ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
28 ม.ค. 2008, 7:19 pm |
  |
สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ
สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติบ้าง การที่สติเข้าไปตั้งอยู่ คือ มีสติกำกับอยู่บ้าง ฯลฯ
โดยหลักการ ก็คือ การใช้สติ หรือ วิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิดผลดีที่สุด
อย่างที่กล่าวถึงในพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็น
มรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นความโศกและปริเทวะ
เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
นี้ คือ สติปัฏฐาน ๔
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 เม.ย.2008, 9:20 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
31 ม.ค. 2008, 4:32 pm |
  |
การเจริญสติปัฏฐานนี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมาก ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะ
และวิปัสสนาในตัว ผู้ปฏิบัติอาจเจริญสมถะจนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนา
ตามแนวสติปัฏฐานไปจนถึงที่สุดก็ได้ หรือจะอาศัยสมาธิเพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำเป็น
มาประกอบ เจริญวิปัสสนาเป็นตัวนำตามแนวสติปัฏฐานนี้ ไปจนถึงที่สุดก็ได้
วิปัสสนา เป็นหลักปฏิบัติสำคัญในพระพุทธศาสนาที่ได้ยินได้ฟังกันมาก
พร้อมกับที่มีความเข้าใจไขว้เขวอยู่มากเช่นเดียวกัน
จึงเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจตามสมควร จากการศึกษาคร่าวๆในเรื่องสติปัฏฐานต่อไปนี้
จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในความหมายของวิปัสสนาดีขึ้น ทั้งในแง่สาระสำคัญขอบเขต
ความกว้างขวาง และความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ ตลอดจนโอกาสที่จะฝึกฝนปฏิบัติ
โดยสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของคนทั่วไป ว่าเป็นไปได้และมีประโยชน์เพียงใด เป็นต้น
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 เม.ย.2008, 9:29 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
31 ม.ค. 2008, 4:35 pm |
  |
(การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแนวพอง-ยุบ ฯลฯ เมื่อโยคีปฏิบัติอย่างถูกวิธีแล้ว
สมถะ (=สมาธิ) กับ วิปัสสนา (= ปัญญา) จะเกิดเคียงกันจนถึงที่สุด
โดยไม่ต้องเปลี่ยนกรรมฐาน
สังเกตคาถานี้
เมื่อเขาเจริญมรรคมีองค์ 8 อันเป็นอริยะนี้อยู่อย่างนี้ แม้สติปัฏฐาน 4 ก็ย่อมถึงความเจริญ
เต็มบริบูรณ์ แม้สัมมัปธาน 4...แม้อิทธิบาท 4...แม้อินทรีย์ 5...แม้พละ 5 ... แม้โพชฌงค์ 7
ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ เขาย่อมมีธรรม 2 อย่างนี้ คือ
สมถะ และวิปัสสนา เข้าเคียงคู่กันไป ธรรมเหล่าใด พึงกำหนดรู้ด้วยอภิญญา
เขาก็กำหนดรู้ด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่าใด พึงละด้วยอภิญญา
เขาก็ละด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น
ธรรมเหล่าใด พึงให้เกิดด้วยอภิญญา เขาก็ทำให้เกิดมีด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น
ธรรมเหล่าใด พึงประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา เขาก็ประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น
ม.อุ.14/828-831/523-6)
-ธรรมที่พึงละ ได้แก่ อวิชชา และภวตัณหา
-ธรรมที่พึงทำให้เจริญ ได้แก่ สมถะ และวิปัสสนา
-ธรรมที่พึงทำให้แจ้ง ได้แก่ วิชชา และวิมุตติ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 เม.ย.2008, 9:39 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
01 ก.พ.2008, 9:53 am |
  |
สาระสำคัญของสติปัฏฐาน โดยสังเขป คือ
1. กายานุปัสสนา -การพิจารณากาย หรือตามดูรู้ทันกาย
1. 1 อานาปานสติ
คือไปในที่สงัด นั่งขัดสมาธิ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก โดยอาการต่างๆ
1.2 กำหนดอิริยาบถ
คือ เมื่อ ยืน เดิน นั่ง นอน หรือร่างกายอยู่ในอาการอย่างไร ๆ ก็รู้ชัดในอาการ
ที่เป็นอยู่นั้นๆ
1.3 สัมปชัญญะ
คือ สร้าง ในการกระทำทุกอย่าง และความเคลื่อนไหวทุกอย่าง เช่น การก้าวเดิน
การเหลียวมอง การเหยียดมือ นุ่งห่มผ้า กิน ดื่ม เคี้ยว ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
การตื่น การหลับ การพูด การนิ่ง เป็นต้น
1.4 ปฏิกูลมนสิการ
คือ พิจารณาร่างกายของตนตั้งแต่ศีรษะจดปลายเท้า ซึ่งมีส่วนประกอบที่ไม่สะอาดต่างๆ
มากมายมารวมๆ อยู่ด้วยกัน
1.5 ธาตุมนสิการ
คือ พิจารณากายของตน โดยให้เห็นแยกประเภทเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ
1.6 นวสีวถิกา
คือ มองเห็นศพที่อยู่ในสภาพต่างๆ กัน โดยระยะเวลา 9 ระยะ ตั้งแต่ตาย ใหม่ๆ ไปจนถึง
กระดูกผุ แล้วในแต่ละกรณีนั้น ให้ย้อนมานึกถึงร่างกายของตน ว่าก็จะต้องเป็นเช่นนั้น
เหมือนกัน
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 เม.ย.2008, 9:45 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
15 ก.พ.2008, 7:49 pm |
  |
2. เวทนานุปัสสนา - การตามดูรู้ทันเวทนา
คือ เมื่อเกิดรู้สึกสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นชนิดสามิส และนิรามิส
ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 เม.ย.2008, 9:46 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 เม.ย.2008, 7:05 pm |
  |
3. จิตตานุปัสสนา - การตามดูรู้ทันจิต
คือ จิตของตนในขณะนั้นๆ เป็นอย่างไร เช่น มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ
ไม่มีโมหะ ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ หลุดพ้น ยังไม่หลุดพ้น ฯลฯ ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่
ในขณะนั้นๆ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 เม.ย.2008, 9:48 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
ตามรอย
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2008
ตอบ: 109
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่
|
ตอบเมื่อ:
26 เม.ย.2008, 10:36 pm |
  |
ขอบคุณครับ
แต่ว่ายังอ่านไม่หมด
ยาวเกินครับ ไว้มานอ่านใหม่ |
|
_________________ อย่าประมาทลืมตน |
|
   |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
29 เม.ย.2008, 9:51 pm |
  |
4. ธัมมานุปัสสนา - การตามดูรู้ทันธรรม คือ
4.1 นิวรณ์
คือ รู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า นิวรณ์ 5 แต่ละอย่างๆ มีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว ละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้ว ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปอย่างไร
รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ
4.2 ขันธ์
คือ กำหนดรู้ว่าขันธ์ 5 แต่ละอย่าง คือ อะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร
4.3 อายตนะ
คือ รู้ชัดในอายตนะภายในภายนอกแต่ละอย่างๆ รู้ชัดในสัญโญชน์ที่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยอายตนะนั้นๆ รู้ชัดว่าสัญโญชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร
ที่เกิดขึ้นแล้วละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้ว ไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปอย่างไร
4.4 โพชฌงค์
คือ รู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า โพชฌงค์ 7 แต่ละอย่างๆ มีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วเจริญเต็มบริบูรณ์ได้อย่างไร
4.5 อริยสัจ
คือ รู้ชัดอริยสัจ 4 แต่ละอย่างๆ ตามความเป็นจริง ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
29 เม.ย.2008, 9:52 pm |
  |
ในตอนท้ายของทุกข้อที่กล่าวนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกาย
ในกายภายใน (= ของตนเอง) อยู่บ้าง
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายนอก (= ของคนอื่น) อยู่บ้าง
พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกอยู่บ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมสิ้นไปในกายอยู่บ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไปในกายอยู่บ้าง
ก็แล เธอมีสติปรากฏชัดว่า กายมีอยู่ เพียงพอให้เป็นความรู้
และพอสำหรับระลึกเท่านั้น แลเธอเป็นอยู่อย่างไม่อิงอาศัย ไม่ยึดมั่นสิ่งใดๆในโลก
(กาย เปลี่ยนเป็น เวทนา จิต ธรรม ตามแต่กรณีนั้นๆ)
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 8:15 am |
  |
สาระสำคัญของสติปัฏฐาน
ใจความย่อของสติปัฏฐานที่แสดงไว้แล้วนั้น จะเห็นว่า สติปัฏฐาน (รวมทั้งวิปัสสนาด้วย)
ไม่ใช่หลักการที่จำกัดว่า จะต้องปลีกตัวหลบลี้ไปนั่งปฏิบัติอยู่นอกสังคม
หรือจำเพาะในการเวลาตอนใดตอนหนึ่ง
โดยเหตุนี้จึงมีปราชญ์หลายท่านสนับสนุนให้นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันทั่วไป
ว่าโดยสาระสำคัญ
หลักสติปัฏฐาน 4 บอกให้ทราบว่า ชีวิตของเรานี้ มีจุดที่ควรใช้สติคอยกำกับ
ดูแลทั้งหมดเพียง 4 แห่งเท่านั้นเอง คือ
ร่างกาย และพฤติกรรมของมัน 1
เวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ ต่างๆ 1
ภาวะจิต ที่เป็นไปต่างๆ 1
ความนึกคิดไตร่ตรอง 1
ถ้าดำเนินชีวิตโดยมีสติคุ้มครอง ณ จุดทั้ง 4 นี้ แล้ว ก็จะช่วยให้เป็นอยู่อย่างปลอดภัย
ไร้ทุกข์ มีความสุขผ่องใส และเป็นปฏิปทา นำไปสู่ความรู้แจ้งอริยสัจธรรม
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 8:19 am |
  |
จากข้อความ ในคำแสดงสติปัฏฐาน แต่ละข้อข้างต้น จะเห็นได้ว่า ในเวลาปฏิบัตินั้น
ไม่ใช่ใช้สติเพียงอย่างเดียว แต่มีธรรมข้ออื่นๆ ควบอยู่ด้วย
ธรรมที่ไม่บ่งถึงไว้ก็ คือ สมาธิ ซึ่งจะมีอยู่ด้วยอย่างน้อยในขั้นอ่อนๆ
(เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ อยู่ในระดับระหว่างขณิกสมาธิ กับ อุปจารสมาธิ)
ส่วนธรรมที่ระบุไว้ด้วย ได้แก่
1. อาตาปี = มีความเพียร (ได้แก่ องค์มรรคข้อ 6 คือ สัมมาวายามะ ซึ่งหมายถึงเพียรระวัง
และละความชั่ว กับเพียรสร้างและรักษาความดี)
2. สัมปชาโน = มีสัมปชัญญะ (คือ ตัวปัญญา)
3. สติมา = มีสติ (หมายถึง ตัวสตินี้เอง)
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 8:21 am |
  |
ข้อที่น่าสังเกต คือ สัมปชาโน ซึ่งแปลว่า มีสัมปชัญญะ
สัมปชัญญะนี้ จะเห็นได้ว่า เป็นธรรมที่มักปรากฏควบคู่กับสติ
สัมปชัญญะ ก็คือ ปัญญา
ดังนั้น การฝึกฝนในเรื่องสตินี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาปัญญานั่นเอง
สัมปชัญญะ หรือ ปัญญา ก็คือ ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักชัดในสิ่งที่สติกำหนดไว้นั้น
หรือ การกระทำในกรณีนั้นว่า มีความมุ่งหมายสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไร ปฏิบัติต่อมันอย่างไร
และไม่เกิดความหลง หรือความเข้าใจผิดใดๆ ขึ้นมาในกรณีนั้นๆ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 8:38 am |
  |
ข้อความที่ว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ แสดงถึงท่าที ที่เป็นผลจากการ
มีสติสัมปชัญญะว่า เป็นกลาง เป็นอิสระ ไม่ถูกกิเลสผูกพัน ทั้งในแง่ติดใจอยากได้
และขัดเคืองเสียใจในกรณีนั้นๆ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 8:56 am |
  |
ข้อความต่อท้ายเหมือนๆ กันของทุกข้อที่ว่า มองเห็นความเกิด ความเสื่อมสิ้นไปนั้น
แสดงถึงการพิจารณาเข้าใจตามหลักไตรลักษณ์
จากนั้น จึงมีทัศนคติที่เป็นผลเกิดขึ้น คือ การมองและรู้สึกต่อสิ่งเหล่านั้น ตามภาวะของมันเอง
เช่น ที่ว่า กายมีอยู่ เป็นต้น ก็หมายถึงรับรู้ความจริงของสิ่งเหล่านั้นตามที่เป็นอย่างนั้น
ของมันเอง โดยไม่เอาความรู้สึกสมมุติและยึดมั่นต่างๆ เข้าไปสวมใส่ให้มัน ว่าเป็นคน
เป็นตัวตน เป็นเขา เป็นเรา หรือกายของเรา เป็นต้น
ท่าทีอย่างนี้จึงเป็นท่าทีของความเป็นอิสระ ไม่อิงอาศัย คือไม่ขึ้นต่อสิ่งนั้นสิ่งนี้
ที่เป็นปัจจัยภายนอก และไม่ยึดมั่นสิ่งต่างๆ ในโลกด้วยตัณหาอุปาทาน
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 8:58 am |
  |
เพื่อให้เห็นเนื้อความชัดเจนยิ่งขึ้น จะยกบาลีที่สำคัญ มาแปลและแสดงความหมายไว้
โดยย่อ ดังนี้
-กาเย กายานุปสฺสี- แปลว่า พิจารณาเห็นกายในกาย
คือมองเห็นในกายว่าเป็นกาย มองเห็นกายตามสภาวะ ซึ่งเป็นที่ประชุมหรือประกอบกันเข้า
แห่งส่วนประกอบ คือ อวัยวะน้อยใหญ่ต่างๆ
ไม่ใช่มองเห็นกายเป็นเขา เป็นเรา เป็นนายนั่นนางนี่ เป็นของฉัน ของคนนั้นคนนี้
หรือเห็นชายนั้นหญิงนี้ ในผมในขน ในหน้าตา เป็นต้น
หมายความว่าเห็นตรงตามความจริง ตรงตามสภาวะ ให้สิ่งที่ดูตรงกันกับสิ่งที่เห็น
คือ ดูกายก็เห็นกาย ไม่ใช่ดูกาย ไพล่ไปเห็นนาย ก. บ้าง
ดูกาย ไพล่ไปเห็นคนชัง บ้าง
ดูกาย ไพล่เห็นเป็นของชอบอยากชมบ้าง เป็นต้น
เข้าคติคำของโบราณาจารย์ว่า สิ่งที่ดูมองไม่เห็น ไพล่ไปเห็นสิ่งที่ไม่ได้ดู เมื่อไม่เห็น
ก็หลงติดกับ เมื่อติดอยู่ ก็พ้นไปไม่ได้
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 9:03 am |
  |
-ที.อ. 2/472; ม.อ. 1/333; วิภงฺค.อ. 284 ข้อความว่า กายในกาย นี้
อรรถกถาอธิบายไว้ถึง 4-5 นัย โดยเฉพาะชี้ถึงความมุ่งหมาย เช่น ให้กำหนดโดยไม่สับสน
กัน คือ ตามดูกายในกาย ไม่ใช่ตามดูเวทนา หรือจิต หรือธรรม
ในกายอีกอย่างหนึ่งว่า ตามดูกายส่วนย่อยในกายส่วนใหญ่ คือตามดูกายแต่ละส่วนๆ
ในกายที่เป็นส่วนรวมนั้น เป็นการแยกออกดูไปทีละอย่าง จนมองเห็นว่ากายทั้งหมดนั้นไม่มี
อะไรนอกจากเป็นที่รวมของส่วนประกอบย่อยๆ ลงไป ไม่มีนาย ก. นาง ข. เป็นต้น
เป็นการวิเคราะห์หน่วยรวมออกหรือคลี่คลายความเป็นกลุ่มก้อน เหมือนกับลอกใบกล้วย
และกาบกล้วย ออกจากต้นกล้วย จนไม่เห็นมีต้นกล้วย ดังนี้ เป็นต้น
(เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ก็พึงเข้าใจทำนองเดียวกัน)
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 9:06 am |
  |
อาตาปี สัมปชาโน สติมา = แปลว่า มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
ได้แก่ มีสัมมาวายามะ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสติ ซึ่งเป็นองค์มรรคประจำ 3 ข้อ
ที่ต้องใช้ควบไปด้วยกันเสมอ ในการเจริญองค์มรรคทั้งหลายทุกข้อ
(ตรงกับหลักในมหาจัตตารีสกสูตร)
ความเพียร คอยหนุนเร้าจิต ไม่ให้ย่อท้อหดหู่ ไม่ให้รีรอล้าหรือถอยหลัง จึงไม่เปิดช่อง
ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น แต่เป็นแรงเร่งให้จิตเดินรุดหน้าไป หนุนให้กุศลธรรมต่างๆ
เจริญยิ่งขึ้น
สัมปชัญญะ คือ ตัวปัญญาที่พิจารณา และรู้เท่าทันอารมณ์ที่สติกำหนดทำให้ไม่หลงใหลไปได้
และเข้าใจถูกต้องตามสภาวะที่เป็นจริง
สติ คือ ตัวกำหนดจับอารมณ์ไว้ ทำให้ตามทันทุกขณะ ไม่ลืมเลือนเลอะพลาดสับสน
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 9:19 am |
  |
^
ผู้จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ควรทำความเข้าใจสาระและหน้าที่ของสติ กับ สัมปชัญญะ
เหตุมีความสำคัญมากๆในการปฏิบัติกรรมฐาน
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 9:30 am |
  |
วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ = แปลว่า กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้
หมายความว่า เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ จิตใจก็จะปลอดโปร่งเบิกบาน
ไม่มีทั้งความติดใจ อยากได้ และ ความขัดใจเสียใจ เข้ามาครอบงำรบกวน
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 9:32 am |
  |
-อตฺถิ กาโยติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ยาวเทว ญาณมตฺตาย ปฏิสฺสติมตฺตาย =
แปลว่า เธอมีสติ ปรากฏชัดว่า "กายมีอยู่" เพียงเพื่อเป็นความรู้ และพอสำหรับระลึกเท่านั้น
คือ มีสติกำหนดชัดเจนตรงความจริงว่า มีแต่กาย ไม่ใช่สัตว์ บุคลล หญิง ชาย ตัวตน
ของตน ของเขา ของใคร เป็นต้น
ทั้งนี้ เพียงเพื่อเป็นความรู้และสำหรับใช้ระลึก คือเพื่อเจริญสติสัมปชัญญะ
หรือเพื่อให้สติปัญญาเจริญเพิ่มพูน มิใช่เพื่อจะคิดฟุ้งเฟ้อละเมอฝัน ปรุงแต่งฟ่ามเฝือไป
แม้ในเวทนา จิต และธรรม ก็พึงเข้าใจอย่างเดียวกันนี้ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|