Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เรียนถามท่านผู้รู้เกี่ยวกับธรรมะครูบาอาจารย์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ผู้น้อย...
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ย.2004, 10:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระอาจารย์คำเขียน



ส่วนมากผู้ที่ปฏิบัติธรรมตอนบำเพ็ญทางจิต

ชอบจะไปอยู่ ไปติดอยู่กับความคิด

ไปติดอยู่กับความรู้

ไปติดอยู่กับความสุข

ไปติดอยู่กับความทุกข์

ไปเป็นผู้เป็นเสียเอง

ไม่ได้เป็นผู้ดู

ที่สุดมันก็มีปัญหา



อันความคิดนี่เราอย่าไปห้าม

อย่าไปเสียใจอย่าไปอยู่กับมัน

บางคนไปห้ามความคิด

ไปเสียใจกับความคิดเรื่องโน้น เรื่องนี้

อันนั้นไม่ถูก ให้มันคิดไป

แต่ว่าเรารู้เท่าทันทุกที ที่มันคิดมันเผลอ

เราใส่ใจกับ การกำหนดความรู้สึกตัว เท่านี้หล่ะ





ศาสนาไม่ใช่เป็นเรื่องนับถือ

ศาสนาเป็นเรื่องของการเข้าถึง

( วิธีแก้เซ้งสร้างสุขกับการเจริญสติ )



ท่านผู้รู้ช่วยอธิบายธรรมะของหลวงพ่อคำเขียนด้วยครับ



ส่วนมากผู้ที่ปฏิบัติธรรมตอนบำเพ็ญทางจิต



ชอบจะไปอยู่ ไปติดอยู่กับความคิด



ไปติดอยู่กับความรู้ ....ติดอย่างไร....แก้อย่างไร



ไปติดอยู่กับความสุข ....ติดอย่างไร....แก้อย่างไร



ไปติดอยู่กับความทุกข์ ....ติดอย่างไร....แก้อย่างไร



ไปเป็นผู้เป็นเสียเอง ....เป็นอย่างไร....แก้อย่างไร



ไม่ได้เป็นผู้ดู

ที่สุดมันก็มีปัญหา



ขอเป็นธรรมะที่รู้จากการปฏิบัตินะครับ

ขอคุณครับ
 
ผู้ยังมีกิเลส
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ย.2004, 1:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การที่จะเข้าใจอะไรก็ตามต้องมาจากจิตของเราเองเท่านั้น ไม่ใช่ มาจากการอ่าน การฟังจากผู้อื่น อันนั้นมันจะเป็นสัญญา ที่เกาะที่จิตของเราแบบเหนียวแน่น โดยเราไม่รู้ตัวคิดว่าสัญญาเป็นปัญญา

เราต้องทำเป็นไม่รู้ ภาวนาไปทุก ขณะ ให้อยู่กับคำภาวยนาตลอด รู้ลมหายใจควบคู่ไปด้วย ในระยะแรกอาจลืมไปบาง ก็กลับมาภาวนา จนชำนาญ แล้วก็จะเหลือแต่ดูลมเองอย่างเดียว ถึงตอนนั้น เราจะเห็นว่าเมื่ออารมณ์ของกิเลสมากระทบ เราจะเห็นได้ชัดเจน แต่บางคนที่มีสัญญามากหน่อย ก็เลยข้ามขั้นไป ดูลมเลย ซึ่งจะทำให้สติที่จะกำกับจิตไว้ไม่เข็มแข็งพอ

ภาวนาไปก่อนแล้วจะเข้าใจเอง....ให้อยู่ในคำภาวนาพร้อมลม ทุกอริยาบท นั่ง นอน ยืน เดิน พอได้ที่มันจะเข้าใจเอง

สัญญา ที่เป็นกันมากคือ ทุกคนรู้ว่าถ้าขึ้นฌาณ1 คำภาวนาหายไป เลย พุทโธ หน่อยหนึ่งแล้วดูลม ทำให้ไม่เป็นธรรมชาติของจิต แต่เป็นการใช้สัญญาตรงนี้ มาเป็นตัวอุปทาน แต่งจิต ว่า คำภาวนาหายไปเราต้อง พุทโธ จนถึงที่สุด จริง อย่าให้หาย ไป ในทุกอริยาบท....แล้วจะทำให้จิตมีสติมากๆๆๆๆ ขึ้นไปเอง
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ย.2004, 2:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่าติดอยู่นั้น คงจะหมายถึงการติดอยู่กับ รูป รส กลิ่น เสียง และ สัมผัส

เหตุที่ติดอยู่กับสิ่งเหล่านั้น เพราะอารมณืแห่ง รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสนั้น เป็นที่น่ารัก น่าใคร่ น่าพอใจจึงเป็นเหตุที่ทำให้ต้องติดอยู่ ถ้าเห็นตามความเป็นจริงว่ารูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสนั้น ไม่น่ารัก ไม่น่าใคร ไม่น่าพอใจ ไม่น่ายินดีแล้ว เหตุแห่งการติดอยู่ก็คงจะไม่มี แต่มันมีเหตุจึงติดอยู่ในอารมณ์นั้นๆ

ส่วนการมองเป็นผู้มอง หรือเป็นผู้สักแต่รู้ในอารมณ์นั้น ไม่พัวพันในอารมณ์นั้นก็เป็นการเจริญสติให้รู้อยู่ ถ้าทำให้มาก ให้ชำนาญ ทำให้บ่อยแล้ว การติดอยู่ก็จะค่อยๆหมดไป หรืออารมณ์แบบนั้นก็อ่อนกำลังลงไป คงจะเป็นอย่างนี้กระมัง
 
amai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435

ตอบตอบเมื่อ: 01 ธ.ค.2004, 3:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



เหตุที่

ส่วนมากผู้ที่ปฏิบัติธรรมตอนบำเพ็ญทางจิต

ชอบจะไปอยู่ ไปติดอยู่กับความคิด

ไปติดอยู่กับความรู้

ไปติดอยู่กับความสุข

ไปติดอยู่กับความทุกข์

ไปเป็นผู้เป็นเสียเอง

ไม่ได้เป็นผู้ดู

ที่สุดมันก็มีปัญหา



เพราะบุคคลที่ไม่ได้รับการฝึกตน

มีคำกล่าวที่ว่า จิตใจคนเรามักชอบไหล

ลงสู่ที่ต่ำ หากคิดจะทำดีควรต้องฝืนใจ



(เองี้ถ้าชอบทำความดีมิต้องฝืนใจทำชั่วหรือนี่ อิอิอิ)



ทีนี้ เหตุที่นักปฏิบัติธรรมมักเกิดอาการไปติดไปยึด

เพราะเมื่อแรกเริ่มปฏิบัติธรรม คือฝึกสมาธิ

เราก็จะต้องเริ่มมีคำบริกรรม เป็นที่เกาะที่ยึด

เหมือนคนเคยเดินขึ้นบันไดเลื่อน แล้วก็เอามือเกาะตรงราวบันไดน๊ะค่ะ เคยเห็นไม๊ค่ะ

อย่างบางห้างฯ ถ้าตัวราวบันไดเสียไม่เลื่อนก็ต้องมีคำเตือน

ไว้ว่าอย่าเกาะราว

ตอนนั้นคุณพี่สาวกะอมัยไปห้างฯนึงกัน แล้วบันไดเลื่อนราวเกาะเสียไปข้างนึง แล้วมีคำเตือนแบบนี้ พี่สาวก็ถามอมัยว่า

ทำไมต้องเตือนไว้ด้วย อมัยเลยบอกไปว่า ขืนคนเคยพอขึ้นบันไดเลือนปั๊บมือเกาะปุ๊บ ตัวบันไดอ่ะเลื่อน แต่ราวที่เกาะไม่เลื่อน แล้วมือไปเกาะอยู่ คงมีอาการตกบันไดแหงๆ



พูดแบบนี้เข้าใจป่ะค่ะ นี่พูดเองเริ่มเง็งเอง



คือง่ายๆก็ คนมีสมาธิ ก็เหมือนบ้านมีบันไดเลื่อน

ถึงไม่ต้องเอามือเกาะราวบันได ก็ไม่เป็นไร

แต่เหตุที่ความเคยชินที่เคยต้องเอามือเกาะราวบันได

ถ้าไม่ถอนมันก็เกาะไปงั้นหล่ะค่ะ

หลวงพ่อคำเขียน คงหมายความงี้มั๊งค่ะ



คือจากที่ฝึกสมถ ก็ให้เลื่อนเป็นวิปัสสนา

ใช้ปัญญาในการเจริญสติน่ะค่ะ



ถ้าตอบผิดไง ขอโทษด้วยค่ะ

ผู้รู้ตัวจริงผ่านมาแก้ไขให้ด้วยน๊ะค่ะ



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 01 ธ.ค.2004, 5:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ส่วนมากผู้ที่ปฏิบัติธรรมตอนบำเพ็ญทางจิต ชอบจะไปอยู่ ไปติดอยู่กับความคิด



ตั้งแต่ไหน แต่ไรมาแล้ว เราจะเข้าใจรู้สึกว่าความคิดคือเรา เราคือความคิด

เมื่อไม่มีความคิด ความเป็นตัวเราก็จะหายไป แต่เมื่อไรที่ความคิดเกิด ความเป็นเราก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น



ความรู้สึกว่าตัวเรานั้น ไม่ได้เกิดเพราะความคิด แต่เกิดเพราะว่าเข้าใจผิด

คิดว่าตัวเรามีอยู่ และเมื่อความคิดเกิดขึ้นก็ยิ่งตอกย้ำความเป็นตัวเรามากขึ้น



ในการปฏิบัตินั้น เพื่อต้องการหลุดพ้นจากความเป็นตัวเรา ของเราทั้งหมดสิ้น

เมื่อใดที่ยังมีความรู้สึกว่ายังมีตัวเราอยู่ นั้นก็หมายความว่าเรายังไม่เป็นอิสระอย่างแท้จริง



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 01 ธ.ค.2004, 6:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เราไม่สามารถไปบังคับไม่ให้ความคิดเกิดขึ้นด้วยวิธีใดๆ ทั้งสิ้น

และก็ไม่ควรด้วยที่จะไปบังคับให้ความคิดไม่ให้เกิดขึ้นหรือหยุดคิด



เพราะการทำเช่นนั้นเป็นการสร้างความเป็นตัวตน (อัตตา) ขึ้นมา

ควรรักษาสติแล้วดูความคิดที่เกิดขึ้นนั้นด้วยการวางเฉย ไม่สนใจ



ความคิดเมื่อไรไม่สนใจ ไม่คิดต่อ ไม่ปรุงแต่ง เพิ่มเติมต่อ ความคิดนั้นก็จางหายไป



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
satima
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 120

ตอบตอบเมื่อ: 01 ธ.ค.2004, 10:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุค่ะ ท่านสายลม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 01 ธ.ค.2004, 10:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยังกล่าวไม่จบนะครับ



ว่างจะมากล่าวต่อให้จบทั้งหมดที่คุณผู้น้อยถามไว้



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
satima
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 120

ตอบตอบเมื่อ: 01 ธ.ค.2004, 11:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทั้งหมดนั้น อยู่ที่การรู้ตัว เรียกตามสำนวนหลวงพ่อเทียนคือทำความ

รู้สึกตัว (การมีสติสัมปชัญญะ)



เมื่อรู้ตัว หรือทำความรู้สึกตัว (มีสติสัมปชัญญะ) กับทุกสิ่งแม้กระทั่งความคิด

สิ่งเหล่านั้นก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป โดยไม่มีตัวเราเข้าไปเกี่ยวข้อง

ทำให้เราไม่ไปติด ในความคิด ความสุข ความทุกข์ นั้น



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ธ.ค.2004, 11:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่เคยเป็นสมาธิมาแล้วอาการเป็นยังไงครับ

สมาธิไม่น่าจะเป็นของติด แต่ความสุขในสมาธินั้นไม่ใช่ตัวสมาธิ สมาธิเกิดขึ้นเมื่อจิตปล่อยวางจากอารมณ์ต่างๆแล้ววางเฉย (จากการทำอานาปานสติ) เมื่อวางอารมณืแล้วจิตจึงรวมกันได้ นั่นเป็นสมาธิ

สมาธิที่เจริญสติอย่างถูกต้อง เรียกว่าสัมมาสมาธิ เป็นองค์มรรคในอริยมรรคมีองค์แปด ถ้าไม่มีสมาธิก็ไม่ได้มรรค เมื่อไม่ได้มรรคก็ไม่มีทางตรัสรู้

จะเห็นว่าปัญญานั้นต้องอาศัยสมาธิ ไม่ใช่ไม่อาศัย

ท่านเปรียบเทียบว่า ปัญญาเหมือนมีดที่คม สมาธิเหมือนการมีกำลังยืนอยู่ในที่มั่น แล้วใช้กำลังฟันมีดตัดกิเลสให้ขาด เพราะถ้ามีแต่มีดแต่ไม่มีกำลังสมาธิมีดนั้นก็จะตัดอะไรไม่ได้ เพราะไม่มีกำลัง

ถ้ามีแต่กำลัง ไม่มีมีดก็ตัดอะไรไม่ได้

สมาธิกับปัญญาจึงต้องอาศัยกันและกัน

การบรรลุโสดาบันก็ใช้กำลังสมาธิระดับขณิกสมาธิเป็นอย่างน้อย การบรรลุพระอรหันต์ที่ท่านไม่มีฤทธิ์อะไรเลยที่จะแสดงให้ดู นอกจากปัญญา เมื่อตอนท่านใช้กำลังพิจารณาความจริงและเห็นความจริงนั้น ท่านจะต้องมีกำลังสมาธิระดับปฐมฌาน ท่านไม่ได้บรรลุปฐมฌาน แต่อาศัยกำลังสมาธิรวมกันระดับเท่าปฐมฌานในพริบตาเดียว แล้วกำลังสมาธินั้นจะหายไปไม่เกิดขึ้นอีก ถ้าไม่มีกำลังสมาธิเท่าระดับปฐมฌานจะบรรลุพระอรหันต์ไม่ได้ ส่วนผู้บรรลุโสดาบัน ด้วยขณิกสมาธิ ท่านก็จะพัฒนาไปอยู่ในชั้นอนาคามีพรหมและต้องใช้สมาธิตัดกิเลสในระดับสูงขึ้น คือสมาธิต้องใช้ แต่ใช้ในเวลาไหนเท่านั้น และใช้เท่าที่จำเป็นก็ได้ ถ้าสมาธิไม่มีประโยชน์อะไรเลย มรรคแปด จะบอกว่า สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ได้อย่างไร
 
satima
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 120

ตอบตอบเมื่อ: 02 ธ.ค.2004, 8:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ส่วนมากผู้ที่ปฏิบัติธรรมตอนบำเพ็ญทางจิต



ชอบจะไปอยู่ ไปติดอยู่กับความคิด



ไปติดอยู่กับความรู้ ....ติดอย่างไร....แก้อย่างไร



ไปติดอยู่กับความสุข ....ติดอย่างไร....แก้อย่างไร



ไปติดอยู่กับความทุกข์ ....ติดอย่างไร....แก้อย่างไร



ไปเป็นผู้เป็นเสียเอง ....เป็นอย่างไร....แก้อย่างไร



ไม่ได้เป็นผู้ดู

ที่สุดมันก็มีปัญหา



ข้างบนคือคำถาม ที่จริงคำตอบมันมีแค่คำตอบเดียวสั้นๆ ว่า

ต้องรู้ตัว ทำความรู้ตัว หรือการมีสติสัมปชัญญะกับทุกสภาวะค่ะ



ลองตอบตามคำถามดู ในภาคปฏิบัติที่พบเองนะคะ



1. การติดอยู่กับความรู้ ติดอย่างไร แก้อย่างไร



การติดอยู่ในความรู้นั้น เพราะเรามีขันธ์ห้านี่เอง มีอุปทานขันธ์ให้เรา

จำได้ หมายรู้ ด้วยการเรียนรู้ ด้วยปัญญาชนิดที่เรียกว่า สุตตมยปัญญาคือ

รู้ได้เพราะเรียน เพราะฟัง เพราะจดจำมา อย่างไรก็ตาม เรามีความจำได้

หมายรู้แบบนี้ โดยธรรมชาติของเราเอง



ไม่ใช่สิ่งที่ต้องรังเกียจเดียดฉันท์อะไร เพราะมันเป็นธรรมชาติของเรา

เป็นขันธ์ที่มีอุปทาน ยึดมั่นอยู่เสมอ เราจึงจำได้ และคิดอยู่ตลอดเวลา

เหมือนคลื่นที่เกิดขึ้นอยู่เสมอๆ โดยที่เราไม่สามารถจะรู้ได้เลย นอกจาก

ภาวนาให้ จิตตั้งมั่นพอ ที่จะมีสติสัมปชัญญะ เห็นสิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นเสมอๆ



วิธีแก้ ก็เพียงมีสติฯ กับความรู้ ความจำ อันจะผุดขึ้นมาเสมอๆ ตามธรรมชาติ

ของมันเองค่ะ และวางใจเป็นกลางกับมัน เป็นเพียงผู้รู้ ผู้ดู ให้ได้เท่านั้น



2. ติดกับความสุข ติดอย่างไร แก้อย่างไร



ขอตอบรวมได้เลยกับข้อ 3 คือสุขและทุกข์นั้น ความจริงก็เป็นเรื่องเดียวกัน

ที่เรามองว่าเป็นคนละด้านเท่านั้นเอง การติด ก็คือการยึดนั่นเอง ยึดว่าสุข

และทุกข์นั้น เป็นสุขและทุกข์ของเรา ไม่ได้เป็นสุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นเฉยๆ



แก้ด้วยการมีสติฯ เห็นว่า สุขและทุกข์นั้น ต่างก็เกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัยของมัน

ไม่คงทน คือไตรลักษณ์นั่นเอง เมื่อมีสติฯ เห็นมันก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่

และดับไปของมันเช่นนั้นเอง



4. ข้ามไปเลยเป็นผู้เป็นเสียเอง แก้อย่างไร



เพราะเหตุที่เราไม่สามารถ มีสติฯ พอที่จะเป็นผู้ดูอยู่เฉยๆ แต่เราถลำลงไป

เป็นในอารมณ์นั้นๆ เอง ไม่สามารถมีจิตตั้งมันพอที่จะเห็นทุกอย่างตามที่มัน

เป็นจริงๆ ไม่สามารถเข้าใจในกฏไตรลักษณ์ได้จริง เพราะเมื่อใด เราเห็น

เพียงสักแต่ว่ามันเป็นสิ่งที่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์

ในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด



ข้อนี้ การแก้ไขก็เหมือนข้ออื่นๆ สรุปลงตรงที่ การมีสติสัมปชัญญะ หรือเรียกว่า

สัมมาสติ ก็ได้ค่ะ อย่างสำนวนของหลวงพ่อเทียน ก็คือการทำความรู้สึกตัว

ไม่ใช่สติแบบโลกๆ แต่เป็นสติทางธรรม ชนิดที่เรียกว่า สติสัมปชัญญะ



ในทางปฏิบัตินั้น สายหลวงพ่อเทียนสอนให้ "รู้สึกตัว" คือการเจริญสติฯ

โดยอาศัยการเคลื่อนไหวของกายเป็นสือให้จิตรู้สึกตัวขึ้นมา เมื่อรู้สึกตัวขึ้นมา

ก็สามารถเห็นทุกอย่างอย่างเป็นกลาง (เห็นตามความเป็นจริง) ไม่แทรกแซง

ด้วยความคิดของเรา ไม่มีเราที่เป็นสุขเป็นทุกข์ แต่มีสุขมีทุกข์เป็นปกติ่ของมัน

เป็นธรรมชาติของเขาเอง และเราก็ไม่ถลำลงไปที่จะเป็น แต่เป็นผู้ดู ผู้รู้ อยู่

เท่านั้นเองค่ะ

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 02 ธ.ค.2004, 9:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน





อนุโมทนาสาธุๆๆ ครับน้านิด



ผมคงไม่ต้องอธิบายต่อแล้วเพราะที่คุณสติมากล่าวไว้นั้นก็พอที่จะแก้ข้อสงสัยอย่างดีแล้ว หรือแม้บางท่านไม่เคยสงสัยแต่เมื่อเข้ามาอ่านก็จะได้รับความรู้ในเรื่องปฏิบัติพอควร



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ผู้น้อย ....
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ธ.ค.2004, 10:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณทุก ๆ ท่านครับโดยเฉพาะคำตอบของคุณสติมา

เพราะเป็นคำตอบจากการปฏิบัติสำหรับผู้ที่เดินทางผ่าน

ไปแล้วส่วนผู้ที่เดินตามหรือกำลังเดินที่ไม่ทราบเส้นทาง

นี้ถ้าได้กัลยาณมิตรที่ดี ( ผู้รู้ทาง ) คงจะไม่เดินหลงทางไป

ไกลแสนไกล



ขอขอบพระคุณทุกท่านอีกครั้งหนึ่งครับ

ผู้น้อย ....



 
ความเห็นส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 ธ.ค.2004, 5:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีศีล มีสมาธิ ปัญญาจึงจะเกิด ทุกอย่างจะต้องค่อยเป็นค่อยไป พยายามรักษาศีลให้บริสุทธิที่สุด ฝึกสมาธิให้ดีที่สุด ปัญหาทั้งหลายจะเห็นคำตอบได้ด้วยตัวเอง
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 ธ.ค.2004, 9:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คือเราจะเป็นผู้ดูในตอนแรกนั้นยังทำไม่ได้ เลยต้องถลำไปเสวยอารมณ์



เพราะว่าเรายังไม่สามารถวางจากความยินดียินร้ายได้



แต่ต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไปทีละน้อย



เราจะถอยออกมาเป็นผู้รู้ผู้ดูได้อย่างไร



ได้โดยวิธีการที่เรารู้ว่าเราถลำเข้าไปในอารมณ์นั้น เราต้องรู้ตรงนี้จึงถอยออกมาได้ ถ้ายังไม่รู้อารมณ์นี้ เราก็ยังถลำอยู่เช่นนั้น



เราต้องรู้ผิด จึงจะทำถูก



เราค้นหาสิ่งที่ทำผิดนั้นให้ประจักษ์แก่ใจ เมื่อประจักษ์แล้วก็ไม่ทำ เพราะรู้ เพราะมีความรู้ในสิ่งนั้น



ทุกอย่างค่อยเรียนรู้จากสิ่งผิด และให้ประจักษ์ในสิ่งผิดนั้นด้วยตนเองให้ได้



การพัฒนาไปก็ต้องโดยวิธีนี้แหละ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง