Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สมาธิ และ ฌาน ที่ถูกต้อง อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 25 ม.ค. 2008, 8:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมาธิ และฌาน ที่ถูกต้อง
ในการปฏิบัติ หรือหลักปฏิบัติทางศาสนานั้น ไม่ได้มีหลักการเป็น ปึกๆ หรือมีแต่รายละเอียด โดยไม่มีหัวข้อหลักการพื้นฐาน
ถ้ามีแต่รายละเอียด โดยไม่มีหลักการพื้นฐาน เขาเรียกว่า พวกยักษ์พวกมาร คือเป็นหลักวิชชา ของพวกยักษ์พวกมาร
ไม่ใช่หลักวิชชา ของเหล่าเทวดา อินทร์ พรหม หรือไม่ใช่หลักธรรมคำสอนของศาสดาแห่งศาสนา
หลายคนหลายท่าน ยังมีความรู้เท่าไม่ถึงกาล เข้าใจผิดคิดว่า "ฌาน" คือสิ่งที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติสมาธิ
แท้จริงแล้ว หลักการในเรื่องของ "ฌาน" นั้น ได้ถูกบิดเบือนไปนานแล้ว (อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ในที่นี้ไม่ขอกล่าวถึง)
เพราะเหตุที่ว่า ธรรมชาติของมนุษย์ แม้ไม่ต้องปฏิบัติสมาธิทางศาสนาเลย ทุกคน ก็ล้วนมี ฌาน เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว
ถ้าจะกล่าวให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น คำว่า "ฌาน" นั้น เขาใช้ในการสอน หรืออธิบาย ถึงธรรมชาติของมนุษย์ ที่มนุษย์ทุกคน เมื่อได้สัมผัส หรือประสบ กับสรรพสิ่งภายนอกร่างกาย ทางอายตนะต่างๆแล้ว ทุกคน ล้วนต้อง เกิดฌาน ตามลำดับ ซึ่งมันก็คือความคิดนั่นเองเพียงแต่ศัพท์ภาษานั้นเป็นศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤต จึงเรียกว่า"ฌาน”แต่ถ้าเป็นภาษาไทย ก็มีความหมายว่า มนุษย์ เมื่อได้สัมผัสทางอายตนะ ของร่างกายแล้ว ก็จะเกิดความคิดต่างๆนานาขึ้นมา ตามเหตุการณ์ หรือตามสิ่งที่ได้ประสบ เมื่อเกิดความคิดแล้ว ก็จะเกิด ฌาน ลำดับที่สอง เหตุเพราะ ในตัวมนุษย์ ย่อมต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องต่างๆอยู่บ้าง ความรู้ความเข้าใจเหล่านั้น ก็จะไปยับยั้งความคิดต่างๆนานา หรือวิตกวิจารณ์ นั่นแหละ เมื่อยับยั้งได้แล้ว ความสุข หรือความสบายใจก็เกิดขึ้น ซึ่งก็คือปิตินั่นแหละ ต่างกันที่ศัพท์ภาษา เมื่อเกิดความสุขหรือความสบายใจแล้ว ความสุขความสบายเหล่านั้นก็จะหายไปเอง เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อคิดเมื่อรู้ และเมื่อเข้าใจในเหตุการณ์ที่ได้ประสบมาแล้ว ลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ก็จะสิ้นสุดลง เหลือแต่ความวางเฉย คือไม่สนใจกับเหตุการณ์ที่ได้ประสบนั้นอีก
ต่อเมื่อได้ประสบเหตุการณ์ต่างๆ ทางอายตนะของร่างกายอีก กระบวนการทางความคิดก็จะเริ่มขึ้นอีก หมุนวนกันเป็น วัฏจักร
บางเรื่อง หรือประสบการที่ได้สัมผัส อาจจะเกิดความคิดหรือเกิด วิตกวิจารณ์ ขึ้นเพียงเสี้ยววินาที แล้วกลายเป็นปีติ หรือ อาจจะเกิดความคิด หรือวิตกวิจารณ์ปีติ ขึ้นเพียงเสี้ยววินาที แล้วกลายเป็นสุข หรืออาจจะเกิดความคิด หรือวิตกวิจารณ์ปีติสุข ขึ้นเพียงเสี้ยววินาที แล้วกลายเป็นเอกัคคตา คือไม่เกิดความคิดอะไรเลย มีแต่ความรู้สึกตัวและระลึกได้ว่า ได้เห็นอะไร ได้ประสบกับอะไร ได้สัมผัสกับอะไร ซึ่งก็ย่อมขึ้นอยู่กับ ความรู้ ความเข้าใจ ในหลักวิชาด้านต่างๆ ความรู้ความเข้าใจที่เคยได้รับจากประสบการณ์ที่ได้จดจำไว้ ขึ้นอยู่กับ การได้รับการขัดเกลาทางสังคม วัฒนธรรมจารีต ประเพณี ฯลฯ
หากจะกล่าวโดยสรุปอย่างสั้นๆแล้ว การปฏิบัติสมาธินั้น แท้ที่จริง เป็นการฝึกมิให้เกิด”ฌาน” และฝึกเพื่อให้เกิด”ฌาน”
ที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า การฝึกปฏิบัติสมาธินั้น แท้ที่จริงแล้ว เป็นการฝึกเพื่อมิให้เกิดฌาน
นั้นหมายความว่า การปฏิบัติสมาธิ ก็เพื่อเมื่อได้ประสบพบเห็น หรือได้สัมผัส จะได้ไม่เกิด วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข
แล้วที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า การฝึกปฏิบัติสมาธิ ก็เพื่อให้เกิด”ฌาน”นั้น ก็เพราะการฝึกปฏิบัติสมาธินั้น ก็เพื่อให้เกิด ความมีสมาธิ หรือ เอกัคคตา ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดความรู้สึกตัว และระลึกได้ อยู่เสมอ
ส่วนรายละเอียดหรือคำอธิบายของการปฏิบัติสมาธิ หรือการฝึกสมาธินั้น เป็นการฝึกปฏิบัติธรรมชั้นพื้นฐาน ในแง่ของการควบคุมความคิด ดังนั้น การฝึกสมาธิก็คือ การไม่คิด ไม่เห็น สิ่งใด เพียงเอาใจจดจ่อ หรือเอาใจฝักใฝ่ หรือเอาใจเข้าไปผูกอยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับสรีระร่างกาย (นี้เป็นแนวทางการฝึกปฏิบัติตามหลักการของข้าพเจ้า อันได้พัฒนาแล้ว)
ขอย้ำว่า การฝึกสมาธิ คือ การเอาใจจดจ่อ หรือเอาใจฝักใฝ่ หรือเอาใจเข้าไปผูกอยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับสรีระร่างกาย เพื่อ ควบคุม ความคิด อารมณ์ และความรู้สึก
ดังนั้น การฝึกสมาธิ จึงเป็นเพียงการไม่คิด ไม่เห็น ไม่มีอารมณ์ ไม่รู้สึก (คำว่าไม่รู้สึก คือไม่รู้สึกว่า สบายใจ เสียใจ หรือเคียดแค้น อิจฉา ริษยา ฯลฯ) นั้นก็คือ การฝึกปฏิบัติให้มีเอกัคคตา หรือความมีสมาธิ ซึ่งมรรคผลแห่งมรรคผล ของการฝึกสมาธิ ก็คือ “ความรู้สึกตัว และ ระลึกได้” อยู่เสมอนั่นเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พิทรายา
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 12 ส.ค. 2007
ตอบ: 103
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 11 มี.ค.2008, 11:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ความยึดมั่นถือมั่นทำให้เป็นทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 11 มี.ค.2008, 9:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมาธิ ก็สัญญา
ฌาน ก็สัญญา

สุดท้าย ไม่ยั่งยืน ทั้งสมาธิและฌาน

สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
rujira
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 25 มี.ค. 2008
ตอบ: 4

ตอบตอบเมื่อ: 26 มี.ค.2008, 1:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
การให้อภัยทาน ชนะการให้ทั้งปวง...
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
อุษณีญา
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 26 มี.ค. 2008
ตอบ: 10

ตอบตอบเมื่อ: 26 มี.ค.2008, 1:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนา.........สาธุ ปรบมือ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 14 ส.ค. 2008, 2:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ พุทโธ สาธุ พุทโธ สาธุ

เจริญในธรรม ทุกท่าน
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง