Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
ตามรอยความคิด ตามกระแส ทวนกระแส แล้วตัดกระแส
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
เทพ
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 25 ธ.ค.2006, 11:47 am
คนเราปกติจะพูดไม่หยุด ไม่พูดออกมา ก็พูดในใจ การพูดออกมาก็คงพอเห็นพอระลึกได้ เพราะปากมันขยับแล้ว แต่การพูดในใจเห็นยากกว่า ต้องอาศัยการมีสติระลึกได้ เพราะเป็นของละเอียดกว่า การพูดในใจก็คือการคิดนั่นเอง คนที่ไม่เคยฝึกสติเลยจะเห็นความคิดได้ยากมาก ๆ ความคิดทั้งหลายพรั่งพรูออกมาจากใจมากมาย เมื่อมีการคิดแล้วจึงมีการกระทำทางกายและวาจาต่อไป พระพุทธศาสนาสอนให้ดับทุกข์ที่ใจ ดังนั้นจึงต้องค้นลงไปที่ใจ วิธีจะค้นจิตค้นใจให้เจอก็ต้องเริ่มจากการฝึกสติ การฝึกระลึกรู้ หาตัวเผลอให้เจอ ยิ่งรู้ว่าตัวเองเผลอมากเท่าไรยิ่งดี
การฝึกเห็นตัวเองเผลอ ก็คงจะต้องมานั่งตั้งอกตั้งใจดูมันซะก่อน เหมือนเราตั้งใจนับเงินนับทองเพราะกลัวมันจะขาดมันจะไม่ครบนั่น แหละ ใช้ความตั้งใจแบบนั้นแหละ แต่แทนที่จะมานั่งนับแบ็งค์ ก็มานั่งนับตัวเผลอของตัวเองแทน เผลออะไร เผลอคิดเรื่องนู้นเรื่องนี้ มีความสุขและเผลออยู่กะความสุข หัวเราะอยู่ในใจ หรือ เผลออยู่กะทุกข์ แอบเศร้า แอบเหงา ต้องรู้ให้ทันการเผลอแบบนี้ เรียกว่า สุขก็อย่าให้สุขนาน ทุกข์ก็อย่าให้ทุกข์นาน ให้เป็นกลางไว้ ใจเป็นกลาง ๆ ไว้ก่อนล่ะมันดี (ดีใจจนหัวใจวายตายก็มีนะ ไม่ใช่แค่ทุกข์ระทม ตรอมใจตายอย่างเดียว) อาจจะมีคำภาวนากำกับเพื่อผูกจิตผูกใจตัวเองไว้บ้างไม่ให้มันแกว ่งเกินไปก่อน ธรรมชาติของจิตนั้น มีอาการดิ้นรน กวัดแกว่งไปหารับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ฯ และฝึกได้ยาก บางครั้งก็ฝักใฝ่ไปในอารมณ์อันน่าใคร่น่าชอบใจ จมแช่อยู่กะความคิดนั้น ๆ นาน ๆ และมีความไม่แน่นอน เมื่อใจเริ่มสงบลงบ้าง ก็จะทำให้เริ่มเห็นอาการเผลอได้มากขึ้นเอง หรืออาจจะใช้วิธีการฝึกระลึกรู้ในการใช้ชีวิตประจำวันก็ได้ แต่ก็ยากมากต้องมีพื้นหรือมีนิสัยปัจจัยที่ติดมาแต่ชาติปางก่อน จึงจะสามารถทำได้ดี
เมื่อเราเห็นตัวเผลอได้บ่อย ได้มากเข้า ขณะที่เราเห็นตัวเผลอนั้น เราก็จะเริ่มเห็นอาการเพ่งบ้าง เพราะเมื่อเราไม่อยากเผลอ เราก็จะพยายามบังคับไม่ให้มันเผลอ มันก็เลยเพ่งอีก การเพ่งก็ยังใช้ไม่ได้ การเพ่งเป็นสมถะ สมถะมันจะมาปิดบังความจริง ทำให้ไม่เห็นทุกข์ เพราะขณะที่มีสมถะ ใจมันจะเป็นสุข สุขมากหรือน้อยขึ้นอยู่กะความเข้มข้นของการเข้าถึงสมถะนั้น แต่เมื่อหมดอารมณ์สมถะทุกข์ก็เกิดได้อีก ไม่สุขเหมือนเก่า ความสุขของการทำสมถะเหมือนการเอาหินไปทับหญ้า พอเอาหินออกหญ้าก็เจริญเติบโตต่อได้ หากเราต้องการพ้นทุกข์ รู้จักทุกข์ เราก็ต้องดูมันให้เห็นจริง ๆ ให้รู้จักหน้าตาตัวตนมันจริง ๆ หากเราเห็นทุกข์จริง เราจึงจะสามารถดับทุกข์ได้ เพราะเห็นทุกข์จึงดับทุกข์ได้ ดังนั้นจึงต้องฝึกรู้ทั้งการเผลอและการเพ่ง เพื่อให้เป็นทางสายกลางตามที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน (ตามกระแส)
การฝึกระลึกรู้อย่างนี้บ่อย ๆ ก็คือการฝึกหัดสร้างสติ มีสติก็มีสมาธิ เมื่อมีสมาธิย่อมยังปัญญาให้เกิดได้ ปัญญาในที่นี้คือปัญญาในการรู้เห็นธรรมชาติของใจตัวเองตามความเ ป็นจริง เมื่อฝึกฝนจนชำนาญ ใจมันจะย้อนกลับไปดูจิตโดยอัตโนมัติ จริง ๆ มันย้อนไปดูอยู่แล้ว แต่ย้อนสั้น ๆ แค่รู้เผลอรู้เพ่ง ธรรมชาติของคนเราจริง ๆ ใฝ่หาทางดับทุกข์อยู่แล้ว แต่มันผิดทาง ไปหาที่ทะเล ภูเขา เหล้า บาร์ มันไม่ใช่ แต่หากเราฝึกสติแล้ว ใจมันจะเริ่มหากลับมาที่จิต ย้อนไปดูจิต ไปดูอารมณ์ ไปดูธรรมชาติของความคิด
สติยิ่งดี สมาธิก็ยิ่งดี การย้อนไปดูจิตก็ยิ่งย้อนไปได้ลึก ลึกมาก ๆ ลึกลงไปจนถึงต้นทางของอารมณ์ เห็นการเกิดขึ้นของอารมณ์ หรือเห็นการเกิดขึ้นของความคิด หรือจะว่าเห็นการเกิดขึ้นของจิตก็ได้ การย้อนไปดูจิตของใจนี้มันเป็นธรรมชาติ มันต้องย้อนไปดู ห้ามความสงสัยตัวนี้ไม่ได้หรอก มันจะค้นให้ได้ แต่ขึ้นอยู่กะแต่ละคนว่าจะใช้เวลาในช่วงนี้นานแค่ไหน เมื่อเห็นการเกิดขึ้นของอารมณ์ ของความคิด พอมันรู้ชัดมันก็ดับได้ทันที นี่แหละเพราะเห็นทุกข์จึงดับทุกข์ได้ เห็นครั้งแรกคนไม่เคยเห็นมาก่อนพอมาเห็นแล้วอดอุทานไม่ได้ ไม่อุทานออกมาเป็นคำพูด ก็อุทานในใจ ทุกคนแหละ นั่นได้ต้นทางแล้ว แต่บางคนมัวแต่หลงยึดหลงถือกะความเห็นนั้น ไม่ยอมปล่อยยอมวางก็เลยติด คนติดตรงนี้กันมาก ถ้ายึด มันกลายเป็นวิปัสสนึกทันที ต้องปล่อย ท่านสอนให้ละอุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่นนะ ต้องยอมเสียสละอารมณ์นี้ไปซะ แต่เอามันเป็นบาทฐานในการพิจารณาต่อไปต่างหาก (ทวนกระแส)
การเห็นความเกิด-ดับคือต้นทางของการเข้าถึงอริยมรรค ที่นี้มันจะค้นหาจิตไปเรื่อย ๆ จิตจะละเอียดลง ละเอียดลง เห็นความเกิดความดับได้มากเข้า มากเข้า (แต่เรายังคงฝึกรู้เผลอรู้เพ่งเหมือนเดิมนะ) ใจจะมีความฉลาด มีความเข้าใจการกระทบอารมณ์ การเกิดขึ้นของอารมณ์ เห็นสภาวะการเกิดขึ้นของจิต เห็นผัสสะ เห็นเวทนา เห็นสัญญาความจำได้หมายรู้ เห็นสังขารความปรุงแต่ง เห็นด้วยสติ ด้วยปัญญา เห็นแล้วปล่อย เห็นแล้ววาง ในที่สุดเมื่อมันแก่รอบ มันจะใช้เวลาแค่ไหนไม่ทราบ เมื่อมันแก่รอบ บุญบารมี ความดีถึง ศีล สมาธิ ปัญญา เต็มรอบ เห็นความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นว่าจิตนี้มันบังคับบัญชาไม่ได้ จิตนี้เป็นธรรมชาติที่บังคับบัญชาไม่ได้เลย กายนี้บังคับไม่ได้อยู่แล้ว เพราะยังไงก็ต้องแก่ เจ็บ ตาย แต่จิตนี้เห็นยาก เมื่อเห็นว่าจิตนี้บังคับบัญชาไม่ได้ โลกนี้ไม่มีอะไรบังคับบัญชาได้จริง ในที่สุดมันก็แสดงความเป็นอนัตตาอย่างนี้เอง มันก็ถอนความเห็นผิดได้ในที่นั้นเอง (ตัดกระแส) เมื่อถอนความเห็นผิดได้แล้วที่นี้มันก็จะกลายเป็นคนละคนเดียวกั นไปเลย กลายเป็นคนใหม่ ที่คนรอบข้างก็ยังต้องงง เพราะใจมันย กระดับ ถึงแล้วรู้เอง รู้เลย ไม่ถึงก็ยังเดา เอาวิปัสสนึกมานึกเอาอยู่นั่นเอง
ทั้งหมดที่บอกกล่าวเล่ามาเป็นแนวการปฏิบัติของผม ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องเชื่อผมก็ได้ เหตุที่ต้องบอกว่าเป็นแนวทางของผมก็เพราะกลัวว่าถ้าตัวเองไปผิด จะได้ไม่เป็นการกล่าวตู่ในพระธรรมคำสั่งสอน อันจะกลายเป็นบาปหนักของกระผมสืบไป และขอท่านผู้รู้ทั้งหลายลองพิจารณาดูเอาเถิด ผิดถูกประการใด ขอได้โปรดให้คำแนะนำกันด้วย เพื่อจะได้ไม่กลายเป็นคนพาลคนหลงให้ต้องเสียเวร่ำเวลาไปเปล่า ๆ ชาตินึง
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 25 ธ.ค.2006, 1:42 pm
เมื่อมานั่งทบทวนดี ๆ จึงรู้ว่า ที่เราเปลี่ยนไปแบบฉับพลันนั้น เพราะ ความเห็นแก่ตัวมันหายไปนั่นเอง
ปุ๋ย
บัวเงิน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
ตอบเมื่อ: 25 ธ.ค.2006, 9:18 pm
ต้องเห็นเฉพาะหน้าเรียกว่าเป็นปัจจุบัน อนัตตากำลังเกิดกำลังดับอยู่ต่อหน้าต่อตาอยู่อย่างนี้ทีละขณะๆ ไป จึงเรียกว่าเป็น ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นจากการเจริญภาวนา เจริญสติติดต่อ ต่อเนื่อง แล้วก็เกิดขึ้น โดยเหตุปัจจัยที่สมควรมันก็เกิด ไม่ได้เกิดจากการนึกคิดเอาเอง
เราก็สามารถนึกคิดเอาเองได้ว่ามันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์มันเป็นอนัตตา คิดเอาเองก็ได้ คิดว่าชีวิตนี้ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงไป เป็นทุกข์เป็นอนัตตา บังคับอะไรมันไม่ได้ แต่ว่าไม่มีสติสัมปชัญญะส่องรู้ ในรูปในนามที่กำลังปรากฏ แต่นั่งคิดนึกเอาอย่างนี้ ไม่ใช่เห็นจริง หรือไม่ใช่ปัญญาแท้ ไม่ใช่เป็นภาวนามยปัญญา เริ่มเป็นจินตามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการนึกคิด คิดนึกเอา มันก็เป็นปัญญาเหมือนกันนะ คนที่ปฏิบัติไปก็คิดเก่ง มีธรรมขึ้นในใจ คิดทะลุปรุโปร่งเป็นฉากๆ ไปหมด อันนั้นนะไม่ใช่ปัญญาแท้ มันไปเอาเรื่องราว เอาสมมุติ เอาอดีตอนาคต จริงอยู่แม้นจะเข้าไปรับรูปรมัตถ์ รู้รูป นามบ้าง แต่พอรับรู้แล้ว มันก็เอามาคิดนึก ขณะที่คิดนึกนั้นก็ไม่เห็นรูป นาม มันก็มานึกถึง รูป นาม ที่ผ่านไปแล้วดับไปแล้ว เป็นอดีตอนาคต อย่างนี้มันเป็นการนึกคิดเอา ไม่ใช่ภาวนามยปัญญา .......
อ่านต่อตามลิ้งคิ์
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9703
เทพ
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 25 ธ.ค.2006, 11:32 pm
เราก็พูดเรื่องเดียวกันนั่นแหละ แต่มันไม่ตลอดสาย เมื่อคนเห็นต้นสายของการคิดแล้ว ก็ย่อมมีจิตน้อมไปเพื่อการเห็นนั้นอีก เป็นการศึกษาให้ใจมีความฉลาดมากยิ่งขึ้น ๆ นั้นเอง ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ท่านจะพูดได้ยังไงว่า ผัสสะเป็นเหตุให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นเหตุให้เกิดสัญญา สัญญาเป็นเหตุให้เกิดสังขาร เห็นครั้งเดียวมันจะฉลาดได้ละหรือ มันต้องเห็นจนเข้าใจนั่นแหละ แล้วค่อยปล่อยวาง
ที่ว่าให้หัดแยกรูปแยกนาม แล้วแยกยังไงล่ะ ถ้าไม่เห็นอย่างนี้ อะไรคือรูป ก็ผัสสะนั้นแหละคือรูป ตัวที่รู้ผัสสะมากระทบนั่นแหละคือนาม อันได้แก่ กระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องหลังจากเกิดผัสสะ อันได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นี่คือการฝึกแยกรูปแยกนาม ครั้นเมื่อใจมีความเข้าใจในสภาวะของการเกิดรูปนามมากขึ้นแล้ว และเมื่อใจเจอสภาวะอารมณ์อย่างนั้นอีก มันก็จะไม่วิ่งไปหาสืบหาค้นอีกดอกนะ เพราะมันรู้แล้ว มันพอแล้ว มันเข้าใจแล้ว มันมีแต่การระลึกรู้ หรือสติที่แปลว่าความระลึกได้ รู้อยู่กะปัจจุบันนั้นเอง แต่เป็นการรู้เห็นตามความเป็นจริงเฉพาะหน้าอยู่นั้นเอง เหมือนคนหิวข้าว กินข้าวอิ่มแล้ว จะไปถามหาจานข้าว กะกับข้าวมากินอีกทำไม กินไม่ลงแล้ว มันเบื่อแล้ว ถ้ามันหิวอีกเมื่อไหร่ก็ค่อยกินใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จิตย่อมมีโอกาสถลำลงไปคิดค้น เพราะจิตนี้บังคับไม่ได้
เราเพียงแค่ดูและรู้ตามสภาวะ เพราะสิ่งนี้มีอยู่ คือ ตราบใดที่ความเห็นแจ้งในอริยสัจจ์ ยังไม่บังเกิด ความหลงผิดติดยึดในอารมณ์สงสัยสืบค้นย่อมมีได้ และย่อมถลำลงไปได้ เมื่อเห็นเช่นนั้นย่อมปล่อยวางได้ไวขึ้นกว่าก่อน คือการเผลอแล้วรู้เร็วขึ้น ๆ ไง การเผลอแล้วรู้ระลึกได้ ก็คือการฝึกสติดีดี นี่เอง ความจริงท่านก็ทำต่อไป และต่อไป ยังนะยังไม่ได้มันติดตรงนี้ ต้องทำไปเรื่อย ๆ เข้าใจสภาวะไปเรื่อย ๆ เผลอแล้วรู้ เผลอแล้วรู้ ใจจะจำอารมณ์ที่เผลอนั้นได้ เมื่อเวลาที่เผลอ สติก็จะมา ถ้านั่งดูดี ๆ สตินี้ก็บังคับไม่ได้อีกนั่นแหละ แต่ถ้าไปนั่งจ้องคอยให้สติเกิด อันนั้นจะกลายเป็นการเพ่งทันที ลองสังเกตตัวเองดูดี ๆ เวลาเพ่งจะรู้สึกแน่นหน้าอก หรือไม่ก็กลายเป็นอารมณ์เดียวไปเลย ไปติดสุขในอารมณ์นั้นอีก นั่นคือไม่เป็นธรรมชาติ เอาหินไปทับหญ้า เพราะขาดปัญญารู้เห็นตามเป็นจริง พอเพ่งปั๊บอารมณ์สมถะจับปุ๊บ เข้าไปติดอยู่กะความนิ่ง ความว่างนั้น ไม่ถูก ปัญญาไม่เกิด
เวลาฟุ้งซ่านคิดเรื่องผัสสะมากก็คือเผลออีกแหละ ดีไม่ดีง่วงไปเลย เคลิ้มไปเลยก็มี ทางสายกลางก็คือการมีสติระลึกรู้อยู่กะสภาวะธรรมชาติ ณ เวลานั้นไปเรื่อย ๆ ไม่เผลอและไม่เพ่ง จนมันแจ้งด้วยปัญญาแท้ ๆ ศีล สมาธิ ปัญญา ความเป็นผู้สั่งสมบุญมาก่อน ทั้งหมดทั้งปวงจะมารวมตัวสมังคีกัน ประหารกิเลส ประหารความเห็นแก่ตัวออกไป ครั้นประหารกิเลสไปแล้วในรอบแรก ก็มิใช่ว่าค่อย ๆ เปลี่ยนอย่างที่ท่านคิดท่านเข้าใจ หากแต่ว่า มันพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินเลยก็ว่าได้ จนตัวเองยังต้องรู้สึกฉงนใจว่า นี่เกิดอะไรขึ้นกะเรา ทำไมเรารู้สึกอะไรบางอย่างมันพร่องไป หายไป แม้คนรอบข้างยังพลอยรับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลงไปของเค้าด้วย อารมณ์ใจก็เปลี่ยนไป กลายเป็นคนละคนในบัดดล ใจเย็น มีสติมากขึ้น เข้าใจคนอื่นมากกว่าเก่าก่อน และความสั่งสมบุญแต่การณ์ก่อนก็จะกลับคืนมาหมด ใครเคยมีเคยฝึกอะไรมาได้มันจะกลับคืนมาหมด ตรงนี้จะไม่กล่าวเพราะไม่ใช่วิสัยที่จะมีกันได้ทุกคน ขึ้นอยู่กะ ปุพเพกตปุญญตาของแต่ละท่าน ๆ
แลเมื่อคิดทบทวนอยู่พอสมควรแก่เหตุ จึงสรุปได้ว่า สิ่งที่หายไปนั้น คือ ความเห็นแก่ตัวนั้นเองที่มันหายไป เมื่อไม่มีเห็นแก่ตัว ความเห็นใจผู้อื่นก็มาแทนที่ การคิดทำร้ายทำลายผู้อื่นย่อมไม่มี ความโลภอยากได้ของของคนอื่นที่เค้าไม่ให้ก็ไม่มี พอแล้ว เราพอแล้ว เมื่อเห็นใจผู้อื่น เท่าๆ กะการเห็นใจตัวเอง รักคนอื่นเสมอด้วยรักตัวเอง ไม่มีขาดมีเกิน เรื่องที่จะทำร้ายแม้จิตใจของผู้อื่น หรือยังอกุศลให้เกิดขึ้นในจิตในใจของผู้อื่นย่อมไม่มี มีแต่การกล่าววาจาที่เป็นคุณเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและผู้อื่นเสมอ และเพราะเห็นคุณค่าแห่งการมีสติ ที่ทำให้ตนเองผ่านพ้นมาได้ถึงปานนี้แล้ว ใครมันจะคิดไปทำลายสติของตนเองด้วยการกินเหล้าเมายา เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ หรือหาเสพในสิ่งอันไม่ควรอีกได้เล่า นี้คือศีล 5 บริสุทธิ์บริบูรณ์ โดยไม่ต้องมานั่งรักษากัน เพราะมันเป็นปกติของคนผู้นั้นไปซะแล้วนะ ผู้นั้นย่อมระลึกได้ว่า ศีล 5 ของตนเองนี้เพิ่งบริสุทธิ์นี้เอง
ใจนั้นก็มีเมตตาแท้ ๆ ที่เป็นอัปปมัญญา หาที่สุด ประมาณมิได้ อารมณ์ใจแจ่มใส มีโสมนัสกับอุเบกขาเวทนาเป็นอารมณ์หลัก และมีอารมณ์จรอื่น ๆ ให้ได้พิจารณากันต่อ ๆ ไปในระยะเวลาต่อไป ผู้ละได้อาจจะไม่จำเป็นต้องเห็นและอธิบายในสิ่งที่ตนละได้ตามหลักในพระไตรปิฏกเป๊ะ แต่เค้าย่อมสามารถอธิบายในสิ่งที่หายไปได้ อะไรยังอยู่ อะไรหายไป อะไรเบาลง อย่างนั้นเอง แน่นอนต้องมีสิ่งหนึ่งที่หายไปอย่างแน่นอน และเมื่อมีสิ่งกระตุ้นให้กิเลสตัวที่ละไปแล้วนั้นเกิดขึ้น อาการที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งกิเลสนั้นตามความเคยชินเดิมก็ย่อมไม่เกิด มีแต่อุเบกขาวางเฉยมาอยู่แทน ไม่ต้องไปนั่งตั้งต้นคิดระลึกว่ามันไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้อีกต่อไป มันขาดหายไปแล้ว จะให้เอาอกุศลตัวนั้นจากใจนี้ที่ไหนมาพิจารณาเป็นเรื่องเป็นราวอีกได้เล่า ถ้าว่าละไปแล้ว แต่เวลากิเลสตัวเดิมนั้นเกิดยังต้องมานั่งปลงนั่งพิจารณากันอยู่เรื่อย ๆ ถึงแม้เพียงเล็กน้อยก็ยังถือว่ากิเลสตัวนั้นไม่ขาดจริง ยังใช้ไม่ได้อยู่
ลองตอบใจตัวเองอย่างไม่เข้าข้างตัวเองดูดี ๆ เถอะว่าเป็นแบบนี้มั๊ย ถ้ายังไปคิดในทางอื่น นั้นก็แสดงว่ายังมีความเห็นแก่ตัว เข้าข้างตัวเองอยู่ดี ไม่ยอมมองตามธรรม ตามความเป็นจริง จงจำไว้ว่า ละความเห็นแก่ตัวได้ จึงเข้าสู่ภูมิอริยบุคคล หรือจะต้องให้อธิบายให้ฟังอีกว่า ความเห็นแก่ตัวนั้นคืออะไรอีก
ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเพราะรู้สึกว่านี้คือหน้าที่ เป็นหน้าที่ที่พุทธศาสนิกชนคนหนึ่งพึงกระทำ เพื่อดำรงไว้ซึ่งพระศาสนานี้ อย่าเพิ่งโกรธเป็นฝืนเป็นไฟนะ เพราะคนที่ละความเห็นแก่ตัวได้แล้ว ความโกรธชนิดหน้าดำหน้าแดงย่อมไม่มีเลย แม้ความพยายามใด ๆ เพื่อให้ใครคนหนึ่งเข้าใจนั้น หากไม่เป็นผลแล้วไซร้ ท่านย่อมวางอุเบกขา เป็นปกติ พรหมวิหารเป็นวิหารธรรมของท่านเหล่านั้นนะ สาธุ สาธุ สาธุ
ปุ๋ย
บัวเงิน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
ตอบเมื่อ: 26 ธ.ค.2006, 12:50 am
มันก็เรื่องเดียวกัน แล้วมันจะมีแบบไหนอีกหละ มันติดอยู่ตรงความคิดมันแบ่งนั่นแบ่งนี่อยู่นั่นแหละ เรื่องเดียวกันก็ไม่ต้องมานั่งคิดแล้ว รู้สึกว่าเป็นหน้าที่ก็ดีแล้ว ไม่ต้องมานั่งคิดว่าใครโกรธ ใครเห็นแก่ตัว ใครเข้าข้างตัวเอง นั่นมันความคิดตัวเองหรือเปล่าที่ไปนั่งคิดแทนคนอื่นว่าเป็นอย่างที่ตัวเองคิด เข้าใจก็จบ
เจริญในธรรม
มณี ปัทมะ ตารา
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th