Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ความสุขและความทุกข์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
DM
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2004
ตอบ: 27

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2004, 10:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอความหมายทั้ง 2 คำนี้แบบละเอียดหน่อยครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ลุงสุชาติ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 65

ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2004, 5:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความทุกข์และความสุขที่เกิดขึ้นควบคู่กันเสมอ ในทางโลก เรายินดีพอใจที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ทำให้เรามีความสุข แต่ตามหลักของพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนให้เรารู้จักความทุกข์ ต้นเหตุหรือสมุทัยของความทุกข์นั้น วิธีการขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ หรือ มรรค และผลที่เกิดขึ้นเมื่อได้มีการดับทุกข์แล้ว หรือ นิโรธ

ทุกข์ สมุทัย มรรค นิโรธ เรียกรวมว่า อริยสัจจ์ ๔ ที่พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องนี้ เนื่องจากทรงเห็นว่า เมื่อใดความทุกข์ลดน้อยลง ความสุขก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตตโนมัติ เป้าหมายสูงสุดคือ การดับความทุกข์ให้ได้โดยสิ้นเชิง

ในทางตรงข้าม เมื่อเราได้สิ่งที่ปรารถนาจะโดยวิธีหนึ่งใดก็ตาม เราย่อมจะมีความสุข แต่โดยธรรมชาติ ความสุขที่ได้รับจะไม่คงอยู่ถาวร ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเช่นเบื่อหน่าย หรือ เกิดการสูญเสียสิ่งที่ได้มา ความทุกข์ก็จะเกิดขึ้นมาทันที เช่น เมื่อเราเสพสุรา เที่ยวกลางคืน ได้เสพสุขทางกามกับเพศตรงข้าม เมื่อเหตุการณ์ผ่านไป ความทุกข์ก็จะเกิดขึ้นเช่น เกิดความกังวลว่า เราจะติดโรคเอดส์หรือเปล่า จะเกิดท้องหรือเปล่า?

หนังสือที่สมควรอ่านเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ เรื่อง "ความทุกข์และวิธีการดับทุกข์" โดย อจ.วศิน อินทสระ หรือฟังคำบรรยายของท่านที่บันทึกไว้ในแผ่น CD-MP3 ถ้าสนใจให้เข้าไปติดต่อขอรับได้ในเว็บไซต์ของลุง คือ
http://202.183.235.2/~dabos/
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
DEV
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 155

ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2004, 8:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
DM
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2004
ตอบ: 27

ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2004, 9:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ้ม ขอบคุณมากๆ ครับ

ความสุขก็คือความสุข ไม่ต้องแปลมั้ง

ทุกข์ก็คือทุกข์ รู้ๆ กัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
z
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ต.ค. 2007
ตอบ: 46
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ย.2007, 8:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

....ความสุข ที่แท้ คือความที่หลุดได้จากทุกข์......

....อุปมาเช่น ถูกมัดตรึงกับเก้าอี้ ก้นแทงค์ที่มีน้ำเต็มท่วมมิดหัว ...แล้วสามารถ หาทาง หาวิธี หลุดพ้นออกมาเสียได้....

...ไม่รู้จักทุกข์.....สุข จะหน้าตาเป็นอย่างไร?......

...เห็นทุกข์.....จึงพบธรรม...พบธรรมจึงพบสุข.....
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ย.2007, 6:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดูก่อน ท่านDM
คำถามของท่าน ดังนี้
ความสุขและความทุกข์
ขอความหมายทั้ง 2 คำนี้แบบละเอียดหน่อยครับ

..............................................................................
คำตอบของท่าน ที่ท่านตอบเอง สั้นๆ ดังนี้

ขอบคุณมากๆครับ
ความสุขก็คือความสุข ไม่ต้องแปลมั้ง
ทุกข์ก็คือทุกข์ รู้ๆ กัน

..................................................................................
ท่านลองอ่านพิจารณา คำถาม คำตอบ ของท่าน
แล้วรู้สึกอย่างไร หากผู้อื่น กระทำ ต่อท่านเช่นนี้

ถ้าท่านถามต่อ พระพุทธเจ้า หรือ พระสงฆ์ เช่นนี้ ท่านจะรู้สึกผิดหรือไม่ อย่างไร

เรื่องบางเรื่อง ท่านเห็นว่า เล็กน้อย แต่ข้าพเจ้าถือว่า สร้างอกุศลกรรม ให้กับท่านเอง
จากความว่างเปล่า ไม่มีอะไร กลายเป็นยั่วกิเลส ผู้อื่น ก่อตัวจากเล็ก เป็นโมโห ถึงกับด่าทอ ฆ่าฟันกันได้ เพียงแค่เรื่องเล็กน้อย(ตามที่คิดของท่านเอง) เช่นนั้น จากสุขของท่าน จึงกลับกลายเป็นทุกข์ของท่าน แม้นต้นเหตุเป็นเพียงเรื่องเดียวก็ตาม


ความสุขและทุกข์ จากการพูด จากการเขียน (สัมมาวาจา) จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนที่สุด เรื่องหนึ่ง ที่จะทำให้ทุกข์หรือสุขได้
.....................................................................
ความสุขและทุกข์ ต้องประสบกีบตนเอง จึงจะเข้าใจได้อย่างละเอียด
คนทำดีมาก ๆ มักไม่ค่อยรู้สึกอะไร กับความทุกข์และสุข
แต่สำหรับผู้ที่ตกอยู่ในบ่วงกรรม ทำเลวมาก ทำชั่วมาก เพียงครั้งเดียว ก็รู้สึกทุกข์อย่างแสนสาหัส หรือถึงแก่ความตายได้ทันที(คือ ไม่มีโอกาสได้สำนึก เพื่อได้แก้ตัวทำดีใหม่ได้อีกแล้ว)
สิ่งเหล่านี้ ร่างกายและจิตใจ จะสะท้อนออกมากระทบต่อท่านเอง ทุกข์จนสะท้านไปทั่วตัวก็มี
สิ่งเหล่า จิต ต้องจำไว้ว่านี่คือ ความรู้สึกของจิต เมื่อทุกข์ อย่าได้ทำอีก ทำแล้วเท่ากับสะสมทุกข์แบบนั้นมาก ๆ สะสมมากจนไม่รู้ตัว ด้านชา แก้ไขให้เป็นคนดีไม่ได้ ไม่รับฟังใครว่า สิ่งที่กระทำไป คือ ผิดทางด้านพุทธศาสนา ถ้าไม่เชื่อก็ลองไปสอนนักเลงหัวไม้ ว่าจะเป็นอย่างไร
......................................................................
ทั้งสองสิ่งนึ้ เป็นกิเลส ทั้งสิ้น
จำคำสอนของท่านพระพุทธทาส ได้ว่า ฝึกพิจารณา ของคู่ (หรือ ของที่เป็นสิ่งตรงกันข้าม
หรือ ความเป็นหยินและหยาง ) ดังนี้
สุข สุขมาก จนถึง สุขสุดขั้วด้านหนึ่ง ถือเป็นกิเลส (น่าแปลกใจหรือไม่)
ทุกข์ ทุกข์มาก จนถึง ทุกข์สุดขั้วอีกด้านหนึ่ง ถือเป็นกิเลส(ทุกท่านทราบดี อยู่)
ตรงกลางระหว่าง สุข และทุกข์ จึงยังคงเป็นกิเลส เช่นกัน ไม่ใช่มัชฌิมา(ไม่ใช่ทางสายกลาง)
หากรู้จักอยู่เหนือ คำว่า ทุกข์และสุข ได้ นั้นคือ นิพพาน คือ ไม่ได้ยินดี ยินร้าย ทั้งสุขและทุกข์ แท้จริง ทุกสิ่งในโลก ล้วนเป็นความทุกข์ ไม่มีสุขอยู่เลย แต่โดยคำจำกัดความของมนุษย์เอง จึงมีสุข (กิเลส) หลอก ให้ มนุษย์ เกิดโมหะ หลง วนเวียนเกิดตาย อยู่ตลอดไป

..........................................................................................
ข้าพเจ้าจึงขอเตือนท่าน DM ว่า ขออย่าได้ทำเช่นนี้อีก
การนิ่ง ไม่ตั้งคำถามเช่นนั้น จะเป็นการดีมากกว่า ให้ผู้อื่นตำหนิ
มันเหมือน ลูบหัว แล้ว ตบหลีง เจ็บกว่า ตบหลัง เพียงอย่างเดียว
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ย.2007, 9:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความสุข และ ความทุกข์
DM พิมพ์ว่า:
ขอความหมายทั้ง 2 คำนี้แบบละเอียดหน่อยครับ


ตอบ........
ความหมายของคำว่า ความสุข และ ความทุกข์ นั้น ย่อมสามารถให้ความหมายได้ในหลายสถาน เช่น
ถ้าจะให้ความหมาย ในทาง หลักภาษาไทยแล้วละก้อ

ความสุข หมายถึง ความสบาย ,ความสำราญ ,ความปราศจากโรคภัย (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)

ความทุกข์ หมายถึง ความยากลำบาก ,ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)

แต่ถ้าหากจะให้ความหมายของคำว่า ความสุข และความทุกข์ อันละเอียดลงไปอีก

ความสุข แท้ที่จริง ก็คือ สภาพสภาวะจิตใจ และหรือ สภาพสภาวะทางกาย อันก่อให้เกิดสภาพสภาวะจิตใจ อันสงบ อันไม่คิดสิ่งใด อันมีความสบาย ผ่อนคลายไม่เครียด อารมณ์ดี ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น

ความทุกข์ แท้ที่จริง ก็คือ สภาพสภาวะจิตใจ และหรือ สภาพสภาวะทางกาย กันก่อให้เกิด สภาพสภาวะจิตใจอันไม่สงบ ฟุ้งซ่าน คิดมาก ตึงเครียด ไม่สบายอารมณ์ขุ่นมัว มีแต่ความแค้น อิจฉาริษยา ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง