Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การสัมมนาพระพุทธศาสนากับการแก้ไขปัญหาการเมืองและสันติภาพ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
1412
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 ม.ค. 2005, 9:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากทราบรายละเอียดของเรื่องนี้ค่ะ สามารถหาได้ที่ไหนหรือมีใครรู้ช่วยบอกหน่อยนะคะ หรือจะเป็นการแก้ไขปัญหาการเมืองควรใช้หลักใดของพระพุทธศาสนา
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 26 ม.ค. 2005, 1:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปณิธาน ๓ ประการ

ที่จะช่วยให้มนุษย์พ้นวิกฤต



ในสมัยโบราณมนุษย์อยู่กันตามกระเปาะทางวัฒนธรรม (cultural pockets) ตามสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างหลากหลาย เรียกว่า มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความหลายหลายทางวัฒนธรรมเป็นธรรมชาติ เพราะวัฒนธรรมสัมพันธ์อยู่กับสิ่งแวดล้อมซึ่งแตกต่างกัน เช่น คนที่ขั้วโลก คนในทะเลทราย คนในเขตหนาว คนในเขตร้อน คนบนเขา คนริมทะเล ย่อมมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ๆ เรียกว่าอารยธรรม เช่น อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโห เป็นต้น



เมื่อชาวยุโรปค้นพบวิทยาศาสตร์ แล้วนำวิทยาศาสตร์มาสร้างอาวุธที่มีอำนาจมาก เช่น เรือรบ ปืนใหญ่ ปืนกล ทำให้เกิดอำนาจมหาศาล อย่างที่มนุษย์ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ อารยธรรมใหญ่ๆ ที่มีอายุประมาณ ๕,๐๐๐ ปี อย่างอารยธรรมอินเดีย และอารยธรรมจีน ไม่สามารถต้านทานอำนาจการยิงอันมหึมาของชาวยุโรปได้ อำนาจอันรุนแรงของชาวยุโรปทำให้โลกมีโครงสร้างใหม่ แทนที่ความหลากหลายทางวัฒนธรรม โลกทั้งโลกถูกบังคับให้มีอารยธรรมเดียว จะเรียกว่าโลกาภิวัตน์หรืออะไรก็ตามที แต่แก่นแกนของมันคืออารยธรรมวัตถุนิยมบริโภคนิยม



อารยธรรมวัตถุนิยมบริโภคนิยมได้เข้าครอบงำโลก ทั้งในด้านโลกทัศน์และวิธีคิด การศึกษา โครงสร้างทางสังคมต่างๆ ในอารยธรรมนี้ได้เกิดขนาดเงินอันมโหฬารอย่างที่แต่ก่อนไม่มี และด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ เงินจำนวนมหาศาลนี้วิ่งรอบโลกด้วยความเร็วของแสง เงินอันมหึมานี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจ แต่ไปดูดเงินที่มีน้อยกว่าของส่วนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์และมีการจัดการไม่ดีเท่า เงินอันมหึมาได้เข้าทำลายคุณค่าต่างๆ เช่น ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน วัฒนธรรม จิตวิญญาณ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์



โลกที่เชื่อมโยงกันทั้งหมดก่อให้เกิดระบบซับซ้อน (complex system) ที่ขับเคลื่อนด้วยโลภจริตขนาดใหญ่ สภาพโกลาหล (chaos) และวิกฤตการณ์จึงเป็นปรากฏการณ์ถาวร



คนทั้งโลกถูกโครงสร้างโลกครอบงำ กดทับ บีบคั้น จึงเกิดความเครียด ความทุกข์ ความท้อแท้สิ้นหวัง เป็นโรคซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย ติดยาเสพติด มีความรุนแรง ขาดอิสรภาพ ไม่สามารถใช้ศักยภาพที่ตนมีเพื่อสร้างสรรค์ได้อย่างที่ควรเป็น อารยธรรมวัตถุนิยมบริโภคนิยมกำลังพาโลกทั้งโลกไปสู่สภาวะวิกฤตอย่างยิ่ง



นักปราชญ์ตะวันตกได้มองเห็นวิกฤตการณ์ของอารยธรรมวัตถุนิยมบริโภคนิยมแล้วในขณะนี้ แต่นักปราชญ์ไทยท่านหนึ่งเห็นมาก่อนใคร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๗ โน่นแล้วที่ใครๆ ยังมองไม่เห็น ท่านได้พยายามตะโกนบอกเพื่อนมนุษย์เป็นอเนกปริยายว่า "วิกฤตแล้วโว้ย" ๆ ท่านผู้นี้เป็นมหาบุรุษร่วมสมัยกับเรา คือท่านอาจารย์พุทธทาสมหาเถร แห่งสวนโมกขพลาราม ซึ่งมรณภาพไปเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ และจะครบ ๑ รอบศตวรรษแห่งชาตกาลในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙ นี้



ท่านอาจารย์พุทธทาสได้ฝากปณิธานไว้ ๓ ข้อ โดยความดังนี้

๑. ขอให้ศาสนิกของแต่ละศาสนาเข้าถึงหัวใจของหลักธรรมของศาสนาของตนๆ

๒. ขอให้มีความร่วมมือระหว่างศาสนา

๓. ขอให้มนุษย์ถอนตัวออกจากวัตถุนิยม



ในช่วงที่โลกก็วิกฤต ไทยก็วิกฤตไปตามโลกด้วยอย่างไม่มีทางออก และเรากำลังจะเข้าสู่ ๑ ศตวรรษแห่งชาตกาลของท่านมหาเถระ คนไทยน่าจะพากันศึกษาปณิธานทั้ง ๓ ประการกันอย่างจริงจัง อันจะทำให้พบทางออกจากวิกฤต



การคิดภายใต้ความครอบงำของสภาพที่ดำรงอยู่ไม่ทำให้พ้นวิกฤตได้ แต่มนุษย์สามารถหลุดจากมายาคติทั้งปวงไปสู่อิสรภาพและประสบความจริง ความงาม ความถูกต้องได้โดยการเข้าถึงศาสนธรรม



ปณิธาน ๓ ประการของอาจารย์พุทธทาสมหาเถระ อาจถอดออกเป็นการปฏิบัติ และการสนับสนุนกรปฏิบัติได้ ๔ ประการ ดังนี้



๑. ทุกคนควรพยายามศึกษาศาสนธรรมของศาสนาที่ตนนับถือให้มากเป็นกิจวัตร จะทำให้พบอิสรภาพ ปัญญา และสันติ



๒. สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติควรส่งเสริมการเจริญสติเป็นวิถีชีวิต โดยส่งเสริมให้มีสำนักสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานที่ดีให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย กับส่งเสริมให้ระบบการศึกษาทุกระดับมีหลักสูตรพัฒนาจิตภาคปฏิบัติ



๓. มหาวิทยาลัยทุกแห่งควรมีศูนย์วิจัยและพัฒนาจิตที่จะให้นิสิตนักศึกษา มีการพัฒนาจิตด้วยวิธีที่แตกต่างหลากหลายอันถูกจริตของแต่ละบุคคล มหาวิทยาลัยต่างๆ ควรจะเป็นเจ้าภาพจัดให้มีการสานเสวนา (dialogue) ระหว่างศาสนาต่างๆ และมีการเผยแพร่การเสวนานั้นให้แพร่หลาย



๔. กรมการศาสนาควรจะทำยุทธศาสตร์ส่งเสริมข้อ ๑-๓ ข้างต้น รวมทั้งให้มีการสานเสวนาระหว่างศาสนาทางวิทยุ และโทรทัศน์เป็นประจำ



มนุษย์สามารถประสบความสุขและอิสรภาพจากการเข้าถึงธรรม ซึ่งเป็นความสุขอันประณีต ก็จะค่อยๆ ถอนตัวออกจากวัตถุนิยม การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานทางจิตใจ (mental transformation) จะไปก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทางสังคมและพฤติกรรม อันจักเป็นไปเพื่อความสุขและศานติ



ประเวศ วะสี

กลุ่มจิตวิวัฒน์

โครงการจิตวิวัฒน์ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

NewConsciousness@thainhf.org









นำขึ้นเว็บhttp://www.semsikkha.orgเมื่อวันพฤหัสบที่ที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๔๘





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เสิม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2005, 10:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมมะอย่างแรง ซึ้งจริงๆ
 
nan
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 27 มิ.ย.2005, 5:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
คลาส
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2005, 5:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มันคุ้มจริงๆกับการที่เราได้มาดูเวบนี้สอนได้ประทับใจเหลือเกิน
 
ทืทืท
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.ย. 2005, 5:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
พรรณธิภา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 17 พ.ย.2005, 12:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง