Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สภาวะธรรม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 02 พ.ย.2004, 7:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรามักจะได้ยินได้ฟังกันบ่อยๆ เกี่ยวกับคำว่า " สภาวะธรรม" อะไรๆก็เป็นสภาวะธรรม จิตก็เป็นสภาวะธรรม เจตสิกก็เป็นสภาวะธรรม รูปก็เป็นสภาวะธรรม นิพพานก็เป็นสภาวะธรรม หรืออะไรทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นสภาวะธรรม



คำว่า " สภาวะธรรม " ในที่นี้หมายถึง ธรรมที่เป็นไปเอง ไม่มีใครไปบังคับได้ เป็นกฏของธรรมโดยเฉพาะ ตัวสภาวะของธรรมโดยเฉพาะนี้คืออะไร ความหมายสภาวะของธรรมแสดงให้เห็นว่า สภาวะนั้นจะต้องมีอะไรที่ลึกซึ้งไปกว่าธรรมดาทั่วๆไป จึงเรียกว่าเป็น สภาวะธรรม



คำว่า สภาวะธรรมไม่ควรถือมั่น ในที่นี้ หมายถึง ขันธ์ 5 อายตนะ 12 หรือ ธาตุ 18

ขันธ์ 5 หมายถึง รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์

อายตนะ 12 ก็มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์



คำว่า " ตา " ที่เห็นรูปนี้เป็น จักขายาตนะ เป็นบ่อเกิดของรูปารมณ์

" หู " ได้ยินเสียง หูนั้นก็เป็น โสตายตนะ ได้ยินเสียงต่างๆ

" จมูก " ได้กลิ่นก็เป็น ฆานายตนะ

ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอายตนะทั้งสิ้น



คำว่า "ขันธ์ 5" ขันธ์หนึ่ง จึงหมายถึง รูปขันธ์ ขันธ์ที่สอง หมายถึง เวทนาขันธ์ ซึ่งหมายถึงความรู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ หรือเฉยๆ ขันธ์ที่สาม ได้แก่ สัญญาขันธ์ หมายถึงขันธ์ที่ทำหน้าที่จำ เช่น เราจำรูป จำเสียง จำกลิ่น จำรส อะไรเหล่านี้ได้ เราก็เรียกว่าเป็นไปด้วยสัญญาขันธ์ ส่วนคำว่า สังขารขันธ์ หมายถึงสภาพที่ปรุงแต่งจิต เป็นสภาวะธรรมของเจตสิกโดยเฉพาะ



แล้วจึงจะถึงธาตุ 18 อายตนะ 12 ที่เป็นทั้งภายนอกภายในก็ดี ธาตุ 18 ดังที่กล่าวมาแล้วก็ดี รวมเรียกว่า ธรรม คำว่า " ธรรม" ในที่นี้ก็หมายถึง ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 ก็รวมอยู่ด้วย ในที่นี้เราเรียกว่า รูปขันธ์ นั่นเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 02 พ.ย.2004, 8:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เราไม่ควรยึดถือในขันธ์เหล่านี้ เพราะคำว่า ขันธ์ ได้กล่าวแล้วว่า หมายถึงตัวสภาวะธรรมด้วย และเมื่อพูดกันถึงเรื่องสภาวะธรรมแล้วมันก็เป็นสภาวะธรรมจริงๆ จนกระทั่งรู้ว่า นิพพานก็เป็นสภาวะธรรม มรรคผลก็เป็นสภาวะธรรม หรือบุคคลที่ปฏิบัติธรรมไปเกิดนิมิตอารมณ์ขึ้น นั่นก็เป็นสภาวะธรรม



สภาวะธรรมทั้งปวงไม่ควรจะถือมั่น เพราะเหตุว่ามันเป็นทุกข์ ถ้าปล่อยวางเสียได้มันสบายใจ โดยปกติคนเราจะยึดมั่นในขันธ์ ธาตุอายตนะเหล่านี้ว่าเป็นอัตตา ตัวตน อาการของจิตหรือเจตสิกที่ไปยึดมั่น เป็นจิตหรือเจตสิกประเภทไหน ปรากฎว่าเป็นจิตเป็นเจตสิกประเภทของอกุศล เป็นเรื่องของตัณหาและทิฏฐิ



คำว่า " ธรรม " ในที่นี้ ท่านไม่ได้หมายถึงสิ่งที่นอกไปจากเบญจขันธ์เลย เพราะการยึดมั่นถือมั่นมีมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งห่างจากธรรมะชั้นสูงมากขึ้นเท่านั้น



ขอธรรมะคุ้มครองคุรุผู้ประเสริฐ คุรุผู้เมตตาธรรมทุกท่าน

ขอธรรมะคุ้มครองสรรพสัตว์ทุกชีวิตในโลกมายามนุษย์นี้ด้วยเถิดหนา สวัสดี



มณี ปัทมะ ตารา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 02 พ.ย.2004, 10:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



สาธุครับคุณปุ๋ย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
สำเร็จ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 พ.ย.2004, 11:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณปุ๋ยแสดงอภิธรรมล้วนๆเลยนะครับ

ขอแสดงความชื่นชมที่แสดงได้ชัดเจนและกระชับดี



มีโอกาสควรขยายทีละข้อธรรมครับ
 
amai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ย.2004, 3:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง