ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
18 เม.ย.2008, 9:22 am |
  |
ดังได้กล่าวแล้วว่า ตัณหาต้องการสิ่งที่จะเอามาเสพเสวยเวทนา ความสมประสงค์
ของตัณหา อยู่ที่การได้สิ่งนั้นๆมา วิธีการใดๆก็ตาม ที่จะให้ได้สิ่งนั้นมา เรียกเป็นคำเฉพาะ
ในที่นี้ว่าการแสวงหา หรือ ปริเยสนา ในการได้สิ่งเสพเสวยมาอย่างหนึ่ง
วิธีการที่จะได้อาจมีหลายวิธี
บางวิธีไม่ต้องมีการกระทำ (เช่น มีผู้ให้)
บางวิธี อาจต้องมีการกระทำ แต่ในกรณีที่ต้องมีการกระทำ สิ่งที่ตัณหาต้องการจะไม่เป็น
เหตุเป็นผลกันกับการกระทำนั้นโดยตรง
ยกตัวอย่าง
นาย ก. กวาดถนน ได้เงินเดือน 900 บาท
ถ้าหนูหน่อยอ่านหนังสือเล่มนี้จบ คุณพ่อจะพาไปดูหนัง
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
18 เม.ย.2008, 9:25 am |
  |
หลายคนคิดว่า การกวาดถนนเป็นเหตุให้ได้เงินเดือน จึงสรุปว่า การกระทำคือ
การกวาดถนนเป็นเหตุ เงินเดือนเป็นผล การได้เงินเดือนเป็นผลของการกระทำคือ
การกวาดถนน
แต่ตามความจริงแท้ ข้อสรุปนี้ผิด เป็นเพียงระบบความคิดแบบสะสมเคยชินและ
หลอกตัวเองของมนุษย์
ถ้าจะให้ถูก ต้องเติมสิ่งที่ขาดหายไปแทรกเข้ามาด้วย ได้ความใหม่ว่า การกระทำคือ
การกวาดถนน เป็นเหตุให้ถนนสะอาด ความสะอาดของถนนจึงเป็นผลที่แท้ของการกระทำ
คือการกวาดถนน
ส่วนกวาดถนนแล้วได้เงินเดือน เป็นเพียงเงื่อนไขที่มนุษย์กำหนดวางกันขึ้น
หาได้เป็นเหตุเป็นผลกันแท้จริงไม่- (เงินไม่อาจเกิดขึ้นได้จากการกวาดถนน
บางคนกวาดถนนแล้วไม่ได้เงิน หรืออีกหลายคนได้เงินเดือนโดยไม่ต้องกวาดถนน)
คำพูดที่เคร่งครัดตามหลักเหตุผลในกรณีนี้จึงต้องว่า การกวาดถนนเป็นการกระทำที่เป็นเหตุ
ให้ถนนสะอาด แต่เป็นเงื่อนไขให้นาย ก. ได้เงินเดือน 900 บาท
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
18 เม.ย.2008, 9:35 am |
  |
ในตัวอย่างที่สองก็เช่นเดียวกัน หลายคนคงคิดว่า การอ่านหนังสือจบเป็นเหตุ
และการได้ไปดูหนัง กับคุณพ่อเป็นผล
แต่ความจริง การอ่านหนังสือเป็นเพียงเงื่อนไขให้ได้ไปดูหนัง
ส่วนที่เป็นเหตุเป็นผลแท้จริงก็คือ การอ่านหนังสือจบเป็นเหตุให้ได้ความรู้ในหนังสือนั้น
การกระทำ คือ การอ่านเป็นเหตุ และการได้ความรู้เป็นผล
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
18 เม.ย.2008, 9:38 am |
  |
ตามตัวอย่างทั้งสองนี้ ถ้าพฤติกรรมของนาย ก. และหนูหน่อย เป็นไปตามตัณหา
นาย ก. ย่อมต้องการเงินเดือน หาได้ต้องการความสะอาดของถนนไม่
และเขาก็ย่อมไม่ต้องการทำการกวาดด้วย แต่ที่ต้องกวาด ก็เพราะจำต้องทำ
เพราะเป็นเงื่อนไขที่จะให้ได้เงิน
ส่วนหนูหน่อย ก็ย่อมต้องการดูหนัง หาได้ต้องการความรู้จากหนังสือนั้นไม่ และโดยนัยเดียว
กัน ก็มิได้ต้องการที่จะกระทำการอ่านหนังสือ แต่ที่กระทำคืออ่านหนังสือ ก็เพราะเป็น
เงื่อนไขที่จะให้ได้สิ่งที่ตัณหาต้องการคือการดูหนัง
โดยนัยนี้ พูดตามกฎธรรมชาติ หรือตามกระบวนธรรมแท้ๆ ตัณหาไม่ทำให้เกิดการกระทำ
และไม่ทำให้เกิดความต้องการที่จะทำ การกระทำเป็นเพียงวิธีการอย่างหนึ่งตามเงื่อนไข
ที่จะช่วยให้การแสวงหาสิ่งเสพเสวยสำเร็จลุล่วง ตามความต้องการของตัณหา
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
18 เม.ย.2008, 9:43 am |
  |
ตัวอย่างทั้งสองนั้น แสดงความหมายของฉันทะ ชัดเจนอยู่ด้วยแล้ว
ฉันทะต้องการกุศลหรือต้องการตัวธรรม ต้องการภาวะดีงามหรือความรู้เข้าใจ
ในความจริงแท้
ถ้ามีฉันทะ นาย ก. ย่อมต้องการความสะอาดของถนน
และหนูหน่อยก็ต้องการความรู้ในหนังสือนั้น
ความสะอาดเป็นผลของการกระทำ คือ การกวาดถนน
ความรู้ก็เป็นผลของการอ่านหนังสือ
ทั้งสองคนต้องการผลของการกระทำโดยตรง ผลเรียกร้องเหตุ คือ ชี้บ่งหรือกำหนดการ
กระทำ เมื่อกระทำ ผลก็เกิดขึ้น
การกระทำคือการก่อผล หรือการกระทำคือการเกิดผล
เมื่อนาย ก. กวาด ความสะอาดก็เกิดขึ้น และเกิดขึ้นทุกขณะที่กวาด
เมื่อหน่อยอ่านหนังสือ ความรู้ก็เกิดขึ้น และเกิดเรื่อยไปพร้อมกับที่อ่าน
การกระทำคือการได้ผลที่ต้องการ
ฉันทะต้องการภาวะดีงามที่เป็นผลของการกระทำ และจึงต้องการการกระทำที่เป็นเหตุ
ของผลนั้นด้วย |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
18 เม.ย.2008, 9:48 am |
  |
โดยนัยนี้ ฉันทะทำให้เกิดการกระทำ และทำให้เกิดความต้องการที่จะทำ หรือทำให้อยากทำ
ความข้อนี้ย้อนหลังที่อ้างไว้ข้างต้น คือทำให้มองเห็นเหตุผลว่า ทำไมท่านจึงจัดรวมฉันทะ
ประเภทที่สอง (กัตตุกัมยตาฉันทะ= ความต้องการที่จะทำ หรืออยากทำ) เข้าเป็นข้อเดียว
กับกุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ (วินย.ฎีกา 2/291)
ถ้าพฤติกรรมเป็นไปโดยฉันทะ นาย ก. ก็มีความตั้งใจกวาดถนนที่เป็นส่วนต่างหาก
จากการได้เงินเดือน
หนูหน่อยก็อ่านหนังสือได้โดยคุณพ่อไม่ต้องล่อด้วยการพาไปดูหนัง และมิใช่เพียงเท่านั้น
ผลทางจริยธรรมยังมีมากยิ่งกว่านี้ แต่ตอนนี้จำไว้ง่ายๆก่อนว่า
ตัณหา คือ ต้องการเสพ
ฉันทะ คือ ต้องการธรรม และต้องการทำ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
18 เม.ย.2008, 9:52 am |
  |
การมีตัณหา หรือมีฉันทะเป็นแรงจูงใจในการกระทำ ก่อให้เกิดผลในทางจริยธรรม
หรือผลในทางปฏิบัติแตกต่างกันออกไปได้มาก
เมื่อบุคคลมีตัณหาเป็นแรงจูงใจ การกระทำเป็นเพียงเงื่อนไข สำหรับการได้สิ่งเสพเสวย
มาปรนเปรอตน เขาไม่ต้องการทั้งการกระทำและผลของการกระทำนั้นโดยตรง
จุดมุ่งประสงค์ของเขาอยู่ที่การได้สิ่งเสพเสวยนั้นมา
ในหลายกรณี การกระทำที่เป็นเงื่อนไขนั้น เป็นเพียงวิธีการอย่างหนึ่ง ที่จะให้ได้สิ่ง
ที่เขาต้องการ
ดังนั้น ถ้าเขาสามารถหาวิธีการอื่นที่จะให้ได้โดยไม่ต้องทำ เขาก็จะหลีกเลี่ยงการกระทำนั้น
เสีย หันไปใช้วิธีที่จะได้โดยไม่ต้องทำแทน เพราะถ้าเป็นไปได้ การได้โดยไม่ต้องทำ
ย่อมตรงกับความต้องการของตัณหามากที่สุด และถ้าจำเป็นจริงๆ ไม่สามารถหลีกเลี่ยง
เงื่อนไขนั้นได้ เขาก็จะทำด้วยความรังเกียจ จำใจ ไม่เต็มใจและไม่ตั้งใจจริง
ฯลฯ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 5:57 pm |
  |
ความแตกต่างระหว่าง กุศลฉันทะ กับ กามฉันทะหรือโลภะ
โลภะ จับอารมณ์เสมือนสำเร็จรูปแล้ว หรือตั้งอยู่ ณ สุดทางที่ตันหรือ
ตายตัวของมัน โลภะมุ่งจะเอาอารมณ์มาเสพเสวย และเกิดมีตัวตน
ที่จะเอาหรือจะเสพเสวยนั้น
ส่วนฉันทะ จับอารมณ์ที่เสมือนตั้งอยู่ ณ จุดเริ่มต้นของมัน มีอาการ
ที่จิตแผ่ไปรวมกลมกลืนกับสิ่งหรืออารมณ์นั้น ในการกระทำเพื่อก้าวไป
สู่จุดหมาย คือ ความสำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ไม่เกี่ยวกับความรู้สึกที่จะเสพ
เสวย และไม่เกิดความรู้สึกจำกัดแบ่งแยกมีตัวตนที่จะเอาหรือจะเสพเสวย
ดูสาระเรื่องนี้เต็มๆที่
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=28859 |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|