Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อธิบายธรรมะผิดสภาวธรรม ? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2007, 8:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีหลายเว็บหลายกลุ่มคน อธิบายธรรมะตามความรู้สึกของตน โดยเฉพาะคำว่า

สมาธิหรือสมถะ หรือแม้แต่วิปัสสนาเองก็ตาม ก็แนะนำกันและกันคลาดจากสภาวธรรมตาม

เป็นจริง ที่เห็นโต้งๆ คือเข้าใจสมถะแบบว่าผู้ปฏิบัติลืมกายลืมใจ ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร

เหมือนว่าความรู้สึกของโยคาวจรถูกกลืนหายเข้าไปในอะไรๆ ดังตัวอย่างที่นำมา คือ =>

แต่ถ้าเป็นการตั้งใจดูและจมแช่ไปในอาการต่างๆ นั้น แบบลืมกายลืมใจก็จะเป็นการทำสมถะ ครับ


กล่าวตู่ธรรมะอย่างแรง เป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคล มีโทษคือตนเองก็ไม่ประสบกับสภาว

ธรรมที่แท้จริงด้วย แนะนำผู้อื่นให้หลงเชื่อก็เสริมบาปอกุศลให้ตนเองด้วย เพิ่มมิจฉาทิฏฐิ

บุคคลอีกด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ย. 2007, 5:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ย. 2007, 8:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมถะ หมายถึง ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต, ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส, การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ (ข้อ ๑ ในกรรมฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)

ภาวนา หมายถึง การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ 1.การฝึกอบรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่าง คือ ๑.สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ ๒.วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริง, อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกันคือ ๑.จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ ๒.ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์ 2.การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิ มี ๓ ขั้น คือ ๑.บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือกำหนดอารมณ์กรรมฐาน ๒.อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือเกิดอุปจารสมาธิ ๓.อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือเกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาน 3.ในภาษาไทย ความหมายเลือนมาเป็น การท่องบ่นหรือว่าซ้ำๆ ให้ขลัง ก็มี

ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิต มี ๒ ประเภท คือ สมถกัมมัฏฐาน อุบายสงบใจ ๑ วิปัสสนากัมมัฏฐาน อุบายเรืองปัญญา ๑ (นิยมเขียน กรรมฐาน) ดู ภาวนา - subjects of meditation; meditation exercises; the act of meditation or contemplation; ground for mental culture
(ทั้งหมด นำมาจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ท่านเจ้าคุณ ประยุต ปยุตฺโต)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ย. 2007, 8:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เข้ามาพบคุณกรัชกายพอดี

สมถะหมายถึงเอกอารมณ์ใช่ไหมครับ

คือการพยายามรักษาอารมณ์ให้สงบนิ่ง

คือพยายามไม่ให้เกิดอารมณ์ขัดใจ โทสะ โมหะ กามารมณ์

ด้วยสติ

ถ้าเผลอสติก็ให้รู้ตัวเอง

ผลที่เกิดคือสมาธิ

เมื่อมีสมาธิทำให้การใช้ปัญญาไม่ถูกหน่วง เมื่อผูกหญ้ากับหางแมลงปอที่เด็กๆ ชอบเล่นกัน

หรือบางท่านอาจจะได้ฌาณตามจริตของตน

รวมความแล้วพอสรุปได้ว่าสมถะคือท่ามกลางจิตที่เป็นสมาธิ

พอได้ไหมครับคุณกรัชกาย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2007, 1:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมถะ หมายถึง ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต, ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส, การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ (ข้อ ๑ ในกรรมฐาน ๒ หรือภาวนา ๒) (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก)
จากความหมายด้านบน ก็น่าจะวิเคราะห์ได้ว่า
สมถะ มี ๒ ความหมาย คือ ธรรมอันเป็นเครื่องสงบระงับจิตใจ หรือธรรมยังจิตให้สงบ อย่างหนึ่ง
และ สมถะคือ การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ ด้วยธรรมทั้งหลาย อย่างหนึ่ง

ธรรมที่เป็นเครื่องระงับจิต หรือทำให้จิตสงบ ก็มีหลายข้อ ควรได้พิจารณาเถิด
เพราะการฝึกสมาธิ นั้นอนุโลมให้ จัดเป็นการปฏิบัติธรรมในข้อ พรหมวิหารสี่อย่างหนึ่ง และอนุโลมให้จัดเป็นการปฏิบัติธรรมในข้อ อิทธิบาท สี่ อีกอย่างหนึ่ง
อนึ่งธรรมะทั้ง 2 หมวดนั้น รากฐานเดิม มาจากศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2007, 8:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(สวัสดีครับคุณ mes สบายดีนะครับ

หัวข้อนี้เจตนาตั้งที่ห้องอื่น แต่ทำพลาดมาที่ห้องนี้ครับ

เจตนาเพื่อค้านผู้ที่อธิบายธรรมคือ “สมถะ” ว่าผู้ปฏิบัติ ต้องตกอยู่ในภาวะลืมกายลืมใจ
เขาเข้าใจผิดครับ

เขาเข้าใจสมถะแบบไสยศาสตร์
ความจริง ถ้าเป็นสมถะตามความหมายนี้ ยิ่งได้สมาธิสูงสติสัมปชัญญะยิ่งแจ่มชัด เป็นภาวะที่สุขสงบผ่องใส ไม่มีความเศร้าหมองขุ่นมัว ไม่มีสิ่งรบกวนให้สะดุดหรือติดข้องอย่างใดๆ เรียกว่าปราศจากนิวรณ์

พูดอย่างนี้อาจเข้าใจยาก ลองพิจารณาประสบการณ์ผู้ปฏิบัติจริงๆคนหนึ่ง นำมาลงย่อ ๆ พอได้ความ ดังนี้)

-หลังจากนั้นผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน เวลาเดิน ก็รู้สึกดีครับ รู้สึกเพลินกับการยึดลมหายใจ
หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน แต่ผมก็คิดว่าเวลานี้จิตสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้ายังไงเราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่า เลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจเป็นสมถะแบบอัปปมัญญา ๔

แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณในทิศเบื้องหน้า...เบื้องซ้าย แล้วก็เบื้องขวา

พอครบทุกทิศแล้ว ก็กำหนดแผ่ไปในทุกทิศพร้อมกันไม่มีประมาณ กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น
...รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ จนรู้สึกว่ากายหายไป ความรู้สึกเหมือนจุ่มอยู่ในปีติ มีแต่ความสุขไปหมด
ผมก็คิดขึ้นมาว่า "มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก (ส่วนใหญ่) มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คน (ส่วนใหญ่)
ในโลกกลับไม่รู้
"

รู้สึกว่า ลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่า ลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่า คือลมหายใจแรงๆ เบาๆ ซะอีก

มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ในปีติ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้น แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือมีความรู้พร้อมอยู่

ผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ"
จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง (คาดว่าน่าจะดูบอล) เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2007, 9:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เอกัคคตา (จิต) แปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ได้แก่ตัวสมาธินั่นเอง มีในฌานทุกขั้น ข้อที่ควรย้ำ มีว่า คำว่าองค์ฌาน หมายถึงองค์ธรรมที่ประกอบร่วมอยู่เป็นประจำในฌานขั้นนั้นๆ และเป็นเครื่องกำหนดแยกฌานแต่ละขั้นออกจากกันให้รู้ว่า ในกรณีนั้นเป็นฌานขั้นที่เท่าใด เท่านั้น
มิใช่หมายความว่า ในฌานมีองค์ธรรมทั้งหมดอยู่เพียงเท่านั้น ความจริงองค์ธรรมอื่นๆ ที่ประกอบร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเรียกว่าสัมปยุตธรรม แต่เกิดขึ้นประจำบ้าง ไม่ประจำบ้าง และไม่ใช่เป็นกำหนดแบ่งขึ้นของฌาน ยังมีอีกเป็นมาก เช่น สัญญา เจตนา ฉันทะ วิริยะ สติ มนสิการ เป็นต้น
(ดู ม.อุ.14/155-161/116-120)

แม้ในคำบรรยายฌานแต่ละขั้นในพระสูตร ก็ยังระบุองค์ธรรมที่เน้นพิเศษไว้อีก เช่น ในตติยฌาน เน้นสติสัมปชัญญะเป็นตัวทำหน้าที่ชัดเจนมากกว่าในฌานสองขั้นต้นซึ่งก็มีสติสัมปชัญญะด้วยเช่นกัน
และในจตุตถฌานย้ำว่า สติบริสุทธิ์แจ่มชัดกว่าในฌานก่อนๆ ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะอุเบกขาแจ่มชัดบริสุทธิ์เป็นเหตุหนุน ไม่เฉพาะสติเท่านั้นที่ชัด แม้สัมปยุตธรรมอื่นๆ ก็ชัดขึ้นด้วยเหมือนกัน
(ดู วิสุทธิ.1/207,214)
ความข้อนี้ เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เอาฌานไปสับสนกับภาวะที่จิตลืมตัวหมดความรู้สึกถูกกลืนหายเข้าไปในอะไร ๆ หรือเข้าไปรวมกับอะไรๆ


พุทธธรรมหน้า 874

(มีต่อ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2007, 10:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น

ระหว่างสมถะกับวิปปัสนามีการวิวาทะกันในประเด็นว่า อะไรสำคัญกว่ากัน และอะไรเกิดก่อนกัน

ก่อนอื่นอยากบอกว่าความคิดเห็นเป็นเรื่องปัจเจกบุคคลและเป็นปัจจตัง ไม่จำเป็นต้องยกเอาพระไตรปิฎกมาตอบกันเป็นดุ้นๆ(ความเห็นส่วนตัว)

แต่ใครเข้าไปอ่านพระไตรปิฎกแล้วมี่ความคิดความอ่านอย่างไรก็มาแลกเปลี่ยนกัน

สมถะมีมาก่อนพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงศึกษามาก่อนจนถึงขั้นสูงสุด

แต่ยังไม่บรรลุวิมุติธรรม

จึงทรงวิปัสนาใช้ปัญญา

จึงสำเร็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ปัจจุบันเรามักใช้ร่วมกัน

มีบางสำนักที่มุ่งเน้นไปทางด้านอภิญญา

บางสำนักก็ใช้หลักสุขขวิปปัสสโน(เขียนผิดก็ขออภัย)เอาแค่มีสมาธิให้ใช้ปัญญาได้เต็มที่ก็พอ

ในร่างกายเรามีเส้นประสาทที่ถูกควบคุมด้วยฮอร์โมน หากเรามีสมาธิ ไม่มีโทสะ โมหะ ราคะ ต่อมฮอร์โมนจะหลั่งสารที่ทำให้ร่างกายสบาย สมองก็ทำงานได้เต็มที่

ปัญญาก็แจ่มใส แจ่มชัด

แต่ต้องมีสติคอยเตื่อนจิตเมื่อเผลอ

ในทางกลับกันความตึงเครียดคื่อสมุฎฐานของโทสะ โมหะ ราคะ

ผมว่าทุกคนมีญาณทัสสนะแต่ถูกปิดบังจากนิวรณ์และสังโยช

และผมว่าทั้งสองสิ่งนี้สัมพันธ์กับระบบประสาทของเรา เรารู้ลึกขัดใจ โกรธ เกลียด อยาก ต้องการฯลฯ

มาจากความตึง ความเครียด และความถี่ ของเส้นประสาททั่วร่างกายเราที่ทำให้รู้ลึกดั่งนั้น

หมายความว่าเราถูกธรรมชาติหลอก

แม้แต่ความตื่นเต้น ยินดี ดีใจ ก็เป็นความเจ็บปวดของร่างกายทั้งสิ้น แต่มนุษย์ถูกธรรมชาติสั่งในชื่นชอบ

กามารมณ์ก็เป็นความเจ็บปวดอย่างหนึ่ง

หากเรารู้และควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้ อาจจะเป็นหนทางปล่อยวางได้

ผมเป็นเพียงคนโง่เขียนหนังสือ ท่านผู้รู้โปรดแนะนำ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2007, 11:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กลับมาแก้คำผิดให้คุณ mes หน่อยนะครับเพิ่งเห็น
เช่น
-ปัจจตัง – แก้เป็น ปัจจัตตัง = (ผู้บรรลุธรรมแล้ว) ...พึงรู้เฉพาะตน
-สุขขวิปปัสสโน- แก้เป็น สุกขวิปัสสโก = ได้แก่ ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน กล่าวคือพระอริยบุคคลผู้มิได้เจริญฌานมาก่อน)
-สังโยช - แก้เป็น สังโยชน์ หรือสัญโยชน์ ความหมายเดียวกัน = ได้แก่กิเลสที่ผูกมัดใจ...


(สมถะ กับ สมาธิ เมื่อพูดโดยสภาวะไม่ต่างกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
พิจารณาหลักฐานตามคัมภีร์ ก่อน สังเกตคำว่า สมถะ กับสมาธิ ให้ดีดังนี้ ครับ)

สมถะ แปลว่า ความสงบ หมายถึงการทำใจให้สงบ
ขยายความว่า ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ จนตั้งมั่นเป็นสมาธิ
(เท่านี้สมถะสำเร็จแล้ว) จุดมุ่งหมายของสมถะ คือ สมาธิ (นี่ตอนหนึ่ง)
แต่เมื่อปฏิบัติต่อไปอีกจนสมาธิแนบสนิทเต็มที่แล้ว ก็จะเกิดภาวะจิตที่เรียกว่าฌาน
เมื่อถึงฌานอาจ (อาจ) มีผลที่เรียกกันว่า อภิญญา (อีกตอนหนึ่ง)

แต่เมื่อพูดอย่างกว้างๆ แล้ว สมถะก็คือ การทำใจให้สงบ หรือการทำจิตให้เป็นสมาธิ
และบางคราวก็หมายถึงตัวสมาธินั่นเอง ว่าตามความจริง ความหมายของสมถะที่ว่าคือตัวสมาธินั่นแหละ
เป็นความหมายที่ตรงตามหลักวิชาทั้งฝ่ายอภิธรรมและฝ่ายพระสูตร
(ฝ่ายอภิธรรม เช่น อภิ.สํ.34/253/96; 223/90 ; 206/85...)
(ฝ่ายพระสูตร เช่น องฺ.ทุก. 20/215/77....และใน องฺ.ฉกฺก. 22/325/418)

ในองฺ.ฉกฺก. 22/325/418 เมื่อกล่าวถึงอินทรีย์ 5
ท่านใช้ สมถะ แทน สมาธิ
และ วิปัสสนา แทน ปัญญา โดยตรงทีเดียว
เช่น
-สัทธา สติ วีริยะ สมถะ วิปัสสนา
-สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ก.ย. 2007, 5:19 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2007, 11:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมถะมีมาก่อนพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงศึกษามาก่อนจนถึงขั้นสูงสุด
Mes ตอบเมื่อ: 24 ก.ย.2007, 10:08 am


เคยได้ยินบ่อยๆ ครับ คำพูดประมาณว่า “สมถะมีมาก่อนพุทธกาล”
ซึ่งชวนให้ผู้ฟังเข้าใจผิด และเข้าใจผิดกันแล้ว (กลุ่มที่เข้าใจสมถะแบบไสยศาสตร์ดังกล่าว ว่าผู้ปฏิบัติแล้วลืมกายลืมใจ) ว่าสมถะเป็นของฤๅษีชีไพร เลยไม่เอาโดดข้ามการฝึกจิตตนเองขั้นต้นไปเสีย

เพื่อฟังดูดีน่าจะพูดใหม่ว่า สมถะหรือสมาธิ เขาฝึกทำกันมาก่อนพระพุทธเจ้าเกิดแล้ว
เช่น ดาบส 2 ตน ที่เจ้าชายสิทธัตถะก็เข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์ ฝึกจนสำเร็จดังคุณเข้าใจ

-น่าจะเข้าใจผิดอีก คือเมื่ออ่านตำราจบแล้วคิดว่า... การฝึกแบบนั้นกำจัดกิเลสไม่ได้ ดับทุกข์ไม่ได้ขนาดพระโพธิสัตว์ ฝึกจบแล้วยังต้องแยกตัวไปฝึกลำพังเลย จึงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
เขาจึงตีความเอาว่า สมถะหรือสมาธิไม่ได้ผลจริง เลยปฏิเสธความสมถะหรือสมาธิกันเลย

พึงเข้าใจใหม่ว่า พระโพธิสัตว์ฝึกจิตตามวิธีของดาบสสำเร็จแล้ว ท่านไม่ได้ทิ้ง ฝึกฝนจนชำนาญเป็นวสี เข้า-ออกฌานได้คล่องแคล่ว

วันสุดท้ายก็ทรงใช้ฌานจิตที่ได้จากสำนักดาบสเป็นลำดับๆไปจนตรัสรู้ ฯลฯ
(หากย้อนหลังกลับไป เจ้าชายสิทธัตถะได้ปฐมฌานเมื่อ 7 ขวบแล้ว ที่โคนไม้หว้า)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ก.ย. 2007, 6:57 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2007, 11:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(จะนำองค์ฌานพร้อมคำแปลให้คุณ mes พิจารณาเต็มๆ (องค์ฌาน ซึ่งก็ได้แก่เจตสิกที่เกิดพร้อมกับจิตดับพร้อมกับจิตนั่น ท่านแยกไว้ให้รู้ทางการศึกษา (วิชาการ) แต่ผู้ปฏิบัติปัจจุบันคิดแยกเอง แยกไม่ออกหรอกครับ ระดับปัญญาอย่างเราๆ

หากคิดแยกว่าเป็นฌานนั้นฌานนี้ หรือคิดว่า...ก็หล่นจากกรรมฐาน ดังตัวอย่างผู้ปฏิบัติข้างบน เมื่อปฏิบัติถึงระดับนั้นพึงประคองจิตให้แน่ว เหมือนนักเดินไต่ลวดฉะนั้น) ดังองค์ฌาน ดังนี้ =>

1. วิตก แปลว่า ความตริ หมายถึง การจรดจิตหรือปักจิตลงไปในอารมณ์หรือยกจิตใส่อารมณ์ มีในปฐมฌาน

2. วิจาร แปลว่า ความตรอง หมายถึงการฟั้น เคล้า หรือเอาจิตผูกพันอยู่กับอารมณ์ มีในปฐมฌาน (มีในทุติยฌาน แบบปัญจกนัยด้วย)

องค์ฌาน 2 ข้อนี้ ต่อเนื่องกัน คือวิตก เอาจิตจรดไว้กับอารมณ์
วิจาร เอาจิตเคล้าอารมณ์นั้น
เปรียบได้กับคนเอาภาชนะสำริดที่สนิมจับไปขัด
วิตกเหมือนมือที่จับภาชนะไว้
วิจาร เหมือนมือที่ถือแปรงขัดไปมา

หรือเปรียบกับช่างปั้นหม้อ
วิตกเหมือนมือที่กดไว้
วิจารเหมือนมือที่แต่งไปทั่วๆ

ข้อสำคัญอย่าเอาวิตกหรือวิตักกะทางธรรมนี้ มาปะปนกับวิตกที่หมายถึงกังวลทุกข์ร้อนในภาษาไทย

3. ปีติ แปลว่า ความอิ่มใจ ดื่มด่ำ หรือเอิบอิ่ม หมายเอาเฉพาะปีติชนิดแผ่เอิบอาบซานซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย ที่เรียกว่า ผรณาปีติ ปีติมีในฌานที่ 1 และ 2 (ฌานที่1,2 และ 3 ของปัญจกนัย)

4. สุข แปลว่า ความสุข หมายถึงความสำราญ ชื่นฉ่ำ คล่องใจ ปราศจากความบีบคั้นหรือรบกวนใดๆ มีในฌานที่ 1 ถึง 3 (ในปัญจกนัยถึงที่ 4)

5. อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย หรือ ความมีใจเป็นกลาง
หรือแปลให้เต็มว่า ความวางทีเฉยดูอยู่ หมายถึง การดูอย่างสงบ
หรือดูตามเรื่องที่เกิด ไม่ตกเป็นฝักฝ่าย

ในกรณีของฌาน คือไม่ติดข้างแม้ในฌานที่มีความสุขอย่างยอด
และความหมายที่สูงขึ้นไปอีก หมายถึง วางทีดูเฉยในเมื่ออะไรทุกอย่างเข้าที่ดำเนินไปด้วยดี หรือเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเจ้ากี้เจ้าการโดยเฉพาะในฌานที่ 4 คือบริสุทธิ์หมดจดจากธรรมที่เป็นข้าศึกเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ต้องขวนขวายที่จำจัดธรรมที่เป็นข้าศึกนั้นอีก จัดเป็นองค์ฌานโดยเฉพาะของฌานที่ 4 (ที่ 5 ของปัญจกนัย)

ความจริงอุเบกขามีในฌานทุกขั้น แต่ในขั้นต้นๆ ไม่เด่นชัด ยังถูกธรรมที่เป็นข้าศึก เช่น วิตก วิจาร และสุขเวทนา เป็นต้นข่มไว้ เหมือนดวงจันทร์ในเวลากลางวัน ไม่กระจ่าง ไม่แจ่ม เพราะถูกแสงอาทิตย์ข่มไว้

ครั้นถึงฌานที่ 4 ธรรมที่เป็นข้าศึกระงับไปหมด และได้ราตรีคืออุเบกขาเวทนา
(คืออทุกขมสุขเวทนา) สนับสนุน...
(พึงระวังความสับสนระหว่างอุเบกขาที่เป็นองค์ฌาน ซึ่งได้แก่ตัตรมัชฌัตตตา คือภาวะเป็นกลาง อันเป็นกุศลธรรมอยู่ในหมวดสังขารขันธ์ กับอุเบกขาที่เป็นเวทนา คือความรู้สึกเฉยๆ ซึ่งเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า อทุกขมสุขเวทนา แปลว่า ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ และเป็นของไม่ดีไม่ชั่ว;

ในฌานที่ 4 อุเบกขาที่เป็นองค์ฌาน มีอทุกขมสุขเวทนาประกอบร่วมด้วย คือมาทั้งสองอย่าง)

6. เอกัคคตา แปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ได้แก่ตัวสมาธินั่นเอง มีในฌานทุกขั้น ข้อที่ควรย้ำ มีว่า คำว่าองค์ฌาน หมายถึงองค์ธรรมที่ประกอบร่วมอยู่เป็นประจำในฌานขั้นนั้นๆ และเป็นเครื่องกำหนดแยกฌานแต่ละขั้นออกจากกันให้รู้ว่า ในกรณีนั้นเป็นฌานขั้นที่เท่าใด เท่านั้น มิใช่หมายความว่า ในฌานมีองค์ธรรมทั้งหมดอยู่เพียงเท่านั้น ความจริงองค์ธรรมอื่นๆ ที่ประกอบร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเรียกว่าสัมปยุตธรรม แต่เกิดขึ้นประจำบ้าง ไม่ประจำบ้าง และไม่ใช่เป็นกำหนดแบ่งขั้นของฌาน ยังมีอีกเป็นมาก เช่น สัญญา เจตนา ฉันทะ วิริยะ สติ มนสิการ เป็นต้น

(ดู ม.อุ.14/155-161/116-120)

แม้ในคำบรรยายฌานแต่ละขั้นในพระสูตร ก็ยังระบุองค์ธรรมที่เน้นพิเศษไว้อีก เช่น
ในตติยฌาน เน้นสติสัมปชัญญะเป็นตัวทำหน้าที่ชัดเจนมากกว่าในฌานสองขั้นต้นซึ่งก็มีสติสัมปชัญญะด้วยเช่นกัน

และในจตุตถฌานย้ำว่า สติบริสุทธิ์แจ่มชัดกว่าในฌานก่อนๆ ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะอุเบกขาแจ่มชัดบริสุทธิ์เป็นเหตุหนุน ไม่เฉพาะสติเท่านั้นที่ชัด แม้สัมปยุตธรรมอื่นๆ ก็ชัดขึ้นด้วยเหมือนกัน
(ดู วิสุทธิ.1/207,214)

ความข้อนี้ เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เอาฌานไปสับสนกับภาวะที่จิตลืมตัวหมดความรู้สึกถูกกลืนหายเข้าไปในอะไร ๆ หรือเข้าไปรวมกับอะไรๆ

(พุทธธรรมหน้า 873)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ก.ย. 2007, 7:09 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mahapilot
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 24 ก.ย. 2007
ตอบ: 8
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2007, 4:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
สติ ต่อเนื่อง เป็น สมาธิ ระดับ ของสมาธิ ขนาดไหนล่ะ ถึงจะเอาไปใช้

ปรับปรุง ตนเอง ให้ ละการทำสิ่งไม่ดี ( สร้าง อกุศลกรรม) สร้างหรือทำแต่สิ่งดี ต่อตนเองและผู้อื่น

รากเหง้า ของกิเลส มานอยู่ในตัวเราเอง สติ คือรู้ว่า มานยังมี หรือ หมด สำคัญตนผิด มานเลยเป็นเรื่อง

เราเอง ก็ ยังไปไม่ถึงไหน แต่ ก็ พยายาม ทำ แต่สิ่ง ที่ดีๆ อยู่ พยายาม ไม่ส้ราง กรรมไม่ดี เพราะ ขี้เกียจ มานั่งใช้กรรมเก่า กานอีก ก็ไม่รู้ว่า ที่เรา บ่นอยู่นี่ จะคล้าย กับความคิดของ ต้นกระทู้หรือเปล่า
ซึ้ง
 

_________________
ไม่มีใครใหญ่เกินกรรม
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2007, 8:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พยายาม ไม่สร้าง กรรมไม่ดี เพราะ ขี้เกียจ มานั่งใช้กรรมเก่ากานอีก
mahapilot ตอบเมื่อ: 24 ก.ย.2007, 4:40 pm


สวัสดีครับ คุณ mahapilot
สนทนาธรรมกันนะครับ ผมก็ใช่ว่าไปถึงไหน ก็ยังโลดแล่นอยู่บนโลกใบนี้ชั่วอายุขัยเช่นกันครับ

และที่ได้ยินคนพูดบ่อยๆ กรรมเก่าๆ หรือใช้กรรมเก่า จำกัดความแก่ไหน หมายความว่าอย่างไร อย่างไร นึกสงสัยอยู่แต่ไม่กล้าถามใคร เห็นคุณพูดอีกว่า นั่งใช้กรรมเก่า หมายถึงอะไรหรอครับ ผมไม่รู้จริงว่า ที่เขาพูดๆกันจำกัดความถึงไหน "กรรมเก่า"
ผมขอความกรุณาคุณช่วยให้ผมหายสงสัยทีเถอะครับ จะขอบพระคุณอย่างยิ่ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2007, 8:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณ คุณกรัชกาย สำหรับคำอธิบาย

แล้วคำว่าจิตว่างล่ะครับ

การพยายามตั้งสติทำจิตให้ว่างเป็นไปได้ไหม

ถ้าเป็นไปได้เป็นสมถะหรือไม่

เพิ่งพบปัญหาข้อนี้เป็นที่ถกเถียนกัน

อดีตท่านม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชเคยวิวาทะกับท่านพุทธทาสมาแล้ว

อ.คึกฤทธิ์บอกว่าจิตว่าง หรือว่างจิตไม่มี

ตรงข้ามกับทานพุทธทาสที่ท่านสอนเรื่องจิตว่าง

เอ! ความจริงน่าจะเรียกเวทนาว่างมากกว่า

ปัจจุบันการทำสมถะกำลังอินเทนน์หลังจากคุณหนูดีออกมาปลุกกระแส

ว่าสามารถสร้างคนให้เป็นอัฉริยะได้

ก็นับว่าได้เพียงครึ่งเดียว

หากเติมวิปัสนาลงไปด้วยจะสร้างอริยะบุคคลขึ้นมาอีกมากมาย

อัฉริยะก็จะกลายเป็นชั้นเด็กอนุบาลไปเลย

ขอเพียงอย่าสร้างนิมิตรขึ้นมา

แล้วหลงอยู่ในนิมิตรนั้นจนเข้าใจว่าเป็นนิพพาน

ดังโยคีบางท่านที่สร้างนิมิตรกระท่อมไม้จนกลายเป็นวิมานจนในที่สุดแยกไม่ออกว่าอันไหนจริงอันไหนนิมิตร

เด้อครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2007, 8:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สติ ต่อเนื่อง เป็น สมาธิ ระดับ ของสมาธิ ขนาดไหนล่ะ ถึงจะเอาไปใช้
ปรับปรุง ตนเอง ให้ ละการทำสิ่งไม่ดี...สร้างหรือทำแต่สิ่งดี ต่อตนเอง
mahapilot ตอบเมื่อ: 24 ก.ย.2007, 4:40 pm


ตำราท่านว่า อย่างน้อยๆ พึงปฏิบัติคือฝึกจิตให้ถึงสุขอีกระดับหนึ่ง คือนิรามิสสุข เมื่อเขาเสพสุขเช่นนั้นแล้ว จะเกิดความมั่นใจมั่นคงทางจริยธรรม
ดังตัวอย่างผู้ปฏิบัติข้างต้น (กระทู้นี้) และอีกตัวอย่างหนึ่งตามลิงค์นี้ครับ =>

http://www.dhammathai.org/webboard/view.php?No=7542

แนะนำให้ดูห้องแรกและห้องสุดท้าย ของ จขกท. ครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2007, 9:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แล้วคำว่าจิตว่างล่ะครับ
mes ตอบเมื่อ: 24 ก.ย.2007, 8:33 pm


ครับ คำว่า จิตว่างๆ เคยได้ยิน แต่ไม่แน่ใจ อีกทั้งไม่เคยถามผู้พูดว่า ว่างจากอะไร
ตรงนี้สำคัญครับ ควรให้ผู้นั้นอธิบายความก่อน จิตว่างจากอะไร
เมื่อท่านพูดอธิบายให้ฟังแล้ว คราวนี้พอคุยกันได้บ้าง

แต่ให้ผมพูดตามความเข้าใจที่ได้ศึกษามานะครับ จิตว่างจากกิเลสมีได้เป็นได้
แต่ว่างจากอารมณ์ไม่มีนะผมว่า ตามตำรานะขนาดพระอริยะยังมีนิพพานเป็นอารมณ์เลย

ยิ่งระดับพื้นๆ ก็ยิ่งต้องมีอารมณ์ให้จิตนึกหน่วงกำหนดรู้ที่เรียกว่า กรรมฐาน นะครับ
สูงขึ้นไปถึงระดับฌาน เช่นรูปฌาน อรูปฌาน ก็ใช้-มีอารมณ์ให้จิตนึกไว้ทั้งนั้น

การพยายามตั้งสติทำจิตให้ว่างเป็นไปได้ไหม

นี่ก็เช่นกัน ตั้งสติทำจิตให้ว่าง
ถามว่า ว่างจากอะไร ?
ผู้พูดควรตอบให้ได้ ตอบให้ตรงประเด็น
ไม่อย่างนั้นก็เหมือนๆ คำพูดที่ว่า โกง เขาโกง
ถ้าถามว่า เขาโกงอะไร นี่รายละเอียด ผู้พูดจะต้องบอกได้อธิบายได้ ว่าเขาโกงอะไรบ้าง

จิตว่างก็ดี ....ตั้งสติทำจิตให้ว่างก็ดี
ถามว่าว่างจากอะไร นี่คือรายละเอียดที่ผู้ทำผู้ปฏิบัติ ควรตอบเขาให้ได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mahapilot
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 24 ก.ย. 2007
ตอบ: 8
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2007, 10:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สวัสดี อีกรอบ

ตาม คำจำกัดความ ของคำว่ากรรมเก่า ผม ขอ ไม่พูด ตามหลัก จนเกินไปนะ เพราะมานยาวๆๆๆ มากๆ

เพราะเรื่องของเก่า เท่าที่ศึกษา และ พยายาม สังเกตุโดยใช้ สถิติ ( ถามชาวบ้านเขา )
กรรมเก่า สำหรับ ผม แบ่งเป็น 2 แบบ คือ กรรมดี(กุศลกรรม) และ กรรมไม่ดี(อกุศลกรรม)

โดย ผมไม่ได้ มองไป ที่ชาติ ที่แล้ว หรือชาติไหนๆ (เอาแค่ ปัจจุบันนี่แหละ)
ตำแหน่งการเกิดของเรา มีผล มาจาก พ่อและ แม่ หาก เราเกิด ใน ตระกูลดี มีฐานะ พอ ควร ก็ พอ จะเรียกได้ว่า ทำ กรรมดี มา เริ่ม รับ กรรม ดีกานแต่เกิด

แต่ สถานการณ์ รอบข้างอาจ มีผล ให้ กรรมดี ที่คุณได้รับอยู่เปลี่ยนไป ตัวอย่าง เกิดมา พ่อแม่ฐานะ ดี แต่เป็น คน เจ้า อามณ์ สอน ลูกไม่เป็น ย่อมมีผล ต่อ เด็ก ที่เกิดมา นี่ผม ถือ ว่าเป็น ผล กรรมอีกแบบ ที่มีผล ต่อ เด็ก คนนั้นในอนาคต ซึ่งก็ ถือ ว่าเป็น กรรมเกี่ยวเนื่อง

กรรม จากการสอนลูกไม่เป็น สอนให้เด็ก เอาแต่ใจตัวเอง ทำให้เกิด การปลูกฝัง แนว คิด ลงไป
หาก จะเรียก ง่ายๆ ตามแนว ศาสนา อาจเรียก อนุสัย หรือ หยาบหน่อย ก็ สันดาน ที่ ดีหรือไม่ดี ลงไป

ผล กรรม ของพ่อ แม่ ก็ จะตกลงที่เด็ก แล้วก็ ขึ้นอยู่กับเด็ก คนนี้ด้วยว่า สภาพของ กาย (มอง แบบวิทยาศาสตร์ นะ ว่า DNA ของเด็ก อาจ มีการพัฒนาการ มาหลายชั่วอายุคน ซึ่งย่อมมีผล ต่ออุปนิสัยใจคอ ของเด็กอยู่แล้ว)

สมมุติ เกิด มาฐานะ ดี ถูกเลี้ยงดู ไม่ดี แต่เด็ก คนนี้ มีสายพันธ์ จาก ปู่ย่า ตายาย ที่ดี
เด็ก คนนี้ จะได้ รับผล กรรมดี มากกว่า ซึ่งมีผล ต่อ นิสัย ของเด็ก ซึ่ง หากเป็น คนดี ก็ จะสร้างกรรมดี มากกว่า กรรมไม่ดี

นี่เป็น จาก ที่ผมทั้งศึกษา และสังเกตุมานะ ไม่ อยาก เอาไป อ้างอิง กับหลักกรรมทางพุทธศาสนาทั้งหมด เพราะ เรื่องของกรรม ยุบยิบ มากๆ

คำว่า กรรมเก่า สรุป ง่าย คือ ผล ของ การกระทำ ของพ่อ แม่ ปู่ย่า ตายาย ซึ่งจะมีผล มากระทบ กับ ผู้ที่ลืม ตามาดูโลก และ พัฒนา กรรมต่อ เนื่อง ไป อีก

หาก จะ สรุป รวมไป อีกหน่อย ก็ การรวมตัว ของวิญญาณ ( เรียกง่ายๆ ว่า เป็น ตัวอะไร ซักอย่าง ที่เคย ทำดีหรือไม่ดี ไว้ในอดีต ) เข้ากับ ร่างกาย ที่ เกิด อยู่ในครรภ์ ของมนุษย์ และ การเกิด มานี้ เพื่อ ชดใช้กรรมที่เคยสร้างไว้ และ สร้างกรรม ใหม่

คิดเห็น กับเรื่องนี้อย่างไร โปรดใช้วิจารณญาณ เพราะนี่เป็น การ เชื่อของผม ตามหลักศาสนา และหลัก วิทยาศาสตร์ ที่ผม พยายามมากๆ ที่จะ หา คำอธิบายให้กับตัวเอง

สาธุ
 

_________________
ไม่มีใครใหญ่เกินกรรม
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 7:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณครับคุณ mahapilot ทั้งหมดคือคำอธิบาย กรรมเก่า การใช้กรรมเก่าตามทัศนของคุณนะครับ

คุณ mes ล่ะครับประเด็นเดียวกัน มีความเห็นอย่างไรครับ กรรมเก่า และการใช้กรรมเก่า
แลกเปลี่ยนกันครับ อยากฟังหลายๆความเห็นครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 8:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่ทราบว่ากรรมเก่าเรียกว่าวิบากหรื่อไม่

ความจริงตัวหนังสือไม่สำคัญเท่าความหมายเป็นจริงและสาระตามเจตนาที่หมายความถึง

มีหลายท่านมัวยึดตัวอักษรภาษาอย่างเคร่งครัดจนเมา


ผมเชื่อในเรื่องวิบากกรรม

นั่นเท่ากับว่าผมเชื่อ สวรรค์ นรก ชาติอดีต และชาติอนาคต ของเรา

หมายความว่ามีชาติที่มีการจุติ ปฏิสนธิ ต่างหากจากโลก

การจุติหรือตายเป็นเพียงการลอกคราบ

การกระทำทั้งหลายทั้งดีและชั่วจะติดไปกับจิตเจตสิกไปจุติทุกชาติภพ

สัมบูรณ์ของธรรมชาติ หรือสัจจธรรมกฎแห่งกรรมนั้นผู้กระทำล่วงกรรมใดจะต้องรับกรรมนั้นๆแน่นอน

อันนี้มั้งครับที่เรียกว่ากรรมเก่า

ภาพของเรามีความเร็วเท่าแสง ภาพแห่งการกระทำใดๆของเราทุกภาพไม่มีวันหาย มันจะเดินทางไปในจักรวาลอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ติดตั้งกล้องฮับเบริดในอวกาศเพื่อประสงค์รับภาพการเกิดของดวงดาวที่ขอบจักรวาล

ยืนยันว่ากรรมไม่สูญ

แต่จะกลับมาสนองอย่างใดไม่ทราบได้

พระอนาคามีขึ้นไปจะพยากรณ์กรรมที่ทำได้ดีที่สุด หมายความว่ากรรมนั้นจะสนองในชาตินั้นแน่นอน

แต่คุณกรัชกายต้องมีความรู้ที่กว้างออกไปแน่

รีบปล่อยออกมาเร้ว
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2007, 10:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณทั้ง 2 ท่านครับ
ที่แสดงความเห็นเรื่องกรรมเก่าและการใช้กรรมเก่าที่เราๆท่านๆ เคยได้ยินกันบ่อยๆ
อีกทั้งคุณ mahapilot ก็กล่าวไว้ครอบคลุม
คุณ mes ก็กล่าวไว้เช่นกัน
ผมไม่สรุปนะครับ

แต่จะขอออกความเห็นประเด็นนี้บ้าง
กรรมเก่า ได้แก่ รูป-นาม หรือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่เป็นกรรมเก่า

ใช้กรรมเก่า มนุษย์ทุกผู้ทุกคน ต่างก็ใช้กรรมเก่ากันทั้งนั้น กล่าวคือใช้ตาดูรูป (แสงสีต่างๆ) ใช้หูฟังเสียง ใช้จมูกสูดกลิ่น ใช้ลิ้นลิ้มรส ใช้กายสัมผัส ใช้ใจรับรู้ทางอายตนะทั้ง 5 นี่เรียกว่าใช้กรรมเก่า

ในขณะที่ใช้กรรมเก่า ก็ก่อกรรมใหม่ขึ้นอีกด้วย...เพราะพื้นจิตใจมีกิเลสาสวะเป็นเชื้ออยู่
หาก เกิดอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีเอื้อต่อกุศลกรรม กุศลจิตก็เกิดบ่อยหน่อย
หาก เกิดอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่เอื้อต่อการทำกุศลกรรม อกุศลกรรมก็เกิดได้ง่าย อกุศลจิตก็เกิดบ่อย เกิดถี่ตามกัน
ได้รับเสวยผลแห่งกุศล อกุศลในขณะจิตนั้นๆ เสร็จสิ้นไปในตัวได้รับสุขทุกข์ไปเสร็จสิ้นด้วยกัน....ผมคิดเห็นประมาณนี้ครับ

...เพิ่งอ่านหนังสือพุทธธรรมพบ ดังนี้ครับ => กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
(สํ. สฬ. 18/217/166)

เป็นเจ้าบทบาท จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ (ปัจจัยภายนอก)

ซึ่งมีคติว่า “คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น”

และโยนิโสมนสิการซึ่งมีมติย้อนกลับว่า “ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจ

สำเร็จเป็นพระอรหันต์”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ต.ค.2007, 8:30 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง