Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
บทความเรื่อง ต้นไม้สารพัดประโยชน์
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
phunchulee
บัวผลิหน่อ
เข้าร่วม: 29 ก.พ. 2008
ตอบ: 3
ที่อยู่ (จังหวัด): buriram
ตอบเมื่อ: 29 ก.พ.2008, 6:04 pm
อ้างอิงจาก:
>>>>>
เห็นภาพตันไม้ ที่ยังเหลือน้อย คิดถึงตอนเป็นเด็กๆ สมัยเลี้ยงควาย หา ขี้ซี จากต้นไม้เอาไว้ขาย (ใครไม่รู้จัก แสดงว่า ไม่ใช่คนบ้านนอกจริง) ขี้ซี คือยางไม้ที่ย้อยออกจากต้นไม้ครับ ผมไม่รู้ว่าสมัยนั้น เขาเอาไปทำอะไร และสมัยนี้ยังมีคนรับซื้ออยู่หรือเปล่า มันจะมีตามต้น จิก ตัน รัง ผมใช้หนังยางสติ๊ก ยิงเอา สมัยนั้น แม่นมาก สูงแค่ไหนก็ยิงไม่พลาด
>>>>> ขอตอบเรื่อง ขี้ซี ตามประสบการณ์เดิม (แฟนพัน แต่อาจจะไม่ แท้) ที่ตนเองเคยสัมผัสมาอยู่ช่วงระยะหนึ่งของชีวิต อันประดุจดังความฝันที่แสนจะเสียดายซึ่งเป็นเรื่องยากในการดึงมันกลับมาได้อีก ก็ลองมาอ่านดูนะว่ามันจะเป็นไปเช่นไร
>>>>> ขั้นแรกก็ขออธิบายถึง ต้นจิก ต้นรัง (ไม้เต็ง - รัง) ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ขี้ซี = ยางไม้ที่ย้อยออกมาตามลำต้น ตามกิ่ง" ต้นจิก ต้นรัง ต้นไม้ 2 ชนิดนี้ เกิดอยู่ตามพื้นที่ป่าดินแล้ง แต่เนื้อไม้และ ขี้ซี ซึ่ง ต้นจิก ต้นรังนั้นมีคุณสมบัติไม่แตกต่างกันมากนัก เป็นไม้เนื้อแข็ง
>>>>> ประโยชน์ใช้สอยของเนื้อไม้ = ทำเป็นไม้แปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ มากมาย เช่น องค์ประกอบในการสร้างบ้านได้ทั้งหลัง, เครื่องมือทางการเกษตร (สมัยก่อน 30 กว่าปีที่แล้ว ปัจจุบันพื้นที่ป่าชนิดนี้มีน้อยลงมากตามสัดส่วนของจำนวนประชากรของประเทศ) เช่น ด้ามจอบ ด้ามมีดอีโต้ ด้ามเสียม คราด คันไถ สามารถใช้ทำถ่านหุงต้มได้เชื้อเพลิงเกรดดีพอสมควร และอื่นๆ อีกมากมาย หรือเรียกง่ายๆ ก็คือ ไม้สารพัดประโยชน์
>>>>> ประโยชน์ใช้สอยของยางไม้ (ภาษาอีสานเรียกว่า "ขี้ซี") = ใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยการบดให้เป็นผงละเอียดแล้วใช้ประกอบกับ "พุ" (ไม้ไผ่ลวกยาวประมาณ 2 เมตร เจาะรุให้ทะลุผ่านตลอดแนว ทำเป็นเครื่องมือล่าสัตว์ของชาวบ้าน ใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นลูกดอกปลายแหลมยาวประมาณ 1 ฟุต ใช้นุ่นหรือสำลีพันไว้ท้ายของลูกดอก แล้วสอดใส่ภายในรุ พุ
>>>>> วิธีล่าสัตว์ เมื่อเห็นสัตว์ต่างๆ เช่น นก หนู กบ เป็นต้น อยู่ในระยะประมาณ 4 - 6 เมตร ผู้ล่าก็จะเล็งปากกระบอก พุ ไปทางที่สัตว์อยู่ ส่วนด้านท้ายของ พุ ผู้ล่าก็จะใช้ ปาก เป็นแรงในการพลักดันลูกดอกให้พุ่งตรงไปยังเป้าหมายคือสัตว์ หากผู้ล่ามีความแม่นยำ สัตว์นั้นก็จะตกเป็นอาหารมื้อโปรดของคนในชนบทนั่นเอง
>>>>> ที่นี้ก็มาถึงความสามารถของเจ้า ขี้ซี แล้วแหล่ะว่าจะนำมาประยุกต์ใช้กันอย่างไร ขี้ซี ที่บดเป็นผงละเอียดดีแล้ว ก็นำมาบรรจุภายในรุของ พุ พอประมาณทางด้านท้าย แล้วใช้สำลีปิดกระบอกไว้เพื่อปองกันไม่ให้ ขี้ซี ผงไหลย้อนกลับเวลาใช้งาน ส่วนทางด้านปลายกระบอกของ พุ จะใช้ไม้เท่ากับไม้เสียบลูกชิ้นพันสำลีชุบด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วผูกติดกับปลายกระบอกเตรียมเอาไว้ ผู้ล่าก็จะใช้ออกล่าสัตว์ในเวลากลางคืน เมื่อเห็นนกนอนหลับอยู่ตามกิ่งไม้สูง ประมาณ 4 6 เมตร จากพื้นดิน
>>>>> ผู้ล่าจะติดไฟที่ปลายกระบอก แล้วเล็ง พุ ไปยังนกที่กำลังหลับฝันหวานอยู่นั้น แล้วใช้ปากเป่าสำลีที่ปิดไว้ท้ายของ พุ เพื่อดัน ขี้ซี ให้พุ่งออกไปผ่านไฟ จากนั้นมันก็จะติดไฟลุกดังพรึบ พร้อมกับแสงสว่างโชติช่วงมีหลากสีสวยงามมาก ทันใดนั้นเจ้านกที่หลับอยู่ก็จะตกใจตื่นแล้วก็บินหนีไป แต่โอ้อนิจจา มันหารู้ไม่ว่านั่นคือ ช่องทางที่ทำให้ไฟที่ติดเชื้อจาก ขี้ซี ได้พวยพุ่งไปที่ลำตัวและปีกที่กางออกเพื่อที่จะบินนั้นเอง ทำให้ขนอันอ่อนนุ่มของมันถูกไฟเผาจนย่อยับไปในพริบตา
>>>>> จากนั้นน้ำหนักตัวของมันก็จะถูกแรงโน้มถ่วงของโลกฉุดมันลงไปกระแทกกับพื้นอย่างแรง ซึ่งมันก็ที่ไม่รู้ว่าจะเจ็บมากน้อยสักเพียงใด หากแข่งขามันไม่หักมันก็จะวิ่งหนีกะเสือกกะสน เพื่อเอาชีวิตรอดตามประสาของสัตว์ผู้ร่วม เกิดแก่เจ็บตาย ลองคิดดุสิว่า ถ้าหนีรอดมันจะดำรงอยู่กันเช่นไร
>>>>> แต่ถ้ามันถูกผู้ล่าจับได้ มันก็จะส่งเสียงร้องด้วยความหวาดกลัวสุดแรงเกิดของมันเลยทีเดียว ส่วนจะงอยปากอันแหล่มคมของมันก็จะกัดหรือจิกผู้ล่า เท่าที่มันจะสามารถใช้ได้อย่างที่เราคาดไม่ถึง มันยังไม่สิ้นฤทธิ์แต่เพียงเท่านั้น กรงเล็บที่คมของมันก็ใช่ย่อยเช่นกัน ถ้ามันสามารถใช้งานได้มันก็จะพยายามตะเกียดตะกายเต็มที่ เท่าที่มันจะช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ถึงมันจะพยายามดิ้นสุดกำลังเช่นไร สุดท้ายแรงอันน้อยนิดที่มันมีก็ย่อมสู้แรงอันมหาสารของผู้ล่าไม่ได้ และแล้วมันก็จะตกเป็นเมนูเด็ดจานโปรดของใครต่อใครที่เฝ้ารออยู่ทางบ้าน เฮ้อ...!
>>>>> ตะกร้าตักน้ำได้ คนสมัยนี้คงไม่เชื่อว่ามันทำได้ แต่เจ้า ขี้ซี นี่แหล่ะ มันสามารถทำได้อย่างน่าทึ่งของภูมิปัญญามนุษย์ โดยการนำเอา ขี้ซี ที่ตำผงละเอียดมาผสมกับยางไม้ที่ได้จากการเจาะ ต้นยาง (ชาวบ้านเรียกต้นตราด) ที่โคนต้นให้เป็นแอ่ง โดยกว้างประมาณ 10 - 20 เซนติเมตร ไว้รองรับน้ำ ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วใช้ไฟเผาทิ้งไว้ประมาณ 10 20 นาที (บางคนไปทำกิจธุระอื่นๆ รอ แต่บางครั้งลืมซึ่งก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของไฟป่าในสมัยนั้น) เพื่อเป็นการเปิดช่องทางให้น้ำมันไหลซึมออกมาเร็วขึ้น จากนั้นก็ดับไฟปล่อยทิ้งไว้ประมาณครึ่งวัน แล้วก็นำภาชนะมาบรรจุเอายางไปใช้ประโยชน์มากมาย เช่น นำไปผสมกับขี้เลื่อยหยาบ หรือซากไม้ผุ เพื่อทำเป็น คบเพลิง หรือ ไต้ ส่องแสงสว่างยามค่ำคืน ของวิถีชีวิตของคนในบนโลกนี้ในยุคหนึ่ง เอาแค่นี้แหล่ะนะ
>>>>> มาเข้าเรื่องตะกร้าตักน้ำได้กันนะ ถ้าดูตามลักษณะของตะกร้าแล้วเราก็คงเข้าใจว่ามันตักน้ำไม่แน่นอน เพราะตะกร้าทำจากไม้ไผ่ ซึ่งเป็นเครื่องจักสานนั่นเอง ด้วยภูมิปัญญาของคนโบราณอันล้ำเลิศจึงคิดหาวิธี เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตให้เป็นไปโดยไม่ฝืดเคืองจนเกินไปในชีวิตประจำวัน
>>>>> ขั้นตอนการทำก็มีวิธีง่ายๆ คือ 1.นำผง ขี้ซี ที่บดผงร่อนละเอียด 2.น้ำมันยางจากต้นตราด โดยการนำทั้ง 2 ส่วนมาผสมกันในประมาณที่พอเหมาะ ซึ่งเมื่อผสมเสร็จแล้วจะมีคุณลักษณะเหนียวนุ่นคลายๆ กับกาวชั้นดีที่มีคุณสมบัติในการเกาะติดกับผิวของตะกร้าไม้ไผ่ที่จักสานอย่างดี
>>>>> ปริมาณในการนำส่วนผสมทั้ง 2 อย่างนั้นมาโปะลงบนผิวของตะกร้าไม้ไผ่ ความหนาก็กะเอาประมาณ 1 มิลลิเมตร ทั้งด้านนอกและด้านในของตะกร้าให้ทั่วพื้นที่ใช้งานจนมองไม่เห็นเนื้อไม้ที่เป็นตะกร้าใบนั้น เสร็จแล้วก็พร้อมที่จะนำมาทำเป็นภาชนะสำหรับตักน้ำได้อย่างเหนียวแน่และคงทนพอสมควรในยุคนั้น แต่ต้องหลังจากที่ถูกตากผึงไว้ในที่ร่มแล้วประมาณ 2-3 วันเป็นอย่างน้อย (นี่แค่กรณีของตะกร้าตักน้ำเท่านั้นนะ หากใครที่เคยมีประสบการณ์ว่ามันสามารถนำไปใช้กับอะไรได้อีกก็ช่วยนำรายละเอียดมาฝากกันบ้างนะ)
>>>>> เป็นไงละขี้เกียจอ่านแล้วละสิ แต่ขออภัยนะสัพคุณของต้นไม้จิก ต้มไม้รังยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ทนๆ อ่านต่อไปนะ ไหนๆ ก็อ่านมานานแล้ว อ่านอีกนิดหนึ่งจะเป็นไรไปละ
>>>>> มาเริ่มอีกทีที่ประโยชน์จาก ใบตอง ลักษณะใบตองของ ต้นไม้จิก รูปทรงจะเป็นวงรียาว ชาวบ้านไม่ค่อยนำประโยชน์มากนัก ส่วนใบตองของ ต้นไม้รัง ลักษณะจะเป็นรูปทรงวงรีกลมใหญ่พอสมควร ใบตองสด ชาวบ้านจะนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ห่อหก ห่อขนม ส่วน ใบตองแห้ง ชาวบ้านจะเอาไม้ไผ่ประกบเป็นแผงใช้มุงหลังคา กั้นผนัง เป็นต้น
>>>>> ประโยชน์จาก ดอก หลังจากฤดูพลัดใบประมาณเดือนธันวาคม มกราคม ของแต่ละปีแล้ว ทิ้งระยะมาประมาณเดือน 4 5 คือประมาณช่วง มีนาคม เมษายน ก็เริ่มผลิดอกออกใบบานสะพรั่ง ในยามแดดร่มลมตกของช่วงเย็นๆ หากเราได้เดินไปตามราวป่าหรือชายทุ่ง กลิ่นอันหอมอบอวนก็จะฟุ้งกระจายไปทั่ว บริเวณ ประกอบกับกลิ่นเถ้าถ่านของไฟไหม้ป่าช่วงหน้าแล้ง บรรยากาศช่างน่าหลงใหลเสียนี่กะไร
>>>>> และยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ได้ผลพวงขณะที่นานาพันธุ์กำลังเบ่งบานอยู่นี้ ปรากฏว่าได้มีหมู่ภมรน้อยใหญ่ต่างก็เพลินเพดินในการเที่ยวเก็บน้ำหวานจะดอกไม้ ซึ่งก็ทำให้เกิดคำว่า น้ำผึ่งเดือนห้า ขึ้นมา เออ..! แล้วนี่จะบอกอะไรให้ คือว่า ในบรรดาน้ำผึ่งที่คนนิยมมากที่สุดก็คือช่วงนี้แหล่ะ ก็เพราะว่าน้ำในช่วงหน้าแล้งมีไม่ค่อยมาก จึงส่งผลให้น้ำจากดอกไม้หวานเป็นพิเศษ และการแสวงหาน้ำหวานของแมลงต่างๆ ก็เป็นวิธีการผสมเกสรดอกไม้ได้เป็นอย่างดีเยี่ยมเลย แต่ก็อย่างว่าแหล่ะนะ เราจะหวนคืนกาลเวลาอันน่าภิรมย์เช่นนั้นคงยากแล้ว เพราะผื้นป่าได้ถูกใช้สอยเป็นที่ทำมาหากินของชาวบ้านไปหมดแล้ว
>>>>> ประโยชน์จาก ฝักหรือเมล็ด หลังจากที่เบ่งบานอยู่ประมาณเดือนเศษๆ ฝักหรือเมล็ดก็จะแก่ได้ที่ ซึ่งก็พอดีกับช่วงเดือนหกที่เราๆ ก็พอจะรู้กันว่าปลายร้อนต้นฝน ฉะนั้นช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ จึงทำให้เกิดลมแล้ง หรือคนอีสานจะเรียกว่า ลมหัวกุด คือมันจะเกิดจากอากาศร้อนจัด จากนั้นก็จะมีลมพัดแรงๆ โดยฉับพลับ หรือเรียกอีกอย่างว่า ลมบก นั่นเอง
>>>>> ซึ่งลักษณะที่มันเป็นก็คือ ลมจะพัดจนเกิดการหมุดอย่างแรงมากๆ จนดูเหมือนกับ พายุทอร์นาโด ย่อมๆ เลยทีเดียว แต่ไม่ค่อยเป็นอันตรายมากนัก แล้วมันก็จะหมุนหอบเอาเศษหญ้า เศษใบไม้ ฝุ่นละอองที่เป็นขี้เถ้าสีดำของฟางหรือหญ้าที่ถูกไฟไหม้ป่าหน้าแล้ง ให้ลอยละล่องเป็นกลุ่มก้อนบนท้องฟ้า มองเห็นแล้วสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง สมัยเด็กๆ ชีวิตส่วนมากอยู่กับควายตามชายทุ่ง พอมองเห็นก็ชอบวิ่งเข้าไปเล่นกับเจ้า ลมหัวกุด นี้ บางที่ก็เอาผ้าขาวม้าหรือถอดเสื้อออกโยนใส่ เพื่อให้มันลอยขึ้นไปตามลมนั้น มีอยู่เหมือนกันที่ผ้านั้นลอยไปติดอยู่บนต้นไม้สูงๆ ปีนไปเอาได้บ้างไม่ได้บ้าง ซึ่งก็มีความสุขตามประสาของเด็ก บ้านนอกๆ เฮ้อ...สนุกซะเพลินเลยเรา เอาละเข้าเรื่องต่อดีกว่า
>>>>> ก็ขณะที่ลมหัวกุดหมุนนี่แหล่ะ ฝักหรือเมล็ด ของต้นจิก ต้นรังก็จะถูกพัดพาเอาไปพร้อมๆ กับสัพสิ่งที่เบาพอจะปลิวไปได้ ลักษณะเช่นนับว่าเป็นกระบวนการของการแพร่ขยายพันของนานาพันของแมกไม้ได้ดีนักแล ซึ่งบางครั้งเราทำกิจกรรมอยู่ตามที่ต่างๆ พอมองขึ้นไปบนท้องฟ้าก็จะเห็น เจ้า ฝักหรือเมล็ด ของต้นจิก ต้นรัง ร่วงล่นลงมาด้วยการหมุนอย่างสวยงามมาก ราวกับนางฟ้าโปรยดอกไม่ทิพย์ลงมาจากสวรรค์เลยแหล่ะ ไม่แน่ใจนักที่เขาว่า สวรรค์บนดิน มันคืออันนี้หรือเปล่า ไชโย..! มีความสุขจังเลย..! เวอร์แล้วเรา
>>>>> ประโยชน์จาก ใบผุ จากการสังเกตใต้โคนต้นเมื่อใบแห้งจนผุทับทมกันนานๆ พอฤดูฝนก็จะกล้ายเป็นเชื้อเห็ดชนิดหนึ่ง แต่ไม่แน่ใจว่าเขาเรียกว่าเห็ดอะไร สีเห็ดจะออกชมพูอ่อนๆ หรือชมพูเข้มจนออกสีม่วง นำมาประกอบกับแกงป่ารสชาติอร่อยมาก
>>>>> ประโยชน์จาก กิ่งไม้จิก กิ่งไม้รัง หลังจากที่มันตายจะด้วยสาเหตุอะไรต่างๆ มากมายก็ตาม นั่นก็คือมันเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ หรือไม่บางทีคนก็ทำให้มันตาย อันนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับคนเราที่พระพุทธองค์ท่านได้ตรัสสอนมวลมนุษย์มานานแล้ว กิ่งแห้งของมันสามารถตัดไปทำเป็นฟื้นหุงต้ม ซึ่งก็เป็นเชื้อเพลิงได้อีกรูปแบบหนึ่ง (จนกลายเป็นฉากหนึ่งของศิลปินที่จินตนาการแล้วนำเอาวิถีชีวิตของคนที่มีอาชีพเก็บฟื้นขายมาแต่งเป็นบทเพลง คนเก็บฟื้น แล้วร้องได้อย่างไพเราะ เป็นที่ชื่นชอบของคนที่คลั่งไคลบทเพลงแนว เพื่อชีวิต อยู่ในยุคหนึ่ง )
>>>>> ประโยชน์จาก เปลือกสด สามารถใช้ทำเป็นยาสมุนไพรได้ เปลือกไม้จิก ไม้รังสัพคุณ ไม่ต่างกันมากนัก คือ แก้อาการปวดท้อง ท้องร่วงเฉียบพลับ ท้องอืดท้องเฟ้อใช้เป็นยาระบายขับลมได้เป็นอย่าดี วิธีรับประทาน ใช้มีดถากเปลือกหรือหักเอากิ่งสดมาเคี้ยวให้ละเอียด แล้วกลื่นกินน้ำเอากากทิ้ง ปริมาณที่ใช้ 1 2 ข้อนิ้วมือ รสชาติจะออกเฝื่อนๆ ฝาดๆ
>>>>> ประโยชน์จาก เปลือกแห้ง สามารถใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงได้ดีพอสมควร แต่อาจจะมีควันแสบตานิดหน่อย
>>>>> ประโยชน์จาก ขอนไม้จิก ขอนไม้รัง หากไม่ถูกคนนำไปใช้ประโยชน์อะไร เมื่อกาลเวลาผ่านล่วงเลยไปซัก 3 - 5 ปี หลังจากที่มันตายแล้ว กระพี้ตามลำต้นจะเริ่มผุ เปลือกจะหลุดออกบ้างเล็กน้อย ทีนี้จะมีพวก ด้วง ชอบมาไชเพื่อวางไข่ ชาวบ้านชอบไปเจาะเอามาคั่วกินรสชาติอร่อยมันดี นอกจาก ด้วง แล้วยังมี เห็ดกระด้าง ชอบขึ้น แต่ขอนไม้ต้องมีความชุ่มชื่นพอเหมาะ ส่วนมากจะออกช่วงหน้าฝน เห็ดกระด้างสามารถนำมาประกอบหารได้หลายอย่าง เช่น ทำลาภ แกงป่า เป็นต้น
>>>>> ประโยชน์จาก ตอ ต้นจิก ต้นรัง ที่คนตัดเอาต้นไปใช้งานแล้ว โคนหรือ ตอ ก็จะมี เห็ดกระด้าง เกิดขึ้นรอบกระพี้ของ ตอ และตอไม้ก็สามารถขุดถอนราก แล้วนำเอาไปใช้ประดับเพื่อความสวยงามได้อีกต่างหาก เช่น ตกแต่งสวนหย่อม หรือนำมาทำเครื่องตกแต่งบ้าน เป็นต้น
>>>>> หมดแล้วแหล่ะ <<<<<
(
Phunchulee
)
29 / 02 / 51
_________________
good
bai_pai
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 09 ก.พ. 2008
ตอบ: 39
ที่อยู่ (จังหวัด): kyeongki-do, korea
ตอบเมื่อ: 14 มี.ค.2008, 9:34 pm
ใบโพธิ์
บัวบาน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307
ตอบเมื่อ: 19 มี.ค.2008, 10:16 am
_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th