Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ขอ “พลังศรัทธาสาธุชน” ร่วมสร้างศาลาปฏิบัติธรรม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
อัตตสันโต ภิกขุ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.พ.2006, 2:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ช่างแม้น.jpg


อีกหนึ่งภาพสวยๆ สาธุ สาธุ สาธุ
 
อัตตสันโต ภิกขุ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.พ.2006, 3:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



เด็กมามาฟังธรรม.jpg


เด็กเรียนมาฟังในวันมาฆบูชา
 
อัตตสันโต ภิกขุ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.พ.2006, 2:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



พ่อเทียบบวช.jpg


พ่อเทียบผู้ถวายที่ดินสร้างวัดเทียบศิลาราม
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 49 ที่ผ่านมา
สาธุ สาธุ สาธุ
 
อัตตสันโต ภิกขุ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.พ.2006, 2:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ขึ้นเสา.jpg


การดำเนินการก่อสร้างกำลังเทเสา
 
วรพจน์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 มี.ค.2006, 7:30 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



kapook_1336487.jpg


ทำ กุศลคนส่วนใหญ่ยังชัด
บุญ แบบไหนเป็นปรมัตถ์ประโยชน์หนอ
อย่าง ที่ทำกันอยู่ดูรั้งรอ
ไร ไรก็หวังทำบุญลุ้นโชคชัย
จึง ควรคิดพิจารณาหาเหตุผล
จะ ทำบุญหนุนกุศลอย่าสงสัย
ได้ ประโยชน์แก่ส่วนรวมควรแจ้งใจ
บุญ กุศลจึงยิ่งใหญ่ใดเทียบเทียม

ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
 
วรพจน์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 มี.ค.2006, 6:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบนมัสการ
พระอาจารย์สุพิน อัตตสันโต
เมื่อวานนี้ผม วรพจน์ ศรีสุภาพ
ได้โอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาขุนหาญ
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 326-0-00987-6
ชื่อบัญชี พระสุพิน อัตตสันโต
เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท

เพื่อร่วมสร้างศาลาปฏิบัติธรรมในครั้งนี้
ข้าพเจ้าขออำนาจผลบุญกุศลในการบำเพ็ญทานในครั้งนี้
ขออุทิศให้แด่บรรพบุรุษของข้าพเจ้าที่ได้ล่วงลับไปแล้วทุกท่านขอให้ท่าน
ได้รับผลบุญนี้ ท่านใดที่กำลังทุกข์ก็ขอให้พ้นจากทุกข์ ท่านใดประสพความสุขก็ขอให้มีแต่ความ
สุขยิ่งๆ ขึ้นไป ด้วยเทอญ .......สาธุ.....
 
อัตตสันโต ภิกขุ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 19 มี.ค.2006, 9:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



อัตตสันโต ภิกขุ.jpg


คิดดี พูดดี ทำดี

ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
 
อัตตสันโต ภิกขุ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 27 ม.ค. 2006
ตอบ: 4

ตอบตอบเมื่อ: 24 มี.ค.2006, 9:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



เสาศาลา.jpg


การเทเสาได้ดำเนินการเสร็จแล้ว ต่อไปก็เป็นการทำโครงเหล็กแล้วก็หลังคา
ราคาวัสดุในการโครงเหล็กหลังคาด้านบน ราคา 250,000 บาท ( สองแสนห้าหมื่นบาท)
ทุกท่านสามารถร่วมเป็นเจ้าภาพได้ตามกำลังท่านละเล็กท่านละน้อย

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 49 โยมทองรัก สัข์สุวรรณ์
จาก 39/1ม.10 ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
ได้นำปัจจัยจำนวน 140,000 หนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
มาถวายเพื่อใช้ในการก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรม
พร้อมกันนี้ก็ได้ ถวายรถโตโยต้าวีโก้ หนึ่งคันเพื่อใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ขออำนวยอวยพรให้โยมทองรัก สัข์สุวรรณ์
ที่ได้ปรารถนาสิ่งหนึ่งประการใด ตามทำนองคลองธรรมแล้วไซร้
ขออำอาจคุณพระพุทธ คุณพระธรรม และพระอริยะสงฆ์
และบุญนี้จงช่วยดลบันดาล โยมทองรัก สัข์สุวรรณ์ ทำให้สำเร็จๆๆ ด้วยเทอญ สาธุ

พระสุพิน อัตตสันโต
ประธานสงฆ์เทียบศิลาราม/ประธานก่อสร้าง


สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ขอเป็นเหล็กสักเส้น อิฐสักก้อน เป็นส่วนไหนก็ได้ในพระศาสนา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
อัตตสันโต ภิกขุ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 27 ม.ค. 2006
ตอบ: 4

ตอบตอบเมื่อ: 24 มี.ค.2006, 11:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมจักร มนต์เศรษฐี ธรรมจักร

ในเรื่องนี้ ท่านสอนให้แก้ที่เศรษฐกิจ ให้หาอุบายสงบจนด้วยปฏิบัติตามหลักธรรม
ทางพระพุทธสาสนา ในทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ ประการคือ

๑. ขยันหา ได้แก่ อุฏฐานสัมปทา
๒. รักษาดี ได้แก่ อารักขสัมปทา
๓. มีกัลยาณมิตร ได้แก่ กัลยาณมิตตตา
๔. เลี้ยงชีพเหมาะสม ได้แก่ สมชีวิตา

อีกที่หนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอุบายเลี้ยงชีพและสร้างฐานะไว้ว่า ปฏิรูปการี ธุรวา
อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ แปลว่า ผุ้ขยัน หมั่นเอาธุระ และการงานเหมาะแก่จังหวะย่อมหา
ทรัพย์ได้ ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆสาจารย์ วัดสามพระยา ได้กล่าวถึงอุบายสงบไว้
จนน่าคิดว่า ผู้ใดก็ตามมีเกินใช้ ได้เกินเสีย อย่างนี้รวย ถ้าเสียเกินได้ ใช้เกินมี
อย่างนี้จน นอกจากนี้นักปราชญ์ท่านยังได้บอกสูตรสำเร็จ หรือเหตุที่ทำให้ตั้งเนื้อตั้งตัวได้นั้น
ต้องหมั่นในธรรม ๔ ประการ คือ
๑. ซื่อสัตย์สุจริต ๒. เป็นนิตย์ขยัน ๓. ประหยัดให้มั่น ๔. หันหลังทางอบาย

หรือจำง่ายๆ ว่า อยากสบายให้ขวนขวายทำดี อยากเป็นเศรษฐีให้รู้จักประหยัด


ธรรมจักร ธรรมจักร ธรรมจักร ธรรมจักร ธรรมจักร ธรรมจักร ธรรมจักร ธรรมจักร ธรรมจักร ธรรมจักร
 

_________________
ขอเป็นเหล็กสักเส้น อิฐสักก้อน เป็นส่วนไหนก็ได้ในพระศาสนา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
อัตตสันโต ภิกขุ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 27 ม.ค. 2006
ตอบ: 4

ตอบตอบเมื่อ: 24 มี.ค.2006, 11:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมจักร มารู้จักทำบุญกันเถอะ ธรรมจักร

แท้จริง บุญมีสองตอน คือ โดยผลกับโดยเหตุ โดยผลคือใจที่ร่าเริงเป็นสุขปลอด
โปร่งแจ่มใส อันเป็นสำนึกที่ได้มาจากการทำดี คือบุญโดยเหตุซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายอย่างมีใช่
เฉพาะต้องให้ทานเท่านั้น เช่นรักษาศีลเจริญภาวนา ขวนขวายช่วยเหลืองานที่มีประโยชน์ของ
เพื่อน การน้อมคารวะสิ่งที่ควรคารวะการพลอยยินดีกับกิจของผู้อื่นเป็นต้น แต่ละเรื่องมุ่งให้เกิด
ผลที่จิตใจ คือสภาพจิตใจที่แจ่มใสสะอาด บริสุทธิ์ รวมความว่าบุญเป็นเครื่องชำระใจ ใจที่ถูก
ชำระถูกวิธีก็สะอาดผ่องใส่เป็นสาเหตุที่สำคัญที่จะทำให้ชีวิตพบความสุข เราจะระดมปลูกฝั่ง
สร้างความเข้าใจแก่ปวงชนดังนี้เสมอ แล้วคนกลัวบุญก็จะไม่มี ไม่ว่าจนหรือรวย

ต่อคำว่าความสุขอยู่ที่ไหน ตอบได้อีกตอนหนึ่งว่า สุขที่ใจผ่องใสใจสะอาด
เพราะตามพุทธทัศนะมีว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีใจเป็นหัวหน้า ถ้าจิตใจใสสะอาดผ่องใสแล้วไซร้
จะทำจะพูดหรือจะคิด (ฉายาว อนุปายินี)
ความสุขย่อมติดตามตนอำนวยผล ดุจเงาติดตามตนฉะนั้น


ผีเสื้อ ผีเสื้อ ผีเสื้อ ผีเสื้อ ผีเสื้อ ผีเสื้อ ผีเสื้อ ผีเสื้อ ผีเสื้อ ผีเสื้อ ผีเสื้อ ผีเสื้อ
 

_________________
ขอเป็นเหล็กสักเส้น อิฐสักก้อน เป็นส่วนไหนก็ได้ในพระศาสนา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
อัตตสันโต ภิกขุ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 11 เม.ย.2006, 6:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น
อะระหะโต ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
กุสะลา ธัมมา ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล
อะกุสะลา ธัมมา ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล
อัพพะยากะตา ธัมมา ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤต
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล
ยัสสะมึง สะมะเย ในสมัยใด
กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง
อุปปันนัง โหติ โสมะนัสสะ
สะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง กามาวะจรกุศลจิตที่สะอาด
ถึงพร้อมด้วยโสมนัส สัมปะยุต
ด้วยญาณ
รูปารัมมะณัง วา จะเป็นรูปารมณ์ ก็ดี
สัททารัมมะณัง วา สัททารมณ์ ก็ดี
คันธารัมมะณัง วา คันธารมณ์ ก็ดี
ระสารัมมะณัง วา ระสารมณ์ ก็ดี
โผฏฐัพพารัมมะณัง วา โผฏฐัพพารมณ์ ก็ดี
ธัมมารัมมะณัง วา ธรรมารมณ์ ก็ดี
ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ ก็เพราะปรารภอารมณ์ใด ๆ
เกิดขึ้นแล้ว
ตัสสะมิง สะมะเย ผัสโส
โหติ อะวิกเขโป โหติ ในสมัยนั้น ผัสสะความฟุ้ง
ซ่านย่อมมี
เย วา ปะนะ ตัสสะมิง
สะมะเย อีกอย่างหนึ่ง ในสมัยนั้น
ธรรมเหล่าใด
อัญเญปิ อัตถิ ปะฏิจจะสะ
มุปปันนา อะรูปิโน ธัมมา แม้อื่นมีอยู่ เป็นธรรมที่ไม่มี
รูป อาศัยกันและกันเกิดขึ้น
อิเม ธัมมา กุสะลา ธรรมเหล่านี้ เป็นกุศล ฯ
ปัญจักขันธา ขันธ์ ๕ คือ
รูปักขันโธ รูปขันธ์
เวทนากขันโธ เวทนาขันธ์
สัญญากขันโธ สัญญาขันธ์
สังขารักขันโธ สังขารขันธ์
วิญญาณักขันโธ วิญญาณขันธ์
ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ บรรดาขันธ์ทั้งหมด รูปขันธ์
เป็นอย่างไร
ยังกิญจิ รูปัง รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
อะตีตานาคะตะปัจจุปันนัง ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน
อัชฌัตตัง วา ภายในก็ตาม
พะหิทธา วา ภายนอกก็ตาม
โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม
หีนัง วา ปะณีตัง วา เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม
ยังทูเร วา สันติเก วา อยู่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม
ตะเทกัชฌัง อะภิสัญญูหิตะวา
อะภิสังขิปิตะวา ย่อมกล่าวรวมกัน
อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ เรียกว่า รูปขันธ์ ฯ
สังคะโห อะสังคะโห การสงเคราะห์ การไม่
สงเคราะห์คือ
สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง สิ่งที่ไม่สงเคราะห์ เข้ากับสิ่ง
ที่สงเคราะห์แล้ว
อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง สิ่งที่สงเคราะห์ เข้ากับสิ่งที่
สงเคราะห์ไม่ได้
สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง สิ่งที่สงเคราะห์ เข้ากับสิ่งที่
สงเคราะห์ได้
อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง สิ่งที่ไม่สงเคราะห์ เข้ากับสิ่ง
ที่สงเคราะห์ไม่ได้
สัมปะโยโค วิปปะโยโค การอยู่ด้วยกัน การพัดพรากคือ
สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง การพัดพรากจากสิ่งที่อยู่ด้วยกัน
วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง การอยู่ร่วมกับสิ่งที่พลัดพรากไป
อะสังคะหิตัง จัดเป็นสิ่งที่ สงเคราะห์ไม่ได้ ฯ
ฉะ ปัญญัตติโย บัญญัติ ๖ คือ
ขันธะปัญญัตติ ขันธ์บัญญัติ
อายะตะนะปัญญัตติ อายะตะนะบัญญัติ
ธาตุปัญญัตติ ธาตุบัญญัติ
สัจจะปัญญัตติ สัจจะบัญญัติ
อินทรียะปัญญัตติ อินทรีย์บัญญัติ
ปุคคะละปัญญัตติ บุคคลบัญญัติ
กิตตาวะตา ปุคคะลานัง
ปุคคะละปัญญัตติ บุคคลบัญญัติ ของบุคคลมีเท่าไร
สะมะยะวิมุตโต อะสะมะยะ
วิมุตโต มีการพ้นจากสิ่งที่ควรรู้ การพ้น
จากสิ่งที่ไม่ควรรู้
กุปปะธัมโม อะกุปปะธัมโม ผู้มีธรรมที่กำเริบได้ ผู้มีธรรมที่กำ
เริบไม่ได้
ปะริหานะธัมโม อะปะริ
หานะธัมโม ผู้มีธรรมที่เสื่อมได้ ผู้มีธรรม
ที่เสื่อมไม่ได้
เจตะนาภัพโพ อะนุรักขะนา
ภัพโพ ผู้มีธรรมที่ควรแก่เจตนา ผู้มีธรรมที่
ควรแก่การรักษา
ปุถชชะโน โคตะระภู ผู้เป็นปุถุชน ผู้รู้ตระกูลโคตร
ภะยูปะระโต อะภะยูปะระโต ผู้เข้าถึงภัย ผู้เข้าถึงอภัย
ภัพพาคะมะโน อะภัพพา
คะมะโน ผู้ไม่ถึงสิ่งที่ควร ผู้ไม่ถึงสิ่งที่ไม่ควร
นิยะโต อะนิยะโต ผู้เที่ยง ผู้ไม่เที่ยง
ปะฏิปันนะโก ผะเลฏฐิโต ผู้ปฏิบัติ ผู้ตั้งอยู่ในผล
อะระหา อะระหัตตายะ
ปฏิปันโน ผู้เป็นพระอรหัน ผู้ปฏิบัติเพื่อ พระอรหัน
ปุคคะโล อุปะลัพพะติ
สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ ถามว่า ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัต คือ
ความหมายที่แท้จริงหรือ
อามันตา โย สัจฉิกัตโถ
ปะระมัตโถ ตโต โส ปุคคะโล ตอบ คือ ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัต คือ
โดยความหมายอันแท้จริง
อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระ
มัตเถนาติ ถามว่า ปรมัตถ์ คือ ความหมายอันแท้จริง
อันใดมีอยู่ ค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัต
คือ ความหมายอันแท้จริงอันนั้นหรือ
นะเหวัง วัตตัพเพ อาชานาหิ
นิคคะหัง ตอบ ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนี้ ท่านจงรู้
นิคคะหะเถิด ถ้าท่านค้นหาบุคคลไม่ได้
โดยปรมัตถ์
หัญจิปุคคะโล อุปะลัพภะติ
สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ เตนะ
วะตะเร วัตตัพเพ คือ โดยความหมายอันแท้จริงแล้ว ท่านก็
ควรกล่าวด้วยเหตุนั้นว่า ปรมัตถ์ คือ ความ
หมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ เราค้นหาบุคคล
นั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ โดยความหมาย
อัแท้จริงนั้น
โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ
ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพพะติ
สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ มิจฉา คำตอบของท่านที่ว่า ปรมัตถ์ คือ ความหมาย
อันแท้จริงอันใดมีอยู่ เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้
โดยปรมัตถ์ คือ โดยความหมายอันแท้จริง
อันนั้น จึงผิด ฯ
 
อัตตสันโต ภิกขุ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 11 เม.ย.2006, 6:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เย เกจิ กุสะลา ธัมมา ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล
สัพเพ เต กุสะละมูลา ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีกุศลเป็นมูล
เย วา ปะนะ กุสะละมูลา อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใด มีกุศลเป็นมูล
สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ก็เป็นกุศล
เย เกจิ กุสะลา ธัมมา ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล
สัพเพ เต กุสะละมูเลนะ
เอกะมูลา ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีมูลอันเดียวกับธรรม
ที่มีกุศลเป็นมูล
เย วา ปะนะ กุสะละมูเลนะ
เอกะมูลา อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใด มีมูลอันเดียวกับ
ธรรมที่เป็นกุศล
สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศล ฯ
เหตุปัจจะโย ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย
อารัมมะณะปัจจะโย ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย
อะธิปะติปัจจะโย ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย
อะนันตะระปัจจะโย ธรรมที่มีปัจจัยกาที่สุดไม่ได้
สะมะนันตะระปัจจะโย ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน
สะหะชาตะปัจจะโย ธรรมที่เกิดพร้อมกับปัจจัย
อัญญะมัญญะปัจจะโย ธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและกัน
นิสสะยะปัจจะโย ธรรมที่มีนิสัยเป็นปัจจัย
อุปะนิสสะยะปัจจะโย ธรรมที่มีอุปนิสัยเป็นปัจจัย
ปุเรชาตะปัจจะโย ธรรมที่มีการเกิดก่อนเป็นปัจจัย
ปัจฉาชาตะปัจจะโย ธรรมที่มีการเกิดภายหลังเป็นปัจจัย
อาเสวะนะปัจจะโย ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย
กัมมะปัจจะโย ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย
วิปากะปัจจะโย ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย
อาหาระปัจจะโย ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย
อินทรีย์ยะปัจจะโย ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย
ฌานะปัจจะโย ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย
มัคคะปัจจะโย ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย
สัมปะยุตตะปัจจะโย ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย
วิปปะยุตตะปัจจะโย ธรรมที่ไม่มีการประกอบเป็นปัจจัย
อัตถิปัจจะโย ธรรมที่มีปัจจัย
นัตถิปัจจะโย ธรรมที่ไม่มีปัจจัย
วิคะตะปัจจะโย ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย
อะวิคะตะปัจจะโย ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย ฯ
อะนิจจา วะตะ สังขารา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
อุปปาทะวะยะธัมมิโน มีความเกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป
เป็นธรรมดา
อุปปัชชิตะวา นิรุชฌันติ เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป
เตสัง วูปะสะโม สุโข ความสงบแห่งสังขารทั้งหลาย
เหล่านั้น เป็นสุข
สัพเพ สัตตา มะรันติ จะ สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้น จะตายด้วย
มะริงสุ จะ มะริสสะเร สัตว์ทั้งหลาย ตายแล้วด้วย สัตว์
ทั้งหลายจะตายด้วย
ตะเถวาหัง มะริสสามิ ตัวเราจักตายอย่างนั้นนั่นเทียว
นัตถิ เม เอตถะ สังสะโย ความสงสัยในเรื่องตายนี้ ไม่มี
แก่เรา ฯ
ยะถา วาริวะหา ปูรา ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทสาครให้
บริบูรณ์ ได้ฉันใด
เอวะเมวะ อิโต ทินนัง
เปตานัง อุปะกัปปะติ ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วแต่โลกนี้
ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ละโลกนี้
ไปแล้ว ได้ฉันนั้น
อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขออิฏฐผลที่ท่านปรารถนาแล้ว
ตั้งใจแล้ว
ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ จงสำเร็จโดยฉับพลัน
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา ขอความดำหริทั้งปวงจงเต็มที่
จันโท ปัณณะระโส ยะถา เหมือนพระจันท์ในวันเพ็ญ
มะณิ โชติระโส ยะถา เหมือนแก้วมะณีอันสว่างไสว
ควรยินดี
สัพพีติโย วิวัชฌันตุ ความจัญไรทั้งปวง จงบำราศไป
สัพพะโรโค วินัสสะตุ โรคทั้งปวงของท่านจงหาย
มา เต ภะวัตวันตะราโย อันตรายอย่ามีแก่ท่าน
สุขี ทีฆายุโก ภะวะ ท่านจงเป็นผู้มีความสุข มี
อายุยืน
อะภิว่าทะนะสีลิสสะ นิจจัง
วุฑฒาปะจายิโน ฯ จัตตาโร
ธัมมา วัฑฒันติ ฯ อายุ วัณโณ
สุขัง พะลัง ธรรมสี่ประการคือ อายุ
วรรณะ สุขะ พะละ ฯ ย่อม
เจริญแก่บุคคลผู้มีปกติไหว้กราบ
มีปกติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิจ
อะยัญจะโข ทักขิณา
ทินนา ก็ทักษิณานุปทานนี้ อันท่านให้แล้ว
สังฆัมหิ สุปะติฏฐิตา ตั้งไว้ดีแล้วในพระสงฆ์
ทีฆะรัตตัง หิตายัสสะ
ฐานะโส อุปะกัปปะติ ย่อมสำเร็จประโยชน์ เกื้อกูล แก่ผู้ละ
โลกนี้ไป ตลอดกาลตามฐานะ
โส ญาติธัมโม จะ อะยัง
นิทัสสิโต ญาติธรรมนี้นั้น อันท่านแสดงให้
ปรากฏแล้ว
เปตานะปูชา จะ กะตา
อุฬารา บูชาอันยิ่ง อันท่านทำแก่ญาติผู้ละ
โลกนี้ไปแล้ว
พะลัญจะ ภิกขูนะมะนุป
ปะทินนัง กำลังแห่งภิกษุทั้งหลาย อันท่านเพิ่ม
ให้แล้ว
ตุมเหหิ ปุญญัง ปะสุตัง
อะนัปปะกัน.....ติ บุญไม่น้อย อันท่านได้ขวนขวาย
แล้ว ดังนี้ ฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวตา ขอเหล่าเทวดาทั้งปวง จงรักษาท่าน
สัพพะพุทธานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า
สัพพะธัมมานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม
สัพพะสังฆานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมี
แกท่าน ทุกเมื่อเทิอญ ฯ
 
อัตตสันโต ภิกขุ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 11 เม.ย.2006, 7:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประเพณีวันสงกรานต์

ตำนานของสงกรานต์นี้มีปรากฏในศิลาจารึกที่วัดพระเชตุพน โดยย่อว่า มีบุตรของเศรษฐีคนหนึ่งชื่อ ธรรมบาลกุมาร เป็นผู้ที่รู้ภาษานกแล้ว เรียนไตรเพทจบ เมื่ออายุได้เจ็ดขวบ ได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่างๆ แก่มนุษย์ทั้งปวง ซึ่งในขณะนั้น โลกทั้งหลายนับถือท้าวมหาพรหมและกบิลพรหมองค์หนึ่งว่า เป็นผู้แสดงมงคลแก่มนุษย์ทั้งปวง เมื่อกบิลพรหมทราบ จึงลงมาถาม ปัญหาธรรมบาลกุมาร ๓ ข้อ สัญญาไว้ว่า ถ้าแก้ปัญหาได้จะตัดศีรษะบูชา ถ้าแก้ไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ปัญหานั้นว่า

ข้อ ๑ เช้าราศีอยู่แห่งใด
ข้อ ๒ เที่ยงราศีอยู่แห่งใด
ข้อ ๓ ค่ำราศีอยู่แห่งใด

ธรรมบาลขอผลัด ๗ วัน ครั้นล่วงไปได้ ๖ วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังคิดไม่ได้ จึงลงจากปราสาทไปนอนอยู่ใต้ต้นตาลสองต้น มีนกอินทรี ๒ ตัวผัวเมียทำรังอาศัยอยู่บนต้นตาลนั้น ครั้งเวลาค่ำนางนกอินทรีจึงถามสามีว่า พรุ่งนี้จะได้อาหารแห่งใด สามีบอกว่า จะได้กินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย เพราะทายปัญหาไม่ออก นางนกถามว่า ปัญหานั้นอย่างไรสามีจึงบอกว่า ปัญหาว่าเช้าราศีอยู่แห่งใด เที่ยงราศีอยู่แห่งใด ค่ำราศีอยู่แห่งใด นางนกถามว่า จะแก้อย่างไร สามีบอกว่า เช้าราศีอยู่หน้า มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างหน้า เวลาเที่ยงราศีอยู่อก มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก เวลาค่ำราศีอยู่เท้า มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้า

ครั้งรุ่งขึ้นท้าวกบิลพรหมมาถาม ปัญหาธรรมบาลกุมารก็แก้ตามที่ได้ยินมา ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกเทพธิดาทั้ง ๗ อันเป็นบริจาริกาพระอินทร์มาพร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดศีรษะบูชาธรรมบาลกุมาล ศีรษะของเราถ้าจะตั้งไว้บนแผ่นดินไฟก็จะไหม้ทั่วโลก ถ้าจะทิ้งขึ้นบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งไว้ในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนั้นเอาพานมารับศีรษะ แล้วก็ตัดศีรษะส่งให้ธิดาผู้ใหญ่ นางจึงเอาพานมารับพระเศียรบิดาไว้แล้ว แห่ทำประทักษิณ รอบเขาพระสุเมรุ ๖๐ นาที แล้วก็เชิญประดิษฐานไว้ในมณฆปถ้ำคันธุลีเขาไกรลาศ บูชาด้วยเครื่องทิพย์ต่างๆ พระเวสสุกรรมก็นฤมิตรแล้วด้วย แก้วเจ็ดประการชื่อ ภควดีให้เป็นที่ประชุมเทวดา เทวดาทั้งปวงก็นำเอาเถาฉมุลาด ลงมาล้างในสระอโนดาตเจ็ดครั้งแล้วแจกกันสังเวยทุกๆ พระองค์ครั้งถึงครบกำหนด ๓๖๕ วัน โลกสมมติว่า ปีหนึ่งเป็นสงกรานต์นางเทพธิดาเจ็ดองค์ จึงผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม ออกแห่ประทักษิณเขาพระสุเมรุทุกปี แล้วกลับไปเทวโลก ซึ่งลูกสาวทั้งเจ็ดของท้าวกบิลพรหมนั้น เราสมมติเรียกว่า นางสงกรานต์ มีชื่อต่างๆ ดังนี้ ทุงษ, โคราค, รากษส, มัณฑา, กิริณี, กิมิทา และ มโหทร

คำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขี้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้น สู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ ๑๓,๑๔,๑๕ เมษายนทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก

ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับสงกรานต์ มีดังนี้

สงกรานต์ ที่แปลว่า "ก้าวขึ้น" "ย่างขึ้น" นั้นหมายถึง การที่ดวงอาทิตย์ ขึ้นสู่ราศีใหม่ อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกเดือน ที่เรียกว่าสงกรานต์เดือน แต่เมื่อครบ ๑๒ เดือนแล้วย่างขึ้นราศีเมษอีก จัดเป็นสงกรานต์ปี ถือว่าเป็น วันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ ในทางโหราศาสตร์

มหาสงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้นหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ หมายถึงสงกรานต์ปี คือปีใหม่อย่างเดียว กล่าวคือสงกรานต์หมายถึง ได้ทั้งสงกรานต์เดือนและสงกรานต์ปี แต่มหาสงกรานต์ หมายถึง สงกรานต์ปีอย่างเดียว

วันเนา แปลว่า "วันอยู่" คำว่า "เนา" แปลว่า "อยู่" หมายความว่าเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์มา ๑ วัน วันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย่างสู่ราศีตั้งต้นปีใหม่ วันเนาเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าที่เข้าทาง ในวันราศีตั้งต้นใหม่เรียบร้อยแล้ว คืออยู่ประจำที่แล้ว

วันเถลิงศก แปลว่า "วันขึ้นศก" เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เปลี่ยนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ ๓ ถัดจากวันมหาสงกรานต์ ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่า การย่างขึ้นสู่จุดเดิม สำหรับต้นปีนั้นเรียบร้อยดี ไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่จะเปลี่ยนศกถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็น วันที่ ๓ ก็หมายความว่า อย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวเข้าสู่ราศีใหม่ ไม่น้อยกว่า ๑ องศาแล้วอาจจะย่างเข้าองศาที่ ๒ หรือที่ ๓ ก็ได้

วันสงกรานต์เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ซึ่งกษัตริย์สิงหศแห่งพม่า ทรงตั้งขึ้นเมื่อปีกุนวันอาทิตย์ พ.ศ. ๑๑๘๑ โดยกำหนดเอาดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษได้ ๑ องศา ประกอบกับไทยเราเคยนิยมใช้จุลศักราช สงกรานต์จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยอีกด้วย ในปีแรกที่กำหนดเผอิญเป็นวันที่ ๑๓ เมษายน ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่วันที่ ๑๓ เมษายนทุกปี แต่เมื่อเป็นประเพณี ก็จำเป็นต้องเอาวันนั้นทุกปี เพื่อมิให้การประกอบพิธี ซึ่งมิได้รู้โดยละเอียดต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา วันที่ ๑๓ จึงเป็นวันสงกรานต์ของทุกปี

ปกติวันสงกรานต์จะมี ๓ วัน คือ เริ่มวันที่ ๑๓ เมษายน ถึงวันที่ ๑๕ เมษายน วันแรกคือวันที่ ๑๓ เป็นวันมหาสงกราต์ วันที่พระอาทิตย์ต้องขึ้นสู่ราศีเมษ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา (พระอาทิตย์คงอยู่ที่ ๐ องศา) วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศกใหม่ และเริ่มจุลศักราชในวันนี้ เมื่อก่อนจริงๆ มีถึง ๔ วัน คือวันที่ ๑๓ -๑๖ เป็นวันเนาเสีย ๒ วัน (วันเนาเป็นวันอยู่เฉยๆ) เป็นวันว่าง พักการงานนอกบ้านชั่วคราว

จะเห็นได้ว่า วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึง พ.ศ.๒๔๘๓ ทางราชการจึงได้เปลี่ยนไหม่ โดยกำหนดเอาวันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับ หลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ ประชาชนก็ยังยึดถือว่า วันสงกรานต์มีความสำคัญ

ข้อควรปฏิบัติในวันสงกรานต์- การเตรียมงาน

วันตรุษและวันสงกรานต์เป็นเทศกาลสำคัญที่คนไทยยังถือว่าวันตรุษคือวันสิ้นปี วันสงกรานต์คือวันขึ้นปีใหม่ดังกล่าว ดังนั้น จึงต้องตระเตรียมงานกันเป็นการใหญ่ จนมีคนที่พูดกันติดปากว่า "ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่" สิ่งที่ตระเตรียมกันนั้น จึงเป็นเรื่องที่จะต้องกระทำกันเป็นพิเศษตามลำดับ ดังนี้

๑. เครื่องนุ่งห่มเพื่อใส่ในโอกาสไปทำบุญที่วัด ตลอดจนเครื่องประดับตกแต่งร่างกายอย่างค่อนข้างจะพิถีพิถัน

๒. ของทำบุญ เมื่อใกล้จะถึงวันงานก็เตรียมของทำบุญเลี้ยงพระ และที่เป็นพิเศษของที่จะทำขนมพิศษ ๒ อย่างได้แก่ ข้าวเหนียวแดงในวันตรุษ และขนมกวน หรือ กะละแมในวันสงกรานต์ นอกจากจะทำขึ้นเพื่อทำบุญแล้ว ยังแลกเปลี่ยนแจกกันในหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรีในวันสำคัญ

๓. การทำความสะอาดบ้านเรือนที่อาศัยตลอดจนบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้ดูเรียบร้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บูชาพระและที่เก็บอัฐิบรรพบุรุษ แม้เสื้อผ้าที่ใช้สอยก็ต้องซักฟอก ให้สะอาดหมดจดโดยถือว่า กำจัดสิ่งสกปรกให้สิ้นไปพร้อมกับปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ ด้วยความบริสุทธ์ผุดผ่อง

๔. สถานที่ทำบุญ วัดเป็นสถานที่ทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ และทำต่อเนื่องกันหลายวัน นอกจากจะทำความสะอาดกุฎิที่อาศัยแล้ว ยังต้องทำความสะอาดหอสวดมนต์ โบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ ตลอดจนลานวัด เพราะต้องใช้ทำกิจกรรมหลายอย่าง ได้แก่ การทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้ำพระ ก่อพระเจดีย์ทราย และงานรื่นเริงต่างๆ ด้วย

การทำบุญ

การทำบุญในวันสงกรานต์มีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์
๑. พิธีหลวง พระราชพิธีสงกรานต์ (คัดจากปี ๒๕๓๑)


วันที่ ๑๕ เมษายน ในเวลาเช้า ๑๐.๓๐ น. พระสงฆ์ที่รับอาราธนามาเจริญพระพุทธมนต์ที่พระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปสำคัญต่างๆ ที่หอพระสุราลัยพิมาน แล้วเสด็จหอพระบรมอัฐิที่หอพระธาตุมณเฑียร สรงน้ำพระ พระบรมอัฐิและพระอัฐิ ถวายสักการะพระสยามเทวาธิราชที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เสด็จออกพระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัย ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ทรงศีล พระสงฆ์จำนวน ๖๗ รูป เท่าจำนวนพระบรมอัฐิ และพระอัฐิที่อาราธนาจากวัดที่เกี่ยวข้อง กับพระบรมอัฐิและพระอัฐิ เจริญพระพุทธมนต์ ฉันภัตตาหารเพล

เสร็จแล้วอัญเชิญพระบรมอัฐิ จากหอพระธาตุมณเฑียรเป็นกระบวนแห่ มีประโคมสังข์ แตร กลองชนะ ตั้งแต่เวลาเชิญออก จนกระทั่งถึงบนราชบัลลังก์นพปฏลมหาเศวตฉัตร ในพระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัย ทรงจุดธูปเทียนราชสักการะ พระพุทธรูปประจำพระชนมวารของพระบรมอัฐิ ทรงจุดธูปเทียน ถวายสักการะพระบรมอัฐิและพระอัฐิ ทรงทอดผ้าคู่ (ถือผ้าขาว ๒ ผืน นุ่งผืน ๑ ห่มผืน ๑) มีขวดน้ำหอม ๑ ขวด พระสงฆ์นั่งสดับปกรณ์ตามลำดับวัดประจำพระบรมอัฐิ

เวลา ๑๖.๓๐ น. เสด็จสรงน้ำพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพระพุทธสัมพรรณี พระชัยหลังช้าง พระพุทธรูปฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ เสด็จสรงน้ำพระคันธราษฎร์ สรงน้ำ พระโพธิ์ พระนิโครธ พระพุทธเจดีย์ทอง พระไตรปิฎกฉบับทองทึบ พระนาคที่วิหารขาวสดับปกรณ์ พระบรมอัฐิกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และพระอัฐิเจ้านายต้นราชสกุลต่างๆ เปิดปราสาทพระเทพบิดรวันที่ ๑๓-๑๔-๑๕-๑๖ เมษายน เพื่อให้ประชาชนถวายสักการะ พระบรมรูปบูรพมหากษัตริยาธิราช

เมื่อก่อน การบำเพ็ญพระราชกุศลในพระบรมมหาราชวังมี ๔ วัน คือวันที่ ๑๓-๑๖ เมษายน ปัจจุบันมีเฉพาะวันที่ ๑๕ เมษายน วันเดียว ซึ่งในเช้าวันที่ ๑๕ เมษายน โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานนิมนต์พระ ๑๕๐ รูป เข้าไปรับอาหารบิณฑบาตรทีในพระบรมมหาราชวัง

เวลา ๑๐.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตไปยังพระมหามณเฑียร ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จฯ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สรงน้ำพระพุทธรูปสำคัญที่หอพระสุลาลัยพิมาน ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ แล้วเสด็จฯ ไปทรงจุดธูปเทียนบูชาพระสยามเทวาธิราช ที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เสด็จฯ ไปยังหอพระธาตุมณเฑียร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะและสรงน้ำพระบรมอัฐิ พระอัฐิ แล้วเสด็จออกพระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัยทางพระทวารเทวราชมเหศวร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียน เครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๗๑ รูปเจริญพระพุทธมนต์การ พระราชพิธีสงกรานต์ จบแล้วทรงประเคนภัตตาหาร เมื่อพระสงฆ์รับพระราชทานฉันเสร็จ เจ้าพนักงานเชิญพระบรมอัฐิและพระอัฐิออกประดิษฐานบนพระราชบัลลังก์ ภายใต้นพปฏลมหาเศวตฉัตรและบนที่นั่งกงภายใต้ฉัตรขาวลายทอง ๕ ชั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะถวายบังคมพระอัฐ แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดผ้าคู่ พระสงฆ์สดับปกรณ์ พระบรมอัฐิและพระอัฐิ แล้วถวายอนุโมทนาถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เสด็จพระราชดำเนินประทับรถยนต์พระที่นั่ง ที่พระที่นั่งทวารเทเวศรรักษาเสด็จพระราชดำเนินกลับ

เวลา ๑๖.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้าพนักงานกราบบังคมทูล รายงานเครื่องราชสักการะที่ทรงพระราชอุทิศ พระราชทานให้กระทรวงมหาดไทยเชิญไป ถวายเป็นพุทธบูชา เจดียสถานต่างๆ แล้ว เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถ ทรงพระสุหร่ายสรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงจุดธูปเทียนถวายนมัสการ แล้วเสด็จพระราชดำเนิน ไปสรงน้ำปูชนียวัตถุตามเจดียสถานในพระอารามนี้ แล้วเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่หอพระนาก ทรงจุดธูปเทียน ถวายสักการะพระอัฐิ ๕ รูป สดับปกรณ์แล้วทรงทอดผ้าพระสงฆ์อีก ๕๐ รูป สดับปกรณ์พระอัฐิพระราชวงศ์ พระสงฆ์ถวายอนูโมทนา ถวายดิเรก เป็นเสร็จการ

๒. พิธีราษฎร์

การทำบุญในวันสงกรานต์ อาจจะทำการตักบาตรทำบุญได้ ๒ แห่งคือ ที่วัดหรือในบริเวณงานที่จัดไว้แล้ว วิธีตักบาตร ใช้วิธีเรียงแถว และนิมนต์พระเดินตามลำดับ โดยชายตักบาตรด้วยข้าว หญิงตักบาตรด้วยของคาวหวาน ถ้าเต็มบาตรก็ถ่ายใส่ภาชนะอื่น และนิมนต์ท่านรับจนทั่ว เสร็จแล้วอาจนิมนต์ท่านฉัน ณ สถานที่จัดงาน หรือให้ท่านนำไปฉันที่วัดก็ได้

ในเวลาตักบาตรพระสงฆ์จะสวดถวายพรพระคือ พาหุง พอเสร็จ ก็ช่วยกันยกอาหารคาวหวานไปถวายพระ ขณะพระฉัน จะมีการอ่านประกาศสงกรานต์กันในตอนนี้ บางคนก็อาจจะอยู่ฟังอนุโมทนา เป็นอันเสร็จพิธี

การก่อเจดีย์ทราย จะทำในวันใดวันหนึ่ง ของวันที่ ๑๓-๑๕ เมษายนก็ได้ ผู้ทำบุญจะช่วยกันขนทราย มาก่อเป็นเจดีย์ขนาดต่างๆ ในบริเวณวัด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ให้ใช้ก่อสร้าง หรือถมพื้นที่ เป็นเรื่องที่ถือว่าได้บุญและสนุกสนาน แต่ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องทำทุกวัด

การปล่อยนกปล่อยปลา เป็นการทำบุญเพื่อแสดงความกรุณาต่อสัตว์ นิยมทำในวันสงกรานต์และไม่จำกัดว่าจะทำในวัดเท่านั้น

การสรงน้ำพระ มีทั้งสรงน้ำพระพุทธรูปและภิกษุ สามเณร เพื่อความเป็นศิริมงคลในโอกาสขึ้นปีใหม่อันเป็นเวลาที่อากาศร้อน

การรดน้ำผู้ใหญ่ เป็นเรื่องของการแสดงคารวะต่อผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ผู้ร่วมพิธีควรน้ำผ้า ๑ สำรับ คือ ผ้านุ่ง ๑ ผืน ผ้าห่ม ๑ ผืน ไปมอบให้ท่านพร้อมกับ ดอกไม้ธูปเทียน การรดน้ำผู้ใหญ่ดังกล่าวมานี้ มักจะรดหรืออาบท่านจริงๆ จึงต้องมีผ้าไปมอบให้ ปัจจุบันบางแห่งรดเฉพาะที่ฝ่ามือ โดยจะเอาน้ำหอมเจือในน้ำด้วย แต่ก็ยังคงมีผ้านุ่งห่ม ๑ สำรับและดอกไม้ธูปเทียนไปแสดงคารวะ และขอพรท่านก็จะให้ศีลให้พรให้มีความสุขปีใหม่ คือตั้งแต่วันสงกรานต์เป็นต้นไป

การทำบุญอัฐิ เป็นเรื่องที่นิยมทำแบบนิมนต์พระ ชักบังสุกุลอัฐิของญาติที่ล่วงลับไปแล้ว แล้วอุทิศส่วนกุศลให้ โดยนิมนต์พระไปยังสถานที่เก็บหรือบรรจุอัฐิ หรือถ้าไม่มีอัฐิจะเขียนชื่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็ได้ เมื่อบังสุกุลแล้วก็เผากระดาษแผ่นนั้นเสีย เหมือนเผาศพ การทำบุญอัฐิจะทำในวันไหนก็ได้สุดแต่จะนัดหมายกัน การรื่นเริง จัดขึ้นเพื่อเชื่อมความสามัคคีในหมู่คณะ เป็นการอนุรักษ์ประเพณีต่างๆ ในท้องถิ่นไว้ด้วย

การสาดน้ำ เป็นการสนุกสนานรื่นเริงอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของสงกรานต์ คือ สาดน้ำกันโดยมากจะเริ่มต้นในวันสรงน้ำพระ แต่บางแห่งพอเริ่มสงกรานต์ ก็เริ่มสาดน้ำกันทีเดียว ส่วนใหญ่แล้วใช้น้ำสะอาดมีน้ำอบน้ำหอม หรือแป้งหอมผสมบ้างก็ได้ และไม่ถือเป็นเรื่องเสียหาย

การแห่นางแมว บางแห่งอาจมีการแห่นางแมวเพื่อขอฝนด้วย ซึ่งเป็นเรื่องสนุกสนานรื่นเริงเหมือนกัน แต่ก็หวังผลในทางเกษตรกรรมด้วย กล่าวคือ ถ้าเกิดฝนแล้งก็แห่นางแมวกันในช่วงวันทำบุญสงกรานต์ เช่นเดียวกัน

สิ่งที่ได้จากการทำบุญสงกรานต์

๑. เป็นการแสดงความเคารพบูชาต่อสิ่งที่ตนเคารพ ต่อบิดามารดา และผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ
๒. เป็นการชำระจิตใจ และร่างกายให้สะอาด
๓. เป็นการรักษาประเพณีมาแต่เดิม
๔. เป็นการสนุกสนานรื่นเริงในรอบปี และพักจากงานประจำชั่วคราว เพื่อจะไปพักผ่อนหย่อนใจ
๕. เป็นการเตือนสติว่ามนุษย์นั้นผ่านไป ๑ ปีแล้วและในรอบปีที่ผ่านมา เราได้ทำอะไรบ้างและควรจะทำอะไรต่อไปในปีที่กำลังจะมาถึง
ู๖. เป็นการเตรียมตัวบวช ถ้าเป็นผู้ชายโดยเอาระยะเวลานี้บวชกัน เพราะหลังสงกรานต์ต้องเตรียมตัวทำนาแล้ว
๗. เป็นการทำความสะอาดพระ โต๊ะบูชา บ้านเรือน ทั้งในและนอกบ้าน
 
อัตตสันโต ภิกขุ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2006, 3:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

เว็บใหม่ของวัดเทียบศิลาราม http://www.wattiabsilaram.com/
อยู่ในช่วงปรับปรุงและยังอาศัยบารมีของเว็บธรรมจักร ก็ขออนุโมทนาอย่างสูง

ถ้าหากทางเว็บและทีมงานไม่ได้รับโอกาสตรงนี้จากเว็บธรรมจักร
เว็บ http://www.wattiabsilaram.com/ ก็คงเกิดขึ้นไม่ได้

และอีกหลายท่านที่ไม่ได้พูดถึง และทางเว็บก็ยังรอทุกท่านช่วย
เป็นกำลังใจในการพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป คือคำติชมจากทุกท่าน

ขออนุโมทนาบุญ
พระสุพิน อัตตสันโต
ประธานสงฆ์วัดเทียบศิลาราม
 
อตฺตสนฺโต ภิกขุ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 27 ส.ค. 2006, 5:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ขอเชิญร่วมแสดงความอาลัย
ปูชณียบุคคล

แด่ดวงวิญญาณคุณแม่สำราญ บุญเฟรือง

http://www.wattiabsilaram.com/webboard/viewtopic.php?t=336
 
อตฺตสนฺโต ภิกขุ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2006, 7:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



3.bmp


สาธุ สาธุ สาธุ
 
อตฺตสนฺโต ภิกขุ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2006, 7:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



fdj.jpg


ที่ทางวัดจำเป็นต้องสร้างศาลาหลังใหม่ เพราะความจุไม่เพียงพอต่อการจัดอบรมหรือจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง จึงใคร่เชิญชวนผู้จิตศรัทธาทุกได้ร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างศาลาปฏิบัติธรรม (วิหารทาน) ตามกำลังจิตศรัทธา ตั้งแต่หนึ่งสลึงก็ไม่ว่ากัน ทางวัดยินดีอย่างยิ่งกับจิตศรัทธาจากทุกท่าน

ขอเจริญธรรม


สาธุ ซึ้ง สาธุ ซึ้ง ซึ้ง
 
อตฺตสนฺโต ภิกขุ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.ย. 2006, 9:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



untitled4.bmp


สาเหตุที่ต้องสร้างศาลาหลังใหญ่ใหม่เชิญคลิ๊กเข้าไปดูได้เลยสาธุ

http://www.wattiabsilaram.com/webboard/viewtopic.php?t=193


สาธุ สาธุ สาธุ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง