะทำการใดที่ไม่เป็นไปตามกติกานั้น
เจตนาที่จะละเมิดก็ย่อมเกิดขึ้น และกรรมก็เกิดขึ้นตามกรรมนิยาม
ทั้งๆที่เมื่อว่าโดยสภาวะแล้ว การรับประทานอาหารเย็น 19.00 น.ก็ดี
การนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในบ้านก็ดี จะเป็นความดีหรือความชั่วโดยตัวของมันเองก็หาไม่
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 พ.ค.2008, 2:54 pm |
  |
คนคู่อื่นอาจวางกติกาที่ตรงข้ามจากนี้ก็ได้ และในกรณีที่ต่อมาคนใดคนหนึ่งในเขาทั้งสองนั้น
พิจารณาเห็นว่า กติการที่ได้วางไว้ไม่เป็นไปเพื่อผลดีแก่ชีวิตร่วมกันของเขาทั้งสอง
เขาก็จะต้องยกขึ้นมาพูดให้ตกลงยกเลิก หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงกติกานั้นก่อน
การที่จะไม่ปฏิบัติตามของเขาจึงจะเป็นไปได้โดยไม่ประกอบด้วยเจตนาที่จะละเมิดหรือฝ่าฝืน
วินัยที่นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของศีลก็เป็นไปในลักษณะอย่างนี้
เรื่องความดีความชั่ว ความผิดความถูกที่เป็นบัญญัติอันไม่เที่ยงแท้แน่นอนของสังคม
กับความเป็นไปแห่งกุศลและอกุศลอันแน่นอนของกรรมนิยาม มีขอบเขตที่แยกกันได้
และมีความสัมพันธ์เนื่องถึงกัน อันพึงเข้าใจได้โดยนัยนี้ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 พ.ค.2008, 3:28 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
|