ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
admin
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886
|
ตอบเมื่อ:
01 เม.ย.2006, 10:32 am |
  |
วิธีนั่งสมาธิและเดินจงกรม
โดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
วัดป่าบ้านตาด
ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
๏ การนั่งสมาธิ
๑. นั่งขัดสมาธิตามแบบพระพุทธรูป เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย วางมือทั้งสองไว้บนตัก
๒. ตั้งกายตรง อย่าก้มนักเงยนัก อย่าให้เอียงซ้ายเอียงขวาจนผิดธรรมดา ไม่กดหรือเกร็งอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง อันเป็นการบังคับกายให้ลำบาก ปล่อยวางอวัยวะทุกส่วนไว้ตามปกติ
๓. ระลึก พุทโธ ธัมโม สังโฆ ๓ ครั้ง อันเป็นองค์พระรัตนตรัยก่อน
๔. นึกคำบริกรรม โดยกำหนดเอาเพียงบทเดียวติดต่อกันไปด้วยความมีสติ เช่น พุทโธ พุทโธ พุทโธ...เป็นต้น ให้นึก พุทโธ พุทโธ พุทโธ...สืบเนื่องกันไปด้วยความมีสติ และพยายามทำความรู้สึกตัวอยู่กับ พุทโธ พุทโธ พุทโธ...
อย่าให้จิตเผลอตัวไปสู่อารมณ์อื่นระหว่างจิต สติกับคำบริกรรมมีความกลมกลืนกันได้เพียงไร ยิ่งเป็นความมุ่งหมายของการภาวนาเพียงนั้น ผลคือความสงบเย็นใจจะพึงเกิดขึ้น
๏ การเดินจงกรม
๑. พึงกำหนดทางจงกรมที่ตนจะพึงเดินสั้นหรือยาวเพียงไร ความยาว ๒๕-๓๐ ก้าวเป็นความเหมาะสมทั่วไป พึงดูว่าเราจะเดินจากที่นี่ไปถึงที่นั่นหรือถึงที่โน้น สำหรับทิศทางที่ท่านนิยมปฏิบัติมา มี ๓ ทิศ คือ
ตรงตามแนวตะวันออก ตะวันตก ๑
ตามแนวตะวันออกเฉียงใต้ ๑
ตามแนวตะวันออกเฉียงเหนือ ๑
จากนั้นตบแต่งทางจงกรมให้เรียบร้อยก่อนเดิน
๒. ผู้จะเดินกรุณาไปยืนที่ต้นทางจงกรม และพึงยกมือทั้งสองขึ้นประนมไว้เหนือระหว่างคิ้ว ระลึกคุณพระรัตนตรัย และระลึกถึงคุณบิดามารดา อุปัชฌาย์อาจารย์ ตลอดท่านผู้เคยมีพระคุณแก่ตน จบแล้วรำพึงถึงความมุ่งหมายแห่งความเพียรที่กำลังจะทำด้วยความตั้งใจเพื่อผลนั้นๆ เสร็จแล้วปล่อยมือลง
เอามือขวาทับมือซ้ายทาบกันไว้ใต้สะดือตามแบบพุทธรำพึง เจริญพรหมวิหาร ๔ จบแล้วทอดตาลงเบื้องต่ำ ท่าสำรวม
๓. ตั้งสติกำหนดจิตและธรรมที่เคยนำมาบริกรรมกำกับใจ พุทโธ พุทโธ พุทโธ...เป็นต้น แล้วออกเดินจงกรมจากต้นทางถึงปลายทางจงกรมที่กำหนดไว้ เดินกลับไปกลับมาในท่าสำรวม มีสติอยู่กับบทธรรมหรือสิ่งที่พิจารณาโดยสม่ำเสมอ ไม่ส่งจิตไปอื่นจากงานที่กำลังทำอยู่ในเวลานั้น
๔. ขณะเดินจงกรม พึงกำหนดสติกับคำบริกรรม พุทโธ พุทโธ พุทโธ...ให้กลมกลืนเป็นอันเดียวกัน ประคองความเพียรด้วยสติสัมปชัญญะ มีใจแน่วแน่ต่อธรรมที่บริกรรม ให้จิตรู้อยู่กับ พุทโธ พุทโธ พุทโธ...ทุกระยะที่ก้าวเดินไปและถอยกลับมา
๏ ข้อพึงสำรวม
= การเดินไม่พึงเดินไกวแขน
= ไม่เอามือขัดหลังหรือกอดอก
= ไม่เดินมองโน้นมองนี่ อันเป็นท่าไม่สำรวม
.............................................................
คัดลอกมาจาก
หนังสือ “ปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร”
โดย ท่านพระอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
แก้ไขล่าสุดโดย admin เมื่อ 15 ก.พ.2008, 7:51 am, ทั้งหมด 6 ครั้ง |
|
    |
 |
Moon Mirror
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
01 เม.ย.2006, 10:35 am |
  |
เจริญสมาธิกันมากๆ สุขใดจะเท่ากับความสงบในใจ...ไม่มี |
|
|
|
|
 |
กังขา
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
01 เม.ย.2006, 10:35 am |
  |
.....ปล่อยมือลง เอามือขวาทับมือซ้ายทาบกันไว้ใต้สะดือตามแบบพุทธรำพึง ฯลฯ
....เอามือทำอย่างนี้ ได้ผลดีกว่า ที่ห้ามอย่างไรหรือ ?
นิมนต์หลวงตาอธิบายด้วย |
|
|
|
|
 |
ทิพ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
22 พ.ค.2006, 10:36 am |
  |
เราฟังเทศน์หลวงตาทุกวัน ในรถ ก่อนนอนนั่งสมาธิ ฟังไปด้วย
ทุกเดือนโอนเงินทำบุญตลอด เดือนนี้น่าจะเป็นวันนี้ 2000 บาท อุทิศแด่นายเวร
เทวดาประจำตัวข้า แด่ชาวเวปที่อ่านเจอทุกคนคะ
สาธุ สาธุ  |
|
|
|
|
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
11 ม.ค. 2007, 9:36 am |
  |
การทำกรรมฐานเป็นการชำระจิตให้หมดจดผ่องแผ้วจากอุปกิเลสทั้งมวล
ถ้ากรรมฐานใด ยังทำเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ทำโดยอิงอาศัยให้สิ่งนั้นสิ่งนี้ดลบันดาลให้
ก็คงคลาดจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่า "ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก ส่วนการเดิน
(ทางอริยมรรค) เธอทั้งหลายต้องทำกันเอาเอง" |
|
|
|
|
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
08 เม.ย.2007, 9:06 pm |
  |
กรรมฐานที่สอนกันส่วนมากในปัจจุบันนี้ สอนอิงลาภบ้าง อิงสิ่งศักดิ์บ้าง เป็นกรรมฐานพูกพูนกิเลส ไม่เป็นกรรมฐานเพื่อชำระกิเลส ไม่เป็นกรรมฐานแท้ๆ แบบพุทธะ ยิ่งสอนยิ่งไกลจากพุทธศาสนา |
|
|
|
|
 |
|