Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 -------ข้อที่ควรเว้นในการเจริญกัมมัฏฐาน------- อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
med_med
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 ต.ค. 2006
ตอบ: 52

ตอบตอบเมื่อ: 20 ม.ค. 2007, 1:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข้อที่ควรเว้นในการเจริญกัมมัฏฐาน

๑. กมฺมารามตา ประกอบกิจอื่นเสีย เช่น เขียนหนังสือ อ่านหนังสือ สวดมนต์ เป็นต้น อันไม่ใช่กิจใน
การเจริญกัมมัฏฐาน

๒. ภสฺสรามตา มัวแต่คุยกันเสีย ไม่ตั้งใจกำหนด

๓. นิทฺทารามตา มัวแต่เห็นแก่นอน นอนมากทำความเพียรน้อย โยคีบุคคลนอนแต่น้อยเพียงคืน ละ ๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ ๒ นาฬิกา ถึง ๖ นาฬิกาก็พอ กลางวันห้ามนอน จงนึกถึงคำเก่าที่กล่าวไว้ว่า คชาพี ฤาษีผอม นั้นเป็นเครื่องเตือนใจ

๔. สงฺคาณิการามตา พอใจคลุกคลีอยู่กับหมู่คณะ ไม่ชอบอยู่ตามลำพังโดยเฉพาะ

๕. อคุตฺตทฺวารตา ไม่สำรวมทวารทั้ง ๖ ด้วยดี

๖. โภชเน อมตฺตตญฺญุตา ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค คือกินอิ่มเกินไป คะเนว่าอีก ๕ คำจะอิ่ม ให้หยุด เป็นพอดี

๗. ยถาวิมุตฺตํ จิตฺตํ น ปจฺจเวกฺขติ จิตจับอารมณ์ใด ไม่กำหนดอารมณ์นั้น หรือจิตตกไปโดยอาการใด ไม่กำหนดรู้โดยอาการนั้น


ข้อที่ควรปฏิบัติในการเจริญกัมมัฏฐาน

นอกจากต้องปฏิบัติตามนัยที่ตรงกันข้ามกับข้อที่ควรเว้น เช่น ประกอบแต่กิจที่เพ่งกัมมัฏฐานโดยไม่ประกอบกิจอื่น ตั้งใจกำหนดโดยไม่คุยกับผู้อื่น เป็นต้น ทั้ง ๗ ข้อนั้นแล้ว ยังมีข้อที่ควรปฏิบัติอยู่อีกมากมายหลายประการ ที่สำคัญอันควรยกขึ้นมากล่าวในที่นี้นั้น ได้แก่

๑. ต้องมีขันติ มีความอดทนพร้อมทั้ง ๓ ประการ คือ

ก. อดทนต่อความยากลำบาก
ข. อดทนต่อทุกขเวทนา
ค. อดทนต่อความเย้ายวนของกิเลส

๒. เพื่อให้ขันติธรรมนั้นสมบูรณ์ จะต้องตั้งใจอย่างแน่วแน่ในการเจริญกัมมัฏฐานว่า แม้เนื้อจะเหือด เลือดจะแห้ง คงเหลือแต่ หนัง เอ็น กระดูก ก็จะไม่ท้อถอยละเลิกไป จนกว่าจะบรรลุถึงธรรมที่กำลังบำเพ็ญเพียรอยู่นี้

๓. เพื่อให้สมประสงค์ตามข้อ ๒ จะต้องกระทำอินทรียให้เสมอกัน คือ

สัทธากับปัญญาจะต้องเสมอกันคู่หนึ่ง
วิริยะกับสมาธิอีกคู่หนึ่งนี้ก็จะต้องให้เสมอกันด้วย ทั้งนี้เพราะ

ถ้าสัทธากล้า ก็ทำให้เชื่ออย่างงมงาย ไม่คำนึงถึงเหตุผล
สัทธาอ่อน ก็ทำให้ความเลื่อมใสน้อยเกินควร ชวนจะให้เลิกปฏิบัติ ปัญญา กล้า ทำให้คิดออกนอกลู่นอกทาง

ปัญญาอ่อน ทำให้ไม่เข้าถึงเหตุผลตามความเป็นจริง

วิริยะกล้า ทำให้คิดพล่าน ฟุ้งซ่านไป
วิริยะอ่อน ทำให้เกียจคร้าน

สมาธิกล้า ทำให้ติดในความสุขนั้นเสีย
สมาธิอ่อน ทำให้ไม่ถึงอุปจารภาวนา อัปปนาภาวนา

ส่วน สติไม่มีเกิน มีแต่ขาดอยู่ร่ำไป


การปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
http://bundit.info/aphidhamma/prariset9.html


ที่มา :: พันทิพ
 

_________________
ธรรมได้ก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
kong_014
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 30 พ.ย. 2006
ตอบ: 37
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 20 ม.ค. 2007, 3:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ อนุโมทนา สาธุ ครับ
 

_________________
ไม่กล่าวโทษผู้อื่น กล่าวโทษตนเองไว้เสมอ มุ่งปฎิบัติให้ถึงซึ่งพระนิพพาน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailYahoo Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง