|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 ม.ค. 2005, 3:11 pm |
  |
นิกายในพุทธศาสนาระหว่างมหายานกับเถรวาทนั้น มีหลักความเชื่อที่ไม่เหมือนกันอยู่มาก ยิ่งมหายานบางนิกายเชื่อแตกต่างกับเถรวาทหลายประเด็น เช่น มหายานเชื่อว่า
1 ผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว สามารถเป็นพระโพธิสัตว์ได้
2 พระอรหันต์จึงสามารถกลับมาเกิดในโลกได้ โดยไม่เข้านิพพาน ส่วนนิพพานเป็นอย่างไรไม่ทราบ
3 ผู้บรรลุโสดาบันก็สามารถบำเพ็ญเป็นพระโพธิสัตว์ได้
4 มหายานเชื่อว่าในโลกธาตุมีพระพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่งในโลกสววรค์ของมหายานได้
5 มหายานเชื่อว่ามีสวรรค์ชั้นหนึ่งเป็นที่อยู่ของผู้บำเพ็ญบารมีคือแดนสุขาวดี
6 มหายานไม่เคยมีแดนสุทธาวาสที่อยู่ของพรหมอนาคามี
7พระโพธิสัตว์มหายานบำเพ็ญบารมี 6
8 พระโพธิสัตว์ของมหายานนั้นเลิศกว่าพระอรหันต์(อันนี้เห็นกล่าวในคัมภีร์
9 มหายานนั้นคล้ายเทวนิยมมาก
คิดว่ายังมีหลักที่ต่างๆกันอีกมากทีเดียว แต่ในการปฏิบัตินั้นอาจไม่แตกต่างกันมาก แต่ความเห็นในเรื่องต่างๆทางศาสนานั้นต่างกันมากมายหลายประเด็น |
|
|
|
|
 |
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 ม.ค. 2005, 6:06 pm |
  |
อีกสองอย่างที่ผมรู้มา ว่ามหายานถือว่า สุรา คือ น้ำแห่งปัญญา ด้วยครับ ดื่มได้ไร้ปัญหา และพระสามารถมีลูกมีเมียได้ครับ |
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 ม.ค. 2005, 8:40 pm |
  |
มหายานยังแบ่งเป็นนิกายย่อยๆที่แตกต่างกันก็มีอีก แต่ไม่ใช่ทำนองธรรมยุติ กับมหานิกายของไทย เพราะต่างมีหลักธรรมเป็นอันเดียวกัน แต่มหายานมีความแตกต่างกัน แต่ชาวพุทธในปัจจุบันดูจะมีความสับสนไม่น้อยในการนับถือศาสนา มหายานนั้นแม้จะไม่เชื่อพระผู้สร้าง แต่เชื่อในกฎแห่งกรรมตามหลักพุทธศาสนา แต่ในด้านหนึ่งเป็นลักษณะเทวนิยมที่ชัดเจนมากทีเดียว ชาวพุทธปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเป็นเทวนิยมมากยิ่งขึ้น แม้แต่ในหมู่ของเถรวาทก็เป็นเช่นนั้นเป็นส่วนมากไปแล้ว |
|
|
|
|
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
22 ม.ค. 2005, 12:58 am |
  |
ถ้าอ่านแต่ตัวหนังสือ ก็แตกต่าง ต้องศึกษาและลงมือฝึกปฏิบัติ ในความแตกต่างก็หาได้แตกต่างจากกันไม่ ฝึกสมาธิฝึกจิตให้ถึงที่สุดก็จะเข้าใจได้ตลอดสายเอง
ลักษณะของเทวนิยม ถ้าหากยังไม่ลงมือปฏิบัติ ท่านก็จะไม่สามารถเข้าใจได้ว่า แท้จริงแล้วหมายความว่าอย่างไร อ่านอย่างเดียวก็มีการขัดแย้งไม่มีที่สิ้นสุด
ขอธรรมะคุ้มครองคุรุผู้ประเสริฐ คุรุผู้เมตตาธรรมทุกท่าน
ขอธรรมะคุ้มครองสรรพสัตว์ทุกชีวิตในโลกมายามนุษย์นี้ด้วยเถิดหนา สวัสดี
มณี ปัทมะ ตารา  |
|
|
|
   |
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
22 ม.ค. 2005, 6:59 am |
  |
คิดว่าคงมีความแตกต่างกันนะ คือไม่แตกต่างกันในระดับศีลธรรม แต่แตกต่างกันในเรื่องปริยัติ ที่เป็นรายละเอียด ถ้ายังไม่เอาเปลือกนี่ทิ้งออกไป ผู้ปฏิบัติก็ยึดมั่นกับเปลือกนี่อยู่ ความสำคัญอยู่ตรงนี้ |
|
|
|
|
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
22 ม.ค. 2005, 10:31 am |
  |
คุณโอ่.....คุณเข้าใจถูกต้องแล้ว หากลงมือฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง ค่อยๆถากปราศจากความยึดมั่นถือมั่น ก็จะเข้าใจได้เอง
...จิตเดิมใสบริสุทธิ์ ไม่มีแบ่งแยกว่าศาสนาใด ลัทธิใด ภาษาใด ชนชาติใด...
ธรรมะสวัสดี
มณี ปัทมะ ตารา  |
|
|
|
   |
 |
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
22 ม.ค. 2005, 7:01 pm |
  |
ส่วนนี้เป็นความคิดเห็น หรือข้อสันนิษฐานของผมเองนะครับผิดพลาดประการใด น้อมรับคำวิจารณ์แต่เพียงผู้เดียว
โลกเรานี้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป มานานแสนนานแล้ว วนเวียนอย่างนี้มาเรื่อยๆ ตลอด ในการเกิดดับแต่ละครั้งของโลก ก็จะมีพระพุทธเจ้ามาบังเกิด 1 พระองค์บ้าง 2 บ้าง บางยุคมีถึง 5 พระองค์ แต่บางยุคก็ไม่มีเลย ในช่วงรอยต่อของพระพุทธเจ้า คือ หมดจากศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนไปแล้ว แต่พระพุทธเจ้าองค์ใหม่จะยังไม่มาตรัสรู้ ช่วงนั้น คำสอนทั้งหมดขององค์ก่อนจะเลือนหายไป ช่วงนี้เอง ความเชื่อใหม่ๆ ต่างๆ จะเกิดขึ้นมากมาย เพราะมนุษย์มีความทุกข์และต้องการที่พึ่งให้พ้นทุกข์ พวกชาวป่า ก็จะนับถือผีป่า และทำทุกอย่างให้ผีป่าพอใจ การฆ่าสัตว์เซ่นสรวงบูชายัญก็จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ แต่ก็จะมีคนบางกลุ่มรู้ว่า ฝึกสมาธิจะช่วยยกระดับจิตใจได้ เพียงแต่ไม่รู้วิธีที่ถูก ก็จะฝึกตามความเข้าใจตนเอง เมื่อฝึกอย่างจริงจัง ก็จะมีฤทธิ์ต่างๆ เกิดขึ้น เมื่อตายไป ก็จะกลายไปเป็นพรหม จริงๆ แล้วต้องถือว่า เยี่ยม เพราะพรหมเป็นสิ่งมีชีวิตที่สูงสุดในช่วงที่ว่างจากพระพุทธศาสนา
ฤษี ดาบส นักพรต สิทธา พราหมณ์ยุคแรกๆ จะมีสมาธิแก่กล้ามาก ตายแล้ว ก็จะได้ไปเป็นพรหม แล้วชาวบ้านก็จะพากันมานับถือ เกิดลาภสักระขึ้นมากมาย พอลูกศิษย์รุ่นหลังๆ หลงไหลในลาภสักการะ สมาธิจิตหย่อนลง ฤทธิ์ก็หย่อนลง ตายไปคราวนี้ไม่ได้ไปเป็นพรหม แต่จะกลายไปเป็นวิทยาธร เป็นเทวดาบนพื้นมนุษย์ อยู่ใกล้เคียงกับมนุษย์ วิทยาธรจะหลงไหลในวิขาของตนเอง และชอบให้ลูกศิษย์มาชื่นชม ดังนั้น วิทยาธร จะพยายามแสวงหาลูกศิษย์แข่งกัน โดยการไปช่วยลูกศิษย์มนุษย์ที่ท่องมนต์ ให้แสดงฤทธิ์เล็กๆ น้อยๆ ได้ แต่ไม่ใช่ฤทธิ์จากสมาธิ เป็นฤทธิ์ที่วิทยาธรช่วยส่งฤทธิ์ให้ผู้ที่มาท่องมนต์ เพื่อให้ศิษย์มนุษย์นับถือพวกตนมากๆ ตอนหลังๆ มักมีการแต่งแต้มให้ผู้ที่มนุษย์นับถือนั้น มีอำนาจเพิ่มขึ้นไปอีก เช่น วาดรูปให้มีหลายมือ หลายหัว ถืออาวุธต่างๆ มีหัวเป็นสัตว์บ้าง อะไรต่างๆ สิ่งเหล่านี้ ก็จะเริ่มเกิดขึ้นมา ในยุคที่พระพุทธศาสนาเสื่อมลง
ถ้าพระโพธิสัตว์ลงมาแก้ไขสถานการณ์ สร้างบารมี ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ก็จะเปลี่ยนความคิดเห็นให้มาถูกต้องได้ อยู่พักหนึ่ง จนไม่ไหว พระพุทธศาสนาเสื่อมไป เทพเจ้าต่างๆ ก็จะผุดขึ้นมาอย่างมากมาย จนกระทั่งเมื่อพระพุทธเจ้าองค์ใหม่มาอุบัติขึ้นอีกครั้ง
ถ้าเป็นพระพุทธเจ้า ประเภท วิริยธิกะ บารมีมาก ยุคนั้น ความเชื่ออื่นจะหายไปหมดเลย แต่ถ้าเป็นพระพุทธเจ้า ประเภท ปัญญาธิกะ สร้างบารมีเร็ว บางทีความเชื่ออื่นๆ ก็ยังตกค้างอยู่ |
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
22 ม.ค. 2005, 9:59 pm |
  |
ก็เป็นความเห็นของคุณเกียรตินะครับ ไม่วิจารณ์ล่ะครับ เพราะนึกไม่ออกว่าจะวิจารณ์เรื่องเช่นนี้อย่างไร แต่ก็สนุกดีที่ได้อ่าน |
|
|
|
|
 |
สุรพงษ์
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
24 ม.ค. 2005, 11:07 am |
  |
อ่านเพื่อประเทืองปัญญาดีครับ แต่อย่าลืมใช้หลักกาลามะสูตร |
|
|
|
|
 |
tara
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
15 พ.ค.2005, 4:23 pm |
  |
ความแตกต่างระหว่างเถรวาท กับ มหายาน (ในบางประการ)
เถรวาท
๑. รักษาขนบธรรมเนียมเดิมอย่างเคร่งครัด ไม่นิยมการเปลี่ยนแปลง เป็นอนุรักษ์นิยม (มหายานเพิ่มเติมได้ บางข้อเคร่งกว่า เช่น ศีลของพระโพธิสัตว์ เป็นต้น)
๒. ในเรื่องของพระพุทธเจ้า เถรวาทถือว่ามี ๒ กาย คือ พระกายธรรมดา ที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ และ ธรรมกาย คือ พระคุณสมบัติของพระองค์
๓. จุดมุ่งหมายสูงสุด อยู่ที่ความเป็นพระอรหันต์ หมดจดจากกิเลสโดยสิ้นเชิง
๔. ฝ่ายเถรวาทมุ่งปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นเฉพาะตนก่อน มิได้มีปณิธานที่จะช่วยให้สัตว์อื่นให้พ้นจากวัฏฏสงสาร
๕. เถรวาทย้ำหนักในเรื่องให้พึ่งตนเอง พระพุทธเจ้าเป็นเพียงผู้ทรงแนะนำเท่านั้น
๖. เถรวาทเป็นอเทวนิยมแท้ ไม่มีพระเจ้าดลบัลดาล สิ่งที่แทนพระเจ้า คือ ธรรม และ กฎแห่งกรรม ที่พึ่งสูงสุด คือ พระรัตนตรัย
๗. เนื่องจากเป็นอนุรักษ์นิยม เถรวาทจึงมักประพฤติตัวเป็นนักพรตเคร่งครัด
๘. มหายานกล่าวว่า เถรวาทเห็นเพียงบุคคลสุญญตาเท่านั้น แต่ยังไม่เห็นธรรมสุญญตา คือยังมีความอุปาทานในธาตุ ขันธ์ ธรรม อยู่
๙. พระอรหันต์เมื่อดับขันธ์แล้วไม่มีอะไรเหลืออีก พ้นจากบัญญัติว่ามีหรือไม่มี
มหายาน
๑. เอาเหตุผลมาจับพระพุทธพจน์ แล้วเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมบางประการ ตัดบ้าง เพิ่มเติมใหม่บ้าง ไม่เคร่งครัดในพระวินัยมากนัก (แต่บางทีก็เพิ่มสิ่งที่เคร่งครัดกว่า)
๒. มหายานถือว่า พระพุทธเจ้ามี ๓ คือ นิรมานกาย ธรรมกาย และสัมโภคกาย ซึ่งยังคงอยู่ที่ดินแดนที่เรียกว่า พุทธเกษตร
๓. จุดมุ่งหมายอยู่ที่พุทธภูมิ ถือว่า ความเป็นพระโพธิสัตว์สูงกว่าความเป็นพระอรหันต์
๔. มหายานมีกรุณาโดยไม่มีขอบเขตจำกัด มุ่งช่วยเหลือสัตว์อื่นให้พ้นจากทุกข์ก่อน
๕. มหายานเห็นว่า ชาวโลกมีธุระยุ่งเกินไป ไม่มีเวลาขวนขวายเพื่อหลุดพ้น แต่สามารถขอความช่วยเหลือจากพระพุทธเจ้า ซึ่งยังคงมีสัมโภคกายอยู่ ยังคงช่วยเหลือมนุษย์อยู่
๖. มหายานมีความเห็นเหมือนฝ่ายเถรวาท แต่เห็นแตกต่างออกไปว่าพระพุทธเจ้าอยู่ในฐานะเดียวกับ พระเจ้า (GOD) สามารถขอความช่วยเหลือจากพระองค์ได้ เหตุนี้พระพุทธเจ้าได้รับพระนามใหม่ว่า อมิตาภ ผู้มีแสงสว่างไม่มีประมาณ
๗. มหายานเป็นพวกหัวก้าวหน้า ทันสมัย คล่องตัวในการปฏิบัติและเผยแผ่ศาสนา
๘. มหายานเห็นแจ้งทั้งบุคคลสุญญตา และธรรมสุญญตา (เรื่องนี้เถรวาทไม่ยอมรับ)
๙. พระอรหันต์และพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อนิพพานแล้วยังมีอยู่ทั้งสิ้น ไม่ได้ดับไปไหนเลย
 |
|
|
|
|
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |