Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ฟื้นพุทธศิลป์หริภุญไชย สร้างพระพุทธศักยมุนีศรีหริภุญไชย อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
nimmita
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 12 ส.ค. 2007
ตอบ: 26

ตอบตอบเมื่อ: 28 พ.ย.2007, 7:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฟื้นพุทธศิลป์หริภุญไชย สร้าง "พระพุทธศักยมุนีศรีหริภุญไชย"
โดย พิมผกา ต้นแก้ว

มติชน วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10854

นครหริภุญไชย หรือ จังหวัดลำพูน เมืองที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานกว่า 1,300 ปี

เป็นอีกเมืองหนึ่งที่มีโบราณสถาน โบราณวัตถุที่เก่าแก่ให้ศึกษา ค้นคว้าจำนวนมาก รวมถึง "วัดพระยืน" หรือ "วัดอรัญญิการาม" วัดเก่าแก่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำกวง

ซึ่งเป็นวัดที่กรมศิลปากรให้ความสนใจ และอนุมัติงบประมาณให้ดำเนินการขุดแต่ง บูรณะ โบราณสถานภายในวัด เมื่อปี 2548 ซึ่งจากการขุดสำรวจครั้งนั้น คณะเจ้าหน้าที่ได้พบชิ้นส่วนพระพุทธรูป พระพิมพ์ และโบราณวัตถุมากมาย

รวมถึงหลักฐานโบราณสถานอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งนักวิชาการได้วิเคราะห์ว่า "วัดพระยืน" เป็นวัดในสมัยหริภุญไชย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-18 เนื่องจากปูชนียสถานที่ทับซ้อนกันอย่างน้อย 3 ยุค

13 กุมภาพันธ์ 2549 สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ กรมศิลปากร ได้ดำเนินการขุดสำรวจเพื่อตกแต่งโบราณสถานภายในวัดพระยืน เพื่อดำเนินการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ เจดีย์วัดพระยืน ซึ่งจากการขุดสำรวจได้ขุดพบเศียรพระพุทธรูป องค์พระ และโบราณวัตถุ ศิลปะหริภุญไชยจำนวนมาก บริเวณใต้ฐานพระเจดีย์ศิลปะสุโขทัย ด้านหลังวิหารพระเจ้าทันใจ ด้านทิศตะวันตกขององค์พระธาตุเจดีย์ในวัดพระยืน

ทางเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรจึงได้ศึกษาค้นคว้าประวัติของพระพุทธรูปดังกล่าว และพบว่าเป็นพระพุทธรูป ศิลปะหริภุญไชย ราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 ซึ่งศิลปะแบบหริภุญไชยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 ถือว่าเป็นยุคทอง ช่วงที่มีพัฒนาการสูงสุด งานประติมากรรมในช่วงเวลานั้นจะแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม แต่ก็มีลักษณะเฉพาะของตนเอง

พระใบฎีกาบุญญรัตน์ ปัญญาวุฑโฒ เจ้าอาวาส วัดพระยืน ต.เวียงยอง กล่าวว่า หลังจากมีการขุดพบเศียรพระพุทธรูป และโบราณวัตถุดังกล่าวถือเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดลำพูน อีกทั้งยังเป็นพระพุทธรูปที่มีความสวยงาม เก่าแก่ และหาดูยาก

ซึ่งพระพุทธรูปที่มีลักษณะคล้ายกันนี้ ในประเทศไทยมีเพียงองค์เดียวประดิษฐานอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ดังนั้น ทางคณะสงฆ์จังหวัดลำพูน มูลนิธิมงคลญาณมุนีนุสรณ์ และประชาชนจังหวัดลำพูน ได้เกิดแรงศรัทธา และเพื่อต่อยอดงานพุทธศิลป์ที่ขุดพบ จึงได้พร้อมใจกันจัดสร้างพระประธาน และให้ชื่อว่า พระพุทธศักยมุนีศรีหริภุญไชย เพื่อความเป็นสิริมงคล

"จึงได้ขอให้ทางกรมศิลปากรศึกษาร่างต้นแบบของพระพุทธรูปดังกล่าว จากชิ้นส่วนของพระพุทธรูปที่ขุดพบ ซึ่งทางกรมศิลปากรได้ให้นายผสม นาระตะ งานอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรมติดที่ เป็นผู้ร่างต้นแบบ และให้บ้านสวนไม้ไทย ริมปิง จ.ลำพูน เป็นผู้ปั้นองค์พระต้นแบบ" คำบอกเล่าพระใบฎีกา

ประกอบกับปี 2550 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา คณะสงฆ์ ข้าราชการ และประชาชนชาวลำพูน จึงได้ร่วมใจกันจัดสร้าง พระพุทธรูปศิลปหริภุญไชย ขนาดหน้าตักกว้าง 89 นิ้ว หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะ


นอกจากนี้จะได้จะได้หล่อพระพุทธรูปศักยมุนีศรีหริภุญไชย สามกษัตริย์ ขนาด 9 นิ้ว ทูลเกล้าฯ ถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 1 องค์ โดยกำหนดให้ทูลเกล้าฯ ถวายในวันพ่อ 5 ธันวาคม 2550 ส่วนอีก 8 องค์ จะถวายให้แก่ทุกอำเภอในจังหวัดลำพูน เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกันสักการบูชา

พระพุทธรูปศักยมุนีศรีหริภุญไชย เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชร แสดงปางมารวิชัยบนปัทมบัลลังก์ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้พระธรณี ครองจีวรห่มคลุม พระพักตร์ค่อนข้างสี่เหลี่ยม พระขนงโก่งโค้งต่อกันเป็นปีกกา ขอบพระเนตรหลุบต่ำ พระโอษฐ์แย้มสรวลเล็กน้อย มีไรพระมัสสุ พระนลาฏกว้าง มีขอบไรพระศกเป็นหนาเปิด พระศกเวียนทักษิณาวรรต พระเกตุมาลาเป็นดอกบัวตูม พระกรรณยาวจรดพระอังสา ตามลักษณะมหาปุริสลักษณะ

พุทธศาสนิกชนที่อยากจะร่วมทำบุญจัดสร้างพระพุทธศักยมุนีศรีหริภุญไชย สามารถติดต่อขอบริจาคและสั่งจองได้ที่วัดพระยืน โทรศัพท์ 0-5353-0135 08-9268-3638 หรือสามารถโอนเงินผ่านบัญชี วัดพระยืน หมายเลขบัญชี 511-0-34263-6 ธนาคารกรุงไทย สาขาลำพูน

พระพุทธศักยมุนีศรีหริภุญไชย นับเป็นงานพุทธศิลป์ที่มีความสวยงาม และมีความสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรือง ฝีมือของคนในยุคสมัยหริภุญไชย เป็นผลงานหนึ่งจากการสำรวจ ขุดค้นแหล่งโบราณ ภายใต้โครงการศึกษาและพัฒนาเมืองลำพูน สู่มรดกโลก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง