Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ปฏิปทาธุดงคกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
baibho
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 ธ.ค.2006, 3:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอเมตตาผู้รู้กรุณาอธิบายความสำคัญและที่ไปที่มาของ ขันธวัตร 14 ธุดงค์ 13 ที่สายพระป่ากรรมฐานถือปฏิบัติเป็นวัตร และหากเป็นเพียงฆราวาสที่สนใจปฏิบัติตามแนวนี้ มีข้อดำเนินอย่างเคร่งครัดประการใด
 
อนุรักษ์
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 29 ต.ค. 2006
ตอบ: 19
ที่อยู่ (จังหวัด): อุดรธานี

ตอบตอบเมื่อ: 14 ธ.ค.2006, 8:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธุดงควัตร 13 ประกอบด้วย
..........1. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
..........2. ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร
..........3. ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร
..........4. ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร
..........5. ถือการฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร
..........6. ถือการฉันในภาชนะเดียวคือฉันในบาตรเป็นวัตร
..........7. ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
..........8. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
..........9. ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
..........10. ถือการอยู่อัพโภกาสที่แจ้งเป็นวัตร
..........11. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
..........12. ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร
..........13. ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่นอนเป็นวัตร
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
อนุรักษ์
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 29 ต.ค. 2006
ตอบ: 19
ที่อยู่ (จังหวัด): อุดรธานี

ตอบตอบเมื่อ: 14 ธ.ค.2006, 8:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ .......... การถือธุดงคบำเพ็ญได้ด้วยการสมาทานคือด้วยอฐิษฐานใจ หรือแม้นด้วยการเปล่งวาจา
..........คุณประโยชน์ของธุดงควัตร คือ การยังชีพโดยบริสุทธิ์ มีผลเป็นสุข เป็นของไม่มีโทษ บำบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย เป็นของไม่มีภัย เป็นของไม่เบียดเบียน มีแต่เจริญฝ่ายเดียว ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม ไม่มีมารยาหลอกลวงไม่ขุ่นมัว เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเหตุให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา กำจัดเสียซึ่งศัสตราทั้งปวง มีประโยชน์ในทางสำรวมเป็นเครื่องสมควรแก่สมณะ ทำให้สงบยิ่ง เป็นเหตุให้หลุดพ้น เป็นเหตุให้สิ้นราคะ เป็นการระงับเสียซึ่งโทสะทำโมหะให้ พินาศไปเป็นการกำจัดเสีย ซึ่งมานะ เป็นการตัดเสีย ซึ่งวิตกชั่ว ทำให้ข้ามความสงสัยได้ กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน กำจัดเสีย ซึ่งความไม่ยินดีในธรรม เป็นเหตุให้มีความอดทน เป็นของชั่งไม่ได้เป็นของหาประมาณมิได้ และทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง
..........อานิสงส์ การปฏิบัติธุดงควัตร ทำให้พระป่าที่จาริกไป ตามป่าเขา พำนักตามโคนไม้ เพิงผาและ ตามถ้ำเป็นอยู่อย่างสมถะ เสียสละ ลดละอุปโภคบริโภค ทำให้จิตของท่าน เป็นอิสระพ้นจาก พันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง สู่ความเบาสบาย สงบเอื้อต่อการเจริญสมาธิภาวนา บำเพ็ญความเพียร การท่องไป ในป่าที่ดารดาษ ไปด้วยสิงสาราสัตว์ ภัยอันตราย เป็นการฝึกจิต หลอมใจ ให้เข้มแข็ง มีสติระลึกรู้ มีบทบริกรรม"พุทโธ" อยู่กับสายลมหายใจ
..........การเจริญสติ ก่อให้เกิดสมาธิ และจิตตานุภาพ พระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตจะผ่านการประหารกิเลส ด้วยธุดงควัตร จิตของพระคุณเจ้า จึงมั่นคง เข้มแข็งด้วย ศีลสมาธิปัญญาศรัทธาความเพียร
..........พระป่า สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ผู้มอบกายถวายชีวิต ในพระพุทธศาสนา ดำเนิน เดินตามทางรอยธรรม พ่อแม่ครูอาจารย์ ธุดงคจาริกไป ตามวนาป่าเขา เพื่อผลานิสงส์ ในการเพิ่มพูน บารมีธรรมแห่งพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อมรรคผล นิพพาน เพื่อสงเคราะห์โลก แลสรรพสัตว์ เป็นเนื้อนาบุญของพระพุทธศาสนา เป็นขุนพลกล้า แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ที่มีคุณูปการ อเนกอนันต์ ตราบนิรันดร์สมัย ธรรมจักร ดอกไม้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ทูล ดำนงค์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 ธ.ค.2006, 9:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุครับ
 
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 16 ธ.ค.2006, 1:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วัดป่า-พระป่า
http://www.dhammajak.net/watpa/index.php

ธุดงค์ ๑๓
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7783
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
TIIIIIPPPPPP
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 ธ.ค.2006, 8:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วันพระเดี๋ยวนี้พยายาม ถืออุโบศถศีล
ไม่กินของขบเคี้ยวเลยเที่ยงมา 2 เดือน ไม่นอนเตียง ไม่นอนฟูก
ต่อไปต้องพยายาม เนสัชชิก ข้อ 13
สาธุ สาธุ ขอให้ชาวเวปมีความสุข
 
baibho
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 ธ.ค.2006, 6:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณทุกคำตอบ ธุดงภวัตรเข้าใจแล้ว แต่ข้อปฏิบัติ "ขันธวัตร 14" คืออะไร ค้นหาในพระไตรปิฎกก็ไม่พบ ช่วยให้ความรู้เรื่องขันธวัตร 14 ที่พระธุดงคกรรมฐานปฏิบัติกันด้วยค่ะ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง