ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
27 เม.ย.2008, 9:51 am |
  |
การทำสมาธิหรือการปฏิบัติสมาธินั้น หมายถึง การเอาใจจดจ่อ หรือการเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นในทางพระสงฆ์ ก็มีหลายวิธี ดั่งเช่น,สวดมนต์ ก็ใช้บทท่องสวด เป็นตัวกำกับ ในการฝึกสมาธิ รูปแบบหนึ่ง
เวลานั่งสมาธิ ทั่วๆไป ก็ใช้ ลมหายใจบ้าง อย่างอื่นบ้าง เป็นตัวกำกับ
เมื่อคุณศึกษาในมหาวิทยาลัย เวลาคุณฟังเลกเชอร์ จากอาจารย์ คุณก็เอาใจจดจ่อหรือฝักใฝ่ที่การพูดของอาจารย์ และจดบันทึกไปด้วย ก็เป็นการทำสมาธิประการหนึ่ง
หรือคุณอ่านตำรา ก็เป็นการทำสมาธิ อีกประการหนึ่ง
และก่อนที่คุณจะนอน คุณก็แบ่งเวลานั่งสมาธิ โดยใช้ลมหายใจเป็นตัวกำกับ ก็อีกประการหนึ่ง
เมื่อลงนอน คุณก็ทำสมาธิ ให้นอนหลับไป เป็นการพักผ่อนสมองไปในตัว
ฌาน นั้น แท้จริงแล้ว ไม่มีการแบ่งว่า ชั้น หยาบ กลาง หรือละเอียด[/
เพราะฌาน เป็นสภาพแห่งระบบความคิดหรือระบบสมองของสรีระร่างกายมนุษย์
มนุษย์ทุกคน ย่อมมีสภาพอารมณ์ ความรู้สึกซึ่ง เป็นสิ่งที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่า "ฌาน" คือมี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
วิตก คือ เป็นทุกข์ ร้อนใจ กังวล
วิจาร คือ การคิดทบทวน ในเรื่องต่างๆที่ได้ประสบมา
ปีติ คือ ความปลาบปลื้มใจ หรืออิ่มใจ จะเรียกว่า ความภูมิใจก็คงไม่ผิด
สุข คือ ความสบายกาย สบายใจ ปลอดโปร่ง ไม่คิดสิ่งใด
เอกัคคตา คือ ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่สมาธิ หรือเรียกว่า มีสมาธิ
มนุษย์ทุกคน จะมีสิ่งที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่าฌานอยู่ในตัวในสมอง เป็นคลื่นข้อมูลอันได้ประสบ สัมผัสทางอายตนะ คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่เป็นนิจ
หากไม่มีสมาธิ คือ ไม่มี เอกัคคตา ที่ดี ก็ย่อม ต้องเกิด วิตก วิจาร ปีติ สุข อย่างนี้เป็นต้น
หากมีเอกัคคตา ในระดับหนึ่ง ก็อาจเกิดวิตกวิจาร เพียงเล็กน้อย อาจเกิดปีติ สุข เพียงเล็กน้อย แต่ที่สุดก็จะเหลือเพียงสภาพจิตที่เรียกว่า เอกัคคตา คือมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว จะว่าวางเฉยก็ไม่ใช่ จะว่าไม่วางเฉยก็ไม่ใช่
ฌาน หรือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา จึงไม่มีชั้น หยาบ กลาง หรือละเอียด
แต่ฌาน จะอยู่ในรูปแบบของคลื่น ซึ่งอาจฝังตัวอยู่ในส่วนลึกของสมอง เมื่อถูกกระตุ้น ก็จะแสดงออกมา อาจเป็นนอนหลับฝัน อาจระลึกนึกขึ้นมาได้ หรืออาจเกิดความเศร้าหมองเมื่อได้ประสบกับสิ่งที่มากระตุ้นคลื่นที่มีอยู่ในตัวเรา
ที่เขียนไปทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนน้อย แต่ก็คงเพียงพอสำหรับ ผู้เกี่ยวข้องทางศาสนาพุทธ ได้ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง และเป็นบรรทัดฐานอันเดียวกัน
ซึ่งท่านทั้งหลายก็ควรได้ คิดพิจารณา ให้ถ่องแท้ ว่าจริงตามที่ข้าพเจ้าสอนหรือไม่
การศึกษา หรือเล่าเรียนปฏิบัติธรรม ตามหลักศาสนา ก็ต้องศึกษาเล่าเรียน พิจารณาให้เป็นไปตามหลักความจริง ไม่ใช่เล่าเรียนให้เป็นไปตามหลักตำรา
เพราะบางครั้ง หรือส่วนใหญ่(เฉพาะในเรื่องของศาสนา) หลักตำรา ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นจริงมีจริง ตามหลักธรรมชาติ
ถ้าท่านทั้งหลายฝึกคิดพิจารณา ให้เป็นไปตามหลักความจริง โดยดู สังเกต หรือพิจารณา นับตั้งแต่ตัวเองเป็นต้นไป ก็จะเกิดความรู้ที่ถ่องแท้ สามารถนำไปปฏิบัติ หรือเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ ที่ถูกต้อง จนสามารถบรรลุถึงธรรมชั้นอริยะบุคคล
ไปพิจารณาให้ดีซะก่อน อย่าหลงตำราให้มากนัก
คุณฝึกตามตำราได้ผลกี่มากน้อย
แต่ถ้าคุณฝึกคิดพิจารณาตามที่ข้าพเจ้าสอน แล้วจะได้ผลกี่มากน้อย ทำดูแล้วหรือยัง เข้าใจดีแล้วหรือยัง
ถ้ายังไม่เข้าใจ อ่านอีก ทำความเข้าใจอีก พิจารณาตัวเอง ให้ดี สังเกตตัวเองให้ดี แล้วก็ขยายวงสังเกตผู้อื่น
แล้วจะเข้าใจ แล้วจะรู้ แล้วจะตื่น แล้วจะเบิกบาน
ส่วนคำถามของคุณ ข้าพเจ้าไม่ตอบดอกนะ
ถามคนในเวบฯนี้เขาคงรู้จักข้าพเจ้าเป็นอย่างดีอยู่แล้วขอรับ
ความหมายของคำว่า "วิตก" ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฏก (อ.ปยุตฺ ประยุตโต) ดังนี้
"ความตรึก, ตริ, การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือปักจิตลงสู่อารมณ์ (ข้อ ๑ ในองค์ฌาน ๕), การคิด, ความดำริ; ไทยใช้ว่าเป็นห่วงกังวล "
ท่านทั้งหลายลองพิจารณาดูซิว่า การศึกษาภาษาบาลีนั้น ต้องแปลหรือให้ความหมายเป็นภาษาไทยหรือไม่ ท่านทั้งหลาย ลอง พิจารณาซิว่า
"การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือ ปักจิตลงสู่อารมณ์ นั้น มีความหมายตามภาษาไทย ว่าอย่างไร"
คำว่า "การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือปักจิตลงสู่อารมณ์นั้น หมายถึง การเอาใจ หรือการใช้ความคิด ผูกสัมพันธ์ กับอารมณ์ที่เกิดขึ้น อารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้น หมายถึง ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ได้แก่พฤติกรรมและการกระทำ หรือการดำเนินชีวิต ของแต่ละบุคคลอันปฏิสัมพันธ์กัน หรือเกี่ยวข้องกัน เมื่อเกิดอารมณ์โกรธ จากการได้สัมผัส ก็จะเกิดความคิดฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์นั้น หรือ เมื่อเกิดความหลง เช่นการรอคอยใครสักคนแล้วไม่มา ก็จะเกิดการเอาใจหรือความคิด เข้าไปผูกสัมพันธ์กับอารมณ์นั้น คิดไปตามความรู้ ประสบการณ์ หรือการได้รับการขัดเกลาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของแต่ละบุคคล ถ้าจะอธิบายสั้นๆก็คือ เกิดความคิดฟุ้งซ่าน อันเรียกว่า "วิตก"นั่นเอง
ข้าพเจ้าเคยสอนไปหลายครั้งแล้วว่า
การฝึกสมาธิ หรือปฏิบัติสมาธิ นั้น เป็นการฝึกการควบคุมความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ไม่ให้ฟุ้งซ่าน คือ ไม่ให้คิด ถ้าไม่คิด ก็ย่อมไม่เกิดอารมณ์ และความรู้สึก
นี้เป็นหลักการขั้นพื้นฐาน สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องของ อภิญญา กัมมัฏฐาน
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม อารมณ์ และความรู้สึกนั้น ไม่ใช่เกิดจากความคิดแต่เพียงอย่างเดียว อาจเกิดจากร่างกายของเรา เช่นนั่งไม่ถูกท่า นั่งนานเกินไป ก็เกิดความรู้สึกและอารมณ์
ท่านทั้งหลายอาจไม่รู้ว่า ขณะเกิดความรู้สึกนั้น จะเกิดอารมณ์ชนิดใดชนิดหนึ่งตามมาด้วย อารมณ์ที่เกิดติดตามความรู้สึกนั้น ก็คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
จึงยังมีวิธีการอีกหลายวิธีที่จะทำไม่ให้เกิดความรู้สึก เช่นหากนั่งแล้วมีอาการขาชา เจ็บก้น ปวดขา ก็ต้องขยับนั่งให้ถูกท่า ไม่ให้ทับเส้น อะไรทำนองนี้
สรุปแล้ว การปฏิบัติ สมาธินั้น ถ้าจะให้คำจำกัดความที่ถูกต้องแล้วละก้อ
ย่อมหมายถึง การปฏิบัติ เพื่อมิให้เกิดฌาน บางชนิด คือมิให้เกิด อาการ วิตก วิจาร ปีติ สุข
แต่การปฏิบัติ ก็เพื่อให้เกิดฌาน บางชนิด คือ เอกัคคตา อย่างนี้เป็นต้น |
|
|
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
29 เม.ย.2008, 11:42 pm |
  |
พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า
" ผู้ใดไม่มีฌานผู้นั้นไม่มีสมาธิ ผู้ใดไม่มีสมาธิผู้นั้นก็ไม่มีฌานเหมือนกัน "
จาก สิ้นโลก เหลือธรรม หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 12:27 am |
  |
สมาธิ ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ทั้งสมาธิและฌาน มีองค์ประกอบเหมือนกัน คือมีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ความแตกต่างคือ ฌาน ใช้เพ่ง ( วิตก )
สมาธิ ใช้ความตรึกนึกคิดอารมณ์ภาวนา ( วิตก )
ถ้า ... วิตกคือ เป็นทุกข์ร้อน กังวลหรือฟุ้งซ่าน อันนั้นน่าจะเป็นวิตกกังวลมากกว่า เพราะถ้าวิตกเป็นเช่นนี้แล้ว จะทำให้เกิดสมาธิหรือฌานได้อย่างไร
การทำสมาธิมีหลายรูปแบบ อาจจะมีองค์บริกรรมภาวนา เช่นพุทโธ พองหนอ ยุบหนอ สัมมาอรหัง นะมะพะทะ ฯลฯ หรือไม่มีก็ได้ เช่น จับที่ลมหายใจเข้าออก หรือดูอาการของกายที่เกิดขึ้นขณะหายใจที่หายใจเข้าออกแล้วลมกระทบท้อง เห็นอาการท้องพองหรือยุบลงตามลมหายใจเข้าออก ดูอาการพองยุบของท้อง คือดูตามความเป็นจริงที่เกิดไม่มีการบริกรรมภาวนา
ฌาน ใช้การเพ่งเป็นอารมณ์ เพ่งรูปธรรม เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ พระพุทธรูป อสุภะ เพ่งจนกว่ารูปธรรมนั้นติดตาแล้วกลายเป็นนิมิตขึ้นมา |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 8:36 am |
  |
walaiporn
ตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2008, 12:27 am เรื่อง:
--------------------------------------------------------------------------------
สมาธิ ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ทั้งสมาธิและฌาน มีองค์ประกอบเหมือนกัน คือมีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ตอบ....
อย่าหาว่าขัดคอคุณเลยนะ สิ่งที่คุณรู้มานั้น เป็นการรู้มาผิดๆ
ไปศึกษา มาให้ดี
ในเรื่องของ ฌาน นั้น สมาธิ มีเพียงอย่างเดียว คือ "เอกัคคตา"
นอกเหนือจากนั้น เป็น "ฌาน"
แต่เนื่องจาก ผู้ศึกษา พุทธศาสนา ไม่เข้าใจในความหมายของภาษาบาลี อย่างถ่องแท้ จึงทำให้เกิดการเข้าใจผิดคิดว่า "ฌาน" คือ สมาธิ
ไม่ใช่นะขอรับ ไม่ถูกต้องขอรับ
"ฌาน" นั้น เป็นสิ่งบอกอาการ ทางด้านระบบภายในของร่างกาย อันได้แก่ อารมณ์ ความรู้สึก และ ความคิด ของมนุษย์ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์)
หมายความว่า มนุษย์ทุกคน ล้วนมีสิ่งที่เรียกว่า "ฌาน" ทุกคน
และหากฝึกสมาธิ แล้ว "ฌาน" ก็จะหายไป ไม่ใช่ดับไปนะขอรับ เพียงแต่เมื่อฝึกปฏิบัติสมาธิดีแล้ว สิ่งที่เรียกว่า "ฌาน" ก็จะไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้น ก็จะถูกขจัดไป ด้วยสมาธิ นั่น ก็หมายถึง " ความรุ้สึกตัว และ ระลึกได้ " หรือ สัมปชัญญะ และสติ
ผู้เกี่ยวข้องในพุทธศาสนา ทุกท่าน โปรดได้พิจารณา ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้
นี้เป็นการพัฒนา พุทธศาสนา อย่างถูกวิธี และถูกต้อง ตามยุคตามสมัย |
|
|
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 6:43 pm |
  |
ไม่ได้พูดเลยสักคำว่า ฌานคือสมาธิ เพียงแต่บอกว่า องค์ประกอบในการเกิดฌานหรือสมาธินั้นเหมือนกัน จะมีแตกต่างกันก็คือวิตก ซึ่งก็ได้บอกไปแล้ว
ใจเย็นๆ เวลาอ่านข้อความ อย่าอ่านแค่ผ่านๆตา เพราะจะทำให้ขาดการเก็บรายละเอียด
รู้ไหม .... ว่าเมื่อฝึกสมาธิได้คล่องแคล่วแล้ว ทำไมฌานจึงหายไป เพราะสมาธินั้นประกอบไปด้วยสติ สัมปชัญญะ มันจะรู้ตัวตลอดเวลา ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งคลายออกจากสมาธิ สมาธิที่ขาดสติ หรือสติยังด้อย ย่อมทำให้เกิดเป็นฌาน เมื่อสมาธินั้นมากเกินสติ
สมาธิมี ๓ ระดับ คงไม่ต้องพูดนะตรงนี้
ฌาน มี ๔ ระดับ ( ขอพูดเฉพาะรูปฌาน อรูปฌาน ไม่ขอกล่าวถึง เพราะถ้าผ่านฌาน ๔ ได้ คล่องแคล่ว ฌาน ๕ ๖ ๗ ๘ ก็จะทำได้เอง ไม่ต้องฝึกอะไรมากมาย )
เอกัคคตานั้นทำได้อย่างไร ทำอย่างไรจิตจึงจะรวมเป็นหนึ่งได้ตลอดเวลา ....
ทำสมาธิ รู้แรก ต้อง ละ .... ละอะไรบ้าง ....
ในการเกิดสมาธิจะมีปีติ สุข ก็ต้องละ วิธีละก็คือให้กลับมารู้ที่กาย กลับมาที่กายจะทำได้อย่างไร ก็ใช้ตัวรู้ ตัวรู้ก็คือสติ เอาอะไรดูกาย เอาจิตดู ดูอาการท้องที่พองและยุบแทนที่จะไปเสวยปีติ แลสุขนั้น เมื่อทำได้อย่างนี้บ่อยๆเข้า ต่อไปทั้งปีติ สุขก็จะละได้ สมาธิก็จะก้าวหน้าต่อไป |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 7:16 pm |
  |
การเกิดสมาธิขั้นแรก เขาถึงเรียกว่า ปฐมฌาน คิดว่าคงไม่ต้องบอกนะ ว่าทำไมถึงเรียกว่าปฐมฌาน
ทำอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง วิตก วิจาร ปีติ สุข นั้นไม่มีเหลือ จะมีแต่สมาธิและสติอยู่คู่กัน ถ้าวันไหนสติด้อย สมาธิมากเกินไปติดนิ่ง นั่นก็จะกลายเป็นฌาน ไม่ใช่สมาธิ เพราะสมาธิที่แท้จริงจะต้องประกอบไปด้วยสติตลอดเวลา
เมื่อทำได้ดังนี้แล้ว จิตจะรวมตัวเป็นหนึ่งเข้าสู่สมาธิได้ตลอดเวลา ( เอกัคคตา ) ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน อริยาบทย่อย สามารถทำให้จิตรวมตัวเป็นหนึ่งได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ในอริยาบทใดๆ หรืออยู่ในที่ไหนๆ สามารถทำได้ตลอดเวลา
ฌานไม่ได้ดับหรือหายไปไหน เพียงแต่เราเปลี่ยนจากฌานมาเป็นสมาธิด้วยสติเท่านั้นเอง ถ้าวันใดสติด้อยหรือสติน้อย สมาธิมากเกินไป ขาดความรู้ตัว ( สติ ) ก็จะเข้าสู่ฌาน
สมาธิที่ประกอบด้วยสติ เรียกว่า สัมมาสมาธิ
สมาธิที่ด้อยสติ เรียกว่า มิจฉาสมาธิ
การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือการปักจิตลงสู่อารมณ์นั้น คิดว่าคงไม่ต้องพูดซ้ำนะว่าจะต้องทำอย่างไร เพราะบอกไปแล้ว
การทำสมาธิ จุดมุ่งหมายคือทำให้จิตตั้งมั่น การที่จะทำให้จิตตั้งมั่นได้ ต้องมีสติประกอบอยู่ด้วยตลอดเวลา ไม่ใช่ทำสมาธิเพื่อไปควบคุมความคิดหรืออะไรที่เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้น ต้องดูไปตามความเป็นจริงที่เกิดไม่ใช่ไปควบคุม อะไรเกิดชัดเจนที่สุดก็ดูตัวนั้นก่อน ถ้าเผลอก็ให้รู้ว่าเผลอ ถ้าไม่ทันก็ให้รู้ว่าไม่ทัน ทำบ่อยๆ รู้ลงไปบ่อยๆ สติ สัมปชัญญะก็จะชัดเจนขึ้น
เมื่อเวทนาเกิดก็ดูไปตามความเป็นจริงที่เกิด ถ้าพิจรณาไม่เป็นก็ไม่ต้องไปพิจรณา ( สำหรับคนที่ไม่ได้เรียนปริยัติ ) ดูอาการที่เกิด ไม่ต้องไปคิดไปปรุงแต่งว่าทำไมถึงปวด เพราะไปคิดไปปรุงมากๆเข้าก็กลายเป็นความฟุ้งซ่าน เมื่อความฟุ้งซ่านมา ความสงบเริ่มหายไป กลายเป็นเกิดเวทนามากขึ้น สุดท้ายต้องเปลี่ยนอริยาบท |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 7:52 pm |
  |
การศึกษา หรือเล่าเรียนปฏิบัติธรรม ตามหลักศาสนา ก็ต้องศึกษาเล่าเรียน พิจารณาให้เป็นไปตามหลักความจริง ไม่ใช่เล่าเรียนให้เป็นไปตามหลักตำรา
เพราะบางครั้ง หรือส่วนใหญ่(เฉพาะในเรื่องของศาสนา) หลักตำรา ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นจริงมีจริง ตามหลักธรรมชาติ
ถ้าท่านทั้งหลายฝึกคิดพิจารณา ให้เป็นไปตามหลักความจริง โดยดู สังเกต หรือพิจารณา นับตั้งแต่ตัวเองเป็นต้นไป ก็จะเกิดความรู้ที่ถ่องแท้ สามารถนำไปปฏิบัติ หรือเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ ที่ถูกต้อง จนสามารถบรรลุถึงธรรมชั้นอริยะบุคคล
ไปพิจารณาให้ดีซะก่อน อย่าหลงตำราให้มากนัก
คุณฝึกตามตำราได้ผลกี่มากน้อย
แต่ถ้าคุณฝึกคิดพิจารณาตามที่ข้าพเจ้าสอน แล้วจะได้ผลกี่มากน้อย ทำดูแล้วหรือยัง เข้าใจดีแล้วหรือยัง
ถ้ายังไม่เข้าใจ อ่านอีก ทำความเข้าใจอีก พิจารณาตัวเอง ให้ดี สังเกตตัวเองให้ดี แล้วก็ขยายวงสังเกตผู้อื่น
แล้วจะเข้าใจ แล้วจะรู้ แล้วจะตื่น แล้วจะเบิกบาน
ส่วนคำถามของคุณ ข้าพเจ้าไม่ตอบดอกนะ
ถามคนในเวบฯนี้เขาคงรู้จักข้าพเจ้าเป็นอย่างดีอยู่แล้วขอรับ
ที่ยกข้อความตรงนี้มา เพียงจะบอกว่า ...
อย่าไปหมิ่นผู้ที่ไดเล่าเรียนได้ศึกษามา บางทีอาจจะปฏิบัติหรือไม่ได้ปฏิบัติ แต่สิ่งเหล่านี้ก็คือกุศลของเขา เพราะผู้ที่ศึกษามาแล้ว ย่อมเป็นที่พึ่งพึงด้านความรู้แก่ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาได้ ถึงจะหลงตำราก็ยังเป็นในทางกุศลดีกว่าไปหลงอย่างอื่นที่เป็นหนทางไม่ใช่ทางไปสู่พระนิพพาน
กุศลแต่ละคนสร้างสั่งสมมาไม่เท่ากัน จะให้รู้เหมือนๆกัน หรือปฏิบัติได้เหมือนๆกัน มันเป็นไปไม่ได้
แล้วก็จะไม่ถามด้วยว่าคุณเป็นใคร เพราะเท่าที่อ่านๆที่คุณโพสมานั้น คุณก็คือผู้ปฏิบัติคนหนึ่งเท่านั้นเอง
ขออภัยนะที่ต้องกล่าวตรงๆว่า คุณไม่น่าจะใช้คำว่า " สอน " กับคนอื่นๆ เพราะมีแต่จะสร้างอัตตา มานะกิเลสให้กับตัวเอง ขนาดท่านที่เป็นครูบาฯ ท่านยังพูดเลย ท่านไม่เคยสอนใคร หากใครต้องการปฏิบัติ ท่านก็จะแนะนำให้
รู้ตัวต่อมา รู้แล้วจะลด ลดอะไร ลดสักยาทิฏฐิ ลดสักกายะทิฏฐิได้ มานะกิเลสก็จะลดลงไปได้ การที่มีมานะเกิดขึ้น เพราะคิดว่ารู้แล้ว เมื่อรู้แล้วก็อยากพูด อยากจะสอน อยากจะบอกกับคนอื่นๆในสิ่งที่ตัวเองรู้ บางท่านถึงขนาดยัดเยียดพยายามไปเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติของผู้อื่น นี่แหละผลของการรู้แบบวิปัสสนึก นึกว่าตัวเองรู้ ( เคยเป็นมาก่อน ถึงกล้าพูดแบบนี้ ) รู้จริงแล้วมันจะไม่ยึดรูปแบบ ไม่มาแบ่งเขาแบ่งเรา เพราะทุกอย่าง ไม่ว่า จะทาน ศิล ภาวนา หรือแค่ศึกษา แต่ยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติ ทุกอย่างก็ล้วนแต่เป็นกุศล
รู้ตัวต่อมา รู้แล้วเลิก เลิกอะไร เลิกทุกสิ่งที่ทำแล้วเกิดอกุศล ศิลที่เคยพร่อง ก็จะค่อยๆเต็ม จากที่เคยพยายามรักษาศิล ก็จะกลายเป็นศิลรักษาคนๆนั้นเองโดยไม่ต้องพยายามรักษาศิลอีกต่อไป เพราะถูกศิลครอบคลุมไว้หมดแล้ว
หากตัวหนังสือที่โพสลงไปนี้ คุณอ่านแล้ว ถ้าทำให้คุณเกิดการเคืองขุ่นใจหรือทำให้เกิดอกุศลจิตเกิดขึ้น ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมกับท่าน มา ณ ที่นี้ด้วย |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
01 พ.ค.2008, 9:56 am |
  |
ดูกร.. ผู้เจริญในความคิด อันเนื่องจากศาสนาแล้ว ย่อมหาได้คิดว่า ข้าพเจ้าดูหมิ่นผู้ศึกษาจากตำรา
ดูกร,,, ผู้มีความคิดต่ำ อันเนื่องจากไม่เข้าใจในศาสนาแล้วไซร้ ย่อมอ่านแล้วแปลควานมหมายว่า ข้าพเจ้าดูหมิ่น
การศึกษาจากตำรา นั้นเป็นความดี คือ ผู้ที่ได้เล่าเรียนจากตำรา ย่อมใช้เวลาว่าง ในการเรียนการศึกษา ดีกว่าไปประพฤติอย่างอื่น
แต่การศึกษาจากตำรา ต้องคิดพิจารณาให้เป็นไปตามหลักความจริง ตามธรรมชาติ จึงจะได้ชื่อว่า ตำรานั้น เป็นตำราที่ถูกต้อง
ความจริงแล้ว ตำรานั้นถูกต้องอยู่แล้ว แต่ผู้เรียนจากตำรา ตีความหมายเป็นอย่างอื่น
"ศึกษาเล่าเรียน พิจารณาให้เป็นไปตามหลักความจริง ไม่ใช่เล่าเรียนให้เป็นไปตามหลักตำรา
เพราะบางครั้ง หรือส่วนใหญ่(เฉพาะในเรื่องของศาสนา) หลักตำรา ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นจริงมีจริง ตามหลักธรรมชาติ "
ข้อความข้างต้นนี้ ไม่ใช่ข้อความดูหมิ่นผู้ใด แต่เป็นคำสอน ให้รู้ ให้เกิดความเข้าใ ตามหลักความเป็นจริงตามธรรมชาติ
เรียนหรืออ่านจากตำรา แต่ไม่รู้แจ้งในตัวเอง ศาสนามันก็เสื่อม จะเกิดกุศลอะไรขึ้นมาละคุณ ในเมื่อ เรียนจากตำราแล้วตีความหมายไปในทางที่ไม่เป็นจริงตามหลักธรรมชาติ ไปเป็นจริงหรือเป็นไปตามหลักศาสนา ทำลายตัวเองไม่รู้สึกตัว ยังทำลายศาสนา ด้วยความอวดดี อวดฉลาด ไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้ง ไม่พิจารณา ตามหลักความเป็นจริง ตำราเขาเสียนะคุณ ไม่ใช่รักษาตำรา หรือสร้างกุศลนะ ไม่คิดดูให้รอบคอบ
สมาธิ คือ ความรู้สึกตัว และ ระลึกได้อยู่เสมอ
คุณจะ รู้สึกตัว และ ระลึกได้ ในการทำงาน ในพฤติกรรมใดใด คุณจะต้อง เกิด วิตก วิจาร ปีติ สุข เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์
ไปพิจารณา และสังเกตตัวเองให้ดี และทำความเข้าใจ ให้ดีว่า วิตก วิจาร ปีติ สุข นั้น เป็น สมาธิ หรือไม่
และคำว่าเป็นสมาธิหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามหลักความเป็นจริง ตามธรรมชาติ เพราะ สมาธิ นั้น หมายถึงการ เอาใจจดจ่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ การเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ซึ่งจะแตกต่าง จาก วิตก วิจาร ปิติ สุข นิดหนึ่ง พิจารณาดูเถิดขอรับ |
|
|
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
01 พ.ค.2008, 5:25 pm |
  |
ตอบเมื่อ: 01 พ.ค.2008, 9:56 am เรื่อง:
--------------------------------------------------------------------------------
ดูกร.. ผู้เจริญในความคิด อันเนื่องจากศาสนาแล้ว ย่อมหาได้คิดว่า ข้าพเจ้าดูหมิ่นผู้ศึกษาจากตำรา
ดูกร,,, ผู้มีความคิดต่ำ อันเนื่องจากไม่เข้าใจในศาสนาแล้วไซร้ ย่อมอ่านแล้วแปลควานมหมายว่า ข้าพเจ้าดูหมิ่น
ขออณุญาติตอบ จากข้อความที่ท่านโพสมา อันนี้ก็แล้วแต่ความคิดของท่านนะ
จากข้อความที่ท่านโพส ; ความจริงแล้ว ตำรานั้นถูกต้องอยู่แล้ว แต่ผู้เรียนจากตำรา ตีความหมายเป็นอย่างอื่น
"ศึกษาเล่าเรียน พิจารณาให้เป็นไปตามหลักความจริง ไม่ใช่เล่าเรียนให้เป็นไปตามหลักตำรา
เพราะบางครั้ง หรือส่วนใหญ่(เฉพาะในเรื่องของศาสนา) หลักตำรา ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นจริงมีจริง ตามหลักธรรมชาติ "
ข้อความข้างต้นนี้ ไม่ใช่ข้อความดูหมิ่นผู้ใด แต่เป็นคำสอน ให้รู้ ให้เกิดความเข้าใ ตามหลักความเป็นจริงตามธรรมชาติ
เรียนหรืออ่านจากตำรา แต่ไม่รู้แจ้งในตัวเอง ศาสนามันก็เสื่อม จะเกิดกุศลอะไรขึ้นมาละคุณ ในเมื่อ เรียนจากตำราแล้วตีความหมายไปในทางที่ไม่เป็นจริงตามหลักธรรมชาติ ไปเป็นจริงหรือเป็นไปตามหลักศาสนา ทำลายตัวเองไม่รู้สึกตัว ยังทำลายศาสนา ด้วยความอวดดี อวดฉลาด ไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้ง ไม่พิจารณา ตามหลักความเป็นจริง ตำราเขาเสียนะคุณ ไม่ใช่รักษาตำรา หรือสร้างกุศลนะ ไม่คิดดูให้รอบคอบ
ขออณุญาติตอบ ; เพียงจะบอกว่า แล้วแต่กุศลที่แต่ละท่านได้สร้างสั่งสมมา รู้แค่ไหน ย่อมตีความได้แค่นั้น การที่มีผลเช่นนี้ ย่อมมีเหตุมาก่อน
" ไม่ควรมุ่งหมายสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เพราะว่าสิ่งที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละเสียแล้ว สิ่งใดที่ยังมาไม่ถึงแล้ว สิ่งนั้นก้ยังไม่ได้มาถึง "
ข้อความที่ท่านโพสมา ; สมาธิ คือ ความรู้สึกตัว และ ระลึกได้อยู่เสมอ
ขออณุญาติตอบ ; ตรงนี้ คิดว่าท่านคงจะไม่ได้เจตนาตีความหมายของสมาธิ ว่าเป็นแบบนี้กระมัง
นำมาให้อ่าน
หลวงพ่อชาฯ ยกตัวอย่าง ...
"สติ ระลึกได้ว่า บัดนี้เราจะจับไม้เท้า เมื่อเราจับไม้เท้าอยู่เราก็รู้ว่าเราจับไม้เท้าอยู่ นี่เป็นสัมปชัญญะ..."
"สตินี้คือ ความระลึกได้ เมื่อเราจะพูดอะไร ทำอะไรต้องรู้ตัว เราทำอยู่ เราก็รู้ตัวอยู่ ระลึกได้อยู่อย่างนี้..."
"...เราจะต้องมีสติติดต่อกันอยู่เสมอ มีความรู้ติดต่อกันอยู่เสมอเป็นวงกลม จะไปถอนหญ้าก็ได้ นั่งอยู่ก็ได้ จะทานอาหารก็ได้ จะกวาดบ้านอยู่ก็ได้ ต้องไม่ลืม มีความรู้ติดต่ออยู่เสมอ ..."
พระราชวรมุนี ( ประยุทธ์ ปยุตฺโต ) อธิบายความหมายของสมาธิ ไว้ในหนังสือพุทธธรรมว่า
สมาธิแปลกันว่า ความตั้งมั่นของจิตหรือภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด คำจำกัดความของสมาธิที่พบเสมอคือ " จิตตัสเสกัคคตา " หรือเรียกสั้นๆว่า " เอกัคคตา " ซึ่งแปลว่า ภาวะจิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านหรือส่ายไป ( พระราชวรมุนี ๒๕๒๕ ก;๘๒๕ )
ถามมา ; ไปพิจารณา และสังเกตตัวเองให้ดี และทำความเข้าใจ ให้ดีว่า วิตก วิจาร ปีติ สุข นั้น เป็น สมาธิ หรือไม่
ขออณุญาติตอบ ; วิตก วิจาร ปีติ สุข เป็นเพียงองค์ประกอบในการทำให้เกิดสมาธิ แต่ไม่ใช่สมาธิ
ถามมา ; และคำว่าเป็นสมาธิหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามหลักความเป็นจริง ตามธรรมชาติ เพราะ สมาธิ นั้น หมายถึงการ เอาใจจดจ่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ การเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ซึ่งจะแตกต่าง จาก วิตก วิจาร ปิติ สุข นิดหนึ่ง พิจารณาดูเถิดขอรับ
ขออณุญาติตอบ ; ถ้ากล่าวโดยสภาวะที่ยังมีบัญญัติอยู่ ย่อมไม่แตกต่าง ถ้ากล่าวโดยสภาวะปรมัตถ์ ย่อมแตกต่าง
ขอท่านเจริญในธรรม |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ค.2008, 9:05 am |
  |
walaiporn เขียนว่า
ขออณุญาตตอบ ; เพียงจะบอกว่า แล้วแต่กุศลที่แต่ละท่านได้สร้างสั่งสมมา รู้แค่ไหน ย่อมตีความได้แค่นั้น การที่มีผลเช่นนี้ ย่อมมีเหตุมาก่อน
" ไม่ควรมุ่งหมายสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เพราะว่าสิ่งที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละเสียแล้ว สิ่งใดที่ยังมาไม่ถึงแล้ว สิ่งนั้นก้ยังไม่ได้มาถึง "
Buddha.....ตอบ.....
คุณยังมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของศาสนาน้อยมาก อีกทั้งยังไม่มีประสบการณ์ ในเรื่องต่างๆอีกมากมาย หลายสิ่งหลายๆอย่างที่คุณเขียนมา และข้าพเจ้าไม่ตอบเพราะ ข้าพเจ้าเห็นว่า ไม่ควรโปรดสัตว์โลกอย่างคุณในบางเรื่อง
แต่ในเรื่องนี้ น่าจะมีประโยชน์ต่อคุณ หากคุณ มีความคิด มีความเข้าใจ ข้าพเจ้าจะโปรดสัตว์โลก อย่างคุณให้ได้ทำความเข้าใจไว้ว่า
" จุดมุ่งหมาย ที่ยังมาไม่ถึง แล้วเราต้องการตามจุดมุ่งหมายที่ยังมาไม่ถึงนั้น ย่อมเกิด การวางแผนงาน เกิดการเสาะหาข้อมูล เพื่อ กระทำให้ถึงจุดหมาย หรือสิ่งที่มุ่งหมาย นี้เป็นความเจริญ ในด้านความคิด
"สิ่งที่ล่วงไปแล้ว คือ ประสบการณ์ ไม่มีการเสียไป ไม่อย่างนั้น คงไม่มีวิชา ประวัติศาสตร์ ไม่มีการเก็บข้อมูลในหลายๆการทำงาน เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการทำงานที่ยังมาไม่ถึง"
ไปพิจารณาให้ดี และทำความเข้าใจ ซะใหม่ จิตใจ และความคิด จะได้สูงขึ้น
walaiporn เขียนว่า.........
ข้อความที่ท่านโพสมา ; สมาธิ คือ ความรู้สึกตัว และ ระลึกได้อยู่เสมอ
ขออณุญาติตอบ ; ตรงนี้ คิดว่าท่านคงจะไม่ได้เจตนาตีความหมายของสมาธิ ว่าเป็นแบบนี้กระมัง
Buddha ..... ตอบให้ว่า....
ข้าพเจ้าจะโปรดสัตว์โลกอย่างคุณอีกประการหนึ่ง เพราะมันต่อเนื่องจากคำตอบของข้าพเจ้าที่เขียนไว้ด้านบน และเข้าล็อค ตามที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า
""ศึกษาเล่าเรียน พิจารณาให้เป็นไปตามหลักความจริง ไม่ใช่เล่าเรียนให้เป็นไปตามหลักตำรา
เพราะบางครั้ง หรือส่วนใหญ่(เฉพาะในเรื่องของศาสนา) หลักตำรา ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นจริงมีจริง ตามหลักธรรมชาติ "
คุณรู้ไหม สิ่งที่คุณเขียนมา คุณไม่มีความรู้ ไม่ได้ปฏิบัติ ไม่ได้พิจารณาอะไรเลย ได้แต่โอ้อวด ว่ารู้ตามตำราเท่านั้น
ถ้าข้าพเจ้าจะบอกคุณว่า "ระดับข้าพเจ้า ถ้าไม่รู้แจ้ง ไม่รู้จริง คงไม่ใช้ชื่อว่า Buddha ดอกนะคุณ
คุณรู้สัก คำว่า โสดาบัน ปฏิมรรค ปฏิผล หรือไม่
คุณว่า การฝึกสมาธิ เป็น มรรค หรือเป็นผล
แล้วคุณว่า ผลจากการ ฝึกสมาธิ คือ อะไร
ข้าพเจ้าไม่ตอบตามตรง ไม่อธิบายตามตรง ก็เพราะต้องการให้คุณ ได้อ่าน แล้วคิดพิจารณาตาม เป็นความเมตตา ของข้าพเจ้า และเป็น ความมุ่งหวัง ที่ยังมาไม่ถึง เป็นการนำเอาสิ่งที่ล่วงไปแล้ว และสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ใช่การเสีย แต่เป้นการได้รับ จากสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไปพิจารณาดูเถิด
อนึ่ง อ่านแล้ว อย่าคิดว่าข้อเขียนของข้าพเจ้า เป็นการโอ้อวดตัวเองนะขอรับ มันเป็นเพียงคำบอก คำเตือน ให้คุณ ได้คิด จะว่าเป็นการฝึก หรือแนะแนวทางการฝึกคิดพิจารณาให้กับคุณ ก็แล้วกัน
ส่วนเรื่องที่คุณนำมาแล้วบอกว่า นำมาให้อ่าน ขอบคุณขอรับ แต่ต่อไป คุณอย่าเอา เรื่องของพระสงฆ์ มาเขียน หรือเกี่ยวข้องอีก
พระสงฆ์ ก็อยู่ส่วนพระสงฆ์
และข้าพเจ้า ก็เตือนพระสงฆ์ อยุ่เสมอว่า ให้สอน ในสิ่งที่มีในตน อย่าอวดอุตริ ฯ สอนในสิ่งที่ตัวเองทำไม่ได้
ให้สอนสิ่งที่มีในตัวเอง ซึ้ง หลายๆสิ่ง หลายๆอย่าง ก็ล้วนมีในตัวพระสงฆ์อยู่แล้ว แต่อย่าสอน แบบ โสดาบัน เป็นอย่างไร อรหันต์ เป็นอย่างไร
เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ไม่มีในตัวผู้สอน นี้ไม่ใช่เป็นการปรมาส พระสงฆ์ นะขอรับ แต่เป็นเรื่องจริง และเห็นคำเตือน ถ้าต้องการพัฒนาศาสนาพุทธ |
|
|
|
  |
 |
ทศพล
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 10 ก.พ. 2008
ตอบ: 153
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ค.2008, 10:31 am |
  |
พี่ทั้ง 2 ปฏิบัติถึงไหนกันบ้างครับ
อยากรู้จังเยย  |
|
_________________ "ธรรมทาน คือ ทานอันสูงสุด"
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
http://www.wimutti.net |
|
     |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ค.2008, 6:53 pm |
  |
สวัสดีค่ะ คุณทศพล
แวะมาเยี่ยมเยียนได้ค่ะ ถ้าถามว่าปฏิบัติถึงไหน อย่าไปให้ค่าความหมายในสิ่งที่ปฏิบัติเลยค่ะ ดูกิเลสดีกว่า ถ้าปฏิบัติแล้วลดสักกายะทิฏฐิ ความยึดมั่นถือมั่นลงได้ นั่นแหละถูกทางแล้ว ส่วนใครจะเป็นอะไรหรืออย่างไรก็เรื่องของเขา หากคนไหนปฏิบัติแล้ว ยังมีการมาแบ่งแยกเขา เรา แล้วคิดว่า ตัวเองมีธรรมเหนือกว่าคนอื่นเขา นั่นน่ะกิเลสทั้งนั้นเลย ธรรมของทุกๆคนเสมอกัน มีค่าเท่ากัน ไม่มีความแตกต่างกันเลย ที่แตกต่างก็คือสภาวะธรรมที่แต่ละคนได้พบประสบต่างหาก ถ้าใครปฏิบัติแล้วมาเอ่ยอ้างว่า ธรรมตนนั้นเหนือคนอื่น นั่นน่ะอัตตาเต็มไปหมด ที่คุยๆกันอยู่นี่ เป็นเพียงผู้ปฏิบัติธรรมดากันทั้งนั้นแหละ ไม่มีใครมีธรรมเหนือกว่าใครหรอก ยกเว้นพระอรหันต์เท่านั้นแหละ ที่ท่านมีธรรมสูงสุดแล้ว เพราะสิ้นกิเลสแล้ว
ครูบาฯทุกท่านที่ได้รับคำสอนจากท่านมา ท่านสอนว่า รู้แล้วก็วาง สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น อย่าไปให้ค่าให้ความหมายในสิ่งที่รู้หรือเห็น ถ้าไปให้ค่าให้ความหมาย เราจะเสร็จกิเลสมัน
อย่างเช่น ปฏิบัติแล้วไปเทียบเคียง แล้วนำมาเอ่ยอ้างว่า เป็นอริยะบุคคล ทั้งๆที่อัตตานี่เต็มเปี่ยม ( บางคนโดนกิเลสหลอกยังไม่รู้ตัวเลย )
ลิงค์ที่นำให้อ่าน เป็นเรื่องการปฏิบัติของดิฉันเอง ดิฉันไม่เคยเรียนปริยัติมาก่อนเลย เรียกว่าไม่มีพื้นฐานเลย แต่ในสเปสที่มีนี่ คือนำมาจากครูบาฯ เพราะจะอธิบายแบบนี้ แต่อธิบายไม่ได้ เพราะไม่ได้เรียนมา แต่บางสภาวะจะอธิบายแยกออกมาให้เห็นได้ เพราะผ่านมาแล้วจึงอธิบายได้ ถ้าถามว่า ทำไมถึงอธิบายสภาวะธรรมได้ เพราะทำแล้วเห็น มันแจ้งออกมาจากจิตจึงอธิบายได้ ส่วนปริยัติไม่ได้เรียน จึงอธิบายแบบนั้นไม่ได้
http://cid-3bbff7e5594790ce.spaces.live.com/
http://cid-3bbff7e5594790ce.spaces.live.com/?_c11_BlogPart_BlogPart=summary&_c=BlogPart&partqs=amonth%3d4%26ayear%3d2008
จะมีลิงค์ใหญ่กับข้อมูลสรุป เลือกอ่านที่เป็นบันทึกหรือหัวข้อการปฏิบัตินะคะ
เจริญในธรรมค่ะ |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ค.2008, 7:31 pm |
  |
รู้แจ้งจริงหรือ แล้วทำไมถึงตีความพุทธพจน์แบบนั้นล่ะ
พุทธพจน์
" ไม่ควรมุ่งหมายสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เพราะว่าสิ่งที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละเสียแล้ว สิ่งใดที่ยังมาไม่ถึงแล้ว สิ่งนั้นก็ยังไม่ได้มาถึง "
ตีความแบบนี้ได้ยังไง....
" จุดมุ่งหมาย ที่ยังมาไม่ถึง แล้วเราต้องการตามจุดมุ่งหมายที่ยังมาไม่ถึงนั้น ย่อมเกิด การวางแผนงาน เกิดการเสาะหาข้อมูล เพื่อ กระทำให้ถึงจุดหมาย หรือสิ่งที่มุ่งหมาย นี้เป็นความเจริญ ในด้านความคิด
"สิ่งที่ล่วงไปแล้ว คือ ประสบการณ์ ไม่มีการเสียไป ไม่อย่างนั้น คงไม่มีวิชา ประวัติศาสตร์ ไม่มีการเก็บข้อมูลในหลายๆการทำงาน เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการทำงานที่ยังมาไม่ถึง"
แหม ... แล้วคุยว่ารู้แจ้ง ขนาดพุทธพจน์แท้ๆ ยังตีความออกมาแบบนี้ได้ แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดานะ ดิฉันมองเช่นนั้นจริงๆ ผู้ใดรู้แค่ไหน ย่อมตีความได้แค่นั้น จะให้รู้มากกว่านั้นมันเป็นไปไม่ได้
ยิ่งโสดา ปฏิมรรค ปฏิผล ยิ่งไม่ต้องไปกล่าวถึงเลย ปัจจุบันน่ะเอาให้ลดให้ได้ก่อนเถอะ สักกายะทิฏฐิน่ะ อย่าเอาไปเทียบกับตำราเลยว่า ปฏิบัติแบบนี้แล้วเรียกว่าอะไร เพราะมีแต่จะสร้างทิฏฐิมานะ สร้างกิเลสหลอกให้ตัวเองเชื่อว่าใช่ เสียมากกว่า
รู้จริง ... ต้องปราศจากความคิด ต้องแจ้งออกมาจากจิต เมื่อแจ้งแล้วมีแต่จะลด จะละ จะเลิก ยิ่งการกระทำใดๆที่เป็นการสร้างอกุศลกรรมให้เกิดนี่ยิ่งแทบจะไม่ทำเลย
ยิ่งพระสงฆ์ ไปละเมิดท่านอีก เพราะคิดว่าตัวเองรู้แล้ว เลยเที่ยวละเมิดเขาไปทั่ว แม้แต่พระก็ไม่เว้น เห็นตัวเองไหม สติทันไหม
ไม่รู้ว่าใครน่าสงสารกว่ากัน ที่รู้ๆก็คือ .....
พุทธพจน์
อนึ่ง ท่านควรสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า เราจักไม่พูดคำอันเป็นเหตุเถียงกัน ถือผิดต่อกันดังนี้ เพราะว่า เมื่อคำอันเป็นเหตุเถียงกัน ถือผิดต่อกันมีขึ้น ก็จำจักต้องหวังความพูดมาก เมื่อความพูดมากมีขึ้น ก็จักเกิดความคิดฟุ้งซ่าน ครั้นคิดฟุ้งซ่านแล้ว ก็จักเกิดความไม่สำรวม ครั้นไม่สำรวมแล้ว จิตก็จักห่างสมาธิ
สาธุ .... ช่วยไม่ได้นะ เชิญตีความตามสบาย แต่ดิฉันเชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธองค์โดยไม่ต้องตีความ |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ค.2008, 8:26 pm |
  |
ฮ่า ฮ่า ฮ่า
อย่าโกรธ หรือมีอารมณ์ เลยคุณ ระดับคุณ ยังมีความคิดอ่านน้อย ประสบการณ์ ยังไม่เข้าใจความหมายของภาษา
มันจะเป็นคำพูดของใครก็ไม่สำคัญทั้งนั้น ต้องรุ้จักนำมาใช้ให้ถูกกับยุคสมัย
สมัยนี้ เขามีการวางแผนงาน (ถึงแม้ว่า การวางแผนจะเป็นธรรมชาติประจำวันของมนุษย์ก็ตามที) ที่จะกระทำ หรืออื่นใด ในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
สิ่งที่ล่วงไปแล้ว เขาก็เก็บไว้ เป็นบรรทัดฐานบ้าง เป็นตัวอย่างบ้าง เป็นประสบการณ์บ้าง นี้เป็นหลักความจริง
ข้าพเจ้าจะโปรดสัตว์โลกอย่างคุณเอาไว้ว่า ถ้าผู้ศรัทธาศาสนาเป็นอย่างคุณ มีแต่ความเขลา หลงอยู่กับสิ่งที่ตัวเองไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้ง แถมยังอวดฉลาด(ขออภัยที่ต้องกล่าวตามตรง) คิดว่าตัวเองรู้แม่นในตำรา อย่าหลงเลยคุณ หันไปมองโลกกว้างยุคปัจจุบัน ดีกว่า นะคุณ จะได้ฉลาดหลักแหลม ไม่เที่ยวคิดว่า ใครต่อใคร ขี้คุย
นี้เป็นเวบฯ ธรรมจักร นะ ถ้าเป็น เวบฯอื่นที่เขาปล่อย
ข้าพเจ้าจะท้าคุณมาพิสูจน์ ให้เห็นกับตาของคุณเลยว่า ข้าพเจ้าคือใคร ทำไมจึงเขียนอะไร เห็นตุเป็นตะได้
ขอให้เจริญในความคิดนะคุณ อ่านแล้วคิด มาก ก็เป็นทุกข์ ถ้าคิดในทางที่ถูกที่ควร ในทางที่เป็นไปตามยุคสมัย ก็ย่อมเกิดความเข้าใจ เกิดปัญญา
หรือคุณจะจมปลักอยู่อย่างนั้นก็ตามใจขอรับ |
|
|
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
03 พ.ค.2008, 7:04 am |
  |
คุณนี่ตลกจังเลย ..... ชอบคิดเองเออเอง .... ใครเขาจะไปโกรธกับคุณ ก็แค่กระทู้ธรรมดาๆกระทู้หนึ่งเท่านั้นเอง
ไม่ต้องประกาศตัวบ่อยๆหรอกค่ะ รู้แล้วค่ะว่าคุณคือใคร ท่านคือ " อริแยะ" ปกติก็ไม่ค่อยได้เข้ามาในเว็บบอร์ดอยู่แล้ว ที่เข้ามาสนทนาด้วยเพราะคิดว่าแค่กระทู้ธรรมดา จริงๆแล้วเข้าใจผิด ทราบแล้วค่ะ " กระทู้ข้าใครอย่าแตะ "
เข้าใจค่ะ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรมม
ดู่ดู๊ดู ดูเธอทำ ทำไมถึงทำกับฉานได้
 |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
03 พ.ค.2008, 8:21 am |
  |
คุณไปอ่านอย่างไร แล้วคิดว่าข้าพเจ้าประกาศตัว คนละแบบกันนะคุณ
ข้าพเจ้าโปรดสัตว์โลกอย่างคุณ ไม่เกี่ยวกับการประกาศตัว ดอกนะ
และข้าพเจ้าก็ไม่เคยคิดอย่างที่คุณเขียนว่า "กระทู้ข้าใครอย่าแตะ" คุณคิดเองเออเอง โดยที่คุณไม่รู้สภาพสภาวะจิตใจของข้าพเจ้า
ความจริงแล้ว เพียงคุณอ่าน ข้อความของข้าพเจ้า คุณก็สามารถรู้ด้วยจิตส่วนลึกของคุณแล้ว ว่าข้าพเจ้ามีสภาพสภาวะจิตใจ เป็นอย่างไร เพราะบางเรื่องบางข้อความข้าพเจ้าเขียนด้วยอำนาจจิต ไม่ได้เขียนแบบ มือถือสาก ปากถือศีล ขอรับ |
|
|
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
03 พ.ค.2008, 8:32 am |
  |
อนึ่ง กระทู้ทุกกระทู้ที่ข้าพเจ้าเขียน ก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้องตามยุค ตามสมัย ในแนวทางศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธ
ข้าพเจ้าย่อมรู้ดีว่า ปัญหา ของการทำความเข้าใจ และการขัดแย้งย่อมมีมาก เพราะมันเป็นหลักการ และวิธีการแบบยุคสมัยใหม่ ดังนั้นกระทู้ของข้าพเจ้าทุกกระทู้ย่อมทำให้บุคคลเกิดมีความสงสัย และไม่เข้าใจ หากพวกเขาเหล่านั้น ยังจมปลัก อยู่กับความหลงมัวเมา โดยไม่ได้คิดพิจารณาให้เป็นไปตามหลักความจริง ยกตัวอย่าง "อย่างเช่นตัวคุณ ผู้ใช้ชื่อว่า"วลัยพร" อะไรนั่น
ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงมีคำตอบสำหรับ ผู้ที่สังสัย และไม่เข้าใจอยู่พร้อมสรรพ ไม่ใช่เป็นการอวดรู้ หรือโอ้อวด หรือประกาศตัว เพราะเวบฯนี้ เขาไม่ปล่อย ถึงเขาจะปล่อย ก็คงเป็นการประกาศตัวเพียงครั้งเดียว เขาก็รู้กันทั่วแล้วว่า ข้าพเจ้า "Buddha" ประกาศตัวว่า เป็น "ศรีอาริยเมตไตรย" ก็ได้แค่นั้น ไม่จำเป็นต้องประกาศตัวพร่ำเพื่อดอกนะคุณ |
|
|
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
03 พ.ค.2008, 5:48 pm |
  |
เจ็บแค้นเคืองโกรธโทษฉันใย ฉานทำอะไรให้เธอเคืองขุ่น ปรักปรำฉันเป็นจำเลยของคุณ นี่หรือพ่อนักบุญ แท้จริงเธอคือคน ......
ดู่ดู๊ดู ดูเธอทำ ทำไมถึงทำกับฉานได้
 |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
04 พ.ค.2008, 8:22 am |
  |
หัดมองโลกกว้างนะคุณ จะได้รู้แจ้ง ได้เห็นแสงสว่าง มัวแต่หลบอยู่ในความ มืด อยู่นั่นแหละ
หมายจิตใจของคุณนะ ถ้าจิตใจของคุณ (รวมถึงสมอง) รุ้จักคิดในทางที่เป็นความจริง ไม่หลงมัวเมา จนลืมหูลืมตาไม่ขึ้น มันก็เหมือนคนตาบอด จะชี้หนทางเช่นไร ก็ไม่มีทางเห็น
หาเมื่อใด คุณออกจากความมืดได้ เพียงชี้นิดเดียว คุณก็สามารถเดินทางไปสู่จุดหมายได้อย่างตลอดรอดฝั่งนะคุณ ขอเตือน |
|
|
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 8:55 pm |
  |
กำลังโต้วาทีกันอยู่ รือไฉน เจริญในธรรมทุกท่าน  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
|