|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ผู้เยี่ยมชม.
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 22 พ.ค. 2007
ตอบ: 95
|
ตอบเมื่อ:
21 ก.ค.2007, 8:12 pm |
  |
อยากเข้าใจความหมายของคำแปล ครับ |
|
|
|
  |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
21 ก.ค.2007, 11:30 pm |
  |
"....รูปัง อะนิจจัง,
รูปไม่เที่ยง;
เวทนา อะนิจจา,
เวทนาไม่เที่ยง;
สัญญา อะนิจจา,
สัญญาไม่เที่ยง;
สังขารา อะนิจจา,
สังขารไม่เที่ยง;
วิญญานัง อะนิจจัง,
วิญญาณ ไม่เที่ยง;
รูปปัง อนัตตา,
รูปไม่ใช่ตัวตน;
เวทะนา อนัตตา
เวทนาไม่ใช่ตัวตน;
สัญญา อนัตตา
สัญญาไม่ใช่ตัวตน;
สังขารา อนัตตา,
สังขารไม่ใช่ตัวตน;
วิญญาณัง อนัตตา,
วิญญาณ ไม่ใช่ตัวตน;
สัพเพ สังขารา อนิจจา,
สังขารทั้งหลาย ทั้งปวง ไม่เที่ยง;
สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ,
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้...."
เป็นบางส่วนที่คัดลอกมาจากบท "สังเวคปริกิตตนปาฐะ"
อันกล่าวอ้างถึงพระธรรม
ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงให้เราได้รู้เกี่ยวกับ
ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ค่ะ]
(ที่มา : คู่มือชาวพุทธ : บททำวัตร สวดมนต์ แปลพิเศษ :
สำนักวิปัสสนากรรมฐานมเหยงคณ์ จ. พระนครศรีอยุธยา, หน้า ๑๓) |
|
|
|
    |
 |
ผู้เยี่ยมชม.
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 22 พ.ค. 2007
ตอบ: 95
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ค.2007, 11:33 am |
  |
ธรรมทั้งหลาย ทั้งปวง เป็น อนัตตา
ในเมื่อ ธรรม ทั้งหลายทั้งปวง เป็น อนัตตา คือ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนิจจตา ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ของเรา ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่มีตัวตน ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเราไขว่คว้าเอามาไม่ได้
ดังนี้ การกล่าวว่า ธรรมนี้เป็นของเรา ธรรมนี้เราไขว่คว้ามาได้ เราจะใช้ธรรมนี้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของเรา คือเป็นไปเพื่อการมีอยู่แห่งอัตตา นั้น แสดงว่าบุคคลผู้กล่าวความดังนี้ ไม่เข้าใจประโยคธรรมที่ว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ ใช่ไหมครับ
ผมเข้าใจถูกไหมครับ รบกวนท่านผู้มีความรู้ช่วยกล่าวยืนยันด้วย ขอบคุณครับ |
|
|
|
  |
 |
เทวประภาส
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 14 ก.ค. 2007
ตอบ: 18
ที่อยู่ (จังหวัด): จ.อุตรดิตถ์
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ค.2007, 1:39 pm |
  |
ไม่มีความรู้อันใดดอกครับ แต่อยากเข้ามาตอบ
ธรรมนี้เป็นของเรา ธรรมนี้เราไขว่คว้ามาได้ เราจะใช้ธรรมนี้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของเรา คือเป็นไปเพื่อการมีอยู่แห่งอัตตา
ถ้ามองในแง่โลกียะ-
ก็อาจจะเป็นธรรมะสำหรับการดำรงชีวิตประจำวันเช่นใช้ธรรมะทำหน้าที่ของลูกให้ดี
หรือปฏิบัติศีล 5 ของมนุษย์ไม่ให้พร่อง เพื่อการดำรงอัตตะภาวะหรือชีวิตให้มีความสุข
อันนี้ก็เป็นธรรมะในมุมมองของการอยู่ในโลกครับ
แต่ถ้าเป็นโลกุตตระ
การมองโลกโดยยึดธรรมเพื่อให้ถึงสภาวะแห่งนิวารณะอันมีอัตตะเป็นที่สุด
เช่นนี้ไม่ใช่นิพพานของพระพุทธองค์
และผิดหลักการแห่งพระพุทธศาสนาโดยสิ้นเชิงขอรับ
แต่ในการปฏิบัติจำเป็นยิ่งที่จะต้องยึดแนวทางปฏิบัติเพื่อละตัวตนครับ
แต่เมื่อพายเรือถึงฝั่งแล้ว ก็หาจำที่จะต้องแบกเรือเดินขึ้นฝั่งไปด้วยไม่...
ฝากไว้ครับ
"คิดเท่าไรก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดได้จึงรู้ แต่ต้องอาศัยความคิดนั้นแหละจึงรู้"
-หลวงปู่ดุลย์ อตุโล- |
|
_________________ "สัจธรรมของชีวิตคือการเปลี่ยนแปลง อย่าไปยึดติดว่า ทุกอย่างจะคงเดิมถาวร" |
|
    |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ค.2007, 2:22 pm |
  |
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.
เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์, ความหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทาง
แห่งความหมดจด.
สองบทว่า สพฺเพ ธมฺมา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาขันธ์ ๕ นี้เอง.
บทว่า อนตฺตา ความว่า ชื่อว่า อนัตตา คือว่างเปล่า ไม่มีเจ้าของ ได้แก่ไม่มีอิสระ เพราะอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ เพราะใครๆ ไม่อาจให้เป็นไปในอำนาจว่า "ธรรมทั้งปวงจงอย่าแก่ จงอย่าตาย."
ธรรมะสวัสดี
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=30&p=2  |
|
|
|
   |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ค.2007, 5:39 pm |
  |
หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ
ทุกข์และความดับทุกข์
และแก่นธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ
อันเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ ได้แก่
ไตรลักษณ์ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ ๔ และพระนิพพาน
"ไตรลักษณ์"
อธิบายไว้ว่าสรรพสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนอยู่ในสภาวะแห่งทุกข์
ไม่เที่ยง มีเกิด ตั้งอยู่และดับไปและไม่มีตัว มีตน
"อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท"
หมายถึง ความจริงอันเป็นกฎธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นเช่นนี้
ล้วนแล้วแต่เป็นไปตามเหตุปัจจัย
ส่วน
"อริยสัจ ๔"
เป็นกฎธรรมชาติที่เชื่อมโยงกับมนุษย์ที่พระพุทธองค์ทรงบอก
เพื่อให้มนุษย์นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตหรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของตน
(เป็นครั้งๆ ไป) ซึ่งยังคงเป็นไปในทางโลกียะ
หรือนำไปปฏิบัติให้ล่วงพ้นความทุกข์โดยสิ้นเชิง นั่นคือเข้าสู่สภาวะ
นิพพาน
อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นไปในทางโลกุตตระ
ดังนั้น....ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ จึงล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้กฎธรรมชาตินี้แล้วทั้งสิ้น
เราไม่อาจยึดมั่นถือมั่นได้ เพราะมันมีเกิด ตั้งอยู่ และดับไป ไม่เป็นตัวเป็นตน
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ สิ่งแวดล้อมในชีวิตของเรา
หรืออะไรก็ตามที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง
มันไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเรา
เราไม่อาจบังคับให้มันเป็นไปตามใจปรารถนาของเราได้
ทุกสิ่งทุกอย่างจึงเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นไปตามกฎธรรมชาติ
และเมื่อกล่าวถึงประเด็น อนัตตา
ทุกสิ่งทุกอย่างจึงล้วนแล้วแต่เป็นเช่นนั้นเอง ไม่เป็นตัวเป็นตน
รวมทั้ง ธรรม ด้วยเช่นกัน
ดังนี้ จึงเป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่า
สัพเพ ธรรมา อนัตตาติ
รวมทั้งคำกล่าวที่ว่า...
สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย
ธรรมทั้งหลายไม่ควรยึดมั่น
อย่างไรก็ตาม....
"แต่ในการปฏิบัติจำเป็นยิ่งที่จะต้องยึดแนวทางปฏิบัติเพื่อละตัวตนครับ
แต่เมื่อพายเรือถึงฝั่งแล้ว ก็หาจำที่จะต้องแบกเรือเดินขึ้นฝั่งไปด้วยไม่..."
(เป็นดังที่คุณ tmd กล่าวไว้ค่ะ)
แต่เราต้องวางใจปฏิบัติต่อมันให้ถูก
ด้วยปัญญา คือด้วยความรู้เท่าทัน และตรงกับเหตุปัจจัยค่ะ
|
|
|
|
    |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |