ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
22 ก.ย. 2007, 8:53 pm |
  |
ศาสนาเสื่อมโทรม เพราะความไม่รู้
--------------------------------------------------------------------------------
พระพุทธศาสนา สอนเรื่องสัจจะธรรม เป็นของจริง พิสูจน์ได้ ทดลองได้ เห็นจริงชาตินี้ ไม่ต้องรอชาติหน้า
สิ่งทั้งหลายล้วนเป็นสิ่งสมมุติ แม้แต่พระสงฆ์ ก็เป็นสมมุติสงฆ์ เงินทอง ลาภยศ ก็ล้วนแต่สมมุติ
ดังนั้น ท่านต้องการจะได้อะไร ก็สมมุติเอาได้ทุกอย่างซึ่งทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า " อธิษฐาน "
พระภิกษุสงฆ์ ก็ย่อมต้องผ่านการอธิษฐานมากกว่าพุทธบริษัทใด เพราะต้องอธิษฐานผ้า อธิษฐานพรรษา อธิษฐานเสมา ฯลฯ ล้วนแต่เป็นเรื่องอธิษฐาน หรือ สมมุติทั้งสิ้น
ท่านที่เป็นฆราวาส ก็ผ่านการอธิษฐานมาแล้ว ทั้งสิ้น อธิษฐานขอให้ได้โน่นได้นี่... ได้มั่ง ไม่ได้มั่ง...
ถามว่า การอธิษฐาน เป็นประเพณีของพระพุทธศาสนา หรือ เป็นความเชื่อลม ๆ แล้ง ๆ ที่หลอก ๆ กันไป ทำตามกันไป.... คงไม่ใช่แน่
.... เพราะตามความเป็นจริงแล้ว การอธิษฐาน จะต้องได้ตามปรารถนาทุกครั้ง ได้ทุกอย่างที่ต้องการ ถ้าท่านทำถูกวิธี เพราะทุกอย่างในโลกนี้ล้วนอยู่บนการสมมุติทั้งสิ้น (ยกเว้นนิพพาน=สมมุติไม่ได้เพราะเป็นสัจจะธรรม เหนือสมมุติ) ดังนั้น สิ่งใด ๆ ย่อมไม่เหลือบ่ากว่าแรง ที่จะสมมุติเอาได้ทุกสิ่งทุกอย่าง...นี่คือเรื่องจริง
พระพุทธศาสนาอยู่รอดมาจนกระทั่งถึงเราทุกวันนี้ ก็ด้วยเอกลักษณ์พิเศษ คือใครอยากได้อะไรก็นึกเอา ปรารถนาเอา เรียกว่าอธิษฐานเอา แล้วก็ได้ แต่... ปัจจุบัน ทำไมเราอธิษฐานแล้ว จึงไม่ได้ตามต้องการ....
อ่านบทความตาม Link นี้
http://www.komcome.net/kasina1.html
อาจช่วยเสริมสิ่งที่ขาด สะกิดสิ่งที่ลืม หรือ เตือนให้รู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้ ได้ในชั้นต้น ที่จะใช้ในการอธิษฐานของคุณครั้งต่อไป
-------------------------------------------------------------------------
ข้อความด้านบนนี้เป็นแบบอย่างของความเสื่อมแห่งศาสนา เพราะความไม่รู้ แล้วไม่ศึกษา แล้วยังเขียนมั่ว คิดไปว่า ศาสนาคือสิ่งสมมุติ
คำว่า"สมมุติสงฆ์ " ไม่ใช่หมายความว่า สมมุติว่าเป็นพระสงฆ์ แต่มีความหมายว่า "พระสงฆ์ที่ไม่ใช่พระพุทธองค์บวชให้"
ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ใช่สิ่งสมมุติ เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง ได้ถูกตั้งชื่อ ได้ถูกตั้งความหมาย จนคนทั้งโลก รู้ และยอมรับแล้วว่า สิ่งเหล่านั้นคือสิ่งที่มีอยู่จริง สิ่งสมมุติคือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง หรือยังไม่เกิดขึ้น
ผู้ที่เขียนบทความข้างต้นนั้น" ถ้าได้เข้ามาอ่านก็ให้ทำความเข้าใจใหม่ แล้วก็อย่าได้เขียนแบบเพ้อเจ้อ ไม่รู้แล้วยังดันทุรังเขียนทำให้เกิดความรู้ที่ผิดๆ ศาสนาก็เสื่อม ศาสนาก็ถูกบิดเบือน เพราะความไม่รู้แต่อยากดังนั่นแล
คำว่า เสื่อม หมายถึง เสียไป ,ค่อยหมดไป ,หย่อนสมรรถภาพลง,หรือโทรมลง (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)
ศาสนาเสื่อม ก็หมายความว่า ศาสนาเสียไป ศาสนาค่อยหมดไป ศาสนาหย่อยสมรรถภาพลง หรือศาสนาโทรมลง
หากยังมีบุคคลที่ไม่มีความรู้อย่างแท้จริง หรือบางบุคคลก็แอบแฝงเข้ามาในศาสนาเพื่อทำลายความเชื่อทำลายความรู้ที่ถูกต้องทางศาสนา
ก็ย่อมทำให้ศาสนาค่อยหมดไป โทรมลง
บุคคลที่แอบแฝงเข้ามาในศาสนาแล้วทำลายความรู้ที่ถูกต้องมีอยู่มาก และตัวอย่างก็มีให้เห็นแล้วข้างต้นขอรับ
แล้วตัวคุณเป็นสิ่งสมมุติกระนั้นหรือ บิดา มารดาของคุณ ญาติพี่น้องของคุณเป็นสิ่งสมมุติกระนั้นหรือ แล้วคอมพิวเตอร์ที่คุณเล่นอยู่ก็เป็นสิ่งสมมุติหรือ
"สมมุติ" มีความหมาย ตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ว่า "ยอมรับตกลงกันเองโดยปริยาย โดยไม่คำนึงถึงสภาพที่แท้จริง"
ธรรมดาของมนุษย์ มักมีความคิดว่าความคิดของตัวเองนั้นถูกต้อง โดยไม่มีบรรทัดฐาน ที่เป็นไปตามหลักธรรมชาติ หลักวิทยาศาสตร์ หลักตรรกวิทยา และอื่นๆ
ถ้ามีความคิด มีความรู้เป็นไปตาม หลักการต่างๆที่ได้กล่าวไป ก็คงไม่ต้องมานั่งอธิบายให้มากความดอกนะ
แล้วก็หัดใช้หลักวิทยาศาสตร์ ซะบ้างว่า หลักวิทยาศาสตร์นั้น สิ่งที่สมมุติขึ้นมานั้น มีความหมายว่าอย่างไร
หัดเรียนรู้ หลักพีชคณิตซะบ้าง จะได้รู้ว่า สิ่งที่สมมุตขึ้นมานั้น สามารถนำไปสร้างอะไรต่อมิอะไรได้ไม่รู้จบ
ก็บอกแล้วว่า สิ่งที่สมมุติ คือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง คือสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
แล้วดันบอกว่า ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาว่าด้วยการสมมุติ มันทำลายศาสนาบิดเบือนชัดๆ
มนุษย์ต้องมีทุกข์ เป็นสิ่งสมมุติหรือ
มนุษย์ ล้วนเกิดทุกข์ จากเหตุของทุกข์ เป็นสิ่งสมมุติหรือ
มนุษย์ ล้วนมีเหตุอันทำให้ถึงความดับทุกข์ เป็นสิ่งสมมุติหรือ
มนุษย์ ล้วนมีหนทางแห่งความดับทุกข์ เป็นสิ่งสมมุติหรือ
ใช้สมองของคุณ ขอเน้นว่า ใช้สมองของคุณคิดพิจาณาดูเถิด
การเกิด แก่ เจ็บ ตาย
ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ น้ำขึ้น น้ำลง เป็นสิ่งสมมุติด้วยหรือขอรับ
ในเมื่อคุณและอีกหลายๆคน ยอมรับนับถือ ศาสนาพุทธแล้ว ไม่ว่าจะด้วยนับถือตามบรรพบุรุษ หรือด้วยความศรัทธาในพุทธศาสนา ก็ควรได้มีสมองสติปัญญา พิจารณาตามหลักการแห่งศาสนาพุทธ
ผู้ที่เขียนบทความดังกล่าวข้างต้น ไม่ใช่ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ เพราะเขากำลังทำลายศาสนาด้วยความรู้เท่าไม่ถึงกาล หรืออาจจะรู้แต่จงใจจะกระทำ ก็ไม่ทราบได้ ฉะนี้
(กรุณาอ่าน โดยใช้วิจารณญาณ ตามหลักเหตุและผล )
หลักความจริงในทางพุทธศาสนาที่แท้จริง ย่อมต้องสอนให้เราหรือทุกคนมองดูตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก เพราะถึงแม้ว่า ศาสนาจะไม่สอนให้มองดูตัวองก่อนเป็นอันดับแรก
ธรรมชาติของมนุษย์ มนุษย์ย่อมมองดูตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก
มองดูอย่างไรกันละที่ว่ามองดูตัวเอง
เขาทั้งหลายเหล่านั้นจะมองดูตัวเอง ว่าทำถูกหรือทำผิด แต่ไม่ว่าทำถูกหรือทำผิด คนส่วนใหญ่ก็มักจะเข้าข้างตัวเองว่าทำถูกอยู่แล้วจริงไหม นี้เป็นการยกตัวอย่างให้เห็นเพียงเล็กน้อยว่า ธรรมชาติของมนุษย์ แม้ไม่ได้เรียนศาสนา หรือไม่ได้นับถือศาสนา พวกเขาเหล่านั้น ก็จะมองดูตัวเองก่อนเสมอ แล้วถึงจะมองดูผู้อื่น การมองดูตัวเองในที่นี้ หมายถึง การคิดถึงแต่ตัวเองมาเป็นอันดับแรกนะขอรับ
อันต้นไม้ ถ้าไม่มีรากแก้ว และรากฝอยก็ไม่ชอนไช หาน้ำมาหล่อเลี้ยงลำต้นและกิ่งใบ ไม่นานนัก เมื่อถูกลมฝน หนักเข้า ก็ย่อมต้องโค่นล้มไป หรือกิ่งใบย่อมต้องถูกพวกแมลงกัดกินเป็นธรรมดา
เปรียบศาสนาก็เช่นกัน หากศาสนาไม่มีรากแก้ว คือไม่มีหลักธรรมะอันเป็นหลักใหญ่ที่ดีมั่นคง ครอบคลุมจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นหลักความจริงแล้ว ศาสนานั้นๆ ก็ย่อมเสื่อมโทรม เสื่อมทรามไปเป็นธรรมดา
หรือจะกล่าวอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ ถ้ารากและลำต้นไม่ดี ไม่แข็งแรง กิ่งใบ ก็ย่อมเสื่อมโทรมไม่แข็งแรงตามไปด้วย ฉะนี้
ความเสื่อมโทรมของศาสนาพุทธ อันเกิดจากความไม่รู้แล้ว ยังเกิดจากความอวดรู้ของกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม ที่มักนำเอาเผยแพร่โดยที่ตัวเองไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีจริงเป็นจริง อีกทั้งยังไม่สามารถปฏิบัติแล้วได้ผลในระดับใดระดับหนึ่ง เช่น พวกที่เอาเรื่องกสิณบ้าง เรื่องฌาน(ชาน)บ้าง มาเสนอต่อสาธารณะชนทางเวบฯต่างๆนั้น ล้วนก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของศาสนาทั้งสิ้น เพราะเรื่องกสิณนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย และยังไม่มีผู้ใดฝึกได้สำเร็จชนิดที่เรียกว่า "เรียกฝน เรียกลม หรือห้ามฝน ห้ามลม" หรือจะให้พระอาทิตย์สาดแสงแรงกล้า หรือให้เมฆมาบังแสงหรือให้พระอาทิตย์หรี่แสง" ยังไม่มีนะขอรับ
ส่วนเรื่อง ฌาน(ชาน) นั้นก็เป็นเพียงผลแห่งการปฏิบัติสมาธิ ที่จะรู้ก็ได้ไม่รู้ก็ได้ ถ้ามัวสนใจว่าอยู่ในฌานขั้นไหน ก็ไม่มีการก้าวหน้าอย่างเด็ดขาด เพราะมัวติดหลงอยู่กับสภาพสภาวะจิตใจของตัวเอง
การหลุดพ้นหรือการขจัดอาสวะหรือขจัดกิเลสนั้น มันอยู่ที่สมาธิ และความรู้ เท่านั้น ส่วน"อภิญญา" นั้น เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยหลักวิชาการอย่างมากมาย ไม่ใช่จะเกิดมีขึ้นได้ง่ายๆ
และต้องขออภัยต่อเวบฯมาสเตอร์ทุกท่าน ที่อาจจะดูเหมือนเป็นการกล่าวกระทบ ถึงพวกท่าน ก็ต้องขอบอกไว้ว่า จำเป็นต้องเตือน เพื่อจะได้สร้างในขั้นต่อไป |
|
|
|
  |
 |
bad&good
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115
|
ตอบเมื่อ:
22 ก.ย. 2007, 10:30 pm |
  |
ขออภัยที่ต้องมาตอบ ในหัวข้อนี้
ความจริงข้าพเจ้าก็ไม่เชี่ยวชาญนัก ในเรื่องนี้
เมื่ออ่านแล้ว ก็เห็นว่า ท่านมีความเห็นที่ดีบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง
การอ่านหนังสือ ต้องอ่านให้หมดเล่ม จึงจะเข้าใจได้ว่า โดยภาพรวม เขาดีหรือไม่ มีเจตนาอย่างไร
....................................................................
พระสงฆ์ซึ่งยังไม่บรรลุขั้นอรหันต์ เป็นเรื่องที่ไม่แปลกนัก ที่เสนอความคิดเห็นแล้ว ผิดพลาดไปบ้าง (ถ้ามัวแต่จับผิด ประโยค จับผิดพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง จับถูกไม่เคยจะจับ เหมือนเที่ยวหาหนวดเต่า ตายเปล่าเลย ตามคำสอนของ พระพุทธทาส เช่นนั้น ) เหมือนจะติดในสังโยชน์ 10 ในเรื่องของ "มานะ" (ความรู้สึกว่า เขาเก่งกว่า เขาด้อยกว่า จึงทำให้ตนเองปฎิบัติไม่คืบหน้า เพราะมัวแต่สนใจผู้อื่น ไม่ได้สนใจตนเอง เช่นนั้น ที่ต้องแปล เกรงว่า จะกล่าวอ้างถึงพจนานุกรมไทย)
ดังนั้น เมื่อเห็นพระสงฆ์ พยายามทำดีแล้ว ข้าพเจ้าเห็นว่า เป็นเรื่องที่ต้องให้อภัย ถ้ารับไม่ได้ ก็น่าจะติดต่อโดยตรงกับทางเว็บนั้น แจ้งประสงค์โดยดี ให้พระรูปนั้น ได้รับทราบ เพื่อปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม ถือเป็นกุศลกรรมต่อท่าน
แต่สำหรับข้าพเจ้า มิบังอาจ
......................................................................
คำว่า "สมมุติ" ในข้อแสดงความคิดเห็น ณ ที่นี้
เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้า ติดใจ เพียงอย่างเดียว
สมมุติ นี้ ถ้าเปิดอ่านคำแปลใน พจนานุกรรมไทย ก็หมดท่า สำหรับพระสงฆ์เลยทีเดียว
ตามที่ข้าพเจ้าเคยฟัง เคยอ่าน พระสงฆ์ชื่อดังของไทยเรานี่แหละ
ท่านว่า โลกเรานั้น จะว่าทุกสิ่ง เป็นสิ่ง สมมุติ ก็ได้
จะว่าทุกสิ่ง เป็นเรื่องจริง ของจริง ก็ได้
จะว่าทุกสิ่ง เป็นความฝัน ก็ได้
จะว่าทุกสิ่ง จะเป็นอะไร ก็ได้
(ท่านคนฟังไม่เข้าใจ ข้อความเหล่านี้ ท่านก็ว่า พระองค์นี้ คงจะบ้าไปแล้ว สอนไม่รู้เรื่อง)
ถ้าคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ แบบนักนิติศาสตร์ แบบชาวโลก เถียงกันแบบนั้น ทุกคนก็ตอบเป็นเสียงเดียวว่า ของจริงไม่ใช่ของสมมุติ จับต้องได้เลย เห็นหรือไม่ ตัวเป็น ๆ เลย
....................................................................
ถ้าข้าพเจ้าจะตีความแล้ว เข้าใจได้ว่า ทุกสิ่งไม่เที่ยง ทุกสิ่งย่อมมีวันเสื่อมสูญ ไม่ช้า(เสื่อมหลังจากท่านตายแล้ว ท่านไม่ทันได้เห็นว่ามันเสื่อม) ก็เร็ว (มันเสื่อมสูญเสีย ก่อนท่านตาย ท่านจึงได้ทันเห็น เช่น แก้วใส่น้ำ วันนี้ดี อีกชั่วโมง มันดันตกแตก)
การที่พระท่านสอนเช่นนั้น เข้าใจว่า ในเมื่อทุกสิ่งไม่เที่ยง
ท่านจะอดทน วนเวียน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไปทำไม
ห่วง ลาภสมบัติ ความรู้อันเลิศ ยศ สรรเสริญ สุข ไปทำไม
โลกธรรม 8 ก็ไม่เที่ยง(จะวนเกิด มาหาสิ่งเหล่านี้อีกทำไป กิเลสมันอยากมาสัมผัสมันอีกแล้วหรือ)
....................................................................
คำอธิบาย เรื่องสมมุติ ที่คนทั่วไป ไม่เข้าใจ มีปรากฎใน สังโยชน์ 10 ที่เห็นได้ชัดเจนมาก คือ ข้อที่ 1 สักกายทิฎฐิ คือ มนุษย์ ยังเห็นว่า ร่างกายนี้ เป็นของตนเอง พระพุทธเจ้า ท่านว่าไม่ใช่ ,ร่างกายนี้ ไม่ใช่ของเรา อย่าได้ยึดติด มันเป็นเรื่อง "สมมุติ" ในความหมายของพุทธ คือ สุดท้าย ร่างกาย ต้องเสื่อมลงทุกวัน จนแก่ จนเจ็บ จนตาย ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่า ร่างกายมันมีอยู่เดี๋ยวนี้ จับดูซิ ร่างกาย เห็นไม๊
ถ้าแบบนี้ อธิบาย สักกายทิฎฐิ ไม่จบแน่ ท่าน
.....................................................................
สรุป 1.สมมุติ ไม่ได้มีความหมายเดียว ตามแบบวิชาการอื่น
2.การอ่านหนังสือทั้งเล่มให้เข้าใจ สร้างความเข้าใจได้มากกว่า การอ่านเพียงวลีเดียว ประโยคเดียวในหนังสือเล่มนั้น |
|
_________________ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์ |
|
  |
 |
bad&good
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2007, 12:38 am |
  |
ข้าพเจ้ายังมีความเห็นว่า การเป็น นักฟัง นักอ่าน นักทำตามผู้สอน เป็นสิ่งที่ง่ายกว่า ความต้องการเป็นนักสอน
เพราะความเป็นนักสอน (หรือนักเขียน) ได้นั้น เป็นเรื่องที่ ยากที่สุด
เป็นเรื่องที่ต้องกลั่นกรองจากความเข้าใจ ความรู้จริงของผู้สอน ถ่ายทอดต่อผู้เรียน ผู้ฟัง จึงจะก้าวสู่เป็นผู้สอนได้
ผู้สอน เป็นทั้งผู้รับรอง สิ่งที่ตนเองสอนไปนั้น ว่าถูกต้อง
ผู้สอน ต้องมีไหวพริบ เฉลียวฉลาด เพียงพอ ต้องการค้นหา รูปแบบการสอน หลายวิธี เพื่อให้ผู้เรียนรู้สามารถไปสู่เป้าหมายที่ต้องการให้ทราบ ให้รู้
ผู้สอนต้องอดทนต่อการสอน มีสัมมาวาจาอย่างมั่นคง ถือเป็นการฝึกฝนตนเองไปในตัวด้วยว่า กิเลสกำลังก่อตัวอยู่หรือไม่
ผู้สอน ต้องรู้จักประเมินผู้เรียน ผู้ฟัง ผู้ถาม ว่า เข้าใจตรงกับผู้สอนหรือไม่
ผู้สอน ต้องรู้จักประเมินผู้เรียน ผู้ฟัง ผู้ถาม ว่า มีความรู้มาก่อนแล้วหรือไม่ กับสิ่งที่จะสอน
ถ้ามี ก็ไม่ต้องสอนแล้ว อย่าเสียเวลา โต้เถียง โต้แย้งกัน มันจะกลายเป็น สอนจระเข้ว่ายน้ำ เพราะบางทีผู้สอนเองด้อยความรู้กว่าผู้เรียน
ถ้าไม่มี ก็จะสอนให้ทราบ
...............................................................
ดังนั้น การเป็นครูได้ ต้องผ่านการเป็น นักเรียนที่ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำ อย่างมาก ซึ่งมีความเข้าใจมาก อย่างรอบรู้ รู้คม รู้ชัดแจ้ง รู้ลึกซึ้ง |
|
_________________ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์ |
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2007, 2:52 pm |
  |
คุณเอ๋ยข้าพเจ้าสอนคุณไปแล้วว่า ให้คุณรู้จักทำความเข้าใจกับบริบทของภาษาหรือของข้อความ คุณเป็นคนไทยไหม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นของประเทศไทยนะคุณ ภาษาไทยคุณยังอ่านแล้วไม่เกิดความเข้าใจ แล้วภาษาอื่นคุณจะมีความเข้าใจกี่มากน้อย
ข้าพเจ้าไม่อยากจะกล่าวโทษคุณนะ แต่ถ้าคุณเขียนมาแบบนั้น แสดงว่า คุณก็เป็นคนหนึ่งที่ทำให้ศาสนาพุทธเสื่อมโทรมเพราะความไม่รู้
คุณไม่รู้ว่า "ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาแห่งหลักความจริง เป็นศาสนาที่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีจริง และเป็นจริง " ไม่ใช่สิ่งสมมุติ
พระพุทธเจ้า เป็นสิ่งสมมุติเหมือนกันใช่ไหมคุณ ถ้าคุณมีความเข้าใจอย่างที่คุณเขียนมา
การที่บุคคลได้บรรลุธรรม ตั้งแต่ พระโสดาบัน ไปจนถึง
พระอรหันต์ เป็นสิ่งสมมุติไหมละคุณ
นิพพานก็เป็นสิ่งสมมุติใช่ไหมคุณ
เพราะไม่มีนักบวช หรือผู้ใดบรรลุถึงนิพพานเลย มีแต่พวกอุตริฯ ที่ชอบอวดโอ้ว่า นิพพานเป็นอย่างนั้น นิพพานเป็นอย่างนี้ หรือโสดาบันเป็นอย่างนั้น อรหันต์เป็นอย่างนี้
สิ่งที่ได้กล่าวไป ก็เป็นสิ่งสมมุติทั้งนั้น เพราะไม่มีผู้ใดบรรลุถึง
คำสอนของใครก็ตาม เป็นคำสอนที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ใช่คำสอนตามหลักศาสนาพุทธ ล้วนทำให้ศาสนาเสื่อมโทรมทั้งสิ้น
คุณไปอ่านพระไตรปิฏกให้ดี ตีความในภาษาในพระไตรปิฏกให้ถ่องแท้ ว่าสิ่งที่มีอยู่ในพระไตรปิฏกนั้น เป็นสิ่งที่สามารถพิสูจน์ได้จริงไหม ข้าพเจ้าจะแนะนำคุณและท่านทั้งหลาย ทั้งที่เป็นนักบวช และทั้งที่เป็นฆราวาสว่า ในการอ่านหรือศึกษาพระไตรปิฏกนั้น ควรได้ พิจารณาเนื้อหาสู่หลักใหญ่ หมายความว่า พิจารณาสู่สิ่งที่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีจริงเป็นจริง อันเป็นต้นตอแห่งรายละเอียดเหล่านั้น
(ควรได้พิจารณาและอ่านซ้ำข้อความด้านบนเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดพลาด)
และคุณควรทำความเข้าใจไว้อย่างหนึ่งว่า วิชาการใดใดที่มีอยู่ล้วนนับเป็นญาณ อันนับเข้าในวิปัสสนา เกือบทุกวิชาการ คุณอาจจะยังไม่เข้าใจข้อความที่ข้าพเจ้ากล่าวไป อธิบายอีกครั้งว่า" ความคิดทุกความคิดทุกชนิด,อาชีพทุกอาชีพ,พฤติกรรม การกระทำ การประพฤติ ทุกชนิด, ความรู้คุณทุกชนิด , การพูด การติดต่อสื่อสารทุกชนิด,บทบาทแห่งบุคคลทุกบุคคล,การให้ทุกชนิด ทุกรูปแบบ เป็นหลักธรรมะ เป็นหลักศาสนา โดยเฉพาะเป็นหลักทางศาสนาพุทธที่ถูกต้อง ทุกอย่างไม่ใช่สิ่งสมมุติ แต่ทุกอย่างเป็นความทุกข์ ,ทุกอย่างเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์,ทุกอย่างเห็นสาเหตุแห่งการดับทุกข์,และทุกข์อย่างเป็นหนทางแห่งความดับทุกข์
มาถึงตอนนี้ ก็ต้องกลับไปอ่านเรื่อง กิเลส ประกอบละขอรับ
และถ้าคุณหนีพ้นหลักธรรมะแห่งพุทธศาสนาที่ข้าพเจ้าเขียนไปนี้ ข้าพเจ้าจะกราบคุณงามๆสัก 3 ครั้งเป็นการขอขมา (เอาจริงนะเนี่ย) |
|
|
|
  |
 |
bad&good
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2007, 3:10 pm |
  |
หิริ โอตัปปะ คือ ความละอาย ต่อการคิดชั่ว วาจาพูดชั่ว ทำชั่ว ทำผิดตามกฎวินัยของพระสงฆ์ หรือทำผิดตามกฎ ศีล5 ศีล8 ของฆราวาส.......................................................................................................
หิริ โอตัปปะ ไม่ได้แปลว่า ละอาย แบบคนทั่วไป คือ ไม่ได้รวมไปถึง ความอาย หลังจากทำอะไรลงไปแล้วตลก น่าขายหน้า หน้าแตกซึ่งไม่รวมอยู่เรื่องของการทำบาปกรรม อกุศลกรรม
ไม่ได้รวมไปถึง ความอาย ที่จะไม่พูดโต้ตอบแก่ผู้อื่นที่ปิดกั้นความรู้ทางธรรม
ไม่ได้รวมไปถึง ความอาย ที่โง่ ทำการบ้านไม่ได้
ไม่ได้รวมไปถึง ความอาย ที่โง่ ทำงานหาเงินไม่ได้
ไม่ได้รวมไปถึง ความอาย ที่โง่ ที่หา ยศ หาอำนาจ หาบารมี ไม่ได้
ไม่ได้รวมไปถึง ความอาย ที่โง่ ที่หาความสุขแบบทางโลก ไม่ได้
ไม่ได้รวมไปถึง ความอาย ที่สอนผู้อื่น ไม่สำเร็จ ด้วยธรรมะของพระพุทธเจ้า
ไม่ได้รวมไปถึง ความอาย ไม่พูดแล้วเพราะเห็นว่าเขาเป็นคนฟังไม่รู้เรื่อง เสมือนหนึ่งพูดกับคนบ้า พูดกับคนที่มีปัญหา พูดกับคนสติไม่ค่อยสมบูรณ์ พูดกับคนชั่วที่ยังคงมีความเห็นผิดเป็นชอบ
การประเมินตนเอง(ผู้สอน)ว่า ไม่ความสามารถ สอน หรือ แนะนำต่อผู้อื่น ได้นั้น แล้วให้หยุดตนเอง ไม่สอน ไม่พูด ไม่แนะนำต่อเขาเหล่านั้น จะดีกว่า พยายามทำให้เขาเหล่านั้นดีขึ้น |
|
_________________ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์ |
|
  |
 |
bad&good
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2007, 3:55 pm |
  |
สิ่งหนึ่งที่ต้องแนะนำท่าน
คือ ท่านต้องกลับไปฟังพระสงฆ์หลาย ๆ รูป ว่า
การปฎิธรรมได้ ดีกว่า การอ่านธรรม(เข้าใจตามตัวอักษร)
ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า โดยส่วนใหญ่แล้ว การทำอะไรได้ การปฎิบัติอะไรได้ มักจะมาก่อน จึงเขียนเป็นตำรา เป็นหนังสือ เป็นธรรมะ
ถ้านึกไม่ออก ลองยกตัวอย่างดูว่า อ่านหนังสือแล้วไปทำทันที จะทำได้หรือไม่ เช่น
การว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์ ท่าผีเสื่อ ท่ากรรเชียง ท่ากบ
การพิมพ์ดีดให้มีความเร็ว 50 คำต่อนาที
การวิ่ง 400 เมตร ให้เสร็จสิ้นภาย 10 นาที
การใช้โปรแกรมExcel ระดับสูง ขั้นใช้ VBA ได้ดี
การผ่าตัดหัวใจ
การปฐมพยาบาล
กระบวนการ การตัดสินคดีความ
สิ่งเหล่านี้ เมื่อเกิดปัญหาต่อผู้ปฎิบัติงาน บางเรื่องที่ผิดปกติ ผู้ปฎิบัติงานที่มีความสามารถจะหาวิธีแก้ไขได้อย่างสวยงาม ซึ่งต่างจากผู้ที่ทำไม่เป็น แค่อ่านหนังสือ แล้วว่า ฉันเป็นแล้ว แต่พอให้แก้ปัญหา กลับทำไม่ได้ เช่นนี้ ท่านว่า เขาเป็นหรือไม่ (ทุกคนก็ต้องตอบว่า ไม่เป็น) แต่ถ้าข้าพเจ้าบอกว่า เขาสอบผ่านข้อเขียน มา 70-80% เลยทีเดียวนา
ก็ทราบอยู่ ว่ามันยังทำไม่เป็น รู้แต่ตัวหนังสือ
สิ่งที่อธิบายเป็น เขียนข้อความ เขียนเป็นหนังสือ ไม่ได้ นั้น ยังมีอีกมากมาย
จนต้องถ่าย VDO บันทึกภาพเรื่องราวต่อเนื่อง ให้เห็นความจริง จึงเห็นว่า อ้อ เขาทำกันอย่างนี้
การถ่ายVDO ก็ยังจนแต้ม เพราะไม่มีเครื่องวัดอะไร ได้ว่า ท่านนั้นทำอย่างไร จึงนิพพาน
อารมณ์ของคนนั้น เป็นอย่างไรนะ จึงเรียกว่านิพพาน
...................................................................
ทุกสิ่งจึงเป็นข้อคิด ที่นักทำรายงาน จะต้องแสดงกรรมวิธีให้ชัดเจนมากขึ้น แต่นักทำรายงาน ลืมมองตนเองว่า ทำไมเขาไม่ทำนิพพานเสียเอง เมื่อบรรลุแล้ว จึงมารายงานก็ยังไม่สาย อย่างน้อยตนเองก็พ้นทุกข์สิ้นเชิง ไปก่อนแล้ว
คงต้องปล่อยให้คนแบบท่าน คิดหลักการ ความเห็นอื่นไปก่อน
..................................................................................
ดูความคิดเห็นของท่านแล้ว ไม่ได้ สนใจต่อคำอธิบายของคำว่า "สมมุติ" ของข้าพเจ้าเลย
กลับเอาคำว่า "สมมุติ" ไปผสมกับคำอื่น แล้วกล่าวตู่ว่า การรวมคำ แบบนี้ แบบนั้น แปลเช่นนี้ แปลเช่นนั้น ท่านจะว่าอย่างไร
การตรวจสอบ สอบเทียบ จากหนังสือธรรมะฉบับภาษาไทย ภาษาพม่า ภาษาอินเดีย ภาษาอังกฤษ มีอยู่มากมาย
ข้าพเจ้าหรือผู้อื่น คงบิดเบื้อน สุดขั้วแบบนั้น คงเป็นไปไม่ได้
พระพุทธเจ้า มีอยู่จริง มิได้สมมุติ
พระอรหันต์ มีอยู่จริง มิได้สมมุติ
เพียงแต่ท่านไม่พอใจต่อผู้อื่นบางคน ท่านจึงรวมความทุกคน ไม่เชื่อท่าน
(ถามจริง ถ้าทุกคนไม่เชื่อท่าน ท่านจะทำอย่างไร)
...........................
โดยความเห็นของข้าพเจ้า ไม่ได้กังวล หรือเป็นห่วงต่อผู้อื่นเลย ว่าจะมีความคิดเห็น ดี เลวต่อพุทธศาสนา อย่างไร
แต่ข้าพเจ้ากลับเป็นห่วง ตนเอง มากกว่าว่า จะพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิงตามแบบอย่างพระพุทธ พระสงฆ์ ที่ได้แสดงชัดแจ้งไว้ในธรรมะในศาสนาพุทธ
........................................
บอกแบบไม่อายเลยนะ
ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นห่วงท่านว่า จะบรรลุธรรมหรือไม่ อย่างไร
....................................
ถ้าท่านมัวแต่ ใช้หลักภาษาไทย หลักการแปลเข้าข้างหนังสือ เข้าข้างตนเอง
ถ้าท่านมัวแต่ คิด นึก ทฤษฎี ถ้าอย่างนี้............จะเป็นเช่นนี้
ถ้าท่านมัวแต่ เห็นว่า ไม่มี ใครฟังท่าน
ถ้าท่านมัวแต่ คิดอยากเป็นใหญ่ ในความคิด
ถ้าท่านมัวแต่ รอให้ผู้อื่น สรรเสริญท่าน เห็นด้วยกับท่าน
ถ้าท่านมัวแต่ เห็นว่า ธรรมะ เป็นสมบัติของท่าน แต่ผู้เดียว
บทกาลมสูตร มีอยู่ ข้าพเจ้าเชื่อว่า ท่านหลงในหนังสือธรรมะ ท่านหลงในตัวเอง ท่านไม่จริงจังต่อการปฎิบัติธรรม (ท่านไม่ได้หยุดพูด ไม่หยุดคิด อกุศลกรรมขั้นละเอียด(แบบพระสงฆ์) แล้วปฎิบัติธรรมให้มาก ฟังธรรมให้มาก อ่านธรรมให้มาก เชื่อผู้อื่นที่บรรลุธรรมแล้ว ให้มาก)
ต่อไปคงไม่มีใครพูดคุยกับท่าน แม้นข้าพเจ้าเอง
ลานะครับ  |
|
_________________ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์ |
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ย. 2007, 8:52 pm |
  |
คุณยังไม่มีความเข้าใจในระบบการทำงานของสรีระร่างกายมนุษย์
คำว่า หิริ โอตัปปะ นั้น แท้ที่จริงแล้ว ก็คือความคิดชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิด อารมณ์ หรือเกิดสภาวะภาพจิตใจ ที่เรียกว่า ความละอายที่จะกระทำในสิ่งที่ไม่ดี คือบาป อีกทั้งยังเป็นความคิดที่ทำให้เกิดสภาพสภาวะจิตใจ ที่เรียกว่า ความเกรงกลัวในการที่จะกระทำในสิ่งที่ไม่ดี คือบาป
หิริ และโอตัปปะ เป็นเพียงกระพี้ คือเป็นเพียงส่วนรายละเอียด ของหลักธรรมะที่ข้าพเจ้าได้กล่าวในตอนก่อน ในทางที่เป็นส่งแล้ว ถ้าคำว่า หิริ โอตัปปะไม่มีมาก่อน คำว่า หิริและโอตัปปะก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ เพราะศัพท์ภาษานี้ไม่ใช่ภาษาไทย แต่เป็นภาษาบาลี หากเป็นในทางระบบสรีระร่างกายของมนุษย์แล้ว มนุษย์ทุกคนควรมีความอาย ในหลายๆอย่าง หลายๆชนิด อายเพราะจน อายเพราะไม่สวย อายเพราะไม่มีเงิน อายเพราะไม่มีความรุ้ อายเพราะอยากทำดีเหมือนคนอื่นเขา และอายไม่อยากกระทำความชั่ว หรือละอายในการที่จะทำบาป หรือสิ่งไม่ดี
อีกทั้งมนุษย์ก็มีความเกรงกลัว เฉกเช่น ความละอายเช่นกัน
เพราะทั้งความละอาย หรือความเกรงกลัว เกิดจากความคิด เกิดจากความรู้ เกิดจากความเข้าใจ เกิดจากค่านิยมทางสังคม ที่แต่ละบุคคล ล้วนได้รับการขัดเกลามา อาจจะคล้ายคลีงกัน หรือแตกต่างจากกันก็แล้วแต่
คุณจงทำความเข้าใจไว้อย่างหนึ่งว่า ท่านกำลังหลงประเด็น และยังไม่มีความเข้าใจ ในเรื่องของการปฏิบัติธรรม กับการอ่านธรรม
และคุณยังมีความเข้าใจในเรื่องของ การปฏิบัติ กับ หลักวิชาการ น้อยมาก เพราะในทางที่เป็นจริงนั้น
หลักวิชาการ จะเกิดขึ้นพร้อมกับการปฏิบัติ หมายความว่า หากคุณจะปฏิบัติ หรือจะกระทำสิ่งใดก็ตาม หลักวิชาการก็จะเกิดขึ้นมาพร้อมกัน เพียงแต่อาจจะนำมาเขียนหรือบันทึกไว้ทีหลังเท่านั้น ถ้าคุณไม่มีหลักวิชาการ ขณะคุณจะประพฤติหรือกระทำสิ่งใดก็ตาม คุณก็จะไม่มีทางเข้าใจวิธีการประพฤติหรือไม่มีความสามารถที่จะกระทำการในสิ่งนั้นได้อย่างแน่นอน คุณไปคิดพิจารณาและสำรวจพฤติกรรมและการกระทำของตัวคุณเองให้ดีว่า การกระทำ การปฏิบัติ การประพฤติ ทุกชนิด จะเกิดขึ้นพร้อมๆกับหลักวิชาการ ถ้าไม่มีหลักวิชาการก็ทำไม่ได้ เพราะไม่เข้าใจ อ่านมาถึงตอนนี้ไม่รุ้ว่าคุณจะเกิดความเข้าใจหรือไม่
จำไว้ให้ดี หลักวิชาการจะเกิดขึ้นพร้อมๆกับการปฏิบัติ เพียงแต่การบันทึกย่อมต้องบันทึกหลังจากปฏิบัติได้ผลดีแล้ว "
หมายเหตุ คุณยังมีประสบการในการได้พบปะกับมนุษย์อย่างมากมาย คุณยังตีค่าของพวกเขาต่ำเกินไป
คุณรู้ไหมว่า มนุษย์มีความสามารถเพียงแค่ อ่านหนังสือปุ๊ป ทำได้ หรือปฏิบัติได้ปั๊ปก็มีเยอะแยะ
สุดท้าย ขณะที่คุณเขียนกระทู้แสดงความคิดเห็นนั้น คุณมีความคิด และสภาพสภาวะจิตใจเป็นเช่นไรบ้างคุณสังเกตตัวคุณเองหรือไม่ ข้าพเจ้าอยากจะถามคุณว่า
พระพุทธเจ้า โปรดสัตว์ สั่งสอนสัตว์โลก สั่งสอนมนุษย์ เป็นการหลงตัวเอง
ความคิดของผู้อื่น ที่ถูกก็มี ที่ไม่ถูกก็มี แต่ถ้าความคิดของผู้อื่นไม่ใช่หลักธรรมชาติ ไม่ใช่หลักความจริง ไม่ใช่ความรู้แจ้ง แล้วละก้อ "ความคิดของข้าพเจ้า ย่อมเป็นใหญ่
ธรรมะ คือ ธรรมะชาติแห่งสรรพสิ่ง แต่ผู้ที่คิดค้นธรรมะนั้นขึ้นมาได้ ก็ย่อมเป็นสมบัติทางปัญญาของบุคคลผู้นั้น แต่หลักการหรือหลักธรรมะที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปในตอนก่อนข้าพเจ้าได้อนุญาตให้ใช้สอนได้ตามแต่สมควรฮยู่แล้ว
และอีกประการหนึ่ง มนุษย์จะมีอายุยืนยาวสักเท่าไหร่ สรรเสรีญไป ก็เท่านั้น ไม่สรรเสริญก็เท่านั้น
ขอบคุณที่มาเสวนาในกระทู้นี้
ข้าพเจ้าก็ไม่ได้บังคับให้คุณมาเสวนากับข้าพเจ้า สิทธิและเสรีภาพ ของคุณอยู่แล้วแต่ก็ขอเตือนคุณเอาไว้ว่า "ศาสนาโดยเฉพาะศาสนาพุทธ เสื่อมโทรมลงไป ก็เพราะมีคนประเภทอย่างคุณ นั่นแหละ"
แก้ไขความคิด ของตัวคุณ แล้วก็จะดี |
|
|
|
  |
 |
bad&good
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ย. 2007, 9:35 pm |
  |
 |
|
_________________ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์ |
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.ย. 2007, 8:13 am |
  |
ทั้งหมดที่ข้าพเจ้าเขียนไป เป็นภาษาไทย ไม่ใช่ภาษาต่างประเทศ เพราะฉะนั้น การตีความหมายหรือแปลความหมาย ย่อมต้องเป็นไปตามภาษาไทย และเป็นไปตามหลักความจริง ไม่ใช่แปลไปในทางภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทย |
|
|
|
  |
 |
bad&good
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.ย. 2007, 8:41 am |
  |
 |
|
_________________ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์ |
|
  |
 |
|