Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “นิโรธ” อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 31 ม.ค. 2008, 8:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นิโรธ.........
เมื่อได้กล่าวถึง “สมุทัย” เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ไปแล้วในตอนที่ 2 ตอนที่ 3 นี้ย่อมต้องกล่าวถึง คำว่า “นิโรธ”
“นิโรธ” มีความหมายดังนี้ “ความดับทุกข์ คือดับตัณหาได้สิ้นเชิง, ภาวะปลอดทุกข์เพราะไม่มีทุกข์ที่จะเกิดขึ้นได้ หมายถึงพระนิพพาน”(พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)
ความดับทุกข์ ดับตัณหา ก็คือ การขจัดหรือการดับซึ่งสภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งหลายที่มีอยู่ การขจัดหรือการดับซึ่งสภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบายกาย ไม่สบายใจ หรือ การขจัดหรือการดับซึ่งความไม่ชอบในจิตใจ คือการขจัดการดับทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ หรือขจัดปัญหา ดับปัญหา แก้ปัญหา ของการไม่มีเงิน หรือมีไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย, ไม่มีอาหารบริโภคอย่างพอเพียง, ไม่มีเครื่องนุ่งห่มหรือมีไม่เพียงพอ, ไม่มียารักษาโรคหรือมีน้อยไม่เพียงพอต่อการรักษาโรคนั้นๆ, ไม่มีที่อยู่อาศัยคือไม่มีบ้านเป็นของตัวเองไม่มีที่ทำกิน , ไม่มีงานทำหรืองานที่ทำอยู่มีรายได้ไม่เพียงพอ, การปลูกพืชผลหรือประกอบอาชีพแล้วขาดทุน ,หรือถูกภัยธรรมชาติคุกคาม ฯลฯ และหรือ ขจัดปัญหา ดับปัญหา แก้ปัญหา ความอยากได้โน่น อยากได้นี่ อย่างนี้เป็นต้น

นิโรธ หรือ ความดับทุกข์ นั้น แท้ที่จริงในทางศาสนามิได้มีความหมายว่า ดับสมุทัย หรือดับตัณหา ได้อย่างสิ้นเชิง ตามความหมายแห่งพจนุกรมพุทธศาสน์ แต่เพียงอย่างเดียวหรือรูปแบบเดียว
แต่คำว่า นิโรธ หรือความดับทุกข์นั้น ยังหมายถึงสิ่งที่สามารถดับความทุกข์ หรือดับกิเลส หรือขจัดกิเลส หรือป้องกันกิเลส อันหมายถึง การดับเหตุแห่งทุกข์ นั้นก็คือ ดับหรือขจัดหรือป้องกัน สภาพสภาวะจิตใจที่เรียกว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง อันได้สัมผัสหรือประสบกับสิ่งต่างๆทั้งภายในร่างกายและภายนอกร่างกาย ซึ่งย่อมหมายรวมไปถึงความรู้ ความจำ ที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ อันเกิดจากการดำเนินชีวิต หรือการดำเนินกิจกรรมต่างๆของแต่ละบุคคล ซึ่งจะเป็นหลักธรรมใดใดก็แล้วแต่ อันสามารถเป็นสิ่งที่สามารถดับความทุกข์ หรือดับกิเลส หรือขจัดกิเลส หรือป้องกันกิเลส หรือ “ดับ ขจัด ป้องกัน สภาพสภาวะจิตใจที่เรียกว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง อันได้สัมผัสหรือประสบกับสิ่งต่างๆทั้งภายในร่างกาย และภายนอกร่างกาย ซึ่งหมายรวมไปถึงความรู้ ความจำ ที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ” นี้เป็นบรรทัดฐานในการให้ความหมายของคำว่า “นิโรธ” ในแนวทางศัพท์ภาษาทางศาสนา
แต่หากเป็นความหมายตามศัพท์ภาษาโดยทั่วๆไปแล้ว “นิโรธ” หรือความดับทุกข์นี้ ย่อมหมายถึงสิ่งที่ หรือหลักการที่สามารถขจัด ดับ ป้องกัน ความทุกข์ อันเกิดจากการดำเนินกิจกรรม การดำเนินชีวิต ของแต่ละบุคคล อันปฏิสัมพันธ์ หรือเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิประเทศ เกี่ยวข้องกับ เครื่องอุปโภค บริโภค หรือจะกล่าวในอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์นั้น ก็คือ การดำเนินกิจกรรม หรือการดำเนินชีวิต ของแต่ละบุคคล อันปฏิสัมพันธ์ หรือเกี่ยวข้อง กับ คน สัตว์ พืช สิ่งของ อากาศ และลักษณะภูมิประเทศ เพราะ การดำเนินกิจกรรม หรือการดำเนินชีวิต ของแต่ละบุคคลนั้น ล้วนก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ความทุกข์ หรือล้วนก่อให้เกิด สภาพสภาวะจิตใจ ที่เรียกว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง
สภาพสภาวะจิตใจ ที่เรียกว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง อันเกิดจาก การดำเนินชีวิต หรือการดำเนินกิจกรรม ของแต่ละบุคคลดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น ย่อมแปรเปลี่ยนเป็นความคิด หรือแปรเปลี่ยน เป็นพฤติกรรม ทั้งทางกาย วาจา และใจ
ดังนั้น คำว่า “นิโรธ” ในความหมายตามศัพท์ภาษาทั่วไปแล้ว ย่อมหมายถึงสิ่งที่สามารถ ขจัด หรือ ดับ หรือป้องกัน มิให้การดำเนิน กิจกรรม หรือการดำเนินชีวิต ของแต่ละบุคคล เกิดความทุกข์ หรือ เป็นสิ่งที่สามารถป้องกัน ขจัด หรือดับ ซึ่งสภาพสภาวะจิตใจ อันเรียกว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งล้วนเป็นเหตุทำให้เกิดการแปรเปลี่ยนในความคิดและพฤติกรรมทั้งทางกายวาจา และใจ เช่น ดีใจ เสียใจ อิจฉา ริษยา ใส่ร้าย ใส่ความ หลอกลวง ล่อลวง ปล้นฆ่า จี้ชิงทรัพย์ ก่อการร้าย ค้ากำไรเกินควร ไม่ซื่อตรง คอรัปชั่น โกงกินฮั้วประมูล ฉุดคร่าอนาจาร ข่มขืน ชู้สาว แย่งมรดก ฯลฯ อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์หรือเสียหาย ต่อตนเองและผู้อื่นหรือเป็นทุกข์ เกิดความเสียหายต่อสังคม อย่างนี้เป็นต้น

จบเรื่องนิโรธ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พิทรายา
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 12 ส.ค. 2007
ตอบ: 103
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 07 มี.ค.2008, 1:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ความยึดมั่นถือมั่นทำให้เป็นทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
z
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ต.ค. 2007
ตอบ: 46
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 07 มี.ค.2008, 5:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

....อุปมา ดั่งถูกมัดติดกับเก้าอี้ แล้วถ่วงน้ำ ถูกหมื่นปลา กัดแทะ......จึงคิดค้นวิธีหลุดพ้น จนสามารถหลุดออกจากพันธนาการนั้นไม่กลับเข้าไปอีก......คือหลุดพ้นจากพันธนาการเสียได้ด้วยปัญญา

....ความสุขที่แท้ มิใช่ ความไม่ทุกข์

....ความสุขที่แท้ เป็นความพ้นไปได้เสียจากทุกข์......รู้...เข้าใจ.....ยอมรับ....เลิกสนใจ.......
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 08 มี.ค.2008, 8:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นิโรธที่ดับ ใช่ หยุดคิด หยุดนึก หยุดปรุงแต่ง หยุดแสวงหา หยุดกริยาจิต ไม่ส่งจิตไปภายนอก

ใช่ไหม ครับ

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
charoem
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 07 เม.ย. 2008
ตอบ: 31

ตอบตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2008, 4:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากว่านิโรธสมาบัติ ทำได้เฉพาะพระอรหันต์หรือเปล่าครับ พระสงฆ์ที่ยังไม่สิ้นกิเลสและฆราวาส สามารถทำได้หรือไม่ ที่เข้าฌานสมาบัติ ตลอด 7 วัน หรือ 15 วันอ่ะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 01 พ.ค.2008, 10:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

RARM พิมพ์ว่า:
นิโรธที่ดับ ใช่ หยุดคิด หยุดนึก หยุดปรุงแต่ง หยุดแสวงหา หยุดกริยาจิต ไม่ส่งจิตไปภายนอก

ใช่ไหม ครับ

สาธุ


ตอบ......
ถ้าจะตอบตามที่คุณถาม ก็ต้องตอบว่า ใช่ ถูกต้อง 80 เปอร์เซนต์ อีก 20 เปอร์เซ็นต์ ยังไม่ถูก
เพราะ ในทางที่เป็นจริงแล้ว นิโรธ ไม่ใช่การดับ แต่เป็นการขจัด ในชั้นปุถุชน จะขจัดนิโรธ ด้วยความคิดนั่นแหละขอรับ เพราะในชีวิตประจำวัน ทุกคน ล้วนได้สัมผัส กับ รูป รส กลิ่น เสียง แสง สี โผฏฐัพพะ จาก อายตนะคือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่ง จากการสัมผัส ย่อมก่อให้เกิด สิ่งที่ในทางศาสนาเรียกว่า ความทุกข์ หรือ กิเลส หรือ จะกล่าวให้เกิดความเข้าใจง่ายๆว่า ทำให้เกิด ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และสภาพสภาวะจิตใจ ต่างๆ
เมื่อได้สัมผัส แล้วเกิด ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และสภาพสภาวะจิตใจต่างๆ สิ่งที่เกิดขึ้น เรียกว่า ฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข
แต่หากบุคคล มีสมาธิ ซึ่ง ในทางที่เป็นจริงแล้ว ทุกคนล้วนมี สมาธิ เป็นธรรมชาติอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว แต่จะรู้จักควบคุม ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก หรือสภาพสภาวะจิตใจหรือ ไม่ ก็ย่อมขึ้นอยู่กับ ความรู้ ประสบการณ์ การได้รับการขัดเกลาทางสังคม และอื่นๆ
ดังนั้น เมื่อบุคคล เกิดความทุกข์ (ดังได้อธิบายไป) หากบุคคล มีสมาธิ มีความรู้ ความเข้าใจ ฯลฯ ก็ย่อมสามารถ ขจัดความทุกข์ เหล่านั้น ออกไปได้
จะเรียกว่า ดับความทุกข์ ตามหลักพุทธศาสนาก็ได้ แต่คำว่า ดับนั้น มักทำให้เกิดความเข้าใจไขว้เขว เพราะการดับหมายถึงการหายไป ซึ่งในทางเป็นจริงแล้ว สภาพ หรือ รูป ลักษณะ ของความคิด อารมณ์ ความรู้สึก สภาพสภาวะจิตใจต่างๆ เป็นคลื่นไฟฟ้าชนิดหนึ่ง จะลบล้างได้ ก็ด้วยคลื่นไฟฟ้าเช่นกัน และคลื่นเหล่านั้น เมื่อเกิดขึ้น ก็จะไหลไปทั่วร่างกาย อาจไปหยุดอยู่ ณ. จุดไหนของร่างกายก็ได้ และเมื่อคราใดถูกกระตุ้น คลื่นความคิดฯลฯ เหล่านั้น ก็จะแสดงให้ปรากฎอีก เพราะเป็น กลไก ของระบบสรีระร่างกายของมนุษย์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง