ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
นิทรา
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 02 ธ.ค. 2004
ตอบ: 26
|
ตอบเมื่อ:
10 ม.ค. 2005, 4:44 pm |
  |
ละชั่ว ทำดี ชำระใจให้สะอาด หลวงปปู่เทสก์ เทสรังสี
พระพุทธศาสนาสอนกว้างขวาง
สอนให้ละความชั่ว
ทำความดีด้วยตนเอง
แล้วชำระใจให้สะอาด
" เทสโกวาท100 ปี " พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ |
|
_________________ คุณครูบ้านนอกที่ชอบชีวิตเรียบง่าย ภูเขา แม่น้ำ ชอบการสัมผัสกับธรรมชาติ เวลาว่างจะศึกษาธรรมะโดยการอ่านและฟัง ที่ศึกษาประจำคือธรรมะของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง และ อื่นๆ |
|
   |
 |
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
10 ม.ค. 2005, 5:26 pm |
  |
คิดๆ แล้วปีเก่าที่ผ่านมานี้ผมก็ปลื้มเหมือนกันครับ เพราะ
ผมตั้งใจละเว้นอกุศลกรรมบถ 10 ประการได้ทุกวัน แต่คงไม่บริบูรณ์เต็มร้อย มีกระพร่องกระแพร่งบ้าง โดยเฉพาะกรรมทางวาจา
ผมตั้งใจทำทานทุกวัน โดยวันธรรมดาจะใส่บาตรพระแถวบ้านเช่า และช่วงเสาร์อาทิตย์กลับบ้านในกรุงเทพฯ ก็จะให้เงินประจำเดือนคุณพ่อ และสงเคราะห์ญาติ หรือไปทำบุญที่วัด รวมทั้งนำธรรมะมา Post ผ่าน Net ด้วย
ผมตั้งใจทำสมาธิทุกวัน มากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นกับความฟุ้งและความปวดเมื่อย
สรุปแล้ว 1 ปีที่ผ่านมาผมละชั่ว ทำดี และชำระใจให้ใสได้ทุกวันเลยครับ |
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
10 ม.ค. 2005, 11:42 pm |
  |
ก็เป็นที่น่ายินดี คือจะว่ายินดีไม่รู้ถูกหรือไม่ เพราะถ้าเห็นคนไปวัด ไปทำบุญ รักษาศีล ทำให้รู้สึกดีใจที่ได้เห็น คือความดีใจจะเกิดขึ้น แต่คงไม่ใช่ความยินดีมั้ง คือดีใจที่ได้รู้ได้เห็นว่ามีคนพยายามสร้างกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง
แล้วก็นึกลุ้นว่าทำให้มากกว่านั้นๆๆ อย่าหยุดนะ ทำเข้าไปเรื่อยๆ แต่บางทีเราก็เถียงกันในเน็ท อาจกระทบกันบ้าง ที่จริงแล้วครบรอบปีหรือช่วงหนึ่งๆวันสำคัญๆทางศาสนาก็ขออโหสิกรรมทางวาจา ใจ ส่วนกายไม่ได้ล่วงเกินอะไร อันนี้ก็ต้องขออภัยถ้าไปกระทบผู้อื่นที่ได้ทำไปแล้ว
เพราะคนเรามีความผิดพลาดกันได้หมด เรื่องการใช้วาจาหรือถ้อยคำ ความกระทบกันนี้ มาจากเรามีอารมณ์พอใจและไม่พอใจสิ่งต่างๆ แม้สิ่งนั้นเล้กน้อยแต่มันก็กระทบ ทีนี้ธรรม 3 อย่างข้างต้นที่เป็นหัวข้อนี้อยู่ในโอวาทปาฏิโมกข์ ขึ้นต้นว่า"ขันติ ตะโป ตี ติกขา" แปลว่าความอดกลั้นคือความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง นี่ว่าตามสำนวนภาษาบทสวดมนต์แปล คือบทนี้ผมจำได้หมดไม่ต้องเปิดแบบ
ท่านกล่าวถึงความอดกลั้นคือขันติก่อน เอาขันติมาแสดงก่อน ความอดกลั้นนี้สำคัญ คือพอเราไม่พอใจ เราก็เขียนออกไป บางทีเราคิดว่าถ้าเราอดกลั้นไว้แล้วใครจะไปรู้ความคิดที่เป็นอีกอย่างที่เราต้องการจะสื่อ พอเราเขียนไปบางทีอาจมีอารมณ์อะไรอยู่บ้างก็กระทบกระทั่งกันตรงนี้ ตรงนี้ต้องขออภัย แล้วเราก็ต้องอภัยคนอื่นเหมือนกันถ้าเขากระทบเรา
การฝึกความอดกลั้นก็ต้องฝึกจากของจริงๆที่เกิดกับเรา คือเห็นมันก่อนว่าเราอาจอ่อนในเรื่องความอดกลั้น แล้วค้นหาจุดอ่อนในเรื่องอื่นๆ คือทุกคนมีจุดอ่อน แต่เรามักสำรวมไว้ได้ เพราะได้ฝึกสติไว้
โอวาทปาฏิโมกข์บทแปลทั้งหมดว่าอย่างนี้ "ความอดกลั้นคือความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง (เป็นตบะนะครับขอให้สังเกต) ท่านผู้รู้ทั้งหลาย(ท่านผู้รู้นี่คือพุทธาหมายถึงพระพุทธเจ้า)กล่าวว่าพระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง ผู้ฆ่าสัตว์อื่นเบียดเบียนสัตว์อื่นไม่ใช่บรรพชิตและสมณะเลย
ความไม่ทำบาปทั้งปวง
การทำกุศลให้ถึงพร้อม
การทำใจให้ผ่องแผ้ว
(ธรรม)สามอย่างนี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ความไม่กล่าวร้าย (วาจาตรงนี้สำคัญอาศัยศีลจริงๆ)
ความไม่ล้างผลาญ
ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์
ความรู้จักประมาณในภัตตาหาร
ที่นอนที่นั่งอันสงัด
ความประกอบโดยเอื้อเฟื้อในอธิจิต
(ธรรม) หกอย่างนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฉะนี้
นี่เป็นบทแปลสั้นๆของโอวาทปาฏิโมกข์
ปาฏิโมกข์คือศีล 227 ข้อ แต่หลักสามข้อมาเป็นหัวใจของพุทธสาสนา
ผมคิดว่าไม่ทำชั่วคือศีล 227 รักษาไว้
ทำดีก็คือรักษาพรหมจรรย์
ทำใจให้ผ่องแผ้วคือการเจริญอริยมรรค
ด้วยเหตุนี้ท่านจึงสอนสิ่งสำคัญก่อน คือขันติ ต้องประพฤติให้เป็นตบะ จึงจะรักษาหัวใจของพุทธศาสนาทั้งสามข้อไว้ได้
|
|
|
|
|
 |
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
11 ม.ค. 2005, 8:55 am |
  |
ผมอาจเพิ่งเริ่มเข้ามาในเว็บนี้เมื่อปลายปีที่แล้ว แต่ได้อ่านข้อความข้างต้นของคุณโอ่แล้วมีส่วนหนึ่งจับใจมาก ก็ขอเลียนแบบเลยนะครับ
ถ้าการ Post เนื้อหาของผมส่วนหนึ่งส่วนใดในปีที่แล้ว ไปกระทบผู้หนึ่งผู้ใดก็ตามที ผมก็ขออภัย และขออโหสิกรรมด้วยนะครับ
|
|
|
|
|
 |
เทพ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
31 ม.ค. 2005, 6:09 am |
  |
การรักษาศีล ใช่อยู่ที่ความตั้งใจรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ หรือ ศีล ๒๒๗ ก็หาไม่ เพราะศีลทั้งหมดนี้ เป็นแค่รั้วที่พระอริยะผู้ทรงปัญญาสร้างไว้เป็นแนวกั้นมิให้ปุถุชนผู้มีอวิชชาครอบงำ หลงไปกระทำเข้า แต่ผู้ใดทำการศึกษาว่าศีลคืออะไร ทำไมต้องรักษาศีล การไม่รักษาศีลมีโทษอย่างไร สิ่งใดที่สามารถทำให้เราสามารถรักษาศีลได้ เรียนว่า "สีลสิกขา" เมื่อศึกษาแล้วก็รู้ว่าสมาธิมีความจำเป็นต้องทำการฝึกฝน เพราะถ้าไม่มีสมาธิ จิตก็ฟุ้งซ่าน ไม่อาจทำกิจแห่ง"สีลสิกขา" ได้ ก็ทำการศึกษาเรื่องสมาธิควบคู่ไปด้วย เรียกว่า "สมาธิจิตสิกขา" รักษาศีลที่ได้ศึกษาแล้ว ทำสมาธิที่ได้ทำการศึกษาแล้ว จึงได้เกิดความรู้แจ้งในธรรมอันเป็นเบื้องต้นเรียกว่าปัญญา จึงได้เกิดความคิดว่าเราควรแสวงหาปัญญาอันเป็นธรรมสูงสุดเพื่อความรู้แจ้งแห่งธรรมทั้งปวง จึงต้องทำการศึกษาเรื่องของปัญญาเพิ่มอีก เรียกว่า "ปัญญาสิกขา" ธรรมทั้งสามประการนี้คือ "สีลสิกขา สมาธิจิตสิกขา และ ปัญญาสิกขา" จึงต้องกระทำควบคู่กันไปรวมเรียกว่า "มัคคสมังคีธรรม" การกระทำให้ธรรมทั้งสามเจริญขึ้นเรียกว่าเราเดินทางใน "มรรค ๘" เดินทุกวัน เดินทุกก้าวจึงเกิด สีลวิสุทธ, จิตวิสุทธิและ ทิฎฐิวิสุทธิ ก็สามารถหมด "กังขาวิตรณวิสุทธิ ได้แค่ "เจโตวิมุติ" แต่ต้องไปเดินทางสายใหม่เพื่อเจริญให้ปัญญาญาณเกิด "ปัญญาวิมุติ" ด้วย "มรรคามรรคญาณทัศนวิสุทธิ" โดยทำการปฏิบัติในญาณทั้ง ๙ เรียกว่า "ปฏิปทาญาณทัศนวิสุทธิ" เมื่อเดินก้าวไป เจริญไป จึงเกิด "ญาณทัศนวิสุทธิ" โคตรภูญาณจึงมาบันดาลนิพพานให้
ได้ธรรมนี้มาจากพระอริยะรูปหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักเท่าใดนัก. |
|
|
|
|
 |
|