ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.พ.2008, 11:43 am |
  |
ทุกเย็น “ตั้ง” จะนั่งรถโรงเรียนกลับบ้าน
แต่เย็นนี้เขารู้สึกหงุดหงิดมาก
เมื่อเห็นนักเรียนชายรุ่นน้องรังแกเพื่อนผู้หญิง
ที่นั่งมาในรถด้วยกัน เด็กหญิงตัวเล็กกว่าจึงได้แต่ร้องห้าม
แต่ยิ่งห้ามก็เหมือนกับยิ่งยุ เด็กชายก่อกวนหนักมือขึ้น
เต้นเข้าไปตักเตือนแต่เด็กชายก็ไม่สนใจ
ยังคงก่อกวนเด็กหญิงต่อไป
ตั้งพยายามสะกดอารมณ์ แต่สุดท้ายก็ทนไม่ไหว
เขาจึงตบหัวเด็กชายอย่างแรง จนเขาร้องไห้ดังลั่น
ตั้งกลับถึงบ้านด้วยสีหน้าไม่สู้ดี
เขารู้สึกผิดที่เล่นงานเด็กคนนั้นหนักเกินไป
เย็นนั้นเขาจึงไม่มีอารมณ์จะเจื้อยแจ้วกับแม่เช่นเคย
แม่รู้สึกผิดสังเกต เดาว่าลูกชายคงไปก่อเรื่องมาแน่
จึงถามว่า “ตั้ง วันนี้มีเรื่องอะไรมาหรือเปล่า บอกแม่มานะ”
ตั้งทำท่าอึกอัก นึกสรรหาคำแก้ตัว
แล้วเขาก็บอกแม่พร้อมกับชูมือขึ้นมาว่า
“แม่ ตั้งไม่อยากเชื่อเลยว่า มือข้างนี้จะตบหัวเด็กจนร้องไห้”
ตั้งรู้ตัวว่าทำผิด แต่แทนที่จะยอมรับผิดตรงๆ
ว่าตนไปตบหัวเด็กจนร้องไห้
กลับบอกว่า เป็นการกระทำของมือข้างนั้นต่างหาก
เหมือนกับจะบอกแม่ว่า
เป็นความผิดของมือ ไม่ใช่ความผิดของตัวเขา
ด้วยคำพูดเช่นนี้ เขาหวังว่าแม่จะไม่โกรธเขา
และเห็นใจเขามากขึ้น
ดูเผินๆ นี้คืออุบายของเด็กที่ทำให้ตัวเองพ้นผิด
แต่เต้นอาจไม่รู้เลยว่าคำพูดของเขาแฝงนัยยะที่ลึกซึ้ง
ซึ่งเป็นหัวใจของพุทธศาสนา
นั่นก็คือมือนั้นไม่ใช่ “ตัวฉัน”
จะว่าไปแล้วสิ่งที่เรียกว่า “ตัวฉัน” นั้นหามีจริงไม่
เพราะตัวฉันเป็นเพียงแค่คำสมมุติ
ที่ใช้เรียกเมื่ออวัยวะหรือชิ้นส่วนต่างๆ มารวมกัน
เช่นเดียวกับบ้านนับร้อยเมื่อมารวมกันเราก็เรียกว่า “เมือง”
แต่แท้จริงแล้วตัวเมืองนั้นหามีไม่
 |
|
แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 09 ก.พ.2008, 12:05 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
   |
 |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.พ.2008, 11:44 am |
  |
พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช เล่าว่า
ตอนเป็นเด็กอายุแค่ ๗-๘ ขวบ เล่นไล่จับกับเพื่อน
โดยมีกติกาว่า ถ้าจับตัวใครได้เมื่อไร ถือว่าคนนั้นแพ้
ต้องเปลี่ยนจากคนหนี มาเป็นคนไล่จับ
คราวหนึ่งท่านเป็นฝ่ายหนี เพื่อนวิ่งมาจับแขนท่าน
แล้วร้องว่า “จับตัวได้แล้ว”
ท่านเถียงว่า “จับตัวได้ที่ไหน จับแขนต่างหาก”
เพื่อนเถียงท่านไม่ได้ ต้องปล่อยตัวท่านไป
พอวิ่งมาจับเอวท่านแล้วร้องว่า “จับตัวได้แล้ว”
ท่านก็เถียงว่า ที่จับนั้นเป็นเอวต่างหาก ไม่ใช่จับตัว
เพื่อนก็ต้องปล่อยท่านไปอีก แล้วก็วิ่งไล่จับกันใหม่
แต่ไม่ว่าเขาจะจับหัว จับคอ หรือจับขาท่าน
ก็ไม่สามารถทำให้ท่านยอมแพ้ได้เสียที
เพราะยัง “จับตัว” ท่านไม่ได้
“ตัวฉัน” อยู่ไหน ? ลองชี้ดู แล้วคุณจะพบว่า ไม่ว่าชี้ไปตรงไหน
สิ่งที่คุณชี้ถ้าไม่ใช่หน้าอก ก็เป็นหัว คอ ท้อง แขน ขา
แต่หาใช่ตัวคุณไม่ “ตัวฉัน” เป็นแค่คำสมมุติเท่านั้น หามีอยู่จริงไม่
ความจริงดังกล่าวเรามองเห็นได้ยาก
เพราะคุ้นกับสิ่งสมมุติจนนึกว่าเป็นความจริงแท้
แต่เด็กๆ นั้นยังพอแยกแยะได้ว่า แขน ขา มือนั้นไม่ใช่ตัวฉัน
จึงเอามาเป็นอุบายทั้งในยามเล่นและในสถานการณ์ที่จริงจัง
กรณีของตั้งนั้นเป็นการพยายามโยนความผิดไปให้มือ
เพื่อตัวเองจะได้ไม่ต้องรับผิดชอบกับการทำร้ายคนอื่น
จะว่านี่เป็นวิธีการเอาตัวรอดแบบเด็กๆ ก็ได้
อุบายแบบนี้คงไม่มีวิญญูชนคนไหนเห็นดีด้วย
เพราะถ้าไปปล้นบ้านหรือทำร้ายคนอื่น
แล้วโยนให้เป็นความผิดของมือ ขา หรือหัวสมองไปหมด
บ้านเมืองย่อมวุ่นวายเป็นแน่
แต่อุบายอย่างนี้ถ้าเราใช้ให้ถูก ก็ช่วยลดความทุกข์ได้มาก
เวลาปวดหัว ปวดแขน เคยคิดบ้างไหมว่า
ที่ปวดนั้นคือหัวหรือแขน แต่ไม่ใช่ “ฉัน” ปวด
เมื่อใดที่ไปสำคัญมั่นหมายว่า ความปวดของหัวหรือแขน
เป็นความปวดของ “ฉัน” จะรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้น
ท่านอาจารย์พุทธทาสเคยแนะว่า เวลาถูกมีดบาด
ถ้าไปยึดมั่นสำคัญหมายว่ามีดบาด “ฉัน” เมื่อไร จะรู้สึกปวดมาก
แต่เมื่อใดที่เห็นว่ามีดบาดนิ้ว ความปวดจะลดลง
 |
|
|
|
   |
 |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.พ.2008, 11:45 am |
  |
ในทำนองเดียวกันเวลาโกรธ หงุดหงิด ขึ้งเครียด
แทนที่จะไปสำคัญมั่นหมายว่าฉันโกรธ หงุดหงิด หรือขึ้งเครียด
ลองโยนให้เป็นเรื่องของใจไปเสีย
จะรู้สึกเลยว่าความทุกข์บรรเทาเบาบางลง
“ฉันโกรธ” กับ “เห็นใจมันโกรธ” นั้น ให้ความรู้สึกต่างกันมาก
จะว่าไปแล้วความทุกข์ทั้งหลายเกิดขึ้น
และลุกลามทุกครั้งที่มี “ตัวฉัน”เข้าไปเกี่ยวข้อง
แดดร้อนทำให้เป็นทุกข์ทันที ที่ไปนึกว่า “ฉันร้อน”
ถูกตำหนิก็ทำให้เป็นทุกข์ทันที ที่เกิดความคิดว่า “ฉันถูกตำหนิ”
คนเราไม่ได้ยึดเอากายและใจเป็น “ตัวฉัน” เท่านั้น
แต่ยังยึดอะไรต่ออะไรมากมายมาเป็น “ตัวฉัน”ด้วย
เช่น บ้าน รถยนต์ ครอบครัว ประเทศชาติ
ทีแรกก็ยึดว่าเป็น “ของฉัน” ก่อน
แต่ไปๆ มาๆ ก็สำคัญมั่นหมายว่าเป็น “ตัวฉัน” ด้วย
ใครมาตำหนิรถยนต์ของฉัน ก็เท่ากับตำหนิตัวฉันด้วย
ใครมาดูหมิ่นประเทศของฉัน ก็เท่ากับว่าดูหมิ่นตัวฉันด้วย
การยึดอะไรต่ออะไรมาเป็นตัวฉันนั้น
ในแง่หนึ่งก็ทำให้ตัวฉันพองโตขึ้น
แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ทำให้ทุกข์ง่ายมาก
เพราะมีอะไรมากระทบตัวฉันได้ตลอดเวลา
เกิดเรื่องร้ายกับสิ่งใดขึ้นมา ไม่ว่า แขน ขา บ้าน รถยนต์
ก็ไปยึดเอามาเป็นความทุกข์ของตัวฉันทันที
ทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่ควรหนีห่างให้ไกล
แต่เหตุใดจึงชอบไปยึดเอามาเป็นของฉัน
ใครๆ ก็บอกว่ารักสุข เกลียดทุกข์
แต่ทุกวันนี้เราพากันหยิบฉวยเอาความทุกข์ต่างๆ
มาเป็นของตัวเองอยู่ไม่หยุดหย่อน
แทนที่จะปล่อยให้เป็นแค่ความเจ็บปวดของแขนขา
ก็ไปเหมาเอามาเป็นความปวดของฉันด้วย
แทนที่จะปล่อยให้เป็นแค่ความเครียดของใจ
ก็ไปยึดเอามาเป็นความเครียดของฉันด้วย
แทนที่จะปล่อยให้เป็นความเสื่อมของรถ
ก็ไปยึดเอามาเป็นความทุกข์ของฉันด้วย
 |
|
|
|
   |
 |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.พ.2008, 11:46 am |
  |
“ตัวฉัน” ไม่ได้มีอยู่จริง
หากเกิดขึ้นจากการนึกคิดปรุงแต่งเอาเอง
ถ้า “ตัวฉัน” มีอยู่จริง ก็น่าจะมีอยู่หนึ่งเดียว
แต่เคยสังเกตไหมว่าสิ่งที่เรียกว่า “ตัวฉัน” นั้นแปรเปลี่ยนตลอดเวลา
เดี๋ยวฉันก็เป็นแม่ เดี๋ยวก็เป็นลูก เดี๋ยวก็เป็นคนสวย
เดี๋ยวก็เป็นคนขี้เหร่ ฯลฯ
สุดแท้แต่สถานการณ์หรือผู้คนที่แวดล้อมเกี่ยวข้อง
เจอฝรั่ง ฉันก็กลายเป็นคนไทย
แต่พอเจอคนใต้ ความรู้สึกว่าฉันคนกรุงเทพฯ ก็เกิดขึ้น
พอฉันเป็นแม่ ก็ทุกข์เมื่อลูกไม่เชื่อฟัง
แต่พอฉันกลายเป็นลูก ก็ทุกข์ที่พ่อชอบห้ามโน่นห้ามนี่
แต่ไม่ว่าฉันจะเป็นอะไร ก็ทุกข์เสมอ
แม้แต่ฉันเป็นคนเก่ง ก็ทุกข์เพราะกลัวว่าจะมีคนอื่นเก่งกว่า
หรือขุ่นเคืองใจที่ไม่มีใครเห็นว่าฉันเก่ง
เป็นอะไรก็ทุกข์ทั้งนั้น
หากยึดมั่นสำคัญหมายหรือเผลอคิดว่า “ฉัน” เป็นอย่างนั้นจริงๆ
แต่หากรู้ว่านั่นเป็นสมมุติ ก็ไม่มี “ฉัน” เป็นผู้ทุกข์
พูดอีกอย่างคือ มีความทุกข์ แต่ไม่มีผู้ทุกข์
ต่อเมื่อมีกระจก ฝุ่นถึงจะเกาะได้
แต่เมื่อไม่มีกระจก ฝุ่นจะเกาะกับอะไร
ถ้าไม่อยากทุกข์ก็ควรมีสติรู้เท่าทันทุกครั้ง
ที่เผลอคิดว่า “ฉัน” เป็นนั่นเป็นนี่
แต่ถ้ายังตามไม่ทัน อย่างน้อยก็อย่าเผลอ
เอาความทุกข์ของกายและใจมาเป็นความทุกข์ของฉัน
สติช่วยให้เราเห็นความปวดเกิดกับกาย
เห็นความทุกข์เกิดกับใจ
โดยไม่ไปสำคัญมั่นหมายว่า “ฉัน” ปวด
หรือไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับความปวดนั้น
กองไฟแผดเผาเราได้ต่อเมื่อเข้าไปอยู่กลางเปลวเพลิง
แต่เมื่อถอยออกมา ความทุกข์ก็บรรเทา
ยิ่งอยู่ห่างเท่าไร มันก็ยิ่งทำอะไรเราไม่ได้
ความสุขนั้นเราไม่ต้องไปแสวงหาหรอก
เพียงแค่หยุดเหมาเอาความทุกข์ต่างๆ มาเป็นของฉัน
ความสุขก็บังเกิดขึ้นทันที
คัดลอกจาก...ริมธาร พฤศจิกายน ๒๕๕๐
http://www.budnet.info/webb0ard/view.php?category=textc&wb_id=55
 |
|
|
|
   |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.พ.2008, 3:42 pm |
  |
"การยึดอะไรต่ออะไรมาเป็นตัวฉันนั้น
ในแง่หนึ่งก็ทำให้ตัวฉันพองโตขึ้น
แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ทำให้ทุกข์ง่ายมาก
เพราะมีอะไรมากระทบตัวฉันได้ตลอดเวลา"
สาธุค่ะ คุณลูกโป่ง
สบายดีรึเปล่าคะ....take care ด้วยนะคะ  |
|
|
|
    |
 |
I am
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972
|
ตอบเมื่อ:
11 ก.พ.2008, 8:31 am |
  |
 |
|
_________________ ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก |
|
     |
 |
|