Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ความรู้เกี่ยวกับอภิญญา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
telwada
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2006, 8:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความรู้เกี่ยวกับอภิญญา

อภิญญา คือ อะไร
อภิญญา หากจะแปลความหมายตาม คำศัพท์ มีความหมายถึง ความรู้ยิ่ง หรือความรู้แจ้ง คำว่า อภิญญานี้ เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในทางพุทธศาสนา ไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิ หรือศาสนาอื่นๆ แต่ก็สามารถนำไปใช้ได้
อภิญญา เป็น ญาณ อันนับเข้าในวิปัสสนา หมายความว่า อภิญญาคือ ความรู้ ที่สามารถทำให้หลุดพ้นจากกิเลส หลุดพ้นจาก กลไกแห่งจักรวาลได้ ผลแห่งอภิญญานั้น มีผลหลายสถาน ซึ่งหลายๆท่านคงรู้กันดีอยู่แล้วว่า มีอะไรบ้าง
อภิญญา ไม่เหมือนกับ ความมีฤทธิ์ ของพวกโยคี หรือความมีฤทธิ์ แห่ง สรรพสิ่งต่างๆเช่นพืช สัตว์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ยารักษาโรค ฯลฯ แต่ อภิญญา คือความรู้ที่จะก่อให้เกิดผลทั้งเพื่อขจัดกิเลส หลุดพ้นจาก วัฎสงสาร หลุดพ้นจากกฎเกณฑ์แห่งจักรวาล ดังนั้น อภิญญาจึงเป็นความรู้ที่รวมเอาความรู้ทุกๆด้านเข้าไว้ด้วยกัน
ความรู้ทุกๆด้านเท่าที่สรรพสิ่งมีอยู่อันหมายถึง ปรากฏการณ์ทั้งทางธรรมชาติและปรากฏการณ์แห่งพืช สัตว์ และมนุษย์ รวมไปถึง ดวงดาวต่างๆ นับตั้งแต่ดวงอาทิตย์เป็นต้นมา นับเป็นอภิญญาทั้งสิ้น
ดังนั้น ท่านผู้ใดที่คิดอยากจะบรรลุถึงธรรมแก่นแท้ ก็ควรได้ศึกษาและสนใจ และทำความเข้าใจเอาไว้ด้วยว่า อภิญญา ญาณ คือ ความรู้ทุกชนิด ทุกรูปแบบ ฉะนี้
__________________
telwada
 
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2006, 5:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อภิญญา6ประการมีดังนี้คือ
อภิญญา ความรู้ยิ่ง,ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง, ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ
๑. อิทธิวิธิแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
๒. ทิพพโสต หูทิพย์
๓. เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้
๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้
๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์
๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป,
๕ อย่างแรกเป็นโลกียอภิญญาข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตร อภิญญา

http://larndham.net/cgi-bin/dict.pl?word=%CD%C0%D4%AD%AD%D2&detail=o

เปรียบเทียบกับ ปาฏิหารย์3อย่าง ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้

พระพุทธองค์ทรงจำแนกปาฏิหาริย์ว่า มีอยู่ 3 อย่าง คือ
1.การแสดงฤทธิ์ด้วยวิธีต่างๆ(อิทธิปาฏิหารย์)
2.การทายใจคนอื่นได้ (อาเทศนาปาฏิหารย์)
3.สามารถสอนให้เห็นจริง เมื่อนำสิ่งที่สอนไปปฏิบัติก็เกิดผลขึ้น(อนุศาสนีย์ปาฏิหารย์)


อภิญญาข้อ1 2 4 5 ก็คล้ายๆกับ อิทธิปาฏิหารย์....
อภิญญาข้อ3 ก็คือ อาเทศนาปาฏิหารย์....
อภิญญาข้อ6 ก็เปรียบได้กับ อนุศาสนีย์ปาฏิหารย์.....ซึ่งข้อสุดท้ายนี้ พระพุทธองค์สรรเสริญเพราะเป็นทางดับทุกข์โดยตรง


พระพุทธเจ้าท่านสรรเสริญ อนุศาสนีย์ปาฏิหารย์ ซึ่งก็เปรียบได้กับอภิญญาข้อสุดท้าย(อาสวักขยญาณ)ซึ่งเป็นโลกุตรอภิญญากล่าวคือทำให้อยู่"เหนือโลก"

หรือแบบที่ หลวงปู่ชา สาธุ ท่านกล่าวว่า
"....สำหรับผู้มีปัญญาแล้วเขาแสวงหาทางพ้นทุกข์ แสวงหาทางปฏิบัติที่ทำให้เกิดปัญญาอย่างแท้จริง ซึ่งหาได้แล้วเกิดมีธรรมะในใจแล้ว ก็จะสงบระงับ สอนตัวเองได้ทุกเวลา ไม่ต้องหัวเราะ ไม่ต้องร้องไห้อีกต่อไป ..."
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แมวขาวมณี
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2006
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2006, 5:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทราบแล้ว ...เจ้า ค่ะ

อนุโมทนา สา....ธุ
 

_________________
พฤษภกาสร อีกกุญชร อันปลดปลง
โททนต์ เสน่งคง สำคัญหมาย ในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้น ทั้งอินทรีย์
สถิตย์ทั่ว แต่ชั่วดี ประดับไว้ ในโลกา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง