ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
aratana
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ย.2006, 11:01 am |
  |
"จิตท่านเหล่านั้น" ก็เลยภูมิของมนุษย์ แม้จะยังครองสิงในรูปกายของมนุษย์อยู่ก็ตาม
นั่นก็เป็นเพียง "ภพ" ของมนุษย์ แต่ "ภูมิ" ท่านเลยไปแล้ว |
|
|
|
  |
 |
aratana
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ย.2006, 6:32 pm |
  |
เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมรู้แจ้งชัดว่า ภพหมายเอาที่อยู่ของสัตว์ ภูมิหมายเอาภูมิจิตใจของสัตว์ ดังนี้แล้วพึงตรวจดูตัวเราว่าตัวเราตกอยู่ในชั้นไหนภูมิไหน เวลานี้เราตกอยู่ในกามภพเราได้เป็นมนุษย์ นับว่าเป็นลาภของเราอันประเสริฐคือ เราต้องการอยากจะไปสู่ภพไหนภูมิหนก็เลือกเอาตามชอบใจ ศาสนาแปลว่าคำสั่งสอน พระพุทธเจ้าสอนแต่เพียงให้รู้ไม่มีการบังคับกฎเกณฑ์
ถ้าเราต้องการไปสู่อบายภูมิอันเป็นส่วนทุคติ ก็ให้ตั้งหน้าทำบาป ถ้าทำบาปเพียงเบา ๆ ก็ไปตกนรกอันเป็นบริวาร ถ้าทำขนาดหนักก็ไปสู่มหานรกใหญ่ |
|
|
|
  |
 |
aratana
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ย.2006, 7:35 pm |
  |
ถ้าต้องการจะไปสวรรค์ หรือไปเป็นอินทร์เป็นพรหมก็ให้ตั้งหน้าทำบุญ ถ้าทำชั้นต่ำก็ไปชั้นต่ำ ถ้าทำชั้นสูงก็ไปชั้นสูงตามชั้นตามภูมิของตนจะปรารถนาเอาแต่ปากเปล่า ๆ ย่อมไม่สำเร็จ อย่าว่าแต่ฝ่ายคดีธรรมถึงฝ่ายคดีโลกก็เช่นเดียวกัน ผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าเป็นนายก็ต้องเป็นผู้มีความรู้ในวิชาการต่าง ๆ ถ้ารู้แต่เพียงชั้นต่ำก็ทำได้แต่หน้าที่ชั้นต่ำถ้ามีความรู้ชั้นสูง ก็ทำหน้าที่ชั้นสูงตามชั้นตามภูมิของตน :b1: |
|
|
|
  |
 |
แมวขาวมณี
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2006
ตอบ: 307
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ย.2006, 7:41 pm |
  |
กิเลสในจิตใจที่ถูกขัดเกลา มากบ้าง น้อยบ้าง
ผู้ใดชำระกิเลสได้เพียงใด ก็ผู้นั้นแล ที่ยังติดข้องกับการมีชาติ ภพ ตามอำนาจแห่งกิเลสชักนำไป |
|
_________________ พฤษภกาสร อีกกุญชร อันปลดปลง
โททนต์ เสน่งคง สำคัญหมาย ในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้น ทั้งอินทรีย์
สถิตย์ทั่ว แต่ชั่วดี ประดับไว้ ในโลกา |
|
   |
 |
เด็กเมื่อวานซืน
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 22 ต.ค. 2006
ตอบ: 31
ที่อยู่ (จังหวัด): นนทบรี
|
ตอบเมื่อ:
03 พ.ย.2006, 9:11 pm |
  |
" จิตท่านเหล่านั้น" ก็เลยภูมิของมนุษย์ แม้จะยังครองสิงในรูปกายของมนุษย์อยู่ก็ตาม
นั่นก็เป็นเพียง "ภพ" ของมนุษย์ แต่ "ภูมิ" ท่านเลยไปแล้ว
ประโยคเหล่านี้เอามาจากไหนครับ ช่วยอธิบายหน่อย ว่า ภพ และ ภูมิ ต่างกันอย่างไรในประโยคนี้
น่าสนใจดีครับ รบกวน ด้วย |
|
_________________ กินเหมือนสุกร อยู่เหมือนสุนัข ฝักใฝ่เสพกิเลสร่ำไป |
|
  |
 |
aratana
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด
|
ตอบเมื่อ:
03 พ.ย.2006, 11:08 pm |
  |
เมื่อรู้จักชั้นและภูมิดังนี้แล้ว พึงตรวจตราดูตัวเรา ตัวเราคืออะไร คือ กายกับใจ แต่กายไม่เป็นของสำคัญ ใจเป็นของสำคัญเพราะธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อนสำเร็จแล้วด้วยใจ กายของเรา เรารู้แล้วว่าเรามีกายเป็นมนุษย์แต่ใจของเราจะตกอยู่ในชั้นไหนภูมิไหน ต้องตัดสินกันทางใจ ใจมีอยู่หลายชั้น หลายภูมิ ดังที่ได้กล่าวแล้วในชั้นต้นทำอย่างไรจึงจะรู้จักจิต รู้จักใจ รู้ซิเป็นอะไรจึงจะไม่รู้ |
|
|
|
  |
 |
aratana
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด
|
ตอบเมื่อ:
03 พ.ย.2006, 11:10 pm |
  |
เหตุนั้นจึงควรมีธรรมเครื่องประพฤติอันเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในสังคมนั้น ๆ เพราะคนเราอยู่ผู้เดียวเปลี่ยวเอกาย่อมไม่ได้ ต้องมีพวกมีหมู่ มีบิดามารดา สามีภรรยา ลูกหลาน ญาติมิตร ทรัพย์สินเงินทองนับไม่ถ้วน ตัวของเราเป็นวัตถุกามภายใน สิ่งที่แวดล้อมเหล่านั้นเป็นวัตถุกามภายนอก ตัวของเราพอใจในกามสุข ตัวของเราอาศัยสิ่งที่แวดล้อมนั่นเอง เป็นผู้นำความสุขมาให้เรา คือเราได้เห็น ได้ยิน ได้ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รับธรรมารมณ์ แล้วก็เกิดสุขกาย สุขใจ กามสุข ท่านเป็นสามิสสุข เป็นสุขที่เปลี่ยนแปลงเป็นสุขแรกได้แรกเสีย คือมีความทุกข์เจืออยู่ด้วย จึงควรระวัง สิ่งที่นำสุขมาให้นั่นแหละจะนำทุกข์มาให้แก่เรา คือ สิ่งทั้งปวง ทั้งวัตถุภายในคือ ในตัวเราและวัตถุภายนอก คือ สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นมันเป็นของไม่เที่ยง |
|
|
|
  |
 |
aratana
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด
|
ตอบเมื่อ:
03 พ.ย.2006, 11:13 pm |
  |
การรักษาศีล 5 เป็น วิรัติทานด้วย เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ แปลว่าได้ให้ชีวิตเป็นทานด้วย ไม่ลักทรัพย์ แปลว่าได้ให้ทรัพย์เป็นทาน ไม่ประพฤติผิดในกาม แปลว่าได้ให้กามเป็นทาน ไม่พูดปด แปลว่าได้ให้คำสัจเป็นทาน ไม่ดื่มสุราแปลว่า ได้ให้ความสงบเป็นทาน การรักษาศีล 5 เป็นวิรัติทานด้วย เป็นเครื่องระงับเวรทั้ง 5 ด้วย
เมื่อเวรทั้ง 5 ไม่มี ทุคติจะมีได้อย่างไร สิ่งทั้ง 5 ที่งดเว้นเป็นส่วนวัตถุกามที่เราต้องการและเขาต้องการ เป็นกรรมกิเลสเหตุเครื่องเศร้าหมองทั้งสองฝ่าย ส่วน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐพะที่ไม่มีโทษ ผู้รักษาศีล 5 ยังต้องประสงค์อยู่ ศีล 5 จึงเป็น กามวจรกุศล การไหว้พระสวดมนต์ก็เป็นกามาวจรกุศล ประมวลความลงผู้ที่มีทานวัตรศีล 5 ไหว้พระสวดมนต์เป็นส่วนกามาวจรกุศล จึงนับเข้าในภูมิกามาวจร บุคคลผู้ประพฤติธรรมเห็นปานดังที่กล่าวมานี้ |
|
|
|
  |
 |
เด็กเมื่อวานซืน
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 22 ต.ค. 2006
ตอบ: 31
ที่อยู่ (จังหวัด): นนทบรี
|
ตอบเมื่อ:
04 พ.ย.2006, 12:53 pm |
  |
แต่ใจของเราจะตกอยู่ในชั้นไหนภูมิไหน ต้องตัดสินกันทางใจ ใจมีอยู่หลายชั้น หลายภูมิ
ตามที่อ่านมาแสดงว่า
ภูมิ เป็นที่อยู่ของ ใจ
ภพ เป็นที่อยู่ของ กาย ใช่หรือเปล่าครับ ถ้าไม่ใช่อธิบายแก้ไขด้วยจะขอบคุณมาก
ประโยคที่ว่า แต่ "ภูมิ" ท่านเลยไปแล้ว จะมีความหมายว่าอย่างไรช่วยชี้แจงหน่อยนะครับ
อยากทราบด้วยว่าประโยคนี้นำมาจากไหน
ขอบคุณครับ |
|
_________________ กินเหมือนสุกร อยู่เหมือนสุนัข ฝักใฝ่เสพกิเลสร่ำไป |
|
  |
 |
aratana
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด
|
ตอบเมื่อ:
04 พ.ย.2006, 9:27 pm |
  |
อารมณ์ของจิตในเวลาตาย
ทางศาสนาจึงรับรองว่า จะคงอยู่ในสุคติโดยส่วนเดียวไม่เคลื่อนคลาดจากมนุษย์สมบัตินี้พูดถึงปัจจุบันธรรม ถ้าพูดถึงอนาคตคือ ถึงคราวแตกกายทำลายขันธ์ ส่วนมนุษย์สมบัตินั้นเป็นอันรับรองมากกว่าไม่รับรอง ส่วนสวรรค์สมบัตินั้นยังมีเงื่อนไขอยู่ เพราะสัตว์ย่อมมีอารมณ์มาก ไม่รู้ว่าจะถือเอาอารมณ์อันใด ถ้าถือเอาทาน เอาศีล เอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นอารมณ์ ทั้งไม่เป็นห่วงอยู่ในโลกนี้ ตัดขาดไม่อาลัย พอใจในสวรรค์สมบัติ ก็ให้สำเร็จประโยชน์ได้แท้จริง ถ้าพอใจในมนุษย์สมบัติก็ให้สำเร็จมนุษย์สมบัติได้แท้จริง
แต่ถ้าเป็นห่วงในสามีภรรยาหรือในลูกในหลานทรัพย์สิน เงินทอง ถ้าห่วงด้วยผ่องใส บางทีก็เกิดในลูกในหลานในญาติมิตร ถ้าป่วงด้วยความเศร้าหมอง บางทีก็เป็นเปรต เป็นเดรัจฉาน พึงเห็นด้วยภิกษุเป็นห่วงในจีวร เมื่อจุติจิตดับลงปฏิสนธิจิตยับยั้งเกิดเป็นเล็นเกาะอยู่ที่จีวร เหตุนั้น ผู้ประพฤติธรรมควรจะฝึกหัดทางสมาธิปัญญา ถ้าไม่ได้ชั้นสูงก็ให้ได้ชั้นกามาวจรภูมิจึงจะดีมาก
สมาธิที่เป็นกามาวจร |
|
|
|
  |
 |
aratana
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด
|
ตอบเมื่อ:
04 พ.ย.2006, 9:28 pm |
  |
สมาธิชั้นกามาวจรภูมิ หมายเอา บริกรรมสมาธิ อุปจารสมาธิ บริกรรมสมาธิหมายเอา สมาธิที่โอนออกจากอารมณ์ไม่ขาด ที่ว่าโอนออกจากอารมณ์ยังไม่ขาดนั้นเป็นอย่างไร เป็นอย่างนี้คือนรชนทุก ๆ จำพวกย่อมมีชวนะจิต เสพอารมณ์ ไม่มีว่างเลย ไม่เสพอารมณ์หนึ่ง ก็เสพอารมณ์หนึ่ง อารมณ์เหล่านี้เกิดจากอะไร เกิดจาก สิ่งที่แวดล้อมอะไรเป็นสิ่งที่แวดล้อม ปัจจัยสี่ เป็นสิ่งที่แวดล้อมผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ก็อาศัยปัจจัยสี่ ผู้ที่เป็นบรรพชิตก็อาศัยปัจจัยสี่ พึงเห็นดังภิกษุตายไปเป็นเร็นก็เพราะปล่อยให้ชวนะจิตส้องเสพจีวรเป็นอารมณ์
ฝ่ายคฤหัสถ์ก็ต้องมีผ้านุ่งผ้าห่มเป็นที่อาศัย ข้าวปลา อาหาร บ้านอยู่ หยูกยาแก้ไข้ ญาติมิตร สามีภรรยา ลูกหลาน ทรัพย์สินเงินทอง สิ่งเหล่านี้แหละเป็นสิ่งที่แวดล้อมทำให้ใจของเรายึดหน่วง |
|
|
|
  |
 |
aratana
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด
|
ตอบเมื่อ:
05 พ.ย.2006, 7:17 pm |
  |
สมาธิ แปลว่า ความตั้งใจมั่น ถ้าเราตั้งใจมั่นในสิ่งที่แวดล้อมเหล่านี้เป็น มิจฉาสมาธิ แปลว่า ตั้งใจผิด ส่วนสมาธิ ความตั้งใจถูก หมายเอาตั้งไว้ใน สมถะ ที่ท่านจำแนกไว้ 40 ประการ อันเป็นอุบายเครื่องสงบจิต บริกรรมสมาธิ ที่ว่าโอนจิตออกจากอารมณ์ยังไม่ได้ เช่น เราระลึกถึงทานที่เรียกว่า จาคานุสติ ระลึกถึงทานเป็นอารมณ์ หรือระลึกถึงศีล พระพุทธ พระธรรม อันใดอันหนึ่งแล้วแต่ชำนาญในอารมณ์ไหนถูกกับจริตของตน อารมณ์นั้นปรากฎในใจเพียง 5 นาที หรือ 10 นาที ครั้นเรา เผลอจิต จิตของเราก็วิ่งหนีไปยึดอารมณ์ภายนอกอื่น ๆ คือสิ่งที่แวดล้อมเหล่านั้นนี่แหละเรียกว่า บริกรรมสมาธิ บริกรรมสมาธิยังเอาแน่นอนยังไม่ได้ ถ้าโชคคดีก็ได้สุคติ ถ้าโชคไม่ดีก็ได้ทุคติ
ส่วน อุปจารสมาธิ นั้น จิตโอนออกจากอารมณ์ได้แล้ว แปลว่า ไม่เอาสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นมาคิด คิดอยู่ในทาน ในศีลเป็นอารมณ์นี้แหละเรียกว่า อุปจารสมาธิ ถ้าฝึกได้ดังนี้ในเวลาจวนเจียนจะดับขันธ์ทางศาสนา รับรองว่าได้สุคติโดยส่วนเดียว
ถ้าอยากจะดำเนินถึงรูปาวจรภูมิฯ อุปจาระสมาธิ เป็นหัวต่อแห่ง อัปปนาสมาธิ เฉียดเข้าไปถึงองค์ฌานอุปจารสมาธิเป็นกามมาวจรภูมิ อัปนาสมาธิ เป็นปูปาวจรภูมิ ผู้ที่ได้อุปจารสมาธิจะดำเนินทาง วิปัสสนา อันเป็นทาง โลกุตตรภูมิ ทีเดียวก็ได้ ผู้ที่ฝึกทางสมาธิจึงนับว่าเป็นผู้มี ภูมิจิตสูงกว่าผู้ที่ไม่ฝึก จึงเป็นขอที่ควรกระทำ
ผู้ที่ประพฤติธรรม เป็นผู้ที่มีมนุษยธรรม และมีเทวธรรมนับว่าพ้นจากโทษในปัจจุบันนี้เป็นอันว่าไม่มีหวังทางทุคติ ต้องคงอยู่ในสุคติแน่นอน ผู้ที่เว้นจากโทษไม่มีการทำบาปอีก ถึงศาสนาไม่รับรอง ตัวก็รับรองตัวเองได้แล้ว แต่ผู้ที่จะเว้นจากโทษเป็น สมุจเฉทวิรัติ ต้องเป็นโลกุตตรภูมิมีโสดาปัตติมัคเป็นต้น
สำหรับปุถุชนที่ยังเว้นไม่ขาด คงมีทั้งบาปทั้งบุญ ผู้ที่มีทั้งบาปทั้งบุญ คงมีทั้งทุคติและสุคติ แต่ผู้ที่ทำบาปแต่เพียงชั้นต่ำ ไม่ผิดกฎหมายอาญา ไม่ได้รับโทษในปัจจุบันนี้ หรือผิดอาญาแต่เขาจับตัวไม่ได้ก็คงไม่ได้รับโทษ เมื่อเป็นดังนี้สัตว์ทุก ๆ จำพวก ท่านว่ามีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผลเว้นไว้แต่พระอรหันต์ จึงจะเป็นอโหสิกรรม |
|
|
|
  |
 |
aratana
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด
|
ตอบเมื่อ:
06 พ.ย.2006, 6:19 pm |
  |
กรรมที่ให้ผลโดยลำดับ 4 กรรม
สัตว์ทุก ๆ จำพวกเมื่อจะลดโลกนี้ไปสู่โลกอื่น ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าไปสู่ภพไหนใน 31 ภพ ถ้าอยากรู้พึงดู ตัวกรรม เพราะตัวกรรมภพเป็นของสืบเนื่องถึงอุปปัตติภพ ตัวกรรมภพเป็นตัวเหตุตัวอุปปัติภพเป็นตัวผล เหตุกับผลเป็นของเนื่องถึงกัน ตัวกรรมภพที่จะให้ผลโดยลำดับ มีอยู่ 4 กรรม คือ
ครุกรรม กรรมหนักที่จะให้ผลก่อนกว่ากรรมใดทั้งสิ้นในกรรมฝ่ายบุญหมายเอารูปฌาณ 4 อรูปฌาน ฝ่ายบาปหมายเอาอนันตริยกรรม 5 คือ ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำสังฆเภท ทำโลหิตุปบาท กรรมทั้งบุญทั้งบาปที่กล่าวมานี้ เราได้ทำไว้หรือไม่ได้ทำ ถ้าเราได้ทำอนันตริยกรรม 5 ภพ อันเป็นที่อยู่ของเราต้องไปสู่อเวจีไม่มีทางแก้ไข ฝ่ายบุญรูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 เราทำไว้หรือไม่ได้ทำ ถ้ารูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 ทำได้ยังไม่เสื่อมตัวของเราจะต้องไปเกิดในรูปพรหม และอรูปพรหม ตามชั้นตามภูมิของตน ถ้ากรรมนี้ไม่มี ให้ดูกรรมที่ 2 รองกันมา เรียกว่า
พหุลกรรม แปลว่า กรรมเคยชิน กรรมทำบ่อย ๆ ฝ่ายบาปเช่น ผู้ที่ทำบาปทุกวัน ทำประจำไม่ขาด เช่น เที่ยวปล้นเขาเลี้ยงชีวิต หรือทำโป๊ะทำอวนทุกวัน ฆ่าเป็ด ฆ่าไก่ ฆ่าสุกรตายทุกวัน ต้องไปฝ่ายอุบายภูมิ 4 ฝ่ายบุญ เช่น ทำทานใส่บาตรพระทุกวัน หรือรักษาศีลไหว้พระสวดมนต์ ทุกวัน ต้องไปสุคติ คือ มนุษย์ 1 สวรรค์ 6 ชั้น ตามชั้นตามภูมิของตน ถ้าพหุลกรรมไม่มี ยังมีกรรมที่ 3 เรียกว่า
อาสันนะกรรม คือ กรรมเมื่อจวนเจียนใกล้จะตาย ถ้านึกถึงบาปก็ไปสู่บาป ถ้านึกถึงบุญก็ไปสู่บุญ กรรมที่ 3 กรรมทำห่าง ๆ นี้มีหรือไม่มี ถ้าไม่มี กรรมที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมอ่อนที่สุด เรียกว่า
กะตัตตากรรม กรรมสักว่าทำ ทำไม่มีเจตนาคิดว่าเป็นบุญเป็นบาป กรรมทั้ง 4 กรรมนี้ ครุกรรม กรรมหนัก กะตัตตากรรม กรรมสักว่าทำ สองกรรมนี้ไม่ค่อยจะมีใครทำ จึงมีห่าง ๆ โดยมากมีอยู่ใน พหุลกรรม และอาสันนะกรรม ตัวสำคัญถ้าอยากรู้ว่าสัตว์ที่ตายนั้นจะไปสู่ภพไหน ให้ดูตัวอาสันนะกรรมคือ กรรมเมื่อจวนเจียนใกล้จะตาย
ทวารสมมุติ - ทวารวิมุติ |
|
|
|
  |
 |
aratana
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด
|
ตอบเมื่อ:
06 พ.ย.2006, 9:28 pm |
  |
ทวารสมมุติ - ทวารวิมุติ
ถ้าชวนะจิตส้องเสพอารมณ์อันใดในทวารสมมุติ ทวารสมมุติคืออะไร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าทวารสมมุติยึดหน่วงเอาอารมณ์อันใดเป็นอารมณ์ เมื่อทวารสมมุติแตกดับลงคือ ตาย ตัวมโนทวาร รับเอาอารมณ์ในอดีตหรือปัจจุบัน เมื่อทำสิ่งใดในอดีตหรือปัจจุบัน ตัวมโนทวารเป็นผู้สั่งสมเก็บเอาไว้
เมื่อทวารสมมุติแตกดับลง ตัวทวารวิมุติ คือ ตัวจุติจิตรับเอาอารมณ์เรียกว่า กรรมนิมิต ให้เห็นในทวารวิมุติดังนอนหลับฝันเห็นนั้นแหละเรียกว่า ทวารวิมุติ ถ้าทวารสมมุติรับเอาอารมณ์ ที่ผ่องใส ตัวทวารวิมุติก็ได้อารมณ์ที่ผ่องใส เมื่อทวารวิมุติได้อารมณ์ที่ผ่องใส ตัวคตินิมิตก็ให้เห็นสิ่ง ที่ดี ถ้าจะได้มนุษย์สมบัติก็ให้เห็นหัวเมืองใหญ่ ให้เห็นชาติและประเทศตระกูลอันสูง เช่น ตระกูลเศรษฐี และกษัตริย์ ถ้าจะได้สวรรค์สมบัติก็ให้เห็นปราสาทเงิน ปราสาททอง เห็นนางฟ้าเป็นบริวารเรียกว่ากุศลกรรมบันดาลให้เกิดขึ้นตามกำลังของกรรมที่ยิ่งและหย่อน
ถ้าทวารสมมุติรับเอาอารมณ์ที่เศร้าหมอง อันเกิดจากฝ่ายอกุศลในเวลาอาสันนะกรรม เมื่อทวารสมมุติแตกดับ ตัวทวารวิมุติ คือ จุติจิต รับเอาอารมณ์ต่อจากทวารสมมุติ เมื่อทวารสมมุติได้อารมณ์ที่เศร้าหมอง ตัวทวารวิมุติก็ได้รับอารมณ์ที่เศร้าหมอง ตัวคตินิมิตจึงได้นิมิตที่ไม่ดี เช่นเห็นสัตว์ที่ตนเคยฆ่า เห็นโซ่เห็นตรวน เห็นหอกเห็นดาบ เห็นหายนิริยะบาล เห็นเปลวไฟเปลวนรก ดังบางคนที่เขาป่วยหนักสลบไปเห็นนรกเห็นนายนิริยะบาลแล้วมาเล่าให้คนเราฟังอยู่เป็นอันมาก จุติจิตของพวกนี้ตายไปจริง คือ ยังไม่ถึงคราวตาย พระยายมไม่ลงบัญชี เมืาอจุติจิตได้นิมิตอย่างใดแล้วตัวปฏิสนธิจิตก็เกิดขึ้นในภพนั้น ๆ ตามสัญญาอารมณ์ที่ตนเห็น ตนรู้อารมณ์ในปัจจุบันคือตัวทวารสมมุติรับเอาไว้ อารมณ์ในอนาคตคือ ตัวทวารวิมุติไม่มีต่างกันเลย ตัวทวารสมมุติเป็นตัวสันตติต้นตัวทวารวิมุติเป็นตัวสันตติหลัง ตัวสันตติต้นกับตัวสันตติหลังเป็นของเกี่ยวเนื่องกัน ตัวสันตติต้นเปรียบเหมือนเขาส่งวิทยุมาจากประเทศนอก เมื่อเขาส่งมาด้วยอาการอย่างไร ก็มาปรากฎในวิทยุของเราอย่างนั้น ไม่มีต่างกันเลยฉันใด ตัวจุติจิตที่รับเอาอารมณ์ใน ภพนี้ เปรียบเหมือนคลื่นวิทยุที่เขาส่งมาจากประเทศนอก ตัวปฏิสนธิจิตที่จะเกิดขึ้นในภพหน้า เปรียบเหมือนเครื่องวิทยุของเราอันเป็นเครื่องรับ เมื่อส่งมาอย่างไรก็ต้องรับอย่างนั้น |
|
|
|
  |
 |
aratana
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด
|
ตอบเมื่อ:
07 พ.ย.2006, 5:52 am |
  |
ถ้าใครเป็นผู้ได้เรียนได้รู้ดังที่กล่าวมานี้ นับว่าได้วิชาตายจะตายได้สมความหวัง ดีกว่าคนไม่รู้ คนที่รู้เปรียบเหมือนคนตาดี คนที่ไม่รู้เปรียบเหมือนคนตาบอด คนตาดีกับคนตาบอดจะออกเดินทางไปที่ตนประสงค์ คนตาดีอาจไปถึงก่อนและถึงได้อย่างสบาย ส่วนคนตาบอดคงถึงทีหลังหรืออาจไม่ถึงก็ได้ คนที่รู้จักโอนจิตของตนออกจากที่เศร้าหมอง ทั้งรู้จักอารมณ์ที่เป็นสวรรค์ อารมณ์ที่เป็นนรก นับว่าผู้นั้นได้ฝึกทางสมาธิปัญญา เป็นผู้มีความรู้สูงสุดในชั้นกามาวจรภูมิ ผู้ที่ไม่รู้จักทางสวรรค์ อยากไปสวรรค์จึงไปสวรรค์โดยทางคาดคะเนแล้วแต่มันจะถูก ถ้าโชคดีก็ถูกสวรรค์ ถ้าโชคไม่ดีก็เลยไม่ถูก เปรียบเหมือนทหารยิงปืนเดาสุ่มไม่เล็งใส่ศูนย์ยิงร้อยทีพันทีก็ไม่ถูก |
|
|
|
  |
 |
aratana
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด
|
ตอบเมื่อ:
07 พ.ย.2006, 6:13 pm |
  |
รู้จักทางตาย
ส่วนผู้ที่รู้จักทางตาย เปรียบเหมือนทหารยิงปืนเล็งใส่ศูนย์ ยิงทีเดียวก็ถูกที่หลาย จึงเป็นของที่ควรศึกษาให้รู้ไว้เวลาจวนเจียนจะตาย ถ้าไม่ได้ศึกษาให้รู้ไว้ ถึงจะร้องสั่งกันว่าอย่าเป็นห่วงกับญาติพี่น้องให้ทำใจให้ผ่องใส ให้ระลึกถึงทานถึงศีล ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คนที่ยังไม่เคยระลึกเขาจะระลึกได้อย่างไร จะบอกหนทางให้เขา เขาก็ไม่เชื่อไม่รู้ ทั้งเขายังไม่เคยทำทานรักษาศีล ไม่เคยระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เขาจะระลึกได้อย่างไร เขาเคยระลึกแต่บาปที่เขากระทำ เคยระลึกถึงแต่ภูตแต่ผี ไหนเลยทาน ศีล พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จะมาเป็นที่พึ่งเขาได้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของที่เกิดจากใจ ใจเป็นผู้สั่งสมเอาไว้ ถ้าใครสั่งสมเอาสิ่งไหนไว้ ถึงจะไม่ร้องสั่งบอกกันในเวลาตาย สิ่งที่สั่งสมไว้นั้นคงมีอยู่กับใจของเขาแล้ว |
|
|
|
  |
 |
aratana
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด
|
ตอบเมื่อ:
11 พ.ย.2006, 12:40 pm |
  |
การเกิดเปรียบด้วยการมาค้าขาย
ทุกคนที่เกิดมาก็เท่ากับมาค้าขายชั่วคราว ไม่วันใดก็วันหนึ่งเขาจะไล่กลับคืนบ้านเก่าของเรา ถ้าเรากลับไปทางอบายภูมิก็แปลว่าเราขาดทุนสูญกำไร ถ้าเราตกอยู่ในมนุษย์ชั้นเสมอเราก็แปลว่าเราได้ทุนเดิม ถ้าเราได้ไปสวรรค์ก็แปลว่าเราได้กำไรงามเต็มความประสงค์ ถ้าเราฝึกจิตของเราให้สูงขึ้นไปถึงขั้นโลกุตตระเป็นที่สุด ก็ยิ่งจะมีกำไรงามเกินคาดคะเน
ถ้าเราจะพายก็ให้รีบพายอย่าชักช้า ถ้าไม่พายตลาดมันจะวายสายบัวมันจะเน่า มันจะเป็นเฒ่าเก่าเกิดแก่หลายปี มันจะเสียทีที่เรามาค้า เขาจะว่าเป็นบ้าก้มหน้าอย่างงมงาย อะไรเรียกว่าตลาดร่างกายของเรานี่แหละเรียกว่าตลาด ร่างกายของเราเป็นที่ประชุมของโรค เป็นที่อยู่อาศัยของโรค เปรียบเหมือนตลาดเป็นที่ประชุมแห่งชน ฉะนั้นเมื่อตลาดวายแล้วสายบัวมันก็เน่า สายบัวดีหมายเอาจิตเอาใจเรา ถ้าตัวเราสิ้นลมหายใจไปแล้วก็หมดราคา วัวควายตายมันยังเอาเนื้อเอาหนังไปขายได้ ช้างตายมันยังมีงาขายได้ คนเราตายจะขายสัก 5 สตางค์ก็ไม่ได้ โดยที่สุดอะไรจะให้เขาเปล่า ๆ ก็ไม่มีใครเขาเอา มิหนำซ้ำยังเป็นที่รังเกียจ ยังเป็นที่หนักอกหนักใจหมดเงินหมดทอง แก่ผู้อยู่เขาเสียอีก จึงไม่ควรจะเพลิดเพลิน เพราะตามธรรมุเทศ 4 ข้อ
ธรรมุเทศ 4
โลกคือหมู่สัตว์อันชราตามเข้าไปทุกที่ไม่ยั่งยืน
โลกคือหมู่สัตว์ไม่มีสิทธิอำนาจไม่เป็นใหญ่ในตน
โลกคือหมู่สัตว์จำต้องพลัดพรากทอดทิ้งจากสิ่งทั้งปวง
โลกคือหมู่สัตว์พร่องอยู่เป็นนิจเป็นทาสแห่งตัณหาไม่มีเวลาพอ |
|
|
|
  |
 |
aratana
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด
|
ตอบเมื่อ:
11 พ.ย.2006, 6:44 pm |
  |
ธรรมสังเวช
ครั้นถึงคราวจะสิ้นลมหายใจ จะร้องเรียกให้ญาติมิตรสามีภรรยา ลูกหลานทรัพย์สินเงินทองของเหล่านั้นมาช่วยไม่ได้ สทธา ทุติยา ปุริสสส โหติ ศรัทธานี้แหละจะเป็นเพื่อนสองของเรา ศรัทธานี้แหละจะรวบรวมไว้ซึ่งเสบียง คือ กุศล สทธาย ตรติ โอฆํ จะออกจากโอฆะได้ก็เพราะศรัทธา ถ้าหาศรัทธาไม่ได้ก็มีแต่จะวนเวียนอยู่ในกองทุกข์ไม่มีที่สิ้นสุดความสุขมีนิดหน่อยไม่พอกับความทุกข์ เพียงแต่ความเจ็บความตายเท่านั้น ก็ลบล้างความสุขเสียหมดสิ้นแล้ว
นี่แหละเราท่านทั้งหลาย ทั้งหญิงชายและพานิช จึงต้องคิดด้วยปัญญา เราเกิดมาก็คงตาย มีร่างกายก็คงแก่ พี่น้องพ่อแม่ช่วยไม่ได้ เวลาไป ๆ คนเดียว จิตหน่วงเหนี่ยวบุญกับบาปมียศลาภก็ต้องทิ้ง ลูกชายหญิงก็ต้องละ เชื่อคำพระเถิดเราท่านทั้งหลายเอ๋ย อย่าได้หลงเชยชมตัว มีเมียผัวก็ต้องจาก กายศพทรากก็ต้องเน่า เขาไปเผาที่ป่าช้า เห็นแก่ตาทุกตัวตน ความดีชั่วติดตามตน ให้เวียนวนผลสุขทุกข์ แต่ความสุขมีโดยน้อย เหมือนหิ่งห้อยปลายพฤกษา กองทุกขาเท่าภูเขา ทั้งตัวเราและหญิงชายเกิดคงตายกายคงแก่ ตายเที่ยงแท้แลดูเถิด |
|
|
|
  |
 |
แมวขาวมณี
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2006
ตอบ: 307
|
ตอบเมื่อ:
11 พ.ย.2006, 7:17 pm |
  |
เราจึงควรเร่งบำเพ็ยเพียรเผากิเลส
ยกภูมิ แห่งจิต ให้เข้าใกล้ แดนอันสงบนั้นเถิด
สา.......ธุ |
|
_________________ พฤษภกาสร อีกกุญชร อันปลดปลง
โททนต์ เสน่งคง สำคัญหมาย ในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้น ทั้งอินทรีย์
สถิตย์ทั่ว แต่ชั่วดี ประดับไว้ ในโลกา |
|
   |
 |
aratana
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด
|
ตอบเมื่อ:
12 พ.ย.2006, 10:07 pm |
  |
เงินหมื่นและเงินแสน ของหวงแหนตายแล้วไม่แลเหลียวย่อมทอดทิ้งทุกสิ่งเทียว เอาไปไม่ได้แม้แต่สิ่งเดียว เงินทองของเขาใส่ปาก ก็เอาไปฝากอยู่ที่กองไฟ หรือนายสัปเหร่อ ผัวเมียจะติดตามได้ก็เพียงไปถึงสุสานป่าช้าเท่านั้น ครั้นไปถึงสุสานป่าช้าแล้ว ต่างก็ได้ดอกไม้ธูปเทียนมาปราศัยว่า ให้เจ้าได้ไปเกิดดีถึงสุข ให้เจ้าได้ขึ้นสวรรค์ชั้นฟ้า อย่าได้มากลั้วโลกสงสาร อย่าได้มาเที่ยวหลอกลูกหลาน ขาดกันแต่วันนี้ฯ
เมื่อเขาปราศัยดังนี้แล้ว ต่างก็เอาไฟมาจุดมาเผา เสร็จแล้วต่างก็กลับมาบ้านตามประสงค์ มีแต่ตนผู้เดียวจะอยู่เปลี่ยวเอกา จะทอดทิ้งกายาไว้เหนือแผ่นดิน มีแต่แร้งกาหมาจะกิน หมดเสียสิ้นอย่าสงสัย ที่ไหนเล่าเป็นตัวเรา อันความจริงสิ่งที่เรายึดถือ ในกำมือไม่ใช่ตน สิ่งที่จะเป็นตัวตนของเราแท้ ๆ ก็คือความดีกับความชั่ว ที่ตัวทำไว้ย่อมจักได้เป็นผล เหมือนกับเงาเทียมตนไม่ห่างเหินเวลาเดินเงาก็เดินไปได้ดังใจหวัง เวลานั่งเงาก็นั่งอยู่เป็นคู่เคียงเวลาเราเอนเอียงเงาก็เอนเอียงไปตาม |
|
|
|
  |
 |
|