ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
montasavi
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84
|
ตอบเมื่อ:
25 ธ.ค.2007, 7:02 pm |
  |
......................หลายคนเข้าใจผิดว่า ศาสนาพุทธสอนแต่เรื่องกรรมเก่า และให้ทำใจยอมจำนนอยู่กับอดีตโดยไม่มีหนทางแก้ไข แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ วิปากของบาปกรรมต่างๆ ที่เคยทำไว้ในอดีตนั้นสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ด้วยกรรมปัจจุบัน แม้ไม่สามารถกลับไปแก้ไข ลบล้างอกุศลกรรมที่เป็นต้นเหตุได้ แต่สามารถสร้างกรรมปัจจุบันเพื่อเจือจางวิปากของอกุศลกรรมนั้นให้อ่อนกำลังลงได้ ปรากฏหลักฐานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนเหล่าพระภิกษุในคัมภีร์พระไตรปิฎก โลณผลสูตร เล่มที่ ๒๐ ข้อ ๑๐๑ หน้า ๓๓๖
คนที่ทำบาปกรรมแล้ว กลับสำนึกผิด อบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา มีคุณงามความดีที่เคยทำมากมาย บาปกรรมที่คนเช่นนี้ทำ จะไม่ปรากฎผลให้เห็น มักปรากฎแต่ผลบุญที่เขาเคยทำไว้มากมาย
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ามีคนกล่าวว่า ใครทำบาปอะไรไว้ เขาก็ต้องรับผลกรรมอย่างนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ การประพฤติพรหมจรรย์ (การสร้างคุณงามความดี) ของเขาย่อมไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย โอกาสที่เขาจะบำเพ็ญเพียรให้ถึงความพ้นทุกข์ย่อมเป็นไปไม่ได้ละซิ ? ส่วนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ทำกรรมที่ต้องเสวยผลไว้อย่างใดๆ เขาต้องเสวยผลของกรรมนั้น อย่างนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ โอกาสที่เขาจะบำเพ็ญเพียรให้ถึงความพ้นทุกข์ย่อมเป็นไปไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็ส่งผลให้เขาไปตกนรก ส่วนคนบางคนทำบาปกรรมเเล็กน้อยเหมือนกันอย่างนั้น แต่บาปกรรมนั้นให้ผลเพียงเล็กน้อย ปรากฏแต่กุศลกรรมที่เคยทำมาให้ผล บุคคลเช่นไรเล่า ? ที่ทำบาปกรรมแม้เล็กน้อย บาปกรรมนั้นถึงกับส่งผลให้เขาไปตกนรกเลยทีเดียว บุคคลเช่นนี้ก็คือคนที่ (ทำผิดแล้วแต่ไม่สำนึกผิด) ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา มีคุณงามความดีน้อย ไม่มียศศักดิ์บารมี ยากจนแร้นแค้น บาปกรรมที่คนแบบนี้ทำ แม้เป็นบาปกรรมเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาเข้าสู่นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเช่นไรเล่าทำบาปกรรมเล็กน้อยเช่นนั้นเหมือนกัน แต่บาป กรรมนั้นให้ผลเล็กน้อยแต่ในชาตินี้ (ไม่ส่งผลให้ถึงกับไปตกนรก) บุคคลเช่นนี้ ก็คือคนที่ทำบาป กรรมแล้ว (กลับสำนึกผิด) อบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา มีคุณงามความดีที่เคยทำมากมายมียศศักดิ์บารมี มีทรัพย์สมบัติมาก บาปกรรมที่คนเช่นนี้ทำมักไม่ค่อยปรากฏผลให้เห็น (มักปรากฏแต่ผลบุญที่เขาเคยทำไว้มากมาย) เปรียบเหมือนก้อนเกลือที่เราใส่ลงในขันน้ำใบน้อย เธอทั้งหลายคิดว่าน้ำผสมเกลือนั้นจะเป็นอย่างไร ? น้ำผสมเกลือในขันนั้นก็จะเค็มจัดจนดื่มไม่ได้ เพราะก้อนเกลือที่ใส่ลงไปใช่ไหม ?
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ใช่ พระเจ้าข้า น้ำในขันนั้นจะเค็มจัดจนดื่มไม่ได้
พ. เพราะเหตุไร น้ำนั้นจึงเค็มจัดจนดื่มไม่ได้ ?
ภิ. เพราะในขันนั้นมีน้ำน้อยนิดเดียว น้ำจึงไม่สามารถละลายเกลือให้เจือจางหายเค็มได้พระเจ้าข้า
พ. ภิกษุทั้งหลาย ก็เปรียบเหมือนกับการใส่ก้อนเกลือลงในแม่น้ำคงคา เธอทั้งหลายคิดว่าก้อนเกลือนั้นจะทำให้แม่น้ำคงคาเค็มจนดื่มไม่ได้หรือเปล่า ?
ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า
พ. เป็นเช่นนั้น เพราะไร
ภิ. เพราะในแม่น้ำคงคานั้น มีห้วงน้ำมากมายมหาศาล ฉะนั้นห้วงน้ำใหญ่นั้นจึงไม่กลายเป็นน้ำเค็มเพียงเพราะผสมกับก้อนเกลือเพียงเล็กน้อย พระเจ้าข้า
พ. ก็เหมือนกันแหละ ภิกษุทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้ ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็ส่งผลให้เขาไปตกนรก ส่วนคนบางคนทำบาปกรรมเล็กน้อยเหมือนกันอย่างนั้น แต่บาปกรรมนั้นให้ผลเพียงเล็กน้อย ปรากฏแต่กุศลกรรมที่เคยทำมาให้ผล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนในโลกนี้ที่ถูกจำคุกเพราะขโมยของเพียงนิดหน่อยก็มี ถูกจำคุกเพราะขโมยของมากมายมหาศาลก็มี ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ขโมยของอย่างนั้นเหมือนกันแต่ไม่ถูกจำคุกก็มี บางคนคดโกงสมบัติมหาศาลแต่ไม่ถูกจองจำก็มี บุคคลเช่นไรเล่า ถูกจำคุกเพียงเพราะขโมยของเพียงเล็กน้อย ภิกษุทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้ เป็นคนขัดสนยากจนแร้นแค้น (ไม่มีเส้นสายหรือคุณงามความดีแก่สังคม) เมื่อไปเที่ยวขโมยของแม้เพียงเล็กน้อย เขาก็จะถูกลงโทษถึงขึ้นติดคุดได้ บุคคลเช่นไรเล่าแม้ไปขโมยของเช่นนั้นเหมือนกัน แต่กลับไม่ติดคุก (ทั้งที่ถูกจับได้) ภิกษุทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์สินเหลือเฟือ มีโภคะมากมาย (ช่วยเหลือสังคมมากมาย) คนเช่นนี้แม้เคยขโมยของอย่างนั้นเหมือนกัน แต่เขาย่อมไม่ถูกจองจำติดคุก (...อาจเพราะเสียค่าปรับแทน)......
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสนี้ก็หมายความว่า วิปากของบาปกรรมต่างๆ ที่เคยทำไว้ในอดีตนั้นสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ด้วยกรรมปัจจุบัน แม้ไม่สามารถกลับไปแก้ไข ลบล้างอกุศลกรรมที่เป็นต้นเหตุได้ แต่สามารถสร้างกรรมปัจจุบันเพื่อเจือจางวิปากของอกุศลกรรมนั้นให้อ่อนกำลังลงได้ ด้วยการอบรมศีล อบรมจิตและเจริญปัญญา นั่นก็คือการเจริญสมาธิภาวนานั่นเอง |
|
|
|
   |
 |
montasavi
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84
|
ตอบเมื่อ:
25 ธ.ค.2007, 7:32 pm |
  |
ถาม... ทำบุญล้างบาปได้หรือไม่
ตอบ กรรมลบล้างไม่ได้ แต่หลีกหนีผลกรรมได้ (ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ ๑๔ หน้า ๑๑)
อดีตล่วงพ้นไปแล้ว การกระทำทุกอย่างที่กระทำไปด้วยเจตนา ไม่ว่าจะชั่วหรือดีก็ตาม ก็เป็นอันได้กระทำไปแล้ว และผลกรรมนั้นจะต้องย้อนกลับมาหาตัวผู้กระทำในที่สุด แต่เวลาที่กรรมให้ผลนั้นไม่แน่นอนว่าจะช้าหรือเร็ว จะเป็นปัจจุบันหรืออนาคต ถ้าหากกรรมที่ได้กระทำก่อนหน้านั้นยังให้ผลไม่หมด หรือกรรมที่กระทำในปัจจุบัน มีวิบากแรงกว่าก็จะทำให้กรรมนั้นมีผลช้า เมื่อเป็นเช่นนี้หนทางที่จะหลีกหนีผลกรรมก็พอมีทาง(ดูรายละเอียดใน พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ หน้า ๗๙) ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้กระทำเองว่า มีฝีเท้าในการหลีกหนีมากน้อยแค่ไหน มีเส้นชัยอยู่ที่อนุปาทิเสสนิพพาน(ดับขันธปรินิพพาน) ถ้าในระหว่างนี้เขามุ่งมั่นทำเฉพาะบุญกุศลอบรมสติปัญญาให้ปราดเปรื่องอยู่ตลอดเวลา จนถึงขณะจิตสุดท้าย หลังตายก็จะไปเกิดในภพดี ๆ ได้ และหากเขาทำได้เช่นนี้ทุกภพทุกชาติ ไม่มัวหลงระเริงกับความสุขเล็กๆน้อย ๆ ที่เกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว อันเป็นผลพลอยได้จากการเร่งทำบุญ เขาก็มีโอกาสเข้าถึงเส้นชัยได้ก่อนที่บาปจะตามมาทัน
เปรียบเหมือน โจรผู้ร้ายที่ได้ก่อคดีอาญาไว้ แล้วหลบหนีการจับกุมได้ตลอด ๒๐ ปี มีความสามารถในการหลบหลีกเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่ออายุความครบ ๒๐ ปี คดีความก็เป็นอันหมดอายุไป กฎหมายไม่อาจลงโทษเขาได้อีกต่อไป บาปที่เราทำไว้ก็เช่นกัน หากเราเข้าถึงอนุปาทิเสสนิพพานได้แล้ว ก็ไม่อาจตามมาให้ผลได้อีกต่อไป(ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ ข้อ ๒๑๙ หน้า ๓๖๕) แต่โดยมากยากที่จะเป็นเช่นนั้น มักถูกวิบากกรรมตามมาทันเสียก่อน หลายคนหลายท่านพยายามวิ่งหนีเอาจิต รอดสุดชีวิต ต้องถึงกับผ้าผ่อนหลุดลุ่ยกว่าจะเข้าถึงอนุปาทิเสสนิพพาน เข้าสู่ที่ปลอดภัยได้
ตัวอย่างเช่น พระองคุลีมาลเถระ กว่าท่านจะฟันฝ่าอุปสัคเข้าสู่เส้นชัยได้ ถูกกรรมเก่าไล่กวดจับจวนเจียนจะทันอยู่แล้ว หรืออาจจะถูกกรรมเก่าจับติดชายผ้านุ่งแล้ว แต่ท่านก็ยังพยายามดิ้นรนเต็มที่ ถึงกับถอดผ้านุ่งออกแล้ววิ่งล่อนจ้อนต่อไป จนเข้าสู่เส้นชัยจนได้ เมื่อเข้าสู่เส้นชัยแล้ววิปากกรรมก็มิอาจส่งผลได้อีก ไม่ต้องชดใช้กรรมใดๆ อีก ต่อไป( ดูรายละเอียดใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ ข้อ ๒๓๔ หน้า ๓๙๗) กรรมที่เคยทำไว้จะกลายเป็นอโหสิกรรมไป(ดูรายละเอียดในคัมภีร์อภิธรรมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๕ เรื่องกัมมจตุกกะ)
คัมภีร์มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตรนิกาย เอกก-ติกนิบาต หน้า ๑๓๒ อธิบายว่า ในเวลาที่กุศลกรรมให้ผล อกุศลกรรมอย่างหนึ่งจะตั้งขึ้นตัดรอนกรรมนั้นให้ตกไป ถึงในเวลาที่อกุศลกรรมให้ผลกุศลกรรมอย่างหนึ่ง ก็จะตั้งขึ้นตัดรอนกรรมนั้นแล้วให้ตกไป นี้ชื่อว่าอุปัจเฉทกกรรม ในบรรดาอุปัจเฉทกกรรมที่เป็นกุศล และอกุศล กรรมของพระองคุลิมาลเถระได้เป็นกรรมตัดรอนอกุศล
พระมหาเถระอีกรูปหนึ่ง ท่านมีบุญบารมีมากกว่าพระองคุลีมาลหลายเท่านัก และทั้งที่สามารถเข้าถึงสอุปาทิเสสนิพพานได้แล้ว แต่ท่านก็ยังถูกกรรมเก่าตามมาทันจนได้ ท่านผู้นั้น คือ พระมหาโมคคัลลานะ(ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ ข้อ ๖๐ หน้า ๓๙๐) ผู้อัครสาวกเบื้องซ้ายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่กรรมของท่านมีพลังอำนาจถึงเพียงนี้ เนื่องจากในชาติก่อนท่านได้ฆ่าพ่อแม่ของตนเอง ซึ่งเป็นหนึ่งในอนันตริยกรรม ๕ ประการที่จัดว่าเป็นกรรมชั่วที่หนักที่สุด กรรมที่ท่านได้ทำนั้นส่งผลให้ท่านแทบเอาจิตไม่รอดทั้ง ๆ ที่ท่านสั่งสมบุญกุศลมาเป็นจำนวนมหาศาลถึงขนาดที่สามารถส่งท่านเข้าสู่พระนิพพานได้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังต้านแรงบาปแทบไม่ไหว ท่านเข้าสู่สอุปาทิเสสนิพพานได้แล้วกรรมก็ยังตามมารังควาญอยู่ คือ ทั้งที่ท่านบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้รับสรรเสริญจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า เป็นผู้มีฤทธิ์กว่าพระอรหันต์ทั้งปวงก็ยังถูกพวกโจรทำร้ายทุบตีร่างกายจนแหลกละเอียด เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แต่ก็ยังดีที่บาปตามมาทันขณะที่ท่านก้าวเข้าสู่เส้นชัยได้ครึ่งตัวแล้ว จึงทำให้ผลกรรมย่ำยีท่านได้แต่ร่างกายเท่านั้น ไม่อาจทำให้จิตท่านหวั่นไหวได้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลผู้เป็นมุนีทางกายเป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะว่า เป็นมุนีผู้สมบูรณ์ด้วยโมเนยยธรรม ล้างบาปได้แล้ว (ดูรายละเอียดใน คัมภีร์พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ หน้า ๗๐)
|
|
|
|
   |
 |
นวสฤษฏ์
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 06 พ.ย. 2007
ตอบ: 11
|
ตอบเมื่อ:
25 ธ.ค.2007, 11:44 pm |
  |
สาธุครับ ความผิดพลาดอะไรที่ผ่านไปแล้วเราก็คงต้องยอมรับผลของมันที่จะต้องเกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็ว หากเราสำนึกผิดแล้วยอมรับและกล่าวขอโทษ แล้วหันมาทำความดีแล้ว ผิดครั้งเดียวกลับทำดีสองครั้ง ด้วยความสำนึกผิดนะครับ มันก็ทำให้ทุกอย่างดีขึ้นได้ ขอบคุณ คุณ montasavi ครับสำหรับความคิดดีในวันปีใหม่ ขอให้มีความสุขครับ  |
|
|
|
  |
 |
jojam
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 27 พ.ค. 2004
ตอบ: 62
|
ตอบเมื่อ:
26 ธ.ค.2007, 1:39 pm |
  |
มี หรือ ที่ทำกรรม ไป แล้วไม่มี วิบากกรรม
มี เพียง ก้อน บุหรี่ ยัง เพลิงลาม ทุ่งป่า.
มี เพียง ตามด ยังเขื่อน แตก
มี เพียงผง ที่เข้าตา
ปล. อย่าเห็น อย่างนั้น เลย อย่างเห็น อย่างนั้น เลย
รอสิ้นบุญ หมด บุญ สิ่งที่ คุณ ได้ ทำไว้ ไม่หายไป ไหน |
|
|
|
   |
 |
ลุงดำ
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 24 พ.ย. 2007
ตอบ: 59
|
ตอบเมื่อ:
26 ธ.ค.2007, 7:35 pm |
  |
เอ้อ หัวข้อกระทู้ สะใจ น่าติดตามจริง ๆ ท่านmon
ทุกกระทู้ เร้าใจ จริง ๆ
อืม.............
จะจดจำ หรือ ตำหนิดี เอ้อ ท่านmon
ฆ่าปลา ฆ่ายุง เป็นบาป แต่ไม่วิบาก
โอ๋ โอ้ ......... นึกขำอยู่ในใจ
ทำไม ไม่ทำมันทุกวันล่ะ จะได้เป็นตัวอย่าง ว่าไม่วิบาก
ฆ่าปลามันน้อยไป ฆ่า............ดีกว่า มันจะวิบาก เร็ว ๆ หน่อย
พระพุทธเจ้าไม่เคยเร่งให้ทำชั่ว อย่าได้อ้างถึงพระไตรปิฎก ตอนเล็ก ๆ
ลุงอ่านบางวรรค บางตอน มันเหมือนเขียนช่วง พศ.2000 - 2500
ภิกษุทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้ เป็นคนขัดสนยากจนแร้นแค้น (ไม่มีเส้นสายหรือคุณงามความดีแก่สังคม) เมื่อไปเที่ยวขโมยของแม้เพียงเล็กน้อย เขาก็จะถูกลงโทษถึงขึ้นติดคุดได้ บุคคลเช่นไรเล่าแม้ไปขโมยของเช่นนั้นเหมือนกัน แต่กลับไม่ติดคุก (ทั้งที่ถูกจับได้) ภิกษุทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์สินเหลือเฟือ มีโภคะมากมาย (ช่วยเหลือสังคมมากมาย) คนเช่นนี้แม้เคยขโมยของอย่างนั้นเหมือนกัน แต่เขาย่อมไม่ถูกจองจำติดคุก (...อาจเพราะเสียค่าปรับแทน)......
เอ.....ไม่มีเส้นไม่มีสาย สมัยพระพุทธเจ้า เนี่ยะนะ เริ่มกล่าวถึงเส้นสาย โอย ...... อ้อ...........โอ้
เอ........เสียค่าปรับแทน. สมัยพระพุทธเจ้า เนี่ยะนะ เริ่มกล่าวถึง เสียค่าปรับ โอย ...... อ้อ...........โอ้
เรื่อง น้ำ กับ เกลือ เป็นปริศนาธรรม น่าเชื่อถือได้ น่าเป็นเหตุเป็นผล อยู่ และลุงเคยได้ยิน พระสงฆ์ กล่าวถึงสิ่งนั้น ลุงก็เห็นว่าดีนะ พระองคุลีมาล ถือเป็นตัวอย่างได้ สุดท้ายบรรลุธรรม เอ้อ
ส่วนเรื่อง ใส่เกลือเพิ่มไปอีก ใส่น้ำเพิ่มอีก แล้วเกลืออีก วนไปวนมา เมื่อไรน้ำจะจืดเสียที
การให้ความคิดเห็นของท่านmon สอนปะหนึ่งว่า มีน้ำอยู่ 1 ตุ่ม ใบใหญ่มาก ๆ
มีหิน ก้อนใหญ่ เล็ก อยู่ 20 ก้อน ตัวแทนแห่งความชั่ว
ทีนี้ก็คน ๆ ๆ คนน้ำนะ ไม่ได้เอามนุษย์โยนใส่ตุ่ม
แล้วก็ให้ท่าน mon ล้วงลงไปในตุ่ม ห้ามมองหาก้อนหิน ล้วงไป สักพักท่านmon ล้วงก้อนหินได้ก้อนหนึ่ง เอ้อ เก่ง
เอามาอีกคน เด็กน้อย 7 ขวบ ไปล้วงบ้าง เอ้อ ล้วงไม่ได้ มือมันสั่น ล้วงไม่ถึงก้นตุ่ม
เอามาอีกคนนะ อายุ 18 ปี เอ้อ ล้วงไม่ได้เหมือนกัน บุญไม่ถึง ไม่ใช่ เอ้อ มันล้วงไม่ได้จริง ๆ ดวงมันล้วงไม่ได้
เอาอีกสักคน เอ้อ มันล้วงได้ มันบอกว่า ได้ 3 ก้อน เอ้อ
ความหมาย คือ ดวงจะโดน ก็ โดนเหมือนกัน ความชั่วที่ทำไว้
ลุงถามคำ เธอจะรอให้เขา ล้วงความชั่ว ของเธอ ให้ได้ หรือ
ทำไมไม่ทำดี ตลอด รออะไร รอให้เขาว่า เอ้อ ดี งั้นขอให้โดน ว่า (สม)
เมื่อรู้ว่า ไม่ดีแล้ว อย่าทำ
ท่านอย่าให้ พระพุทธเจ้า บัญญัติ ศีล ให้มากเลย มันBasic มาก ๆ
ความสับสนแห่งผู้สำนึกดี จะไม่สำนึก วัน ๆ ต้องไปสารภาพบาป ทุกวัน บาปเต็มHardDisk แล้ว เอ้อ
ความไม่แน่นอน จึงกลายเป็นความแน่นอน
ความนิพพาน เป็นสิ่งที่แน่นอน
แต่ถ้าไม่เข้าใจ ก็นอนแน่ ก็ไม่ถึงมันเสียที เพราะไม่เป็นไร ไม่มีวิบาก ตีหัวใคร ก่อนไปถึงที่นั่นก็ได้ ไม่สนใจ ฉันถึงแล้ว ทิ้งทวนหน่อยก็ไม่เป็นไร กรรมไม่ตามข้ามแดนนิพพาน หรือ เอ้อ ดี จัง |
|
_________________ ถ้ามีเวลาว่างเกินไป ก็ไปช่วยเขาทำงานบ้าน บ้าง เอ้อ |
|
  |
 |
วิชชา
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 05 พ.ย. 2007
ตอบ: 31
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่
|
ตอบเมื่อ:
27 ธ.ค.2007, 3:22 pm |
  |
กรรม คือ การกระทำ มีทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว กรรมดีให้วิบากดีทำให้มีความสุข ส่วนกรรม
ชั่วให้วิบากไม่ดีทำให้มีความทุกข์ เมื่อทำกรรมสำเร็จแล้ว ย่อมให้ผลตามฐานะของกรรมนั้นๆ
ไม่สามารถลบล้างกรรมที่ทำสำเร็จไปแล้วได้ แต่มีหนทางเพื่อการสิ้นกรรมทั้งหมดได้โดยการ
อบรมเจริญปัญญาจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ดับขันธ์ปรินิพพาน ไม่ต้องเกิดอีก เมื่อไม่เกิดจึงไม่
มีการรับผลของกรรมใดๆ อีกเลย
ถ้าลบล้างกรรมชั่วได้ คงไม่มีใครไปเกิดในอบายเพราะทุจริตกรรม คงไม่มีใครเกิดเป็นคน
ยากจนเข็ญใจ รูปไม่งาม และทุกคนจะมีแต่ความสุขความเจริญอย่างเดียว แต่ความจริงที่เรา
เห็นอยู่ทุกวันนี้มีความแตกต่างกันเพราะกรรม สรุป คือ ไม่มีใครแก้หรือลบล้างกรรมได้ และ
ลบล้างไม่ได้ เพราะกรรมเป็นนามธรรม
ผู้ที่ข้ามพ้น คือ ผู้ที่ไม่มีกรรมดี (กุศล) หรือกรรมชั่ว (อกุศล) จะไม่มีเหตุปัยจัยให้เวียนว่ายอยู่
ในสังสารวัฏ คือ พระอรหันต์เท่านั้น ปุถุชนหรือพระอริยบุคคลขั้นอื่นๆยังต้องเกิด บุคคลที่ยัง
ไม่เป็นพระอรหันต์ ยังมีทั้งกุศลและอกุศลที่เป็นเหตุให้เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 275
๑. กรรมสูตร ว่าด้วยกรรมเก่าและกรรมใหม่
[๒๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมทั้งใหม่และเก่า
ความดับแห่งกรรม และปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งกรรม ท่านทั้งหลาย
จงพึง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมเก่าเป็นไฉน.
จักษุอันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว
สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอันบัณฑิต
พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่
ตั้งแห่งเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า.
[๒๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมใหม่เป็นไฉน. กรรมที่
บุคคลทำด้วย กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่.
[๒๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน.
นิโรธที่ถูกต้องวิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
นี้เราเรียกว่า ความดับแห่งกรรม.
[๒๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งกรรม
เป็นไฉน. อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑
สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑
สัมมาสมาธิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาอันให้ถึงความ
ดับแห่งกรรม.
[๒๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่า กรรมใหม่ ความดับแห่ง
กรรมและปฏิปทาอันให้ถึงความดับกรรม เราได้แสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย
ด้วยประการดังนี้แล กิจใดแล อันเราผู้ศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
ผู้อนุเคราะห์แก่สาวกทั้งหลาย พึงทำ กิจนั้นเราทำแล้วเพราะอาศัยความ
อนุเคราะห์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้ง
หลายจงพยายาม อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนใจในภาย
หลัง นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย.
จบ กรรมสูตรที่ ๑
อ่านอรรถกถาต่อที่นี่
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=1430 |
|
_________________ ไม่มี |
|
      |
 |
tiptie
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 11 ก.ค. 2007
ตอบ: 19
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
28 ธ.ค.2007, 2:13 pm |
  |
อนุโมทนา สาธค่ะ |
|
_________________ กรรมดี กรรมชั่ว อยู่ที่ตัวสร้าง...การกระทำมีผลตามมาเสมอ.... |
|
   |
 |
montasavi
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84
|
ตอบเมื่อ:
07 มิ.ย.2008, 7:57 pm |
  |
|
   |
 |
suvitjak
บัวบาน

เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen
|
ตอบเมื่อ:
17 มิ.ย.2008, 12:22 pm |
  |
ขออนุโมทนาด้วยครับ  |
|
_________________ ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน |
|
  |
 |
|