ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ratchadapa
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 05 ม.ค. 2008
ตอบ: 84
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพมหานคร
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.พ.2008, 5:45 pm |
  |
คนเราเวลาเตรียมตัวสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นเตรียมคลอดลูก ก็มีกระเป๋าจัดไว้พร้อมหยิบได้ทันที หรือเตรียมตัวรับไฟไหม้อาคารก็ซ้อมหนีไฟ แต่สำหรับการเตรียมตัวตาย ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไหร่นั้น เราเตรียมตัวกันอย่างไรคะ
เคยคิดว่าถ้าป่วยหนัก อาจจะต้องเตรียมตัวเผื่อขณะจิตสุดท้ายเช่น เตรียมข้อธรรมะสำคัญๆ ให้ญาติช่วยอ่านให้ฟัง หรือเตรียมเทปธรรมะไว้เปิด หรือว่ามีธรรมข้อไหนที่เราควรจะภาวนา หรือกำหนดไว้ตลอด ก่อนจะถึงขณะจิตนั้น ท่านเตรียมกันหรือเปล่าคะ? อันนี้ไม่นับการประพฤติปฏิบัติดีที่เราก็ทำกันอยู่แล้วนะคะ เอาขณะเวลาสำคัญนั่นเลย |
|
_________________ พวกเธอจงยินดีในความไม่ประมาท
จงระมัดระวังจิตของตน
จงถอนตนออกจากหล่มกิเลส
เหมือนพญาช้างติดหล่ม
พยายามช่วยตัวเอง |
|
  |
 |
น้อม
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 ก.พ. 2008
ตอบ: 58
ที่อยู่ (จังหวัด): England
|
ตอบเมื่อ:
07 ก.พ.2008, 12:41 am |
  |
ไม่ได้เตรียมค่ะ เพราะเลือกวิธีการ สถานที่และเวลาไม่ได้ (ไม่คิดจะฆ่าตัวตายค่ะ)
แล้วคุณratchadapa เตรียมไว้อย่างไรคะ |
|
|
|
  |
 |
ratchadapa
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 05 ม.ค. 2008
ตอบ: 84
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพมหานคร
|
ตอบเมื่อ:
07 ก.พ.2008, 9:48 pm |
  |
ก็ไม่ได้เตรียมเหมือนกันค่ะ นอกจากใช้ชีวิตปกติก็พยายามไม่ให้จิตใจเศร้าหมองหรือขุ่นมัว (กลัวตายปุ๊บไปโผล่ที่ไหนไม่รู้คนมีเขาหรือโผล่กลางป่าดงดิบอะไรทำนองนั้น) นอกจากนี้ก็คือเวลาที่เจอธรรมะที่ถูกหรือโดนใจ ที่ทำให้เราทราบสัจจธรรมมากขึ้นก็พยายามทบทวนดู ให้สามารถระลึกได้ คิดอยู่เหมือนกันว่าจะบอกคนที่บ้านว่าถ้าเกิดกรณีเจ็บหนัก หรือยังร่อแร่อยู่ก็จะให้เปิดCD ของพระอาจารยที่เราเลือกเอาไว้แล้วให้ฟัง แล้วก็จะขอไว้ก่อนว่าอย่าร้องไห้นะ อย่าฉุดรั้งเอาไว้ พวกเครื่องช่วยชีวิตตอนวิกฤตก็ไม่อยากใช้ค่ะ
ให้มันค่อยๆดับไปเหมือนรถที่น้ำมันหมด เครื่องดับ แล้วแล่นช้าลงๆจนหยุดไปเอง |
|
_________________ พวกเธอจงยินดีในความไม่ประมาท
จงระมัดระวังจิตของตน
จงถอนตนออกจากหล่มกิเลส
เหมือนพญาช้างติดหล่ม
พยายามช่วยตัวเอง |
|
  |
 |
montasavi
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.พ.2008, 12:22 pm |
  |
ถาม...ทำอย่างไรจึงจะไม่ตาย
ตอบ...ถ้าไม่เกิด ก็ไม่ตาย
พระพุทธศาสนา
ศาสนาพุทธ เกิดจากความกลัวแก่ กลัวเจ็บ กลัวตาย และต้องการหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ต้องการเข้าถึงสุขแท้สุขถาวร ที่ไม่ต้องกลับมาทุกข์อีก (1)
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุ ๒๙ พรรษาพระองค์เสด็จออกประพาสอุทยาน ขณะที่กำลังเพลิดเพลินอยู่นั้น พระองค์ได้พบกับสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิตนั่นคือ คนแก่ คนเจ็บและคนตาย ทำให้พระองค์ทรงหวั่นวิตกว่า อีกไม่นานเราเองก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายอย่างนี้เหมือนกัน ทำอย่างไรหนอ เราจะรอดพ้นจากสิ่งเหล่านี้ได้? เมื่อมีร้อนก็มีหนาวแก้ เมื่อมีมืดก็มีสว่างแก้ เมื่อมีความแก่ความเจ็บและความตาย ก็ต้องมีวิธีแก้อย่างแน่นอน เราจะหาวิธีการนั้นให้พบให้จงได้ จากนั้นพระองค์จึงตัดสินพระทัยทิ้งราชสมบัติ ทิ้งกองเงินกองทองออกจากพระราชวังไปนั่งให้ยุงกัดอยู่กลางป่า(2)
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร?
พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งกฎธรรมชาติว่า สัตว์ทุกชีวิตเคยเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน(3) ผู้ที่ไม่เคยเกิดเป็นพ่อแม่กันมาก่อนหาได้ยาก(4) บางชาติเกิดเป็นเทวดา บางชาติเป็นมนุษย์ บางชาติเป็นสัตว์เดรัจฉาน บางชาติเกิดเป็นเปรต/อสุรกาย บางชาติต้องตกนรก ต้องเวียนว่ายตาย-เกิดอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ตามอำนาจบุญและบาปที่ตนเองได้ทำไว้ เหตุการณ์ทุกอย่างที่เราประสบอยู่ทุกวันนี้ไม่มีคำว่าโชคหรือบังเอิญ ทุกอย่างเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำของเราในอดีตทั้งสิ้น(5)
( บทพิสูจน์ ..งานวิจัยเรื่อง 20 ผู้กลับชาติมาเกิด โดย Ian Stevenson, M.D. (ศาสตราจารย์ น.พ.เอียน สตีเวนสัน) มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย พิมพ์โดย อภิธรรมมูลนิธิ หน้าพุทธมณฑล อ. พุทธมณฑล จ. นครปฐม 73170
http://books.google.com/books?id=vIDES6VWl1MC&pg=PA181&dq=%22Stevenson%22+%22Twenty+Cases+Suggestive+of+Reincarnation%22+&sig=QORGdIeFDeRLJjtrmEqLZCnnW9Q#PPA184,M1 )
เมื่อเรายังต้องเกิดอีก สิ่งที่จะตามมาด้วย คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และความทุกข์กายทุกข์ใจ ดั่งพระจาลาภิกษุณีกล่าวว่า ความตายย่อมมีแก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว ผู้ที่เกิดมาแล้วย่อมประสบทุกข์ เพราะเหตุนี้แลเราจึงไม่ชอบความ เกิด(6)
ฉะนั้น วิธีที่จะรอดพ้นจากความแก่ ความเจ็บ ความตาย และความทุกข์ทั้ง ปวงได้ ก็มีอยู่เพียงวิธีเดียวเท่านั้น นั่นก็คือการไม่เกิดอีก เพราะเมื่อไม่เกิดอีก เราก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย และไม่ต้องทุกข์อีกต่อไป(7)
จุดมุ่งหมายพระพุทธศาสนา
เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ เจริญวิปัสสนาภาวนาจนบรรลุเข้าสู่ มรรค ผล นิพพาน ตัดกระแสธรรมชาติให้ขาดสะบั้นลงได้อย่างเด็ดขาดสิ้นเชิง กำจัดสาเหตุที่ก่อให้เกิดการถือกำเนิดในภพใหม่(8) สิ่งที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายต้องเกิดอีกไม่มีที่สิ้นสุดก็คือความต้องการของสรรพสัตว์เองหรือที่เรียกว่า กิเลสตัณหา(9)
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า อานนท์ กรรมชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่ายางเหนียวในเมล็ดพืช วิญญานดำรงอยู่ได้ เพราะธาตุหยาบของสัตว์ มีความหลงไม่รู้ความจริงเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหา เป็นเชื้อเครื่องผูกเหนี่ยวใจไว้ การเกิดใหม่จึงมีต่อไปอีก(10) ตัณหาทำให้สัตว์ต้องเกิดอีก จิตของสัตว์ย่อมแล่นไป สัตว์ที่ยังต้องเวียนว่ายในสังสารวัฏฏ์ย่อมไม่อาจ หลุดพ้นจากทุกไปได้(11)
เมื่อมนุษย์เจริญวิปัสสนาจนเกิดมรรคจิตครบ ๔ ครั้ง ก็จะกำจัดกิเลสตัณหา ในจิตของตนเองให้หมดสิ้นไปได้อย่างสิ้นเชิง(12) เขาจะไม่ต้องเกิดใหม่อีกต่อไป เปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์มะม่วงที่มียางเหนียวอยู่ภายใน ถ้านำไปปลูกจะงอกเป็น ต้นมะม่วงได้อีก แต่ถ้านำไปต้มกำจัดยางเหนียวให้หมดไป จากนั้นนำไปปลูกโดย วิธีใดก็ตามจะไม่งอกอีกแล้ว กิเลสตัณหาในดวงจิตของเราก็เช่นกัน
แต่ถ้าหากไม่สามารถทำมรรคจิตให้เกิดครบ ๔ ครั้งได้ แม้เกิดเพียงครั้งเดียวก็จัดว่าเข้าสู่กระแสแล้ว(โสดาบัน) ก็ไม่ต้องตกนรก/ทุกข์ในอบายอีกต่อไป และจะบรรลุอรหันต์ได้เองโดยอัตโนมัติภายในระยะเวลาไม่เกิน ๗ ชาติ(13)
กรรมฐาน
กรรมฐาน เป็นศาสตร์หนึ่งที่มีอยู่ในจักรวาลเหมือนกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ต่างกันแต่ศาสตร์นี้ต้องศึกษาวิจัยในห้องแลปร์คือจิตล้วน ๆ และ มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ความหลุดพ้นจากทุกทั้งปวง ศาสตร์นี้เป็นกลไกที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่ยากที่มนุษย์จะเข้าถึงได้ สิ่งที่สามารถเข้าถึงและแทงตลอดกฏเกณฑนี้ได้มีเพียงอย่างเดียว นั่นก็คือจิตที่ทรงพลานุภาพ ตามธรรมดาแล้วมนุษย์ล้วนมีจิตกันทุกคน แต่จิตธรรมดาจะกลายเป็นจิตที่ทรงพลานุภาพได้นั้นต้องอาศัยการบ่มเพาะเป็นเวลานาน คัมภีร์อรรถกถาบอกว่า ต้องใช้เวลานานถึง ๔ อสงไขยกับแสนกัปเลยทีเดียว(14) ด้วยเหตุนี้ นาน ๆ จึงจะมีดวงจิตที่ทรงพลานุภาพมาปฏิสนธิสักครั้งหนึ่ง โลกใบนี้อุบัติขึ้นประมาณ ๔,๕๐๐ ล้านปีมาแล้ว ซึ่งเป็นเวลาที่ยาวนานมาก แต่ดวงจิตที่ทรงพลานุภาพมาปฏิสนธิแค่เพียง ๔ ครั้งเท่านั้น(15) ครั้งสุดท้ายมาปฏิสนธิ เมื่อ ๒๖๒๗ ปีก่อนนี้เอง ผู้นั้นเราเรียกกันว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เรื่องกรรมฐานนี้ มนุษย์ทั่วโลกได้พยายามค้นคว้าและเข้าถึงมานานแล้ว แต่เนื่องด้วยบารมีไม่เพียงพอจึงเข้าถึงได้เพียงครึ่งเดียว คนกลุ่มนั้นก็คือพวกฤษีและศาสดาต่าง ๆ พวกท่านสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ มีฤทธิ์เดชมากมาย แต่ก็ยังไม่สามารถกำจัดกิเลสในจิตตนเองให้หมดสิ้นไปได้(16) ยังมีความโลภ โกรธ เกลียดอยู่ ท่านเหล่านี้เข้าถึงได้เพียงแค่ระดับฌานสมาบัติเท่านั้น ยังไม่สามารถเข้าถึงวิปัสสนาปัญญา บรรลุมรรค ผล นิพพานได้(17)
สมถกรรมฐาน (18) คือ การกำหนดจิตอยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่งที่เหมาะสม เช่น ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เป็นต้น(19) ใส่ใจแต่เฉพาะอาการเข้า อาการออกของลมหายใจเท่านั้น โดยไม่สนใจสิ่งอื่น แม้แต่ความคิดก็ไม่สนใจหายใจเข้า หายใจออกตามปกติธรรมด่า มีสติระลึกรู้อยู่ในขณะปัจจุบัน มีสติระลึกรู้อยู่อย่างนี้นับร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้งจนจิตตั้งมั่น แนบแน่นอยู่ กับลมหายใจนิ่งเป็นสมาธิ แล้วกำหนดรู้อาการนิ่งสงบของจิต จนนิ่งเป็นอุเบกขา เมื่อถึงขั้นนี้จะน้อมจิตไปทำสิ่งใดก็จะสำเร็จได้ดั่งใจหมาย เช่น สามารถ กำหนด รู้ความคิดของคนอื่นได้เป็นต้น(20)
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช พระองค์ได้ไปศึกษาศาสตร์นี้จากสำนักฤษีต่างๆ ที่มีอยู่ในสมัยนั้นจนหมดความรู้อาจารย์ แต่เมื่อออกจากสมาธิ กิเลสตัณหาก็ยังมีอยู่เท่าเดิม ยังมีความกลัวความกังวลอยู่ พระองค์จึงตัดสินพระทัยศึกษาค้นคว้าหาวิธีดับทุกข์ด้วยพระ องค์เอง ด้วยการเจริญวิปัสสนา(21)
เมื่อเกิดวิปัสสนาปัญญญารู้แจ้งอยู่ไปตามลำดับครบ ๑๖ขั้นจะบรรลุ โสดาบัน เที่ยวที่ ๒ บรรลุสกทาคามี เที่ยวที่ ๓ บรรลุอนาคามี เที่ยวที่ ๔บรรลุพระอรหันต์เข้าถึงพระนิพพาน(22) ดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิงไม่ต้องเกิดใหม่อีกต่อไป เมื่อไม่ต้องเกิดอีกก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย และไม่ต้องทุกข์ กายทุกข์ใจอีกต่อไป การตายอีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย จึงเรียกว่าดับขันธปรินิพพาน ดับทั้งกายดับทั้งจิต ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
อ้างอิง..พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(เล่มที่ / หน้าที่)
1. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก. ๒๕/๔๗๖,๓๑/๔๐๐
2. ดูรายละเอียดใน ไตรปิฎก. ๑๐/๑-๑๐
3. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก. ๑๖/๒๒๓
4. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก๑๖/๒๒๗
5. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก๑๔/๓๕๐-๓๖๕
6. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก๑๕/๒๒๓
7. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก๑๙/๕๓๔
8. ดูรายละเอียดพระไตรปิฎก.๑๑/๒๒๒ ,อรรถกถาอังคุตตรนิกาย(บาลี)๑/๑๖๔
9. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก๑๕/๖๘
10. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก.๒๐/๓๐๑
11. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก๑๕/๗๐
12. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก.๓๑/๙๗
13. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก.๑๙/๕๔๔, ๑๔/๑๘๖, ๒๐/๓๑๕, ๒๕/๑๒
14. ดูรายละเอียด ในวิสุทฺธชนวิลาสินี(บาลี)๑/๑๒๐
15. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก.๓๓/๗๒๓
16. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก.๒๐/๓๘๐ , ๒๕/๒๙๒
17. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก.๑๓/๓๙๖,อรรถกถามัชฌิมนิกาย(บาลี) ๑/๑๙๙
18. ดูรายละเอียด ในวิสุทฺธิมรรค(บาลี)๑/๑๓๒-๑๔๙
19. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก.๑๒/๑๐๑
20. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก.๑๐/๑๔๒, ๒๒/๓๖
21. ดูรายละเอียดพระไตรปิฎก.๑๙/๔๖๑,อรรถกถาอังคุตตรนิกาย(บาลี)๑/๘๑๓๓
22. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก.๓๑/๑-๑๖,๒๕/๗๒๐ |
|
|
|
   |
 |
ratchadapa
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 05 ม.ค. 2008
ตอบ: 84
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพมหานคร
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.พ.2008, 10:00 pm |
  |
สาธุคุณMontasavi ค่ะ
เป้าหมายสูงสุดคือไม่กลับมาเกิดอีกนั้นแน่นอนที่สุด แต่ในปัจจุบันชาติ ดิฉันยังไม่สามารถมั่นใจได้ว่าจะไปถึงจุดนั้น จึงคิดเผื่อไว้ว่า ในกรณีที่ตายไปยังไได้บรรลุธรรมขั้นสูงๆเช่นอนาคามีผล ก็มีความเสี่ยงที่จะไปสร้างภพชาติใหม่
หรืออย่างน้อยถ้าไม่บรรลุโสดาปัตติผล ก็ยังเสี่ยงไปอบายได้ หรือแม้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วก็ยังอาจต้องเที่ยวท่องไปอีกถึง 7 ชาติ น่ากลัวค่ะ น่ากลัวมากๆ กลัวไม่ได้พบพระพุทธศาสนา
จิตดวงสุดท้ายเป็นเรื่องน่าสนใจว่า ภาวะอันสำคัญยิ่วยวดนั้นเราควรจะเตรียมกายใจอย่างไร ถ้ายังไม่พ้นภพชาติไปได้ |
|
_________________ พวกเธอจงยินดีในความไม่ประมาท
จงระมัดระวังจิตของตน
จงถอนตนออกจากหล่มกิเลส
เหมือนพญาช้างติดหล่ม
พยายามช่วยตัวเอง |
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2008, 9:11 am |
  |
สติ เป็นเพื่อนที่ดีที่สุด สิ่งของ หรือบุคคลรอบข้างไม่สามารถช่วยเราได้ขณะที่เราจะตาย สติเท่านั้นที่จะช่วยให้เราเตรียมตัวก่อนที่จะตายและกำลังจะตายได้ดีที่สุดค่ะ แต่จะทำอย่างไรถึงจะมีสติ สัมปชัญญะ รู้ตัวตลอดเวลานี่สิ เป็นเรื่องที่น่าคิด และเป็นสิ่งที่ควรจะทำ เพียงแค่มุมมองของคนๆหนึ่งค่ะ |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
Candy
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 21 ก.พ. 2008
ตอบ: 28
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.พ.2008, 4:44 pm |
  |
ไม่เคยเตรียมตัวเลยค่ะ แต่ช่วงที่มีชีวิตอยู่นี้ ก็ไม่อยากเบียดเบียนใคร และหมั่นสร้างกุศลไว้เสมอ |
|
_________________ หนทางสว่างด้วยแสงไฟ จิตใจสว่างด้วยแสงธรรม |
|
  |
 |
สุรเชฏฐ์ ไลตระกูล
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 24 ก.พ. 2008
ตอบ: 24
ที่อยู่ (จังหวัด): นครปฐม
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.พ.2008, 1:23 pm |
  |
สร้างบุญกุศลไว้ ไม่รู้จะต้องตายเมื่อไหร่ ยังไงเราคงไม่นิพพานในชาตินี้ ชาติหน้ายังมี พึงทำความดีสม่ำเสมอ แม้แต่ความคิด พึงคิดแต่สิ่งดี ถ้าหากถึงเวลาตาย สิ่งที่เราคิดหรือปฏิบัติก่อนตาย สิ่งที่เราทำบ่อยๆก่อนตาย ผลกรรมนั้นจะส่งผลต่อจิตเรา ตอนนี้ยังไม่อยากตายหรอก  |
|
_________________ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม |
|
   |
 |
RARM
บัวบาน

เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.พ.2008, 9:14 pm |
  |
พระอานนท์ ถูกพระพุทธเจ้าถามเรื่องเกี่ยวกับความตาย
พระพุทธองค์ตรัสถามว่า
ดูก่อนอานนท์ ท่านพิจารณาถึงความตายวันละกี่ครับ
พระอานนท์ ทูลตอบว่า วันละ 7 ครั้งพระเจ้าข้า
พระพุทธองค์ตรัสอีกว่า ดูก่อนอานนท์ เราพิจารณา ถึงความตาย ทุกลมหายใจเข้า และหายใจออก |
|
|
|
  |
 |
bai_pai
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 09 ก.พ. 2008
ตอบ: 39
ที่อยู่ (จังหวัด): kyeongki-do, korea
|
ตอบเมื่อ:
06 เม.ย.2008, 5:25 pm |
  |
|
   |
 |
human
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 01 พ.ย. 2006
ตอบ: 41
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 1:40 pm |
  |
ความตายหรอ
ตายแน่ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ |
|
|
|
  |
 |
Inborn
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 13 เม.ย. 2008
ตอบ: 19
ที่อยู่ (จังหวัด): นครปฐม
|
ตอบเมื่อ:
13 เม.ย.2008, 5:06 pm |
  |
..........ไม่ได้เตรียมตัวตายไว้หรอกครับ ไม่ต้องเตรียมอะไรนอกจากใจ
..........เพราะเตรียมอะไรไว้ก็ไม่สามารถเอาไปได้
..........ได้แต่ระลึกถึงความตายอยู่เสมอๆ(มรณานุสติ)...  |
|
_________________ ใดใดในโลกล้วนอนิจจัง คงแต่บาปบุญยังเที่ยงแท้
สัพเพธัมมาอนัตตา ธรรมทั้งหลายไม่มีตัวตน
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา |
|
  |
 |
|