Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
ธรรมะจากท่านติช นัท ฮันห์
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
pornchokchai
บัวผลิหน่อ
เข้าร่วม: 09 ต.ค. 2007
ตอบ: 4
ตอบเมื่อ: 17 ต.ค.2007, 8:02 am
ดร.โสภณ พรโชคชัย <1>
ประธานกรรมการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย <2>
เมื่อวันอังคารที่ 29 พฤษภาคม 2550 ผมมีโอกาสไปฟังธรรมจากท่านติช นัท ฮันห์ พระนิกายเซ็นชาวเวียดนาม ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จึงขออนุญาตนำเสนอตามความเข้าใจเฉพาะที่ได้ฟัง เพราะผมก็ไม่ค่อยมีพื้นฐานความรู้ทางด้านศาสนา จึงจับความได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ถ้าท่านที่อ่านมีความเห็นเป็นอื่น โปรดชี้แนะด้วยนะครับ
โหมโรง
เริ่มต้นการบรรยายธรรมด้วยการร้องเพลงและนั่งสมาธิ ในส่วนของการร้องเพลงยังมีพระออกมานั่งดีดกีตาร์ และร้องเพลงประกอบ เป็นภาพที่แตกต่างไปจากภิกษุสงฆ์ในประเทศไทย แต่ก็ดำเนินไปด้วยความสำรวมและเป็นการเรียกศรัทธาและสร้างสมาธิ ในทางตรงกันข้ามพระไทยประเภทมาร่วมเล่นสาดน้ำในเทศกาลสงกรานต์อย่างลืมตัว หรืออยู่เมืองนอกเลยขับรถหน้าตาเฉย ก็ยังมีให้เห็น
พระไพศาล วิสาโล <4> ได้กล่าวสรรเสริญท่านติช นัท ฮันห์เกี่ยวกับบทบาทของท่านในการหยุดสงครามเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ผมมีความเห็นต่างในบางประเด็น เช่น
1. สงครามเวียดนามไม่ได้หยุดเพราะท่านติช นัท ฮันห์ แต่หยุดเพราะสหรัฐอเมริกาทนความสูญเสียต่อไปไม่ได้แล้ว (คล้ายกับกรณีญี่ปุ่นที่ยอมในสงครามโลกครั้งที่ 2) และสหรัฐอเมริกาจะทิ้งระเบิดปรมาณู ก็ทำไม่ได้ในสถานการณ์สากลใหม่ จึงจำยอมเลิกทำสงคราม
2. การที่พระเวียดนามประกอบอารยะขัดขืน (civil disobedience) ด้วยการเผาตัวตาย <5> ณ นครโฮชิมินห์ในช่วงสงครามเวียดนาม เป็นความสลดอย่างหนึ่ง แต่คงไม่ได้เป็นแรงบันดาลใจให้ชาวอเมริกันต่อต้านสงครามเท่ากับความสะเทือนใจที่ญาติมิตรของพวกตนไปตายในเวียดนามเป็นจำนวนมาก
3. พระไพศาลอ้างอิงว่าท่านติช นัท ฮันห์ ได้รับการเสนอชื่อให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ดร.มาติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (ผู้ได้รับรางวัลปี 2507) ได้เสนอชื่อท่านจริงเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2510 แต่คณะกรรมการตัดสินว่าไม่ควรมีใครได้รางวัลดังกล่าวในช่วงปี 2509-2510 (ยุคนั้นท่านอาจยังอาจไม่ ดัง เท่าทุกวันนี้) ส่วนปี 2508 และปี 2511 ผู้ได้รับรางวัลนี้คือ องค์การยูนิเซฟที่ช่วยเหลือเด็กทั่วโลก และนายเรเน คาสสิน (Rene Cassin) ประธานศาลยุโรปเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีบทบาทที่กว้างขวางกว่ากรณีเฉพาะประเทศเวียดนาม <6>
อุปมามือซ้าย-มือขวา
ท่านติช นัท ฮันห์ เริ่มต้นแสดงธรรมด้วยการเปรียบเทียบไว้อย่างน่าฟังว่า ท่านเคยพยายามใช้มือซ้ายแปรงฟัน แรก ๆ มือขวาก็ยกขึ้นมาโดยอัตโนมัติเพราะอยากช่วยมือซ้าย แต่ถ้าพยายามแปรงด้วยมือซ้ายไปเรื่อย มือซ้ายก็จะทำได้ไม่แพ้มือขวา มือซ้ายกับมือขวาไม่เคยทะเลาะกัน มือขวาก็ไม่เคยคิดว่าตนดีกว่า หรือเห็นมือซ้ายด้อยกว่า มือซ้ายก็ไม่เคยอิจฉามือขวาหรือรู้สึกด้อย ตอนตอกตะปูหากตอกผิดถูกมือข้างหนึ่ง อีกมือก็จะรีบฉวยอีกมือขึ้นมาด้วยความอาทร เป็นต้น
อุปมาที่ท่านยกขึ้นนี้งดงามดี และก็คงคล้าย ๆ กับขาซ้ายและขาขวา เป็นการสร้างแบบจำลองให้ง่าย (simplify) ให้เข้าใจถึงความรักโดยไม่แบ่งแยก อย่างไรก็ตามอวัยวะบางอย่างในร่างกายของเรา ก็อาจไม่ประสานกันเท่าที่ควร เช่น ลิ้นกับฟัน หรือแม้แต่มือทั้งสองข้างเอง บางทีก็สะบัดขัดกัน เช่น ในช่วงวิกฤติยามขับรถหรือการแสดงศิลปการต่อสู้ เป็นต้น ในความเป็นจริงการจะประสานกันหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับใจของเราเป็นสำคัญ บางทีสั่งอวัยวะสับสน ก็จะเกิดปัญหาได้ และถ้ามือแต่ละข้างไม่ได้ถูกสั่งโดยใจดวงเดียวกัน แต่ต่างมีใจของตนเองในการสั่งแล้วล่ะก็ การประสานกันดังว่าคงไม่เกิดขึ้น
พรหมวิหาร 4
หลักธรรมสำคัญที่ท่านแสดงในค่ำวันนั้นก็คือพรหมวิหาร 4 ซึ่งประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา จะสังเกตได้ว่าธรรมะที่แสดงก็เป็นสิ่งที่รู้ ๆ กันทั่วไป แต่กลเม็ด (gimmick) สำคัญอยู่ที่การอธิบายด้วยตัวอย่างที่กินใจ ท่านพูดว่าบางทีพ่อที่รักลูก แต่ไม่เข้าใจลูก ก็อาจยิ่งทำให้ลูกทุกข์หนัก พ่อที่ดีจึงต้องพยายามเข้าใจความทุกข์ของลูก จึงจะแสดงความรักได้ถูกทาง ถ้าไปกดดันลูกด้วยรัก ก็อาจทำให้ลูกเจ็บปวด ดังนั้นถ้าเราเข้าใจความเจ็บปวดของคนอื่น เราก็จะไม่ทำให้คนอื่นเกิดทุกข์ ท่านยังมีคำพูดที่ลึกซึ้ง ทำนองว่า บางทีเราแปรความรักของเราให้เป็นกรงขัง กลับยิ่งทำให้อีกฝ่ายหายใจไม่ออก
ท่านติช นัท ฮันห์ ใช้ ความรัก ในการอธิบายพรหมวิหาร 4 ซึ่งก็คล้าย ๆ กับคำสอนของท่าน
พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตโต) <7> แต่ที่อธิบายแบบมาตรฐานทั่วไปโดยไม่ปรุงแต่ง (ด้วยความรัก) ซึ่งชาวพุทธพึงยึดถือก็คือ พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่ เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข กรุณา ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี และอุเบกขา การรู้จักวางเฉย <8>
ว่าด้วยการก่อการร้าย
ท่านติช นัท ฮันห์ เคยเชิญทั้งชาวยิวและชาวปาเลสไตน์ไปคุยกันที่หมู่บ้านพลัม ซึ่งเป็นวัดที่ท่านพำนักในประเทศฝรั่งเศส ปรากฏว่าแรก ๆ ทั้งสองฝ่ายก็ไม่ยอมคุยหรือฟังกันและกันนัก แต่ด้วยความพยายามให้เกิดการฟังเชิงลึก (deep listening) การไม่ทุ่มเถียงกันด้วยเหตุผลในทันที การให้โอกาสกันและกันในการเรียนรู้บนพื้นฐานของความรัก ก็กลับทำให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจกันและกันได้ ท่านหวังให้ตัวแทนทั้งสองฝ่ายนี้กลับไปบ้านเกิด ไปเปิดการคุยกันเพิ่มขึ้นเพื่อสันติภาพ แต่ผมคิดว่าคงไม่ได้ผลจริงจัง อาจได้บางส่วน แต่เชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ของทั้งสองประเทศคงไม่ทันได้คุยกันแน่ กว่าจะคุยกันหมดก็คงฆ่ากันตายเป็นเบือแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงประเทศทั้งสองก็มีผู้รักสันติภาพมากขึ้นด้วยตัวเอง ซึ่งคงไม่ใช่เพราะมาฟังท่านติช นัท ฮันห์ แต่เป็นเพราะประชาชนเบื่อหน่ายกับการสู้รบ และแนวโน้มที่นักการเมืองที่เห็นแก่สันติภาพจะได้รับเลือกตั้งก็จะมีมากขึ้น ในฝ่ายประชาชนเอง ก็ยังมีกรณีหนุ่มสาวปาเลสไตน์และอิสราเอลแต่งงานกันเองทั้งที่ต่างชาติและศาสนา <9>
ท่านบอกว่า หลังเกิดเหตุการณ์ถล่มตึก World Trade Center 2 วัน ท่านไปแสดงปาฐกถาให้ชาวอเมริกันที่นับถือพุทธประมาณ 4,000 คนฟัง พยายามชี้ให้ชาวอเมริกันได้ทบทวนว่า อเมริกันได้ทำอะไรลงไป จึงต้องโดนอย่างนี้ ท่านบอกว่าชาวอเมริกันส่วนใหญ่ไม่ฟัง จึงเกิดสงครามอิรัก แต่ความจริงสงครามอิรักเกิดเพราะรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลต่างหาก และที่สำคัญก็คือ การที่รัฐบาลอเมริกันไปทำอะไรไม่ดีไว้ ก็ไม่ได้เกี่ยวกับประชาชนอเมริกัน ยังไงเสียคนที่ไม่มีญาติมิตรที่ตายในเหตุการณ์นี้ ก็คงไม่เข้าใจถึงความเจ็บปวดของความสูญเสียมากนัก
ภาคใต้ของไทยทำไงดี
ท่านยังมีข้อเสนอแนะในกรณีภาคใต้เช่นเดียวกับกรณียิวและปาเลสไตน์ คือ การชี้ให้เห็นว่าเราเคยอยู่ร่วมกันอย่างสันติมานาน ต่อไปในอนาคตก็คงอยู่ร่วมกันเช่นนี้ได้ และควรให้มีกิจกรรมการฟังเชิงลึก ถ้าเราทำผิดตรงไหน ก็ควรขอโทษ (เช่น ถ้าข้าราชการไทยไปล่วงเกินชาวมุสลิม หรือในทางตรงกันข้าม) ข้อนี้สงสัยท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อาจไปฟังท่านมาล่วงหน้าหรือเปล่าก็ไม่ทราบจึงไป กล่าวขอโทษประชาชนแทนเจ้าหน้าที่-รัฐบาลชุดที่แล้ว และเผา black list โจรใต้มาครั้งหนึ่งแล้ว <10>
ในเชิงกลยุทธ ผมเห็นว่าควรมีการประชุมผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้บ่อย ๆ เพื่อรับฟังความเห็นและเป็นการเกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งเป็นการหาแนวทางขจัดความทุกข์ของประชาชน ความจริงควรนำกรณีศึกษาของผู้สูญเสียมาให้การศึกษาแก่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะกรณีที่ผู้บริสุทธิ์ถูกฆ่าตายแทบทุกวันทั้งจากฝีมือโจรใต้และข้าราชการเพื่อให้เห็นความทุกข์ (แต่ไม่ใช่แค้น) และถือเป็นการเปิดโอกาสให้มีทางออก ให้เสียงของประชาชนได้ยินโดยคนส่วนใหญ่และผู้มีอำนาจในบ้านเมือง ทำให้เกิดพลังประชาชนในการร่วมหยุดยั้งความรุนแรง
อย่างไรก็ตาม คำพูดที่ว่า ยิ่งฆ่าผู้ก่อการร้าย ยิ่งเพิ่มจำนวน ข้อนี้จะเป็นจริงก็ต่อเมื่อ ผู้ก่อการร้าย ยืนอยู่ข้างความเป็นธรรม เช่น กรณีการขยายตัวของกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทยในอดีต หาไม่ ก็คงไม่เพิ่มขึ้น กลับจะทำให้โจรหัวหดอีกต่างหาก เช่นกรณีพ่อค้ายาเสพติดหรือโจรห้าร้อยทั่วไป ดังนั้นถ้ารัฐบาลสามารถสร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โอกาสที่สันติภาพจะกลับคืนมาก็คงมี และอย่าลืมว่า ตบมือข้างเดียว คงไม่ดัง ของทุกอย่างมักมีเป็นคู่ เช่น มีการใช้พระคุณก็ต้องใช้พระเดชคู่ไปด้วย นอกจากนี้ยังต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ และปฏิบัติการทางจิตวิทยา (ที่จริงใจ) ในการเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ก็เป็นสิ่งที่ขาดเสียมิได้
หลุดพ้นได้กี่คน
การเข้าหาศาสนาไม่ว่าในฐานะเพื่อบำบัดจิต เพื่อทำดีต่อโลก หรือเพื่อการเสพศาสนาทั่วไปนั้น มีความปิติอยู่ ความสง่างามจากความเรียบง่าย ความช้า ความสงบ สบายเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของการฟังธรรม แต่จะสังเกตได้ว่า ธรรมะที่แสดงนั้นมักเป็นเรื่องง่าย ๆ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจ เมื่อเดือนมกราคม 2550 ผมก็ได้มีโอกาสไปฟังธรรมะของท่านภิกษุณีเท็นซิน พัลโม ซึ่งมาจากสำนักทิเบต ท่านก็จับเรื่องทานบารมีมาแสดง <11> โดยนัยนี้อาจกล่าวได้ว่าชาวบ้านทั่วไปคงยากที่จะเข้าถึงธรรมะที่ลึกซึ้ง
คนที่จะมาฝึกฟังเชิงลึกจนสามารถปฏิบัติตามพรหมวิหาร 4 นั้น คงเป็นคนส่วนน้อยที่พิเศษ ยากที่คนส่วนใหญ่จะยึดถือปฏิบัติได้ การฟังก็ได้พบเหตุผลเข้าท่า น่าจูงใจให้ปฏิบัติดี แต่การน้อมใจปฏิบัติให้ได้ คงเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ทำไม่ได้ เข้าทำนอง Exception cannot be made norm หรือไม่ หรือว่าการบรรลุธรรมนั้นเป็นธรรมชาติของการคัดสรรคนส่วนน้อย คนส่วนใหญ่ยังไงก็คงเข้าไม่ถึง จะให้คนส่วนน้อยนี้ไปเผยแพร่ถึงคนส่วนใหญ่ ก็คง กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้ หรือไม่ ในรอบ 2,550 ปีมานี้ คนที่บรรลุธรรมคงมีจำนวนเป็นแค่ธุลีของคนที่เวียนว่ายตายเกิดนับแสนล้านคน
โดยสรุปแล้ว ผมก็มีความสุขที่ได้ไปฟัง (เสพ) ธรรมะจากท่านติช นัท ฮันห์ ได้นำมาเป็นข้อคิด นับเป็นบุญที่ได้สัมผัส (ไกล ๆ) ด้วยสายตาตนเอง และแน่นอนก็คงต้องพยายามนำมาใช้และใช้อย่างต่อเนื่องไม่ปล่อยวางกับธรรมะที่ท่านได้ถ่ายทอดมาจากคำสอนขององค์ศาสดา - พระพุทธเจ้า
หมายเหตุ:
<1> ดร.โสภณ พรโชคชัย เป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สินและนักวิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์ ขณะนี้ยังเป็นกรรมการหอการค้าไทย สาขาอสังหาริมทรัพย์ ผู้แทนสมาคมประเมินค่าทรัพย์สินนานาชาติ (IAAO) ประจำประเทศไทย และกรรมการบริหาร ASEAN Association for Planning and Housing Email:
sopon@thaiappraisal.org
<2> มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่มุ่งให้ความรู้แก่สาธารณชนด้านการประเมินค่าทรัพย์สิน อสังหาริมทรัพย์และการพัฒนาเมือง ปัจจุบันเป็นองค์กรสมาชิกหลักของ FIABCI ประจำประเทศไทย ถือเป็นองค์กรเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่มีกิจกรรมคึกคักที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยจนได้รับความเชื่อถือจากนานาชาติ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.thaiappraisal.org
<3> โปรดดูประวัติโดยสังเขปของท่านติช นัท ฮันห์ ได้ที่:
http://www.thaiplumvillage.org/plum_abount_p1.html
หรือที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Nhat_Hanh
<4> พระไพศาล วิสาโล มีรายละเอียดปรากฏ ณ
http://www.thaingo.org/man_ngo/paisan.htm
และ
http://www.geocities.com/siamintellect/intellects/pisal/biography.htm
<5> ดู อารยะขัดขืนที่
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%B7%E0%B8%99
และดูภาพพระ Quic Van Doc เผาตัวเองเพื่อพยายามหยุดสงครามเวียดนามเมื่อปี 2506 และกรณีที่คล้ายกันอื่น ๆ ได้ที่
http://www.francesfarmersrevenge.com/stuff/archive/oldnews2/selfimmolation.htm
<6> โปรดดูรายละเอียดเกี่ยวกับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพและผู้ได้รับรางวัลที่
http://nobelpeaceprize.org/eng_lau_list.html
<7> พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตโต) (http://www.dhammathai.org/monk/sangha10.php) อธิบายเรื่องพรหมวิหาร 4 ไวี้ที
http://www.nkgen.com/352.htm
<8> โปรดดูเพิ่มเติม
http://www.learntripitaka.com/scruple/prom4.html
<9> โปรดอ่านข่าว Jewish reversion to Islam
http://www.letswrite.net/jewish-reversion-to-islam
และข่าว A love under fire:
http://www.guardian.co.uk/israel/Story/0,2763,966226,00.html
<10> โปรดอ่านข่าว "พล.อ.สุรยุทธ์" กล่าวขอโทษประชาชนแทนเจ้าหน้าที่-รัฐบาลชุดที่แล้ว
http://www.komchadluek.net/2006/specialreport/sn/sn.html
<11> ตีพิมพ์ใน วารสารมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ฉบับ มกราคม กุมภาพันธ์ 2550 หน้า 24-25 หรือดูได้ที่
http://www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market141.htm
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
ตอบเมื่อ: 17 ต.ค.2007, 9:08 pm
สาธุค่ะ
คุณ pornchokchai
เรียบง่าย แต่ลุ่มลึก บนมรรควิธีแห่งอหิงสาธรรม
เป็นแนวทางการแสดงธรรมของ
ท่านติช นัท ฮันห์
เสมอค่ะ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 19 ต.ค.2007, 10:45 pm
สาธุ สาธุ สาธุค่ะ...คุณ pornchokchai
ขอบคุณสำหรับธรรมะดีดี...ที่นำมาฝากนะคะ
อนุโมทนาบุญที่มีโอกาสไปฟังธรรมกับท่านติช นัท ฮันห์ค่ะ
ถ้าเราเข้าใจความเจ็บปวดของคนอื่น เราก็จะไม่ทำให้คนอื่นเกิดทุกข์ ท่านยังมีคำพูดที่ลึกซึ้ง
ทำนองว่า “บางทีเราแปรความรักของเราให้เป็นกรงขัง กลับยิ่งทำให้อีกฝ่ายหายใจไม่ออก”
ธรรมะสวัสดีวันพระค่ะ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th