Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หายใจยาวๆ...อยู่เป็นเพื่อนกันนานนาน... อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
นวโยคี
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 04 พ.ค. 2007
ตอบ: 20
ที่อยู่ (จังหวัด): bkk

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ค.2007, 5:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยู่เป็นเพื่อนกันนานนาน...
ตอน หายใจยาว..... โดยเภสัชกรอุ๊


การหายใจเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ เราได้พลังงานจากการเผาผลาญ และการหายใจ การหายใจเป็นของขวัญแห่งการมีชีวิต เป็นพลังแก่เซลทุกเซล พลังที่ทำให้เราสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ความคิดแจ่มกระจ่าง จิตใจสงบ ชำระของเสียในร่างกาย ช่วยการไหลเวียนโลหิต สรุปคือ ช่วยให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ นอกจากนั้นเราต้องไม่ลืมว่า การหายใจเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับชีวิต เพราะเราไม่ได้หายใจเป็นมื้อๆ หรือเป็นครั้งเป็นคราว แต่...เราหายใจตลอดเวลาของชีวิต

จากหนังสือชื่อ "The Oxygen Break Through - 30 Days Through and Illness-Free Life" โดย Dr.Saul Hendler บอกว่าการหายใจที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ รวมถึงอาการเจ็บปวดต่างๆ อาการอ่อนล้า ความกระสับกระส่าย ซึมเศร้า ปวดศรีษะ ลมชัก หน้ามืด ระบบภูมิคุ้มกันแปรปรวน

รายงานจาก The British Medical Journal ฉบับหนึ่งบอกว่า การหายใจที่ถูกวิธี จำเป็นสำหรับโรคหลอดเลือด การหายใจที่ไม่ถูกต้อง มีผลให้เกิดความเสียหายแก่หัวใจ เมื่อเราแก้ไขการหายใจให้ถูกต้องดีแล้ว ร่างกายจะได้รับพลังงานมหาศาลตลอดทุกระบบ สมองได้รับออกซิเจนเต็มที่ ซึ่งเป็นผลดีแก่ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และจิตวิญญาณ เพราะขณะที่การหายใจจุดพลังให้กับทุกเซลในร่างกาย มันได้ส่งผ่านความสงบ ความสบายตลอดทั่วร่าง ช่วยผ่อนคลายความเครียด ความคิดแจ่มใส

แต่ความเร่งรีบ และวิถีชีวิตในโลกศิวิไลซ์ยุคปัจจุบัน (จำเลยเก่า) ได้ฉกฉวย บิดเบือน ทำร้ายอานุภาพแห่งลมหายใจไป

เริ่มจากอากาศ วัตถุดิบแห่งการหายใจ เริ่มไม่บริสุทธิ์ มีสารพิษเจือปนมากขึ้น หากใครรักชีวิตยืนยาว มีคุณภาพ มากกว่าเงินทอง โอกาสก้าวหน้าร่ำรวย ถ้าเลือกได้อยากแนะนำให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมดี อากาศดี เลี่ยงเมืองใหญ่ ที่มีมลภาวะตั้งแต่น้ำไปจรดฟ้า แต่เราไม่สามารถเลือกทุกอย่างได้ดังใจเสมอไป ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญต่อการหายใจของเราอีกอย่างคือ "วิธีการหายใจ" เป็นสิ่งที่ใครๆ ก็เลือกได้ ไม่รบกวนปัจจัยอื่นของชีวิต

ทุกวันนี้เราหายใจผิดวิธีกันเป็นส่วนมาก ปอดของเราสามารถจุอากาศได้ถึงข้างละ 1 ลิตร การหายใจแต่ละครั้งเราแลกเปลี่ยนอากาศได้ถึง 2 ลิตร แต่ทั่วไป เราหายใจสูดอากาศได้ประมาณครั้งละ 400 ซีซี คิดประสิทธิภาพเท่ากับ 20 % เท่านั้น ของเสียที่มีการคั่งค้างอยู่มาก และสะสมอยู่นานเกินไป ออกซิเจนใหม่จะถูกนำเข้าไปเลี้ยงเซล น้อยกว่าที่ควรทุกลมหายใจ นี่คือที่มาของความเจ็บป่วยหลายอย่างทั้งโรคหอบหืด โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ ภาวะโกรธง่ายหายช้า อารมณ์ร้าย และโรคอื่นอีกนานัปการ

หลักโยคะ ถือว่าการหายใจสำคัญที่สุด และแบ่งการหายใจเป็น 3 แบบคือ

1. หายใจด้วยไหล่ คือการหายใจตื้นๆ สั้นๆ อย่างที่เราทำกันอยู่ทั่วไป การหายใจแบบนี้ไหล่จะยกขึ้นลงเล็กน้อย ปอดได้รับอากาศเพียงน้อยนิด

2. หายใจด้วยอก คือการหายใจที่พยายามสูดอากาศเข้าปอดให้มากขึ้น มีการขยายซี่โครงเพื่อให้รับออกซิเจนได้มากขึ้นเล็กน้อย เรามักสูดหายใจแบบนี้เมื่ออยู่ชายทะเล เดินเล่นในสวนที่เขียวครึ้ม หรือตอนตื่นเช้า

3. หายใจด้วยท้อง คือการหายใจที่ดีที่สุด เวลาหายใจเข้า ทำท้องให้ป่อง กระบังลมจะหย่อนตัวลง โพรงหน้าอกจะยาวมากขึ้น ประกอบกับซี่โครงขยายออก ทำให้ปอดได้รับอากาศเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เวลาหายใจออก ทำท้องให้แฟบ กระบังลมจะถูกดันตัวให้สูงขึ้น โพรงหน้าอกหดสั้นลง ซี่โครงยุบเข้ามา ปอดถูกบีบให้ดันลมหายใจออกมาได้มาก นำคาร์บอนไดออกไซด์ และของเสียที่คั่งค้างออกมาได้หมดจด การหายใจแบบนี้เรามักทำในขณะฝึกสมาธิ โยคะ ไท้เก๊ก หรือการฝึกการหายใจแบบต่างๆ

ทั้งนี้เนื่องจากกระบังลมเป็นอวัยวะที่อยู่นอกเหนือการควบคุม จึงใช้อาการแขม่วท้อง หรือทำท้องให้ป่อง ส่งผลให้กระบังลมขยับตัวขึ้น-ลงได้ การหายใจที่ถูกต้องจะมีจำนวนครั้งต่อนาทีลดลง แต่ "ลึก ยาว สม่ำเสมอ และสงบ" มากขึ้น ทำให้ปอดทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ รับออกซิเจนเต็มที่ และขับของเสียออกเต็มที่ด้วยเช่นกัน เซลทุกเซลจึงแข็งแรง เสื่อมช้าลง จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมการหายใจที่ถูกต้องช่วยชะลอความแก่ได้ด้วย โดยเฉพาะเมื่อเราก้าวเข้าสู่วัยกลางคน เนื้อเยื่อในปอดเริ่มจะแข็งตัว ยืดหยุ่นน้อยลง

การหายใจแบบไม่ถูกต้องที่สะสมมาตั้งแต่เด็ก ทำให้อวัยวะในช่องอกแข็งทื่อ กระบังลมทำงานช้า ผลก็คือเกิดการสะสมของกรดยูริกในเลือด ร่างกายอ่อนล้า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กระดูกแข็งตึง เส้นโลหิตแข็งตัว การไหลเวียนโลหิตมีอุปสรรค ไขมันก็พอกพูน ยิ่งหายใจเร็วและตื้นเท่าใด ชีวิตก็ยิ่งสั้นลงเท่านั้น การหายใจเป็นสิ่งที่อยู่คู่ชีวิตเราอยู่แล้ว จึงไม่เป็นการเสียเวลาเลยที่เราจะใช้เวลา 10-15 นาทีต่อวันในการฝึกหายใจ วิธีการฝึกหายใจอย่างง่ายๆ

4. อยู่ในท่าที่สบาย ท่าที่เหมาะที่สุดคือนั่งขัดสมาธิ หลังตรง วางมือทั้ง 2 ข้าง กุมที่หน้าท้องเบาๆ โดยให้นิ้วมือแต่ละข้างหันเข้าหากันแต่ไม่ชนกัน

5. หายใจเข้าช้าๆ ให้ท้องป่องขึ้น รู้สึกว่ามือทั้งสองข้างแยกจากกันเล็กน้อย เคลื่อนมือไปที่ยอดอก สูดลมหายใจเข้าต่อไป รู้สึกถึงมือที่ขยับขึ้น เพราะอกขยายมากขึ้น

6. กลั้นหายใจ เมื่อสูดลมเข้าปอดเต็มที่

7. หายใจออกช้าๆ ค่อยๆ เคลื่อนมือไปที่ท้อง แขม่วท้องให้ยุบลงให้มือช่วยกดเบาๆ ดันลมหายใจออกจากปอดให้มากที่สุด หมดจดที่สุด

ทำแต่ละขั้นตอนให้ลึกและช้าที่สุด

เบื้องแรก กล้ามเนื้อหายใจอาจยังอ่อนแออยู่ จะรู้สึกอึดอัดขณะฝึก แต่เมื่อฝึกเสร็จในแต่ละครั้ง จะรู้สึกปลอดโปร่ง สบาย นอกจากนี้การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี (ตามบทความเล่มก่อน) จะช่วยให้กล้ามเนื้อหายใจแข็งแรงขึ้น และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ จากนี้ถ้าต้องการฝึกหายใจอย่างเป็นระบบพร้อมกับบริหารร่างกาย ศึกษา และปฏิบัติตามแนว โยคะ ไท้เก๊ก หรืออื่นๆ ตามที่สนใจ

การหายใจที่ถูกวิธี นอกจากช่วยให้สุขภาพดี ชลอความเสื่อมของเซลแล้ว ยังช่วยให้เรามีสติ สมาธิที่ดี เพราะเป็นวิธีการสำคัญในการฝึกเจริญสติ สมาธิ ตามแนวของหลายๆ ศาสนา และเพื่อนๆ "นวกาญจน์" คงไม่ลืมพระราชดำรัสของในหลวงที่ทางอวยพรปีใหม่ ทั้งยังเป็นคติเตือนใจเมื่อเผชิญปัญหา แก่ผสกนิกรไทยยุคที่ปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้าว่า....

"ใจเอ๋ยใจ ใจหายใจคว่ำ หายใจยาว ใจดีสู้เสือ"

* * * * * * * * * * * * * * *

เรียบเรียงจาก
"อยู่ร้อยปี ไม่มีแก่ ...ใช้ชีวิตอย่างไรจะไกลหมอ", วินิตา รัตตบูรณินท์, แปลและเรียบเรียง, ธรรมสภา, 2542 กรุงเทพฯ

"ตำรามวยจีนไท้เก๊ก", ส.ทันจิตต์ แปลและเรียบเรียง, กรุงเทพฯ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เอก-ทศ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 พ.ค.2007, 11:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เวลาที่เราหายใจยาวๆ ช้าๆ แล้วรู้สึกได้ถึงความสดชื่น ผ่อนคลายจริงๆ ครับ แถมรู้สึกมีสติดีด้วย
 
In__See
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 04 มี.ค. 2007
ตอบ: 11

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2007, 2:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณค่ะ สาธุ แลบลิ้น
 

_________________
ที่สุดของ ทาน คือ ศรัทธา
ที่สุดของ ศีล คือ เจตนา
ที่สุดของ ฌาน คือ อัปนา
ที่สุดของ สมาธิ คือ อัปนา
ที่สุดของ ปัญญา คือ พระไตรลักษณ์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เศษพุทธทาส
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 08 เม.ย. 2007
ตอบ: 121

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2007, 2:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โอ้ว ขอบคุณมากซาร่า เจ๋ง

เวลาวุ่นวายมากๆไปลองนั่งดูเหมือนกับว่า สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มีเลยจริงๆอะฮ้า เจ๋ง

แล้วใครอีกกี่คนละที่จะได้รับรู้เรื่องราวเหล่านี้ พวกเขาคงไม่มีโอกาสได้รับรู้กันเลยอะฮ้า
น่าสงสาร แต่ตอนนี้เราต้องสงสารตัวเองก่อน ใช่ใหมอะฮ้า
เจ๋ง

Be careful the Darkside , support only the Lightside.
 

_________________
ทำวันนี้ให้ดีและต้องรู้ไว้ว่า ทำดีเพื่อดี ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อุปสรรคไม่มี บารมีไม่เกิด
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
amarita
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 05 พ.ค. 2007
ตอบ: 25
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพมหานคร

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2007, 2:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิง "ใจเอ๋ยใจ ใจหายใจคว่ำ หายใจยาว ใจดีสู้เสือ"

อัญเชิญมาจาก ส.ค.ส.ที่ในหลวงพระราชทานให้เมื่อปี 2541 ใช่หรือไม่คะ จำได้คร่าวๆ

(ผิดพลาดขออภัย) สาธุ
 

_________________
ดีชั่วตัวทำ สูงต่ำทำตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2007, 6:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อกำหนดลมหายใจ ย่อมสังเกตุลมหายใจ
เมื่อสังเกตุลมหายใจ ย่อมมีสติรู้อยู่เฉพาะลมหายใจ

เมื่อกระทำบ่อย ย่อมมีความชำนาญในการมีสติรู้ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง