ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ratchadapa
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 05 ม.ค. 2008
ตอบ: 84
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพมหานคร
|
ตอบเมื่อ:
04 พ.ค.2008, 9:24 pm |
  |
เนื่องจากมีผู้ไม่เข้าใจในหลักคำสอนของพุทธศาสนาอยู่มาก
ไม่สามารถแยกแยะได้ ว่าสิ่งใดไม่ใช่สิ่งที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน
ขอเชิญเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ชาวลานธรรมจักร มาช่วยยกตัวอย่าง หรือให้แนวทาง
สำหรับผู้ยังใหม่ ผู้ไม่รู้ ได้มีความรู้เข้าใจให้มากขึ้นหน่อยเถิดค่ะ
เช่น อันไหน พุทธ อันไหนพราหมณ์ อันไหนผี อันไหนไสย
คนละเล็กละน้อยก็ได้ เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์เป็นอันมาก
อย่างเช่นจตุคามรามเทพนี้ ตามตำนานว่าเป็นกษัตริย์ศรีวิชัย 2 พี่น้อง
คือท้าวขัตตุคาม และท้าวรามเทพ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เมื่อสิ้นชีวิตลง
ก็เป็นเทพยดาเฝ้าพระบรมสารีริธาตุอยู่ ส่วนผู้ที่เลื่อมใสบูชานั้นคงเพราะเชื่อตามที่กล่าวขานกัน
ว่า "ตราบใด น้ำทะเลยังไม่แห้งเหือด มีกูไว้ไม่จน"
ดังนั้น คนไทยที่ไปหวังพึ่งจตุคามฯ นั้น ไม่ใช่ขาดที่ยึดเหนี่ยว
แต่น่าจะขาดกระแสเงินสดมากกว่า
และคนที่ไม่รู้หลักศาสนาพุทธที่สอนให้พึ่งตนเอง ไม่อ้อนวอนพระเจ้าเทพยดา
และสิ่งศักดิ์สิทธิอื่นๆ มีแนวโน้มที่จะขี้เกียจ ไม่ปรารภความเพียร
แต่ชอบขอเอา ซึ่งง่ายดี เอาข้าวของมาบูชา บนบานศาลกล่าว ติดสินบนเทวดาหรือผีให้ช่วย แต่ไม่ยอมทำเอง
ท่านอื่นๆช่วยอนุเคราะห์ผู้ไม่รู้ก็จะเป็นกุศลนะคะ
 |
|
_________________ พวกเธอจงยินดีในความไม่ประมาท
จงระมัดระวังจิตของตน
จงถอนตนออกจากหล่มกิเลส
เหมือนพญาช้างติดหล่ม
พยายามช่วยตัวเอง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 พ.ค.2008, 9:37 pm |
  |
พิจารณาข้อคิดข้อเขียนนี้ดูครับ
ส่วนเรื่องจตุคามตกยุคไปแล้ว รอลุ้นรุ่นใหม่ต่อไป
ชุมชนหรือสังคมตามหลักการของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยผู้คน
มากมายซึ่งกำลังก้าวเดินอยู่ ณ ตำแหน่งแห่งที่ต่างๆ บนหนทางสายใหญ่สายเดียวกัน
ซึ่งนำไปสู่จุดหมายปลายทางเดียวกัน และคนเหล่านั้นก้าวออกมาจากจุดเริ่มต้นที่ต่างๆกัน
พูดอีกอย่างหนึ่งว่า สัตว์ทั้งหลายเจริญอยู่ในขั้นตอนต่างๆแห่งพัฒนาการ
ในอริยะธรรม เมื่อดูการเดินทางหรือพัฒนา ก็จะเห็นลำดับขั้น
แห่งพัฒนาการ เป็น 3 ขั้น คือ
-ขั้นอ้อนวอนหรือพึ่งเทวดา
-ขั้นอยู่ร่วมกันด้วยไมตรีกับเทวดา
-ขั้นได้รับความเคารพบูชาจากเทวดา
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 พ.ค.2008, 9:45 pm |
  |
ขั้นที่ 1 จัดว่าเป็นขั้นก่อนพัฒนา
ขั้นที่ 2 คือจุดเริ่มต้นของชุมชนแบบพุทธหรือชุมชนอารยะ
ขั้นที่ 3 เป็นระดับพัฒนาการของผู้เข้าถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนา
ข้อควรย้ำก็คือ คนผู้ใดผู้หนึ่งจะได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธก็ต่อเมื่อเขาก้าวพ้นจากขั้นอ้อนวอน
หวังพึ่งเทพเจ้า เข้าสู่ขั้นอยู่ร่วมกันด้วยไมตรี ซึ่งเขาจะดำเนินชีวิตด้วยความเพียรพยายาม
กระทำการตามเหตุผล เลิกมองเทวดาในฐานะผู้มีอำนาจที่ จะต้องวิงวอนประจบเอาใจ
เปลี่ยนมามองในฐานะเป็นญาติมิตรดีงาม ที่ควรเคารพนับถือมีเมตตาต่อกัน
ไม่ควรมั่วสุมคลุกคลีกัน
ไม่ควรรบกวนก้าวก่ายกัน และไม่ควรสมคบกันทำสิ่งเสียหายไม่ชอบด้วยเหตุผล
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 พ.ค.2008, 9:47 pm |
  |
เมื่อมองพัฒนาการนั้นในแง่ที่เกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ (รวมถึงอำนาจศักดิ์สิทธิ์เร้นลับอื่นๆ)
ก็จะมี 3 ขั้นเหมือนกัน คือ
-ขั้นหวังผล
-ขั้นเสริมกำลัง
-ขั้นเป็นอิสระสิ้นเชิง
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 พ.ค.2008, 9:50 pm |
  |
ขั้นที่ 1 เป็นขั้นรอคอยอำนาจภายนอกดลบันดาล ทำให้หมกมุ่นฝักใฝ่ ปล่อยทิ้งเวลา
ความเพียรและการคิดเหตุผลของตน จัดเป็นขั้นก่อนพัฒนาหรือนอกชุมชนอารยะ
ขั้นที่ 2 คือขั้นที่ทำอิทธิปาฏิหาริย์ได้เองแล้ว และใช้อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเพื่อเสริมกำลังในการทำ
ความดีอย่างอื่น เช่น ในการช่วยเหลือผู้อื่นจากภัยอันตราย และเป็นเครื่องประกอบ
ของอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ถ้าเป็นสิ่งมงคลศักดิ์สิทธิ์อย่างอื่น
ขั้นที่ 2 นี้ก็อนุโลมไปถึงการมีสิ่งเหล่านั้นในฐานะเป็นเครื่องเสริมกำลังใจ
หรือเป็นเพื่อนใจให้เกิดความอุ่นใจ ทำให้เพียรพยายามทำความดีงามได้แข็งแรงยิ่งขึ้น
มีความมั่นใจในตนเองมากยิ่งขึ้น หรือเป็นเครื่องเตือนสติและเร่งเร้าให้ประพฤติสิ่งที่ดีงาม
ขั้นนี้พอจะยอมรับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่ระบบชีวิตแบบชาวพุทธ
แต่ท่านไม่พยายามสนับสนุน เพราะยังอาจปะปนกับขั้นที่ 1 ได้ง่าย
ควรรีบก้าวต่อให้ผ่านพ้นไปเสีย
ควรระลึกอยู่เสมอถึงคุณสมบัติของอุบาสกที่ดีข้อ ที่ 3 ว่า ไม่ถือมงคลตื่นข่าว มุ่งกรรม
(การกระทำ) คิดมุ่งเอาผลจากกระทำ ไม่มุ่งหามงคล
องฺ.ปญฺจก. 22/175/230
-ขั้นที่ 3 คือการมีชีวิตจิตใจเป็นอิสระ ดำเนินชีวิตที่โปร่งเบาแท้โดย
ไม่ต้องอาศัยอิทธิปาฏิหาริย์ หรือสิ่งอื่นภายนอกมาเสริมกำลังใจของตนเลย
เพราะมีจิตใจเข็มแข็งเพียงพอ สามารถบังคับควบคุมจิตใจ
ของตนได้เอง ปราศจากความหวาดหวั่นกลัวภัย อย่างน้อยก็มีความมั่นใจในพระรัตตรัย
อย่างบริบูรณ์เป็นหลักประกัน
ขั้นที่ 3 นี้ จัดเป็นขั้นเข้าถึงพระพุทธศาสนา
(นำมา (นิดหน่อย) จากหนังสือพุทธธรรม ซึ่งท่านเขียนเกี่ยวกับเรื่องเทวดา
เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ ฯลฯ)
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
ตามรอย
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2008
ตอบ: 109
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่
|
ตอบเมื่อ:
04 พ.ค.2008, 11:13 pm |
  |
เจริญธรรมท่านทั้งหลาย
อันตัวข้าพเจ้าเองความรู้น้อย
ขอบอกว่าไปอ่าน กลามสูตร ซะ
สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้คือ สิ่งใดปฏิบัติดี
ปฏิบัติควร ปฏิบัติชอบ ให้ผลประเสริฐจริง
ก็จงพึงปฏิบัติ ใช้ปัญญาและเหตุผล
(ฝึกเล่น SUDOKU จะทำให้เป็นคนมีเหตุผล)
อันนนี้เป็นเทคนิคของข้าพเจ้าเองไม่สงวน อิอิ
เจริญธรรม |
|
_________________ อย่าประมาทลืมตน |
|
   |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
05 พ.ค.2008, 6:28 pm |
  |
หากกล่าวว่าทุกชีวิตเกิดมานั้น
ส่วนหนึ่งคือการเกิดมาเพื่อเรียนรู้และพัฒนาจิตวิญญาณ
ให้ก้าวสู่วิวัฒนาการที่สูงขึ้น ตามลำดับ
ตราบจนเข้าถึงสภาวะแห่งความบริสุทธิ์หมดจด
ดังที่พุทธศาสนาเรียกว่า นิพพาน
(หรือทางพราหมณ์ ฮินดูอาจมองว่าสูงสุด
คือการกลับไปเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ ปรมาตมัน ก็ตามนั้น)
ทุกชีวิตที่ครองอัตภาพความเป็นมนุษย์นี้
จึงต้องมีการสั่งสม ภูมิรู้ และภูมิธรรม
ตามจริต และวาสนาบารมี
ที่ได้สั่งสมมาตามเหตุปัจจัยในระดับที่ไม่เหมือนกัน
ในชาติภพนี้
บางคนอาจยังไม่มั่นใจ
ในศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์
และกำลังใจของตนเพียงพอ
ดังนั้นจึงต้องได้รับการโน้มนำ
ให้เกิดความเชื่อจากปาฏิหาริย์
ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เห็นผลทันใจเสียก่อน
จึงจะเกิดแรงศรัทธา
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ได้รับการปลูกฝังในลักษณะของ
ความเชื่อรูปเคารพวัตถุมงคลต่างๆ
ทั้งในรูปแบบของพระเครื่อง
รูปเคารพของเทพเจ้าต่างๆ
ทั้งในสายพุทธนิกายต่างๆ และ/หรือพราหมณ์ฮินดู เป็นต้น
หรือแม้เทพธรรมบาล
ที่ดูแลปกปักษ์พระพุทธศาสนา เช่น พญานาค
เป็นภูมิเทพกึ่งเดรัจฉาน
ที่ใกล้ชิดกับภูมิมุนษย์มากที่สุด
(ซึ่งนับเป็น "อภัพพบุคคล"
คือเข้าใจธรรม ปฏิบัติได้
แต่ไม่สามารถบรรลุธรรมขั้นสูงสุด คือ "พระนิพพาน. ได้)
เพราะบางมีศรัทธาเชื่อมั่นในพลังศักดิ์สิทธิ์
ที่สถิตย์อยู่ในวัตถุมงคลนั้น
ว่าจะช่วยเหลือในเข้าได้มาซึ่งสิ่งที่กำลังปรารถนาได้
ส่วนบางคน
เพราะเชื่อมั่นในศักยภาพของความเป็นมนุษย์ของตน
และเชื่อในกฏแห่งกรรมมากกว่า... ว่า
ทำดีย่อมได้ดี
สร้างเหตุปัจจัยใดย่อมได้ผลดังเหตุนั้น
จึงมองข้ามเรื่องเหล่านี้ไปโดยไม่ใยดี
และให้ความสำคัญกับ
คำสั่งสอนของพระพุทธองค์โดยตรงโดยไม่ลังเลว่า
ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
สร้างเหตุปัจจัยได้ตรงอย่างไร
จึงได้รับผลอย่างนั้น
ในขณะที่อาจมีบางพวก
ที่แม้จะให้ความสำคัญ
และปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์
เช่นเดียวกับบุคคลประเภทที่ ๒
แต่ก็มิได้ปฏิเสธ และปรามาสหยามเหยียด
กับกลุ่มที่ยังยึดติดกับวัตถุมงคล
เพราะเขาเหล่านั้น
ย่อมเข้าใจจุดยืนอันมั่งคงของตน
ในขณะเดียวกันก็เข้าใจในเพื่อนมนุษย์ที่มีจริต
และระดับพัฒนาการทางจิตวิญญาณที่แตกต่างกันออกไป
เพราะโลกใบนี้ย่อมที่หลอมรวม
ของผู้คนที่มีภูมิรู้ ภูมิธรรม และ ปัญญา ที่แตกต่างกัน
แต่เป็นความเข้าใจที่ตั้งอยู่บนเงื่อนไขว่า
หากเพื่อนมนุษย์เหล่านั้นไม่ได้เพียรพยายาม
สร้างเหตุปัจจัยที่ตรงและถูกต้องไปสู่สิ่งที่ปรารถนาแล้วไซร้
เทพเทวา/หรือเทพนาคาองค์ใด
ฤาจะสามารถดลบันดาลช่วยเหลือบุคคลนั้นได้
ดังนั้น ศรัทธาจึงต้องประกอบไปด้วยปัญญา
และถึงที่สุดแล้ว
ผลใดใดที่บังเกิดขึ้น
ย่อมมาจากการสร้างเหตุที่ถูกที่ตรง
ตามเหตุปัจจัยของตนเท่านั้น
หาใช่การบันดาลหรือบนบานจากสิ่งใด ฉะนี้เอง
อย่างไรก็ตาม
อย่างน้อยที่สุด บุคคลประเภทที่ ๓ นี้ ก็เชื่อว่า
วัตถุมงคลเหล่านี้ ก็น่าจะเป็นกำลังใจ
เป็นบุคคลาธิษฐานที่ควร
ยกย่อง เป็นแบบอย่างในการสั่งสมความดี
แต่มิใช่เพื่อ พึ่งพึง อ้อนวอนร้องขอ
เพราะตราบใดที่ยังไม่พ้นวัฏฏสงสาร
การสั่งสมความดีจนเลื่อนชั้นตนเอง
เข้าสู่สภาวะความเป็นเทพได้นั้นก็ต้องผ่านสั่งสมศีลบารมี
และมีหิริโอตัปปะมากเพียงพอ
ส่วนการสวมพระเครื่อง
รูปเหมือนรูปเคารพของพระพุทธองค์
หรือพระเกจิอาจารย์ที่ตนเคารพนับถือ
ก็มีไว้เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ
เป็น พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ และสังฆานุสสติ
ให้ผู้สวมใส่ยึดมั่นในพระรัตนตรัย
เดินตามคำสอนของพระพุทธองค์
และปฏิปทาอันงดงามของพระอาจารย์ที่ตนนับถือนั้นๆ
นั่นเอง
โปรดติดตาม : การใช้เครื่องรางของขลัง เคารพรูปเคารพ...ไม่ดี?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14988 |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 08 มิ.ย.2017, 4:57 pm, ทั้งหมด 6 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
05 พ.ค.2008, 6:41 pm |
  |
สำหรับเรื่องของจตุคามรามเทพนั้น
คำว่า ตำนาน
แท้จริงคือเรืองเล่าขานที่สืบทอดต่อกันมาเป็นมุขปาฐะ
แม้อาจสวนทางกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี
แต่บ่อยครั้งตำนานหลายเรื่อง
ก็ดูจะเป็นจริงเป็นจริงขึ้นมามากกว่า
สิ่งที่จับต้องได้เป็นรูปธรรมเสียอีก
ในขณะเดียวกัน
ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีก็เชื่อใน
"หลักฐานทางประวัติศาสตร์" มากที่สุด
ฉะนั้นการที่ยังไม่พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ที่สามารถตอบสมมติฐานที่สอดคล้องกับ "ตำนาน"
ก็มิได้เป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า
"ตำนาน" เป็นเพียง "เรื่องเล่า"
"ไม่มีจริง ไม่มีมูล"
เพียงเพราะ "ยัง" หาหลักฐานมารองรับไม่ได้
สิ่งเหล่านี้อาจเป็นภาพสะท้อนให้เราเห็นสัจธรรมของโลกใบนี้ว่า
ตราบใดมีศรัทธาของมวลชนเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงอยู่
ตำนาน ก็ถูก ปลุก ให้มี ชีวิต ขึ้นมาได้เสมอ |
|
|
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
05 พ.ค.2008, 7:18 pm |
  |
|
    |
 |
ratchadapa
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 05 ม.ค. 2008
ตอบ: 84
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพมหานคร
|
ตอบเมื่อ:
05 พ.ค.2008, 8:52 pm |
  |
สาธุ คุณกรัชกาย คุณตามรอย และคุณกุหลาบสีชา ที่มาร่วมแสดงทรรศนะ
ขอเพิ่มเติมโดยยกมาจากหนังสือ สถานการณ์พระพุทธศาสนา
โดยพระเดชพระคุณอาจารย์พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
สรุปหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาคืออะไร
หลักการสำคัญของพระพุทธสาสนาก็คือ การที่เราต้องทำกรรมด้วยความเพียรพยายาม และจะต้องฝึกฝนพัฒนาตนเพื่อจะทำกรรมให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป แทนที่จะคิดว่าเราจะขอให้ใครช่วย เราจะไปอ้อนวอนเทพเจ้าองค์ไหนทำให้เรา ก็หันมาถามตัวเองนี่แหละ ว่าเราจะต้องทำอะไร และเราต้องแก้ไขปรับปรุงตัวเราอย่างไร เพื่อให้การกระทำของเราได้ผลดียิ่งขึ้น นี้คือหลักการของพระพุทธศาสนา
ที่ถามว่าจะต้องทำอะไรก็คือ หลักกรรม และที่ถามว่าเราจะต้องแก้ไขปรับปรุงพัฒนาตัวเราอย่างไร ก็คือ หลักสิกขา นั้นเอง
ยิ่งกว่านั้นในกระบวนการที่เราจะต้องทำกรรมด้วยความเพียรพยายาม และมีการศึกษาฝึกฝนพัฒนาตนตลอดเวลานี้ ท่านยังย้ำด้วยหลัก อัปปมาทะ อีกว่า จะต้องมีความไม่ประมาท จะต้องใช้เวลาแต่ละขณะที่ผ่านไปให้เป็นประโยชน์ที่สุด จะต้องเร่งรัดทำความเพียร จะผัดเพี้ยนไม่ได้ จะทอดทอ้งปล่อยปละละเลยไม่ได้ หลักพระพุทธศาสนาย้ำในเรื่องที่ว่าจะต้องเพียรพยายามตลอดเวลา ถ้าเราปฏิบัติตามหลักสิกขา และมีความไม่ประมาทอยู่เสมอแล้ว เราก็จะเป็นบุคคลที่มีความเพียรในการสร้างสรรค์ มีการแก้ไขปรับปรุงตัวพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ก้าวขึ้นสู่ "หลักพึ่งตนได้" และดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ซึ่งเป็นลักษณะชีวิตชาวพุทธ
ชาวพุทธทราบดีอยู่แล้วว่า ในพระพุทธศาสนานี้ไม่มีการบังคับ ศรัทธาต้องประกอบด้วยปัญญา ไม่ใช่เกิดจากการบังคับ ไม่มีการบังคับให้เชื่อหรือให้นับถือ ไม่มีเทพเจ้ามาห้ามมาสั่ง เมื่อไม่มีใครมาลงโทษหรือให้รางวัล การที่จะทำอะไรให้ถูกต้องดีงาม หรือการที่จะปฏิบัติตามธรรม จึงอยู่ที่ตัวเราเอง จะต้องมีจิตสำนึกในการศึกษา คือการที่ระลึกตระหนักอยู่เสมอว่า "เราจะต้องเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนให้มีชีวิตที่ดีงามยิ่งขึ้นไป ด้วยความรับผิดชอบต่อธรรมคือกฎธรรมชาติแห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ถ้าขาดจิตสำนึกนี้เสียแล้ว ก็หมดพลังก้าว ชาวพุทธย่อมร่วงหล่นหลุดออกไปจากธรรมสู่เเทพและไสย์โดยง่าย
คือตกไปจากพระพุทธศาสนานั่นเอง
ทีนี้ก็หันมาดูว่า ตามสภาพปัจจุบันเราได้เป็นอย่างนั้นหรือไม่ ถ้าเราเป็นชาวพุทธจริง เราก็จะเรียกร้องการกระทำของตนเอง เราจะไม่ถ่ายโอนภาระไปให้กับสิ่งภายนอก ไม่มัวรอให้สิ่งภายนอกมาสร้างผลที่ต้องการด้วยการอ้อนวอน
"พระพุทธเจ้าได้ดึงเรามาแล้ว จากเทพมาสู่ธรรม มาสู่หลักกรรม มาสู่หลักสิกขา มาสู่ความไม่ประมาท และมาสู่การพึ่งตนได้" อันนี้เป็นหลักการที่เสนอให้ใช้สำรวจ
...ยังมีต่อ... |
|
_________________ พวกเธอจงยินดีในความไม่ประมาท
จงระมัดระวังจิตของตน
จงถอนตนออกจากหล่มกิเลส
เหมือนพญาช้างติดหล่ม
พยายามช่วยตัวเอง |
|
  |
 |
RARM
บัวบาน

เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ค.2008, 8:16 am |
  |
เชื่อกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ทางสองสายที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ควรเดิน
1 กามสุขัลลิกานุโยโค หลงในกามสุข
2 อัตตกิลมถานุโยโค ทรมานกายและใจให้ลำบาก
แต่พระองค์ตรัสให้เดินสายกลาง อันทำตนไม่ให้เบียดเบียนตนและ ผู้อื่น
ทางสายกลางนั้นเป็นอย่างไรเล่า
..(มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)
..........แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์
.....เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับ
.....ตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือด
.....แห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสาย
.....กลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว
..........คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์
.....ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วย
.....อำนาจของอวิชชา ....มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือก
.....ฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :-
..........1. สัมมาทิฏฐิ ิคือความเข้าใจถูกต้อง
..........2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
..........3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
..........4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
..........5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
..........6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
..........7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
..........8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง
.....การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกัน
.....แล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ
...............การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค
....
1 .สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา) (หัวข้อ)
.....คือความเข้าใจถูกต้อง ย่อมต้องการใช้ในกิจการทั่วไปทุกประเภททั้งทางโลกและ
.....ทางธรรม แต่สำหรับฝ่ายธรรมชั้นสูงอันเกี่ยวกับการเห็นทุกข์หรืออาสวะซึ่งจัดเป็น
.....การเห็นอริยสัจจ์นั้นย่อมต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นพิเศษ ความเข้าใจถูกต้อง
.....คือต้องเข้าใจอย่างทั่วถึงว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร อย่างหยาบๆ ที่ปรากฎชัดๆ เป็นอย่างไร
.... อย่างละเอียดที่แอบแฝงเป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิท
.....ของทุกข์มีภาวะอย่างไร มีลำดับอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์คืออะไร เดินให้ถึงได้
.....อย่างไร สัมมาทิฏฐิมีทั้งที่เป็นโลกิยะคือของบุคคลที่ต้องขวนขวายปฏิบัติก้าวหน้าอยู่
.....และสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกกุตตระ คือของพระอริยบุคคลต้นๆ ส่วนของพระอรหันต์นั้น
.....เรียกเป็นวิชชาไปและไม่เรียกว่าองค์แห่งมรรค เพราะท่านถึงที่สุดแล้ว
2 สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา) (หัวข้อ)
.....คือความใฝ่ใจถูกต้อง คือคิดหาทางออกไปจากทุกข์ตามกฎแห่งเหตุผล ที่เห็นขอบมาแล้ว
.....ข้อสัมมาทิฏฐินั่นเอง เริ่มตั้งแต่การใฝ่ใจที่น้อมไปในการออกบวช การไม่เพ่งร้าย การ
.....ไม่ทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นแม้เพราะเผลอ รวมทั้งความใฝ่ใจถูกต้องทุกๆอย่างที่เป็นไปเพื่อ
.....ความหลุดพ้นจากสิ่งที่มนุษย์ไม่ประสงค์
3 .สัมมาวาจา (ศีล) (หัวข้อ)
.....คือการพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
4 .สัมมากัมมันตะ (ศีล) (หัวข้อ)
.....คือการกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
5 .สัมมาอาชีวะ (ศีล) (หัวข้อ)
.....คือการดำรงชีพถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
6 .สัมมาวายามะ (สมาธิ) (หัวข้อ)
.....คือความพากเพียรถูกต้อง เป็นส่วนของใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังจากทาง
.....ดำเนินตามมรรค ถึงกับมีการอธิษฐานอย่างแรงกล้า
7 .สัมมาสติ (สมาธิ) (หัวข้อ)
.....คือการระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญาที่จะแทงตลอด
.....อวิชชาที่ครอบงำตนอยู่ โดยเฉพาะได้แก่กายนี้ และธรรมอันเนื่องเกี่ยวกับกายนี้ เมื่อ
.....พบความจริงของกายนี้ อวิชชาหรือหัวหน้าแห่งมูลทุกข์ก็สิ้นไป
8 .สัมมาสมาธิ (สมาธิ) (หัวข้อ)
.....คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่สมาธิ เป็นของจำเป็นในกิจการทุกอย่าง สำหรับในที่นี้เป็น
.....อาการของใจที่รวมกำลังเป็นจุดเดียว กล้าแข็งพอทีจะให้เกิดปัญญา
.....ทำการแทงตลอดอวิชชาได้ และยังเป็นการพักผ่อนของใจ ซึ่งเป็นเหมือนการลับให้ อ
.....แหลมคมอยู่เสมอด้วย ฯลฯ
....องค์มรรคบางองค์ เป็นส่วนหยาบและสะสมขึ้นในตัวเราได้โดยง่ายคือ สัมมาวาจา
.....สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามองค์นี้ถูกอบรมให้สำเร็จเป็นวิรัติเจตสิกจำพวกกุศล
.....เจตสิกเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่ในสันดาน เตรียมพร้อมที่จะมาผสมจิตคราวเดียวกันกับ
.....มรรคองค์อื่นๆ เมื่อได้โอกาสอันเหมาะ แม้องค์มรรคที่ยากๆ เช่นสัมมาทิฏฐิ-สติ-สมาธิ
..... ก็เหมือนกัน ได้ฝึกอบรมมาเท่าใดก็เข้าไปนอนเนื่องติดอยู่ในสันดานเป็นกุศลเจตสิก
.....อยู่อย่างเดียวกัน รอคอยกันจนกว่าจะครบทุกองค์และมีสัดส่วนพอดีกัน ก็ประชุมกัน
.....เป็นอริยมรรคขึ้น ตัดกิเลสหรือสัญโญชน์ให้หมดไปได้คราวหนึ่งตามกำลังหรือชั้นของ
.....ตน อาการสะสมกำลังแห่งองค์มรรคนี้ตรัสเรียกว่า "การอบรมทำให้มาก"
.....สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ เกิดขึ้นอ่อนๆก่อน เกิดขึ้นเท่าใดก็จูงองค์อื่นๆ ให้เกิดขึ้นตามส่วน
.....องค์ที่เกิดขึ้นนั้นกลับช่วยสัมมาทิฏฐิให้คมกล้าขึ้นไปอีก สัมมาทิฏฐินั้นก็่จูงองค์นั้นๆให้
.....กล้าขึ้นอีก และส่งเสริมชักจูงกันไปอีกทำนองนี้ จนกว่าจะถึงขีดที่เพียงพอและสามัคคี
.....พร้อมกันได้ครบองค์ การอบรมทำให้มากอยู่เสมอนี้เองคือระยะแห่งการปฏิบัติธรรม
.....ยิ่งมากก็ยิ่งเร็ว ยิ่งอธิษฐานใจกล้าก็ยิ่งแรง ยิ่งที่วิเวกก็ยิ่งสุขุมลึกซึ้ง ยิ่งชำนาญก็ยิ่งคมกล้า |
|
|
|
  |
 |
ratchadapa
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 05 ม.ค. 2008
ตอบ: 84
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพมหานคร
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ค.2008, 9:29 pm |
  |
ท่าน Rarm นะคะ
ชอบพุทธพจน์ที่หลวงพ่อปราโมทย์ท่านเคยกล่าวถึงตอนหนึ่งว่า
เมื่อเทวดาทูลถามพระพุทธเจ้าว่า บุคคลจะข้ามโอฆะได้อย่างไร
พระพุทธองค์ตรัสว่า เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ สามารถข้ามโอฆะได้
เมื่อเทวดาทูลถามอีกว่า ที่ว่าไม่พัก แล ไม่เพียร นั้นหมายความว่าอย่างไร
พระพุทธองค์ตรัสว่า ที่ว่าพักอยู่นั้นคือ การปล่อยกายปล่อยใจให้หลงใหลอยู่ในกามสุข (กามสุขัลลิกานุโยค) ที่ว่าเพียรอยู่นั้นคือ การทรมานกายใจให้ลำบาก (อัตถกิลมถานุโยค)ฯ
ดังนั้น เทวดาจึงถวายสาธุการแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
 |
|
_________________ พวกเธอจงยินดีในความไม่ประมาท
จงระมัดระวังจิตของตน
จงถอนตนออกจากหล่มกิเลส
เหมือนพญาช้างติดหล่ม
พยายามช่วยตัวเอง |
|
  |
 |
human
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 01 พ.ย. 2006
ตอบ: 41
|
ตอบเมื่อ:
09 พ.ค.2008, 9:19 am |
  |
ลักษณะตัดสินธรรมวินัย 8 ประการ ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนแก่พระนางปชาบดีโคตมีเถรี
ธรรมเหล่าใด เป็นไป
1. เพื่อความกำหนัด ย้อมใจ
2. เพื่อความประกอบทุกข์
3. เพื่อความสะสมกองกิเลส
4. เพื่อความอยากใหญ่
5. เพื่อความไม่สันโดษ ยินดีด้วยของที่มีอยู่
6. เพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
7. เพื่อความเกียจคร้าน
8. เพื่อความเลี้ยงยาก
ธรรมเหล่านั้น พึงรู้ว่า ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระศาสดา อย่าได้ยึดถือหรือประพฤติปฏิบัติตาม
ธรรมเหล่าใด เป็นไป
1. เพื่อคลายความกำหนัด
2. เพื่อปราศจากความทุกข์
3. เพื่อความไม่สะสมกิเลส
4. เพื่อความอยากอันน้อย มักน้อย
5. เพื่อความสันโดษ ยินดีด้วยของที่มีอยู่
6. เพื่อความสงัดจากหมู่ คณะ
7. เพื่อความเพียร
8. เพื่อความเลี้ยงง่าย
ธรรมเหล่านั้น พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา พึงยึดถือและประพฤติปฏิบัติตาม |
|
|
|
  |
 |
|