Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 บรรทัดฐาน การปฏิบัติ "สมาธิ" อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 8:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่า "บรรทัดฐาน" หมายถึง "แบบแผน สำหร้บการยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ" (จากพจนานุกรมไทย ราชบัณฑิตยสถาน)



เหตุที่ข้าพเจ้านำมาตั้งเป็นกระทู้นี้ จุดประสงค์ก็เพื่อ ความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน หรือความถูกต้องในการฝึกปฏิบัติสมาธิ ไม่ให้มีความคิดแตกแยก บ้างไปฝึกแบบหนึ่ง บ้างไปฝึกอีกแบบหนึ่ง ดังนั้น ในกระทู้นี้ จึงจะอธิบายในเรื่องของสมาธิ แบบพิสดาร คือ แบบละเอียด ให้ท่านทั้งหลาย โดยเฉพาะ ผู้ที่เกี่ยวข้องในทางพุทธศาสนา ได้นำไปใช้เป็นบรรทัดฐาน ในการเผยแพร่ หรือสอน หรือแนะนำ ให้กับผู้ศรัทธา เพื่อมิให้เกิดการแก่งแย่งในเชิงพาณิชย์ จนทำให้หลักปฏิบัติที่แท้จริงสุญหาย หรือศาสนาเสื่อมโทรมลง เพราะเพียงเพื่อหวังทรัพย์ หรืออื่นใด



สมาธิ เป็นธรรมชาติ ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) เป็นสภาพสภาวะจิตใจ ชนิดหนึ่ง ที่มนุษย์ได้รับการขัดเกลา จนกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า "สัญชาตญาณ" รูปแบบหนึ่ง

สมาธิ นั้น แท้จริงแล้ว คือการ "เอาใจจดจ่อ หรือเอาใจฝักใฝ่ ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อมิให้เกิดความคิด มิให้เกิด อารมณ์ มิให้เกิดความรู้สึกบางชนิด ซึ่ง ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ก็จะก่อให้เกิดพฤติกรรมอื่นๆ ทั้งทางกาย และวาจา ตามมา

ดังนั้น การฝึกสมาธิที่ถูกต้อง ย่อมเป็นการใส่ข้อมูลให้กับสมอง อันจำนำไปสู่ประสาทส่วนกลาง รวมไปถึงประสาทอัตโนมัตอื่นๆในสรีระร่างกายของมนุษย์

หากการฝึกสมาธิ อยุ่ในรูปแบบของการใส่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง อันตรายต่อระบบการทำงานของสรีระร่างกายจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอันตรายต่อระบบการทำงานของสมอง ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ซึ่ง เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก และความคิด

ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ การฝึกสมาธิของบางลัทธิ ของบางสำนักนั้น ผิดหลักธรรมชาติ เป็นการใส่ข้อมูลความจำที่ไม่ถูกต้อง อันย่อมทำให้เกิดอันตรายหรือเกิดความผิดปกติต่อระบบการทำงานของสรีระร่างกาย

ที่กล่าวไปนี้ เป็นการทำความเข้าใจ หรือเป็นการอธิบายเพื่อให้ท่านทั้งหลาย รวมไปถึง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ได้คิดพิจารณา ตามหลักวิชาการต่างๆ ทุกด้าน เพราะเรื่องของศาสนา เกี่ยวข้อง สัมพันธ์ กับหลักวิชาการทุกด้านอยู่แล้ว

แต่ในเรื่องของสมาธินี้ จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กับหลักวิชาทางด้าน กายวิภาคศาสตร์ และระบบการทำงานของร่างกาย รวมไปถึงหลักวิชา จิตวิทยา ฯ อีกด้วย

ในตอนต่อไป จะอธิบาย ถึงวิธีการปฏิบัติสมาธิที่ถูกต้อง และไม่เกิดอันตรายต่อระบบการทำงานของร่างกาย อันเป็นการใส่ข้อมูลให้กับสมอง และระบบประสาทอื่น เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานอันเดียวกัน ในการปฏิบัติสมาธิ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง