ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
จ๊ะเอ๋
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
30 ส.ค. 2006, 4:55 am |
  |
อ่านหนังสือเกี่ยวกับกรรมหลายเรื่อง ทุกครั้งต้องเจอข้อความว่า "เป็นเพราะชาติก่อนขณะเขา/เธอทำบุญใหญ่เขา/เธอได้อธิษฐานจิตขอให้.........ทำให้ชาตินี้เขา/เธอเป็นอย่างนี้ ซึ่งเป็นไปตามอธิษฐานจิตในชาติก่อน
ส่วนฉัน มาช่วงหลังๆนี้ไม่เคยขอพรตอนทำบุญเลย แล้วฉันจะมีบุญมั้ยเนี่ย แล้วอนาคตฉันจะได้อานิสงฆ์ของบุญที่ได้ทำไว้มั้ยเนี่ย |
|
|
|
|
 |
บัวพ้นตม
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
30 ส.ค. 2006, 7:24 am |
  |
การทำบุญย่อมได้บุญเสมอ จะได้มากหรือน้อยอยู่ที่ความศรัทธาขณะทำ
1.มีความคิดอยากจะทำ
2.ตั้งใจและเต็มใจในขณะที่ทำ
3.มีความยินดีเเละพอใจในสิ่งที่ทำมาเเล้ว
เเค่นี้คุณก็ได้บุญเพียบเเล้ว
|
|
|
|
|
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
30 ส.ค. 2006, 10:10 am |
  |
กราบสวัสดี คุณจ๊ะเอ๋
ทำด้วยจิตบริสุทธิ์ มีสัจจะ ไม่หวังผลตอบแทน ไม่ว่าทำบุญกุศลแบบไหน อย่างไร ไม่ขอ ไม่อธิษฐาน ทำด้วยกิเลสก็มีความอยากนั่นอยากนี่เข้ามาอธิษฐาน มันก็ไม่พ้นเวียนว่ายตายเกิดอยู่ดี ทำด้วยจิตบริสุทธิ์อันเป็นกุศล อานิสงส์ผลบุญย่อมมีแน่นอน แต่เมื่อไหร่ก็ช่าง ไม่ได้ก็ช่าง ไม่ดีก็ช่าง ดีก็ช่าง ผลจะเป็นอย่างไรก็ช่าง....เท่านี้
เจริญในธรรม
มณี ปัทมะ ตารา  |
|
|
|
   |
 |
ชยชัย
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
30 ส.ค. 2006, 10:40 pm |
  |
เจตนาหํ ภิกขเว ปุญฺญํ วทามิ เรากล่าวว่าเจตนาเป็นตัวบุญ มันตัดตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว อารมณ์มันตัดตั้งแต่เรามีเจตนาหรือความตั้งใจที่จะทำแล้ว
สำหรับการทำทานที่ได้กุศลสูงสุด
1.ผู้ทานบริสุทธิ์ บริสุทธิ์หรือไม่นั้นท่านจึงให้สมาทานศีลก่อนนั่นไงล่ะ
2.ผู้รับบริสุทธิ์ เปรียบเสมือนนาข้าวถ้านาลุ่มน้ำก็ท่วม ถ้านาดอนน้ำไม่ถึงก็แห้งตาย นาบุญก็เหมือนกันถ้าทำไม่ดี ไม่มีศีลธรรม เราก็ได้รับอานิสงส์น้อย แต่ทั้งนี้เรามีเจตนาที่จะถวายแล้วนี่ ถ้าผู้รับไม่ดีก็ลงอเวจีไปเอง
3.วัตถุบริสุทธิ์ ไม่ฆ่าสัตว์มาทำบุญ ไม่ขโมยของเขามาทำบุญ
นอกจากนี้ยังมีอีกคือ
1.ตั้งใจดีก่อนทำทานการกุศล
2.ขณะทำใจของตนก็ผ่องใส
3.หลังให้ทานก็เบิกบานสบายใจ
4.สามข้อใหญ่ใช้ประจำเมื่อทำทาน
ขออนุโมทนาสาธุการกับทุกท่านครับ |
|
|
|
|
 |
เพื่อจิตบริสุทธิ์ดีกว่า
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
30 ส.ค. 2006, 11:08 pm |
  |
คิดว่าการทำบุญให้ทานประโยชน์ที่ได้มากที่สุดคือทำให้จิตเคยชินกับการละความอยากความโลภได้ดี ยิ่งให้มากก็ยิ่งละได้มาก ทำให้จิตใจบริสุทธิปฏิบัติธรรมก็ง่ายขึ้น ส่วนประโยชน์ทางวัตถุด้วยกฏแห่งกรรมยังไงก็คงต้องได้รับในที่สุด แต่เชื่อว่าแตกต่างกัน ผู้ที่ทำแบบคาดหวังผลดีตอบแทนอาจจะต้องเกิดเจตนามีความต้องการมากน้อยตามที่คาดหวังจากการทำบุญก่อนเช่นกำลังเดือดร้อนเรื่องเงินจึงจะได้รับผลตอบแทน ในขณะที่คนที่ทำไม่หวังผลอยู่ดีดีก็อาจได้รับประโยชน์โดยไม่ต้องคาดหวังก็ได้รับเหมือนกัน น่าจะช่วยอธิบายเหตการณ์ที่หลายคนทำไมอยู่ดีดีไม่ทำอะไรก็มีแต่สิ่งดีดีมาหา ในขณะที่บางคนต้องพยายามก่อนถึงจะได้ ส่วนอีกบางคนพยายามเท่าไหร่ก็ไม่ได้ ได้สมบูรณ์มากขึ้น แต่ก็ไม่ทราบเหมือนกันเพราะเรื่องของบุญกรรมคิดด้วยเหตผลกันยากแต่มั่นใจว่าส่งผลถึงกันแน่นอน |
|
|
|
|
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
31 ส.ค. 2006, 12:19 am |
  |
สวัสดีค่ะคุณจ๊ะอ๋
พรคืออะไร ทำอย่างไรจะได้พร
ถ้าพูดตามภาษาพระ พรเป็นสิ่งที่เราจะต้องสร้างขึ้นเอง คือพร4ประการได้แก่ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ต่างๆเหล่านี้ แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นเพียงด้วยการอ้อนวอนหรือความปรารถนาเท่านั้นก็หาไม่ ท่านทั้งหลายที่ปรารถนาสิ่งเหล่านี้จะต้องปฏิบัติสิ่งที่เป็นเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นเอง
คำว่าพร ที่จริงภาษาพระแปลว่าผลประโยชน์หรือสิทธิพิเศษที่ให้ตามคำขอ เขาขอแล้วให้เรียกว่าพรเช่นพระนางผุสดีขอพร10ประการจากพระอินทร์ แล้วเขาให้ เรียกว่าให้พร นี้เป็นความหมายเดิมแท้ของพร
อีกความหมายนึง พรแปลว่าประเสริฐ อะไรก็ตามที่เป็นของประเสริฐเช่น พระรัตนตรัย ก็เป็นวร คือเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ปัญญาก็เป็นพร สติ สมาธิก็เป็นพร คือเป็นสิ่งที่ดีงามประเสริฐ
ที่ว่ามานี้คือความหมายเดิม แต่ปัจจุบันเราใช้คำว่าพรในความหมายว่าสิ่งที่เราปรารถนา สิ่งดีงามที่อยากได้ นี่คือผิดเพี้ยนไปจากเดิม
ในที่นี้เรามาประยุกต์ใหม่ว่าพรคือ สิ่งที่เราปรารถนา พร้อมทั้งเป็นสิ่งที่ดีงามประเสริฐด้วย กล่าวคือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าล้ำเลิศ ถ้าท่านต้องการได้พรเหล่านี้ ต้องทำจิตใจให้ถูกต้อง โดยเฉพาะต้องมีความเชื่อมั่น ทำจิตใจให้สงบผ่องใส พร้อมทั้งมีความมั่นใจ มีกำลังใจเข้มแข็งที่จะทำสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น ซึ่งตรงกับที่ทางพระเรียกว่าอธิษฐานจิต
การอธิษฐานจิตนั้นท่านแปลว่า การตั้งจิตให้แน่วแน่มั่นคง หรือการตั้งใจเด็ดเดี่ยว
ที่ว่าตั้งจิตมั่นคือตั้งใจเด็ดเดี่ยว หมายความว่า ตั้งใจมุ่งหวังทำเรื่องนั้นๆหรือความดีงามนั้นให้สำเร็จให้ได้ เหมือนที่พระพุทธเจ้าทรงอธิษฐานพระทัยว่า จะเพียรพยายามปฏิบัติให้บรรลุโพธิญาณ ถึงพระโลหิตจะเหือดแห้งไป ถ้ายังไม่สำเร็จก็ไม่ยอมหยุดเลิกเสีย
พูดง่ายๆว่าอธิฐานเพื่อจะทำไม่ใช่อธิฐานเพื่อจะเอาหรือเพื่อจะได้
อ้างอิงจากหนังสือกฏแห่งกรรม-ธรรมปฏิบัติเล่มที่19 หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
จ๊ะเอ๋
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
01 ก.ย. 2006, 3:45 am |
  |
สาธุ
ขอบคุณมากค่ะทุกๆท่านที่ช่วยชี้แจงให้ |
|
|
|
|
 |
kt13
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 11 พ.ค. 2005
ตอบ: 18
|
ตอบเมื่อ:
14 ก.ย. 2006, 9:02 pm |
  |
อิอิ ว่าแต่ว่า ทำไมถึงถาม?
ไม่มั่นใจในคำตอบในใจของตัวหรือ?
หรือเพื่อ.................... อิอิ |
|
_________________ ความสุข คือความสงบ |
|
   |
 |
|