ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
เจียง
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 04 ต.ค. 2004
ตอบ: 118
|
ตอบเมื่อ:
21 ธ.ค.2004, 8:33 am |
  |
ความสุขของบางคน อยู่ที่ได้เที่ยว ได้กิน บางคนมีความสุข เมื่อได้อ่านหนังสือ หรือฟังเพลง บางคนได้แต่งตัวสวย ก็มีความสุข การได้รับคำชม คำยกย่อง ก็ทำให้คนมีความสุข ความสุขของเด็ก อยู่ที่การเล่น ขณะที่ความสุขของผู้ใหญ่ล้วนมีรูปแบบหลากหลาย แตกต่างกันออกไป เรามักพากันคิดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นที่ตั้งของความสุขอยู่เสมอ เราไม่เคยคิดในด้านกลับว่า ความสุขที่แท้นั้น อยู่ในตัวเรานี่เอง เมื่อจิตได้ประจักษ์ชัดถึงความไม่ยึดมั่นถือมั่นในทางที่เป็นตัวเป็นตน เห็นชัดแจ้งถึงสภาวะของการปรุงแต่งทั้งมวลอันไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเสียได้ นั่นคือจิตที่ละวางลงได้ แม้ในความเป็นจิต อันเป็นเพียงตัวรู้อยู่เท่านั้น สภาวะเช่นนี้ เป็นยอดของความสุขที่แท้จริง
ไม่ยึดมั่นถือมั่นสำคัญหมาย
ไม่เอาเป็นเอาตายในสรรพสิ่ง
ไม่หลงยึดมายามาเป็นจริง
เป็นยอดยิ่งสุขสันต์นิรันดร
คัดจากหนังสือ ชีวิตงาม ประพันธ์โดย หม่อมหลวง จิตติ นพวงศ์ และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
|
|
_________________ วันคืนล่วงไป ๆ เรากำลังทำอะไรอยู่ |
|
  |
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 ธ.ค.2004, 4:37 pm |
  |
เมื่อยังอยู่ในโลก ให้ถือบุญเป็นความสุขไปพลางๆก่อน |
|
|
|
|
 |
สุรพงษ์
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
24 ธ.ค.2004, 12:23 pm |
  |
มีการกล่าวถึง "ความสุข" ไว้น่าสนใจในหนังสือ "คู่มือชีวิต" โดยพระธรรมปิฎก วัดญาณเวศกวัน ลองหาอ่านกันดูนะครับเพื่อจะได้ความรู้ด้านอื่น ๆด้วย |
|
|
|
|
 |
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
24 ธ.ค.2004, 3:43 pm |
  |
เห็นด้วยกับคุณโอ่ครับ เพราะสภาวะจิตที่ละวาง คลายความยึดมั่นถือมั่นได้นั่น ย่อมไม่ใช่สภาวะจิตของปุถุชนธรรมดา
และในพระไตรปิฎกก็กล่าวไว้ชัดเจนว่า การที่ผู้ใดจะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้นั้นเขาจะต้องสร้างบารมีอย่างน้อย 1 แสนมหากัป มหากัปหนึ่งก็กินเวลานานจนคาดไม่ถึงเลยทีเดียว
ซึ่งผมยอมรับว่าผมเชื่อครับ เพราะภูมิธรรมระดับพระอรหันต์นั้น ย่อมไม่ใช่การสอบเลื่อนชั้นที่ใช้เวลาแค่ไม่กี่ปี ก็เรียนจบได้อย่างแน่นอน
ดังนั้น ก็ให้สั่งสมบุญทั้งทาน ศีล ภาวนา เรื่อยไป ใจของเราก็จะถูกยกระดับในตามลำดับ เหมือนธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ลุ่มลึกไปตามลำดับ แล้วก็จะเข้าถึงได้ครับ |
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
07 ม.ค. 2005, 4:06 pm |
  |
ใช่ครับ ขอให้ทำบุญในพุทธศาสนาไว้เนืองๆ ทั้งทาน ศีล และภาวนา ให้ทำบ่อยๆ บุญนี้จะสะสมและนำพาไปสู่จุดหมายได้ในที่สุด อย่าทิ้งเรื่องการทำทาน และเรื่องการรักษาศีลแล้วหันไปภาวนาอย่างเดียว ให้พยายามทำให้ครบทั้งสามอย่าง ส่วนจะอย่างไหนมากหรือน้อยนั้น ก็แล้วแต่ความถนัดและสะดวกของแต่ละท่าน
ถ้ามีความเพียรทำได้มากยิ่งดี เพราะโอกาสของแต่ละคนไม่เหมือนกัน และไม่เท่ากัน คือถ้าชีวิตเรายังเวยนว่ายตายเกิดอยู่ พยายามให้อยู่ในสุคติให้มากที่สุด ซึ่งก็ต้องอาศัยบุญ จะอาศัยอย่างอื่นไม่ได้ ดังนั้นต้องทำบุญให้มากๆ พยายามในเรื่องนี้ ถึงจะไม่ทำทาน ก็รักษาศีล ภาวนา หรือการให้ทาน อย่างเช่นการเปิดเวบเผยแพร่ธรรมะนี้ก็ได้บุญ คือตั้งใจว่าจะพัฒนาให้เป็นประโยชน์มากขึ้น และทำให้เกิดคุณประโยชน์แก่คนที่เข้ามาดูมาเปิดอ่าน ถ้าทำเช่นนี้นานๆต่อเนื่องมากๆ บุญที่ทำอย่างนี้ก็สะสมมากขึ้นเหมือนกัน ความปรารถนาที่จะให้บุคคลได้รู้ธรรมะ ได้เกิดความศรัทธา ที่จะรักษาศีลก็ดี ทำทานก็ดี ความรู้ในด้านธรรมะก็ดี สิ่งเหล่านี้เป็นกุศลผลบุญทั้งนั้น ความตั้งใจที่เป็นกุศลนี้ก็คงเป็นอุปนิสัยไปในข้างหน้าของทุกคนด้วยเป็นแน่ |
|
|
|
|
 |
|