ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
26 พ.ค.2007, 1:37 am |
  |
ปางประสูติ
เป็นประติมากรรมพุทธประวัติปางประสูติที่พระนางสิริมหามายา (พุทธมารดา) ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาทรงเหนี่ยวกิ่งสาละ พระบรมโพธิสัตว์อยู่ในพระอิริยาบถยืน พร้อมด้วยบรรดาข้าราชบริพาร บางแบบมีพระพรหม พระอินทร์ และเหล่าเทวดาแวดล้อมอยู่ด้วย
ความเป็นมาของปางประสูติ
พระบรมโพธิสัตว์จุติจากดุสิตเทวโลกเสด็จปฏิสนธิในพระครรภ์พระนางสิริมหามายา อัครมเหสีของพระเจ้า สุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ เมื่อพระนางทรงพระครรภ์แก่ได้เสด็จกลับไปคลอดที่กรุงเทวหนะ ซึ่งเป็นบ้านเกิดตามธรรมเนียม ครั้งเสด็จถึงลุมพินีวันซึ่งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (วันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖) ในเวลาใกล้เที่ยง พระนางก็ประสูติพระโอรส ณ โคนต้นสาละ ในพระอิริยาบถยืน
พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งสาละ เมื่อประสูติพระราชกุมารก็อยู่ในพระอิริยาบถยืนหันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ เสด็จย่างพระบาทไป ๗ ก้าว มีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับ ๗ ดอก แล้วทรงกล่าววาจาอันองอาจว่า
“เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้การเกิดใหม่ไม่มี” |
|
|
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
26 พ.ค.2007, 1:40 am |
  |
ปางสมาธิหรือปางตรัสรู้
เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในพระอิริยบถประทับนั่ง ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย
ความเป็นมาของปางตรัสรู้
หลังจากที่พระบรมโพธิสัตว์มีชัยชนะเหนิพญมารแล้ว ทรงบำเพ็ญสมาธิต่อไป เมื่อจิต ตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสปราศจากอุปกิเลสแล้ว ในปฐมยามทรงบรรลุปุพเพนิวาสนุสติญาณ คือ ระลึกชาติได้หลายชาติไม่มีที่สิ้นสุด ในมัชฌิมยามทรงบรรลุจตูปปาตญาณ คือ สามารถหยั่งรู้การเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์ว่า สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วตายไป ประสบสุขและทุกข์ตามกรรมที่ทำไว้ และในปัจฉิมยามพระองค์ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลารุ่งอรุโณทัย ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ หรือขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (วันวิสาขบูชา) สถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปัจจุบันอยู่ในตำบลพุทธคยา ประเทศอินเดีย |
|
|
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
26 พ.ค.2007, 1:48 am |
  |
ปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ปางที่ ๑
พระพุทธรูปปางนี้ประทับนอนตะแคงขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบพระวรกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวาวางหงายอยู่ที่พื้นขนาบพระเขนย อันเป็นพระอิริยาบถตามธรรมชาติ ขณะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชน
ปางที่ ๒
หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระบรมศพได้ถูกนำมาจัดแต่งให้เหมาะสม ซึ่งตามพุทธประวัติกล่าวว่า ทรงบรรทมหงายพระบาทเหยียดเสมอกัน พระหัตถ์ประสานวางทับซ้อนกันบนพระอุระ บ้างก็ว่าทับซ้อนบนพระนาภี ดังปรากฏเป็นพุทธลักษณะของพระพุทธรูปปางนี้
ปางที่ ๓
พระพุทธรูปปางนี้แสดงอิริยบถประทับนอนหงายพระองค์ทอดยาว พระบาทเหยียดขนาบกันทั้งสองข้าง พระหัตถ์วางทาบยาวขนาบพระวรกาย พระมหากัสสปะยืนถวายบังคมอยู่เบื้องพระบาท เพื่อระลึกถึงพุทธประวัติเมื่อครั้งงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ซึ่งเพลิงไม่ลุกไหม้ต่อเมื่อ พระมหากัสสปะ พระเถระผู้ใหญ่เดินทางมาถึง เพลิงก็ลุกไหม้เป็นที่อัศจรรย์
ความเป็นมาของปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี การถวายพระเพลิงได้จัดขึ้น ณ มกุฎพันธเจดีย์ กรุงกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันแรม ๘ ค่ำ (วันอัฏฐมี) หลังจากถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว ๓ เดือน คณะสงฆ์ได้สังคยานาพระไตรปิฎก การทำปฐมสังคายนาใช้เวลาทั้งสิ้น ๗ เดือน
ที่มา: ปางพระพุทธรูป หัวข้อธรรมในคำกลอน
และเยือนแดนพุทธศิลป์ เที่ยวถิ่นพุทธไสยาสน์ |
|
|
|
    |
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
26 พ.ค.2007, 8:13 am |
  |
เอ.........พระพุทธเจ้าประสูติในวันพุธหรือวันศุกร์กันแน่ละครับ สงสัยจัง ผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ |
|
|
|
|
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
26 พ.ค.2007, 8:15 am |
  |
|
|
 |
|