Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ทำวัตรสวดมนต์แบบชาวพุทธ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ไอธรรมไอที
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 12 ธ.ค. 2004
ตอบ: 28

ตอบตอบเมื่อ: 23 ธ.ค.2004, 3:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พุทธศาสนา

เป็นศาสนาแห่งการกระทำ ไม่ใช่ศาสน์แห่งการบวงสรวงอ้อนวอน บนบานศาลกล่าว หากเป็นศาสน์แห่งปัญญา อันเป็นปัญญาที่เกิดขึ้นจากการกระทำ ตามคำสั่งสอนที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ซึ่งปัญญาเองจะเป็นสิ่งที่พัฒนาจิตใจมนุษย์ให้พ้นจากความหลงหรืออวิชชา อันเป็นเหตุของความทุกข์ทั้งปวงของชีวิต

ทำวัตร

ในที่นี้หมายถึง การกระทำโดยต่อเนื่องเป็นกิจวัตรซึ่งเป็นการฝึกหัด อันจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางจริตนิสัยและเป็นหนทางให้เกิดคุณธรรมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น ความขยัน ความอดทน ความสำรวมระวัง ความตั้งมั่นแห่งจิตและความรู้แจ้งในสัจธรรม เป็นต้น

สวดมนต์

หมายถึง "การศึกษาเล่าเรียน" คำว่า "ศึกษา" ในทางพระพุทธศาสนาครอบคลุมไปถึงการปฎิบัติด้วย คือ เมื่อยังไม่รู้ก็เรียนให้รู้ ฟังให้มากท่องจำพิจารณาไตร่ตรองสิ่งที่ได้เรียนลงความเห็นว่าสิ่งใดถูกต้อง สิ่งใดดีงาม แล้วก็ตั้งใจปฏิบัติตามนั้นไป การทำวัตรสวดมนต์ ที่จะให้ผลดีแก่ผู้กระทำนั้น ต้องระรึกให้ถูกต้องว่า ไม่ใช่การปวงสรวงอ้อนวอน หรือไปคิดแต่งตั้งให้พระพุทธองค์ตลอดจนพระธรรมและพระสงฆ์เป็นผู้รับรู้และเป็นผู้ที่จะบันดาลสิ่งที่ตนปรารถนา ซึ่งจะกลายเป็นการกระทำที่ใกล้ต่อความงมงายไร้เหตุผล อันมิใช่วิสัยที่แท้จริงของชาวพุทธ การทำวัตรสวดมนต์ ควรทำในลักษณะของการภาวนา คือ ทำกุศลธรรมหรือสิ่งที่ถูกต้องดีงามให้เจริญขึ้น และทำในลักษณะของการศึกษาเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา

การทำวัตรสวดมนต์ เมื่อทำด้วยความเคารพสำรวมระวังบังคับกายกิริยามารยาทให้เรียบร้อยเป็นปกติ วาจากล่าวในสิ่งที่ถูกต้องดีงามส่วนนี้จัดเป็น"ศีล"

ขณะสวดมนต์ ตั้งจิตจดจ่ออยู่ในเนื้อหาและความหมายของบทธรรม ทำให้จิตทิ้งอารมณ์ต่างๆ มาสู่อารมณ์เดียวที่แน่วแน่ ขณะเช่นนั้นจัดเป็น "สมาธิ" การมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติสัมปชัญญะซาบซึ้งอยู่ในบทธรรม และเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งส่วนนี้คือ "ปัญญา"

ขณะทำวัตรสวดมนต์ เมื่อตั้งใจศึกษา แก้ไข้ปรับปรุงเปลี่ยนความคิดความเห็นให้เป็นไปตามธรรมะที่ท่องบ่นอยู่จนในขณะนั้น จิตใจเกิดความผ่องใส สงบ เยือกเย็น เป็นสภาวะธรรมะปรากฏขึ้นในใจของเราปรากฏการเช่นนี้ ก็จะคล้ายกับว่า เราได้พบกับพระพุทธองค์ เพราะธรรมะคือพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ที่แท้จริงคือ ธรรมะ ดังที่ท่านตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา

ดังนั้นการศึกษาธรรมะในขณะทำวัตรสวดมนต์ หากไม่ทำด้วยใจที่เลื่อนลอยหรือจำใจทำแล้ว หากแต่กระทำด้วยสติปัญญา ตั้งใจเรียนรู้ไตร่ตรองตามเหตุผล แล้วนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ย่อมเป็นบ่อเกิดแห่งการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ จากใจที่สกปรกไปสู่ใจที่สะอาด จากใจที่มืดมัวไปสู่ใจที่สว่าง และจากใจที่เร้าร้อนไปสู่ใจที่สงบในที่สุด อันเป็นสภาวะจิตใจที่พ้นทุกข์ดังเช่นที่ พระพุทธองค์ได้ทรงกระทำให้เราได้เห็นเป็นตัวอย่างแล้ว



คัดมาจากหนังสือ ทำวัตรสวดมนต์ วัดแพร่ธรรมมาราม อำเภอ เด่นชัย จังหวัดแพร่
 

_________________
ดีใดไม่มีโทษดีนั้นชื่อว่าดีเลิศ
ทำตนให้เป็นที่พึ่งได้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 ธ.ค.2004, 4:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มนต์ไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน
มีพระภิกษุรูปหนึ่งเคร่งครัดการสาธยายมนตร์มาก บวชมา 64 พรรษาแล้ว
เข้าใจว่าอายุพรรษาในพระธรรมยุติอยู่ในอันดับ 4 ของประเทศ
หลวงตามหาบัว และหลวงปู่เหรียญ มีอายุพรรษามาก

พระภิกษุรูปนี้วินัยเคร่งครัดมาก ตรงไปตรงมา สวดมนต์ภาษามคธเพราะมาก และสวดออกเสียงอักขระถูกต้อง แตกฉานภาษาบาลีมาก สามารถแยกศัพท์พยัญชนะอธิบายอรรถะที่ซับซ้อนได้ในการอธิบายธรรม

พระรูปนี้เวลาเทศน์แยกศัพท์บาลี เพื่ออธิบายธรรมอย่างลึกซึ้ง ท่านต้องอ้างอิงภาษาบาลีทุกครั้ง และแยกศัพท์ออกมาจนเป็นอรรถะที่น่าอัศจรรย์มาก

ท่านเทศน์ที่วัดของท่าน มีคนฟังคนเดียวท่านก็เทศน์ สองคน สามคน จนถึงสามสี่สิบคนท่านก็เทศน์ แต่ท่านไปเทศน์ที่กรุงเทพมีคนฟังหลายร้อยคน

พระรูปนี้กิตติศัพท์ท่านว่ากันว่าพระในกรุงต่างเกรงกันหมด ว่ากันว่าพระวัดบางวัดอาจไม่ค่อยเรียบร้อยเวลานั่งรวมกันเป็นร้อยมักมีเสียงคุย เมื่อพระรูปนี้ไปเยือนวัดนั้น ท่านพรรษามากนั่งหัวแถว พระทุกรูปจะนั่งกัน เงียบกริบ เมื่อท่านกลับมาที่วัดของท่านก็จะชมว่าพระที่วัดแห่งนั้นที่ท่านไปมีความเรียบร้อยดีมาก

แต่คนที่อยู่ที่วัดนั้นมาเล่าให้ฟังว่า ไม่มีใครกล้าคุย เพราะกลัวท่านดุ กิตติศัพท์ท่านใครๆก็กลัวทั้งนั้น โดยเฉพาะการสวดมนต์ ถ้าออกเสียงไม่ถูก ท่านจะให้สวดซ้ำ แม้แต่เสียง น. กับ ณ. ยังออกเสียงไม่เหมือนกัน สระเสียงสั้นไปออกเสียงยืดหรือยาวก็ไม่ได้

บทสวดสังฆคุณที่ว่า "อัญชลีกรณีโย" ท่านก็ว่าออกเสียงผิด ต้องออกเสียง "อัญชลืกรณีโย" คือ "ลิ" จะไปออกเสียงเป็น "ลี" ไม่ได้ ออกเสียงเป็นสระอิ ไปดูในหนังสือเอกเทศสวดมนต์แล้วเป็นอย่างนั้นจริง อัน ชะ ลิ กะ ระ นิ โย

ออกเสียง "อัญชลี" จึงผิด ต้องเป็น "อัญชลิ"

เวลาสวดมนต์เสียงสั้น ต้องวรรคหรือตัดขาด จึงออกเสียงคำต่อไป ท.เป็น ด. พ.เป็น บ. อย่าง นะโม ต้องออกเสียงว่า "หนะ โม" ถ้าออกเสียง นะโม ท่านว่าต้องเขียน "ณะโม" จึงออกเสียงอย่างนั้น

ท่านว่าเสียงภาษามคธที่ถูกต้อง รู้ด้วยการฟัง ถ้าออกเสียงผิด ความหมายก็ผิดไปด้วย ดังนั้นจึงต้องออกให้ถูก

และผมไม่เคยเห็นพระแม้แต่รูปเดียว ที่มาเยี่ยมวัดของท่านสวดมนต์ตามแบบที่ถูกต้องได้เลย แต่ท่านได้รับการสอนมาอย่างนั้น และรักษาต้นแบบการสวดมนต์แบบธรรมยุติไว้ได้ ท่านอายุ 84 จะเข้า 85 แล้ว

ต่อไปการสวดมนต์แบบธรรมยุติที่ถูกต้องด้วยสำเนียง อักขระ ตามหลักภาษาคงจะหายไปแน่ๆ
 
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 23 ธ.ค.2004, 10:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ สาธุด้วยครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ปีนัง
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 22 ธ.ค. 2004
ตอบ: 6

ตอบตอบเมื่อ: 24 ธ.ค.2004, 6:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ช่วงนี้ไม่ค่อยได้สวดมนต์เลย
จิตก็ฟุ้งซ่านไปใหญ่ทำอย่างไรดี
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง