ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 ม.ค. 2008, 10:13 am |
  |
(พิจารณาเกี่ยวกับสมาธิต่อ)
ความมุ่งหมายของสมาธิที่ใช้อย่างถูกต้อง หรือพูดตามศัพท์ว่า ความมุ่งหมาย
ของสัมมาสมาธินั้น ก็เพื่อเตรียมจิตให้พร้อมที่จะใช้ปัญญาอย่างได้ผลดี
พูดอย่างง่ายๆว่า สมาธิเพื่อปัญญา
ดังบาลีว่า
สมาธิเพื่ออรรถคือยถาภูตญาณทัสสนะ (สมาธิเพื่อจุดหมายคือการรู้เห็นตามเป็นจริง) บ้าง
สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอรรถเป็นอานิสงส์ (ความมุ่งหมายและผลสนองที่พึงประสงค์
ของสมาธิ คือ การรู้เห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นจริง) บ้าง
จิตวิสุทธิ เพียงแค่มีทิฏฐิวิสุทธิเป็นอรรถ (การบำเพ็ญสมาธิให้จิตบริสุทธิ์ มีจุดหมาย
อยู่แค่จะทำความเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้องบริสุทธิ์ บ้าง
แม้สมาธิจะมีความมุ่งหมายดังกล่าวก็จริง แต่สมาธิก็ยังมีคุณประโยชน์อย่างอื่นๆ
ที่นอกเหนือไปจากจุดมุ่งหมายนั้นอีก
ประโยชน์บางอย่างเป็นผลพลอยได้ระหว่างการปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดหมายของสมาธินั้นเอง
บางอย่างเป็นประโยชน์ส่วนพิเศษออกไปซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนยิ่งกว่าธรรมดา
บางอย่างเป็นประโยชน์ที่เกื้อกูลแม้แก่ท่านที่ได้บรรลุจุดหมายของสมาธิเสร็จสิ้นไปแล้ว
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 ม.ค. 2008, 11:54 am |
  |
โดยสรุป พอจะประมวลประโยชน์ของสมาธิได้ ดังนี้
ก. ประโยชน์ที่เป็นจุดหมายหรืออุดมคติทางศาสนา: ประโยชน์ที่เป็นความมุ่งหมายแท้จริง
ของสมาธิตามหลักพระพุทธศาสนา คือเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งแห่งการปฏิบัติ
เพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุด อันได้แก่ ความหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง
-ประโยชน์ที่ตรงแท้ของข้อนี้คือ การเตรียมจิตให้พร้อมที่จะใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้แจ้ง
สภาวะทัศนะตามความเป็นจริง เรียกตามศัพท์ว่า เป็นบาทแห่งวิปัสสนา
หรือทำให้เกิดยถาภูตญาณทัศนะ ซึ่งนำไปสู่วิชชาและวิมุตติในที่สุด
ฯลฯ
ข. ประโยชน์ในด้านสุขภาพจิตและการพัฒนาบุคลิกภาพ เช่น ทำให้เป็นผู้มีจิตใจและ
บุคลิกภาพลักษณะเข้มแข็ง หนักแน่น มั่นคง สงบ เยือกเย็น สุภาพ นิ่มนวล สดชื่น
ผ่องใส กระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า เบิกบาน งามสง่า มีเมตตากรุณา
มองดูรู้จักตนเองและผู้อื่นตามความเป็นจริง
(ตรงข้ามกับลักษณะของคนมีนิวรณ์ เช่น อ่อนไหว ติดใจหลงใหลง่าย หรือหยาบกระด้าง
ฉุนเฉียว เกรี้ยวกราด หงุดหงิด วู่วาม จุ้นจ้าน สอดแส่ ลุกลี้ลุกลน หรือหงอยเหงา
เศร้าซึม หรือขี้ขลาด ขี้ระแวง ลังเล)
เตรียมจิตให้อยู่ในสภาพพร้อม และ ง่ายแก่การปลูกฝังคุณธรรมต่างๆ และเสริมสร้างนิสัยที่
ดี รู้จักทำใจให้สงบ และ สะกดยั้งผ่อนเบาความทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจได้
เรียกอย่างสมัยใหม่ว่า มีความมั่นคงทางอารมณ์ และมีภูมิคุ้มกันโรคทางจิต
ประโยชน์ข้อนี้ จะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น ในเมื่อใช้จิตที่มีสมาธินั้นเป็นฐานปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน
คือ ดำเนินชีวิตอย่างมีสติตามดูรู้ทันพฤติกรรมทางกายวาจา ความรู้สึกนึกคิดและภาวะจิต
ของตนที่เป็นไปต่างๆ
มองเอย่างเอามาเป็นความรู้สำหรับใช้ประโยชน์อย่างเดียว ไม่ยอมเปิดช่องให้ประสบการณ์
และความเป็นไปเหล่านั้น ก่อพิษเป็นอันตรายแก่ชีวิตจิตใจของตนได้เลย
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 ม.ค. 2008, 12:25 pm |
  |
ประโยชน์ข้อนี้ย่อมเป็นไปในชีวิตประจำวันด้วย
ค. ประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน เช่น
1) ใช้ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลาย หายเครียด เกิดความสงบ หายกระวนกระวาย
ยั้งหยุดจากความกลัดกลุ้มวิตกกังวล เป็นเครื่องพักผ่อนกาย ให้ใจสบายและมีความสุข
หรืออย่างสมบูรณ์แบบได้แก่ฌานสมาบัติที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย ใช้เป็นที่พัก
ผ่อนกายใจเป็นอยู่อย่างสุขสบายในโอกาสว่างจากการบำเพ็ญกิจ
ซึ่งมีคำเรียกเฉพาะว่า เพื่อเป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร
2) เป็นเครื่องเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน การเล่าเรียน และการทำกิจทุกอย่าง
เพราะจิตที่เป็นสมาธิ แน่วแน่อยู่กับสิ่งที่กำลังกระทำ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก ไม่เลื่อนลอย
ย่อมช่วยให้เรียน ให้คิด ให้ทำงานได้ผลดี การงานก็เป็นไปโดยรอบคอบ ไม่ผิดพลาด
และป้องกันอุบัติเหตุได้ดี เพราะเมื่อมีสมาธิก็ย่อมมีสติกำกับอยู่ด้วย ดังที่ท่านเรียกว่า
จิตเป็นกัมมนียะ หรือกรรมนีย์ แปลว่าควรแก่งาน หรือเหมาะแก่การใช้งาน
3) ช่วยเสริมสุขภาพกายและแก้ไขโรคได้ ร่างกายกับจิตใจอาศัยกันและมีอิทธิพลต่อกัน
ปุถุชนทั่วไปเมื่อกายไม่สบาย จิตใจก็พลอยอ่อนแอเศร้าหมองขุ่นมัว ครั้นเสียใจไม่มีกำลังใจ
ก็ยิ่งซ้ำให้โรคทางกายนั้นทรุดหนักลงไปอีก แม้ในเวลาที่ร่างกายเป็นปกติ
พอประสบเรื่องราวให้เศร้าเสียใจรุนแรง ก็ล้มป่วยเจ็บไข้ไปได้
ส่วนผู้ที่มีจิตใจเข้มแข้งสมบูรณ์ (โดยเฉพาะท่านที่มีจิตหลุดพ้นเป็นอิสระแล้ว) เมื่อเจ็บป่วย
กายก็ไม่สบายอยู่แค่กายเท่านั้น จิตใจไม่พลอยป่วยไปด้วย ยิ่งกว่านั้นกลับใช้ใจที่สบาย
มีกำลังจิตเข็มแข็ง นั้นหันกลับมาส่งอิทธิพลบรรเทาหรือผ่อนเบาโรคทางกายได้อีกด้วย
อาจทำให้โรคหายง่ายและไวขึ้น หรือแม้แต่ใช้กำลังสมาธิระงับทุกขเวทนาทางกายไว้ก็ได้
ในด้านดี ผู้มีจิตใจผ่องใสเบิกบาน ย่อมช่วยให้กายเอิบอิ่มผิวพรรณผ่องใส สุขกายภาพดี
เป็นภูมิต้านทานโรคไปในตัว
ความสัมพันธ์นี้ มีผลต่ออันตราส่วนของความต้องการ และการเผาผลาญใช้พลังงานของร่าง
กายด้วย เช่น จิตใจที่สบายผ่องใสสดชื่นเบิกบานนั้น ต้อการอาหารน้อยลง
ในการที่จะทำให้ร่างกายสมบูรณ์ผ่องใส เช่น คนธรรมดาเมื่อมีเรื่องดีใจ ปลาบปลื้มอิ่มใจ
ไม่หิวข้าว
หรือพระที่บรรลุธรรมแล้วมีปีติเป็นภักษา ฉันอาหารวันละมื้อเดียว แต่ผิวพรรณผ่องใส
เพราะไม่หวนละห้อยความหลัง ไม่เพ้อหวังอนาคต
ไม่เฉพาะจิตใจดี ช่วยเสริมให้สุขภาพกายดีเท่านั้น โรคกายหลายอย่างเป็นเรื่องของ
กายจิตสัมพันธ์ เกิดจากความแปรปรวนทางจิตใจ เช่น ความมักโกรธบ้าง ความกลุ้มกังวล
บ้าง ทำให้เกิดโรคปวดศีรษะบางอย่าง หรือโรคแผลในกระเพาะอาหารอาจเกิดได้ เป็นต้น
เมื่อทำจิตใจให้ดี ด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ช่วยแก้ไขโรคเหล่านั้นได้
-ประโยชน์ข้อนี้จะสมบูรณ์ต่อเมื่อมีปัญญาที่รู้เท่าทันสภาวธรรมประกอบอยู่ด้วย
(=สภาพกายจิตสัมพันธ์นี้ อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ตามขั้นของพัฒนาการทางจิต
ขั้นต่ำสุด- ผลต่อกาย กระทบจิตด้วย คือ เมื่อไม่สบายกาย จิตพลอยไม่สบายด้วย
ซ้ำเติมตนเองให้หนักขึ้น
ขั้นกลาง - จำกัดขอบเขตของผลกระทบได้ คือ ความทุกข์ความไม่สบายมีอยู่แค่ไหน
ก็รับรู้ตามที่เป็นแค่นั้น วางใจได้ ไม่ให้ทุกข์ทับถมลุกลาม
ขั้นสูง - จิตช่วยกาย คือ เมื่อร่างกายทุกข์ ไม่สบาย นอกจากไม่เก็บไปก่อทุกข์แก่ใจแล้ว
ยังสามารถใช้สมรรถภาพที่เข้มแข็งและคุณภาพที่ดีงามของจิต ส่งผลดีกลับมาช่วยกายได้อีก
ด้วย)
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
nattakarn
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 01 ก.ค. 2007
ตอบ: 57
|
ตอบเมื่อ:
17 ม.ค. 2008, 5:53 pm |
  |
ยาวอีกแย้วอ่าคุณอา อิอิ ...
หนูไม่รู้จักอ่าคุณอา "ศาลเจ้าแม่โต๊ะกงแม๊ะ"
รู้จักแต่ มัสยิดกรือเซะ กับ เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวค่ะ
^^" แฮ่ะๆ.. |
|
_________________ ความดีเป็นสิ่งไม่ตาย เมื่อเราตายไปสิ่งที่ไม่ตายไปกับเราด้วยก็คือ "ความดี" ค่ะ หนูจะทำความดี |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 ม.ค. 2008, 8:38 pm |
  |
โต๊ะกงแม๊ะ ชื่อเดิม เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว คงไม่ค่อยมีใครเรียก จำยากไม่คล่องลิ้นกระมัง
อาก็เพิ่งรู้ ค้นข้อมูลจาก Google
เห็นลิงค์นี้
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=panthep&date=04-04-2007&group=2&gblog=2
นึกแล้วว่าหนูจิ๊บคงไม่เคยได้ยิน อิอิ  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 ม.ค. 2008, 8:39 pm |
  |
nattakarn พิมพ์ว่า: |
รู้จักแต่ มัสยิดกรือเซะ กับ เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวค่ะ
|
บ้านหนูจิ๊บอยู่ห่างจากสถานที่ทั้งสองนี้ไหม การดำเนินชีวิตระหว่างไทยพุทธกับชาวมุสลิม
ระดับชาวบ้านทั่วๆไปเป็นอย่างไรบ้าง |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
18 ม.ค. 2008, 9:47 am |
  |
สรุปตามพระบาลี
การฝึกอบรมเจริญสมาธิ มีวัตถุประสงค์ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา (การเจริญสมาธิ) มี 4 อย่าง ดังนี้ คือ
1. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร
(การอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน)
2. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ญาณทัสสนะ
3. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ
4. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
(องฺ. จตุก.ก. 21/41/53; ...)
แบบที่ 1
บาลีขยายความว่า ได้แก่ ฌาน 4 ข้อนี้ก็คือ การเจริญฌาน ในลักษณะที่เป็นวิธี
หาความสุขแบบหนึ่ง ตามหลักที่แบ่งความสุขเป็น 10 ขั้น ซึ่งประณีตขึ้นไปตามลำดับ คือ
กามสุข สุขในรูปฌาน 4 ขั้น สุขในอรูปฌาน 4 ขั้น และสุขในนิโรธสมาบัติ
พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย นิยมเจริญฌานในโอกาสว่าง เพื่อเป็นการพักผ่อน
อย่างสุขสบาย ที่เรียกว่า ทิฏฐธรรมสุขวิหาร
แบบที่ 2
บาลีขยายความว่า ได้แก่ การมนสิการอาโลกสัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา เหมือนกัน
ทั้งกลางวันและกลางคือ มีใจเปิดโล่ง ไม่ถูก (นิวรณ์) ห่อหุ้ม ฝึกให้เป็นจิตที่มีความสว่าง
อรรถกถาอธิบายว่า การได้ญาณทัสสนะในที่นี้หมายถึงการได้ทิพยจักษุ และท่านกล่าวว่า
ทิพยจักษุนั้นเป็นยอดของโลกียอภิญญาทั้ง 5
บางแห่งท่านกล่าวถึงญาณทัสสนะนี้คำเดียว หมายคลุมถึงโลกียอภิญญาทั้ง 5
บางแห่งท่านกล่าวถึงญาณทัสสนะนี้คำเดียว หมายคลุมถึงโลกียอภิญญาหมดทั้งห้า ดังนั้น
ประโยชน์ข้อนี้จึงหมายถึงการนำเอาสมาธิไปใช้เพื่อผลสำเร็จทางจิต คือความสามารถพิเศษ
จำพวกอภิญญา รวมทั้งอิทธิปาฏิหาริย์
แบบที่ 3
คือการตามดูรู้ทันความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ที่เกิดขึ้นดับไป ในความเป็นอยู่ประจำวัน
ของตน ดังบาลีไขความไว้ว่า เวทนา สัญญา และวิตกทั้งหลาย จะเกิดขึ้น จะตั้งอยู่
จะดับไป ก็เป็นไปโดยรู้ชัด
แบบที่ 4
บาลีขยายความว่า ได้แก่ การเป็นอยู่โดยใช้ปัญญาพิจารณาเห็นอยู่เสมอถึงความ
เกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไปในอุปาทานขันธ์ทั้ง 5 ว่า รูปเป็นดังนี้
ความเกิดขึ้นของรูปเป็นดังนี้ ความดับไปของรูปเป็นดังนี้
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นดังนี้ เกิดขึ้นดังนี้ ดับไปดังนี้
มองเห็นกว้างๆ ก็คือ การใช้สมาธิเพื่อประโยชน์ทางปัญญา เป็นอุปกรณ์ในการ
เจริญวิปัสสนา ...เพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ อาสวักขยญาณ หรือวิชชาวิมุตติ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ม.ค. 2008, 10:42 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
18 ม.ค. 2008, 9:53 am |
  |
-การเข้าใจในเรื่องประโยชน์หรือความมุ่งหมายในการเจริญสมาธินี้ จะช่วยป้องกันและกำจัด
ความเข้าใจผิดพลาดเกี่ยวกับเรื่องสมาธิ และชีวิตของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาได้เป็นอัน
มาก เช่น ความเข้าใจผิดว่า การบำเพ็ญสมาธิเป็นเรื่องของการถอนตัว ไม่เอาใจใส่ในกิจการ
ของสังคม หรือว่าชีวิตพระสงฆ์เป็นชีวิตที่ปลีกตัวโดยสิ้นเชิง ไม่รับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น
ข้อพิจารณาต่อไปนี้ อาจเป็นประโยชน์ในการป้องกันและกำจัดความเข้าใจผิดที่กล่าวแล้วนั้น
-สมาธิเป็นเพียงวิธีการเพื่อเข้าถึงจุดหมาย ไม่ใช่ตัวจุดหมาย
ผู้เริ่มปฏิบัติอาจต้องปลีกตัวออกไปมีความเกี่ยวข้องเกี่ยวข้องกับชีวิตสังคมน้อยเป็นพิเศษ
เพื่อการปฏิบัติฝึกอบรมช่วงพิเศษระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงออกมามีบทบาทในทางสังคม
ตามความเหมาะสมของตนต่อไป
อีกประการหนึ่ง การเจริญสมาธิโดยทั่วไปก็มิใช่จะต้องมานั่งเจริญอยู่ทั้งวันทั้งคืน
และวิธีปฏิบัติก็มีมากมายเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับจริยาเป็นต้น
-จะเห็นได้จากหลักฐาน เช่น ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในหลักสติปัฏฐาน 4 เป็นต้นว่า
บุคคลบางคน อาจใช้เวลาปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน 4 นั้น อย่างจริงจังต่อเนื่องกัน
เป็นเวลาเพียง 7 วัน เท่านั้น ก็บรรลุอรหัตผลได้
สำหรับท่านที่สำเร็จผลเช่นนี้แล้ว การใช้สมาธิต่อจากนั้นไปตามปกติก็ คือ เพื่อประโยชน์
ในข้อทิฏฐธรรมสุขวิหาร
-ส่วนเวลาที่เหลืออยู่มากมายในชีวิต ก็ย่อมสามารถใช้ให้เป็นไปตามพุทธพจน์ที่มีเป็นหลัก
มาแต่ดั้งเดิม คือ จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย
- ภิกษุทั้งหลาย จงจาริกไปเพื่อประโยชน์สุขของพหูชน
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
nattakarn
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 01 ก.ค. 2007
ตอบ: 57
|
ตอบเมื่อ:
19 ม.ค. 2008, 1:34 pm |
  |
ใช่แล้วค่ะ หนูก็เพิ่งรู้นะคะเนี่ย อิอิ ..
******************
คุณอากรัชกราย พิมพ์ว่า: |
บ้านหนูจิ๊บอยู่ห่างจากสถานที่ทั้งสองนี้ไหม การดำเนินชีวิตระหว่างไทยพุทธกับชาวมุสลิม
ระดับชาวบ้านทั่วๆไปเป็นอย่างไรบ้าง |
ก็ห่างพอสมควรนะคะ เพราะหนูไม่ได้อยู่ในเมืองปัตตานีค่ะ
ไทยกับมุสลิมเหรอคะ? ..
ถ้าเป็นแต่ก่อนรักกันอย่างกับพี่น้อง ช่วยเหลือ แบ่งปัน ก็มีละคะ
แต่เดี๋ยวนี้ก็เริ่มห่างกัน มีแต่ความแตกแยกอ่าคะ
จากเหตุการณ์อ่าน่ะค่ะ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นมุสลิมที่ก่อการ
จนปัจจุบันนี้ทำให้มีความขัดแย้งระหว่าง พุทธ กับ มุสลิม  |
|
_________________ ความดีเป็นสิ่งไม่ตาย เมื่อเราตายไปสิ่งที่ไม่ตายไปกับเราด้วยก็คือ "ความดี" ค่ะ หนูจะทำความดี |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
19 ม.ค. 2008, 7:31 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
ถ้าเป็นแต่ก่อนรักกันอย่างกับพี่น้อง ช่วยเหลือ แบ่งปัน ก็มีละคะ
nattakarn
19 ม.ค.2008, 1:34 pm |
หนูจิ๊บว่า ไทยพุทธกับมุสลิม เคยรักกันฉันท์พี่น้อง เคยช่วยเหลือแบ่งปันกันและกัน
ก็แสดงว่า หมู่บ้านไทยพุทธกับมุสลิม อยู่ปนๆกัน (ตัวอย่างหมู่บ้านที่หนูอยู่)
หรือ ตั้งอยู่เป็นกลุ่มๆ แต่ไม่ห่างกัน
หนูมีเพื่อนๆเป็นมุสลิมบ้างไหม
โรงเรียนที่หนูเรียนมีแต่เด็กนักเรียนชาวพุทธหรอไงครับ
อากรัชกายเคยไปบ้านทอน อ. ตากใบ แถบชายทะเลเอง
อ้างอิงจาก: |
ส่วนใหญ่ก็จะเป็นมุสลิมที่ก่อการ
nattakarn
19 ม.ค.2008, 1:34 pm |
หนูว่าจุดประสงค์เขาคืออะไร พอรู้ไหม
ไม่รู้ก็ไม่เป็นไร หนูอาจยังเด็กเกินไปที่จะรู้สิ่งเหล่านั้น
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ม.ค. 2008, 8:16 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
19 ม.ค. 2008, 7:43 pm |
  |
-ประโยชน์ของสมาธิและฌานที่ต้องการในพุทธธรรม ก็คือ ภาวะจิตที่เรียกว่า นุ่มนวล
ควรแก่การงาน ซึ่งจะนำมาใช้เป็นที่ปฏิบัติการของปัญญาต่อไป
ส่วนการใช้สมาธิและฌานเพื่อประโยชน์อื่นจากนี้ ถือเป็นผลพลอยได้พิเศษ
และบางกรณีกลายเป็นเรื่องไม่พึงประสงค์ ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ทรงสนับสนุน
ตัวอย่างเช่นผู้ใด บำเพ็ญสมาธิเพื่อต้องการอิทธิปาฏิหาริย์ ผู้นั้นชื่อว่าตั้งความดำริผิด
อิทธิปาฏิหาริย์นั้น อาจก่อให้เกิดผลร้ายได้มากมาย เสื่อมได้
และไม่ทำให้บรรลุจุดหมายของพุทธธรรมได้เลย (กรณีพระเทวทัต)
ส่วนผู้ใดปฏิบัติเพื่อจุดหมายทางปัญญา ผ่านทางวิธีสมาธิ และได้อิทธิปาฏิหาริย์ด้วย
ก็ถือเป็นความสามารถพิเศษไป
อย่างไรก็ดี แม้ในกรณีปฏิบัติเพื่อความมุ่งหมายที่ถูกต้อง แต่ตราบใดที่ยัง
ไม่บรรลุจุดหมาย การได้อิทธิปาฏิหาริย์ย่อมเป็นอันตรายได้เสมอ (เป็นปลิโพธ คือเป็น
อุปสรรคอย่างหนึ่งของวิปัสสนา) เพราะเป็นเหตุให้เกิดความหลงเพลิน
และความติดความหมกมุ่น ทั้งแก่ตนและคนอื่น และอาจเป็นเหตุพอกพูนกิเลสจนถ่วง
ให้ดำเนินต่อไปไม่ได้
-พระพุทธเจ้าแม้จะทรงมีอิทธิปาฏิหาริย์มากมาย แต่ไม่ทรงสนับสนุนการใช้อิทธิปาฏิหาริย์
เพราะไม่ใช่วิถีแห่งปัญญาและความหลุดพ้นเป็นอิสระ
- ตามพุทธประวัติจะเห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธิปาฏิหาริย์ในกรณีเพื่อระงับ
อิทธิปาฏิหาริย์ หรือเพื่อระงับความอยากในอิทธิปาฏิหาริย์
-สำหรับท่านผู้ฝึกอบรมก้าวหน้าไปในมรรคแล้ว หรือสำเร็จบรรลุจุดหมายแล้ว มักนิยม
ในการเจริญสมาธิขั้นฌาน เป็นเครื่องพักผ่อนอย่างสุขสบายในโอกาสว่างๆ เช่น
พระพุทธองค์เอง แม้จะเสด็จจาริกสั่งสอนประชาชนจำนวนมาก เกี่ยวข้องกับคนทุกชั้น
วรรณะ และทรงปกครองคณะสงฆ์หมู่ใหญ่ แต่ก็ทรงมีพระคุณสมบัติอย่างหนึ่ง
คือ ฌายี และฌานสีลี- (ม.ม.12/82/78) หมายความว่าทรงนิยมฌาน
ทรงพอพระทัย ประทับในฌานแทนการพักผ่อนอย่างธรรมดาในโอกาสว่าง เช่น เดียวกับ
พระสาวกเป็นอันมาก อย่างที่เรียกว่าทิฏฐธรรมสุขวิหาร คือ เพื่อการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ที่ปรากฏว่าทรงปลีกพระองค์ไปอยู่ในที่สงัดเป็นเวลานานๆ ถึง 3 เดือน
(สํ.ม.19/1363/412) เพื่อเจริญสมาธิก็เคยมี
และ การนิยมหาความสุขจากฌานนี้ บุคคลใดจะทำแค่ไหนเพียงใด ย่อมเป็นเสรีภาพ
ส่วนบุคคล
แต่หากความติดชอบมากนั้น กลายเป็นเหตุละเลยความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
ย่อมถูกถือเป็นเหตุตำหนิได้ ถึงแม้จะเป็นความติดหมกมุ่นขั้นประณีต
สำหรับพระพุทธเจ้า และ ท่านที่ปฏิบัติถูกต้อง สมาธิย่อมช่วยเสริมการบำเพ็ญกิจเพื่อพหูชน
ลิงค์นี้เกี่ยวกับสมาธิเพื่อปาฏิหาริย์ ผูกโยงไว้ด้วยกัน เพื่อที่ผู้สนใจจะได้ศึกษาเรื่องเหล่านี้
ได้ง่ายๆ =>
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14626 |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
nattakarn
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 01 ก.ค. 2007
ตอบ: 57
|
ตอบเมื่อ:
20 ม.ค. 2008, 5:59 am |
  |
อ๋อ .. หมู่บ้านที่หนูอยู่ก็จะปนกับชาวมุสลิมด้วยค่ะ
แต่บางหมู่บ้านก็จะแยกเป็นไทยพุทธ - มุสลิมค่ะ
ส่วนโรงเรียนที่หนูอยู่ก็มีชาวมุสลิมด้วยค่ะ แต่ห้องหนูรู้สึกว่าจะมีไทนพุทธมากกว่านะคะ
จุดประสงค์ของพวกเค้าเหรอคะ เห่อๆ ..
หนูคิดไว้ 2 อย่างค่ะ
- มาจากเรื่องการเมืองในกรุงเทพฯ
- แบ่งแยกดินแดน(บ้าบอ)
แต่หนูไม่แน่ใจหรอกค่ะ หนูอาจจะทราบว่าใครคือผู้ก่อเหตุการณ์ทั้งหมดขึ้น
ใครเป็นคนอยู่เบื้องหลัง หนูก็ไม่แน่ใจนะคะ .. ว่าเป็นเค้าคนนั้นรึเปล่า
แต่ก็ไม่อยากเอ่ยชื่อค่ะ เครียด!! เหตุการณ์ภาคใต้จะสงบลงเมื่อโลกแตกมั๊งคะ ชิส์  |
|
_________________ ความดีเป็นสิ่งไม่ตาย เมื่อเราตายไปสิ่งที่ไม่ตายไปกับเราด้วยก็คือ "ความดี" ค่ะ หนูจะทำความดี |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 ม.ค. 2008, 9:59 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
หนูคิดไว้ 2 อย่างค่ะ
- มาจากเรื่องการเมืองในกรุงเทพฯ
- แบ่งแยกดินแดน(บ้าบอ)
nattakarn
20 ม.ค.2008, 5:59 am |
หนูมองปัญหารอบๆตัวได้ไม่เด็กแล้วจ้า
คำถามใดที่ทำให้หนูไม่สบายใจ อาขอโทษ
กรณีนี้ยังมีคนไทยอีกหลายๆล้านคนต้องการรู้ความจริง
ว่าเหตุการณ์ไม่สงบใน 3-4 จังหวัดภาคใต้ของไทยเรามาจากสาเหตุใด
อาก็คิดเช่นนั้น ปัจจัยหลักคือผลประโยชน์ทางการเมืองของนักการเมืองระดับประเทศ
+ ความไม่เด็ดขาดในการแก้ปัญหา+ความอ่อนแอทางการเมือง
ต่อไปอาจะไม่ถามปัญหาที่ทำให้หนูไม่สบายใจอีกแล้ว
ขอให้หนูจิ๊บตั้งใจเรียนหนังสือให้จบ มีการงานทำมีเงินเลี้ยงตนเองและพ่อแม่ได้ในอนาคต
นะครับ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
nattakarn
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 01 ก.ค. 2007
ตอบ: 57
|
ตอบเมื่อ:
20 ม.ค. 2008, 1:18 pm |
  |
ค่ะ หนูจะตั้งใจเรียน
ขอบคุณมากนะคะ
ที่อธิบายเรื่องๆต่างๆที่หนูขัดข้องใจ ขอบคุณมากค่ะ  |
|
_________________ ความดีเป็นสิ่งไม่ตาย เมื่อเราตายไปสิ่งที่ไม่ตายไปกับเราด้วยก็คือ "ความดี" ค่ะ หนูจะทำความดี |
|
  |
 |
RARM
บัวบาน

เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417
|
ตอบเมื่อ:
22 ม.ค. 2008, 5:23 pm |
  |
สมาธิ คือการฝึกสติ และทำจิตใจให้สงบร่มเย็น |
|
|
|
  |
 |
อิทธิกร
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 28 ส.ค. 2008
ตอบ: 137
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี
|
ตอบเมื่อ:
01 ก.ย. 2008, 8:56 am |
  |
สาธุ |
|
_________________ ชีวิตที่รู้ |
|
  |
 |
|