Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
สังฆทาน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
dd
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 14 ส.ค. 2006, 9:00 pm
สังฆทาน
.......คือ ทานที่ให้แก่หมู่คณะไม่เฉพาะเจาะจงผู้ใดผู้หนึ่ง
เมื่อผู้ให้ต้องการถวายปัจจัยไทยธรรม (สิ่งของที่ควร
ถวายพระ) ก็เต็มใจถวายแก่ภิกษุทั้งนั้น ด้วยความเคารพยำเกรงใน
สงฆ์ (หมู่คณะ) โดยมิได้เจาะจงผู้ใดผู้หนึ่ง เช่น เมื่อจะนิมนต์พระ
ไปทำบุญบ้าน ก็เข้าไปหาเจ้าอาวาส หรือเจ้าหน้าที่รับนิมนต์ของวัด
กราบเรียนท่านว่าจะทำบุญบ้าน ขอนิมนต์พระสงฆ์ไปรับไทยธรรม
๙ รูป ทางวัดจะส่งพระรูปใดไปรับไทยธรรม ก็มีความยินดี เต็มใจ
ถวายทานแก่ท่าน ทานที่ผู้ให้มีเจตนากว้าง ไม่เจาะจงนิมนต์อย่าง
นี้เรียกว่า "สังฆทาน"
.......พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า เมื่อถวาย
ทานแด่สงฆ์ ๗ ประการนี้ เรียกว่าสังฆทาน
ได้มีคำอธิบายมาใน ทักขิณาวิภังคสูตร อุปริปัณณาสก์
มัชฌิมนิกาย ถึงคำว่า "สงฆ์" ว่า สงฆ์มี ๗ ประเภท คือ
๑. สงฆ์ ๒ ฝ่าย (ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นประมุข
๒. สงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานแล้ว
๓. ภิกษุสงฆ์
๔. ภิกษุณีสงฆ์
๕. บุคคลที่ได้รับอนุมัติจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย
๖. บุคคลที่ได้รับอนุมัติจากภิกษุสงฆ์
๗. บุคคลที่ได้รับอนุมัติจากภิกษุณีสงฆ์
.......สรุปว่า ในปัจจุบันนี้ เราสามารถถวายทานแด่สงฆ์ได้ใน
ข้อที่ ๓ และ ๖ (เพราะภิกษุณีสงฆ์ไม่มีแล้ว) สงฆ์จึงมีอยู่ ๒ แบบ
คือ
๑. พระภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป จัดว่าเป็นสงฆ์ในพระวินัย
การถวายทานแด่หมู่ภิกษุที่ไม่เจาะจง ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ก็จัดเป็น
สังฆทาน
๒. ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ที่ได้รับอนุมัติจากสงฆ์ให้ไปรับ
ไทยธรรม เช่น เราไปนิมนต์ โดยขอภิกษุกับคณะสงฆ์ว่า "ขอจง
ส่งภิกษุรูปหนึ่งไปรับสังฆทานที่บ้านด้วยครับ" ครั้นได้ภิกษุรูปใด
รูปหนึ่ง ก็มีความเคารพยำเกรงในภิกษุรูปนั้น ยินดีว่าได้สงฆ์
มาแล้ว ก็เต็มใจถวายทานนั้น ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า สังฆทาน
เหมือนกัน ดังมีเรื่องเล่าว่า
กุฎุมพีผู้เคารพสงฆ์
.......กุฎุมพีคนหนึ่งเป็นเจ้าของวัดแห่งหนึ่ง โดยปกติแล้วเขา
จะมีความเลื่อมใสในภิกษุผู้มีศีลลาจารวัตรอันงาม แต่ไม่เคารพใน
ภิกษุผู้ทุศีลเลย ได้ไปขอภิกษุรูปหนึ่งมาจากสงฆ์ ด้วยคำว่า "ขอ
พระคุณเจ้าทั้งหลายจงให้ภิกษุรูปหนึ่งจากสงฆ์แก่ข้าพเจ้า"
แม้เขาจะได้ภิกษุทุศีลรูปหนึ่ง เขาก็ปฎิบัติต่อภิกษุรูปนั้น
ด้วยความเคารพนอบน้อม ตกแต่งเสนาสนะและเครื่องบูชาสักการะ
พร้อมล้างเท้าให้ภิกษุรูปนั้น เอาน้ำมันทาเท้าให้ แล้วถวายไทยธรรม
ด้วยความเคารพยำเกรงต่อสงฆ์ เหมือนกับบุคคลเคารพยำเกรง
ต่อพระพุทธเจ้า ภิกษุรูปนั้นฉันภัตตาหารแล้วก็กลับวัด หลังจาก
นั้นได้กลับมาขอยืมจอบที่บ้านของกุฎุมพีนั้นอีกครั้งหนึ่ง
คราวนี้กุฎมพีเอาเท้าเขี่ยจอบให้ พวกชาวบ้านเห็นกิริยา
ของกุฎมพีนั้นก็ถามว่า "เมื่อเช้านี้ ท่านถวายทานแก่ภิกษุรูปนั้นด้วย
ความเคารพนอบน้อมอย่างยิ่ง แต่บัดนี้แม้สักว่ากิริยาที่เคารพก็ไม่มี"
กุฎุมพีตอบว่า การทำบุญเมื่อตอนเช้า เขาทำไปด้วยใจ
เคารพยำเกรงต่อสงฆ์ แต่มิได้หมายความว่าเขามีความเคารพยำ
เกรงต่อภิกษุรูปนั้นเป็นส่วนตัว
จากเรื่องข้างต้น ชี้ให้เห็นว่ากุฎุมพีมีความเคารพต่อสงฆ์
เมื่อได้รับอนุมัติจากสงฆ์ให้พระภิกษุผู้ทุศีลมารับสังฆทาน แม้ตน
มิได้เคารพเลื่อมใสในภิกษุทุศีลรูปนั้น แต่ด้วยความเคารพที่เขามี
ต่อสงฆ์ ก็สามารถปฎิบัติต่อภิกษุรูปนั้น ขณะมารับสังฆทานด้วย
ความเคารพนอบน้อมอย่างเต็มใจได้
.......สังฆทานนั้นมีผลมากกว่าปาฎิปุคคลิกทานในทุกกรณี
ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ชัดเจน เมื่อครั้งพระนาง
ปชาบดีโคตรมี มีพระประสงค์จะถวายผ้าเจาะจงเฉพาะพระพุทธองค์
ดังเรื่องราวต่อไปนี้
พระนางมหาปชาบดีโคตรมี
.......ครั้งหนึ่งพระนางมหาปชาบดีโคตรมีทรงถือผ้าคู่หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ยังที่ประทับ กราบทูลพระพุทธองค์ว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้ายทอเอง ตั้งใจนำมาถวายเฉพาะพระองค์
ขอพระองค์จงโปรดอนุเคราะห์รับผ้าคู่นี้ด้วยเถิด"
พระศาสดาได้สดับคำกราบทูลแล้ว ตรัสตอบว่า "ดูก่อนโคตมี พระนางจงถวายสงฆ์เถิด
เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นการได้บูชาอาตมภาพและสงฆ์ด้วย"
พระนางกราบทูลขอถวายเฉพาะพระองค์แม้ครั้งที่ ๒ และ แม้ครั้งที่ ๓ แต่พระพุทธองค์
ก็ตรัสตอบเช่นเดิม เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ พระอานนท์จึงกราบทูลพระองค์ว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงโปรดรับผ้าคู่ใหม่ของพระนางมหาปชาบดีโคตมีด้วย
เถิด พระนางมีอุปการะมาก เป็นพระมาตุจฉาผู้ทรงบำรุงเลี้ยงประทานพระขีรรส (น้ำนม)
แต่พระองค์ในเมื่อพระชนนีสวรรคตแล้ว และแม้พระองค์ก็ทรงมีอุปการะแก่พระนางเป็น
อันมาก พระนางทรงอาศัยพระองค์จึงทรงเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ
และทรงเว้นจากเวรทั้ง ๕ ได้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย และ
ทรงประกอบด้วยอริยศีล ถึงที่สุดแห่งทุกข์ทั้งปวง"
.......พระศาสดาทรงรับรองคำของพระอานนท์ และตรัสเช่นเดิม โดยทรงมุ่งให้พระนางได้
บุญมาก ได้อานิสงส์มากๆ เพราะการถวายสังฆทานมีผลมากกว่าปาฎิปุคคลิกทาน
ดังพระดำรัสว่า
"ดูก่อนอานนท์ เราไม่กล่าวปาฎิปุคคลิกทานว่ามีผลมากกว่าสังฆทาน โดยปริยายใดๆ เลย
สังฆทานเป็นประมุขของผู้หวังบุญ พระสงฆ์นั่นแหละเป็นประมุขของผู้บูชา และพระสงฆ์
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า"
ในข้อนี้เราจะเห็นได้ว่า พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญจิตใจของผู้ให้โดยไม่เฉพาะเจาะจง
(การให้สังฆทาน) เป็นสำคัญ เพราะการให้เช่นนี้แสดงถึงจิตใจที่มีกำลังมาก
มีเจตนากว้างขวาง เผื่อแผ่มาก ไม่เห็นแก่คนที่คุ้นเคยกัน มุ่งหวังเพื่อให้แก่หมู่คณะเป็น
สำคัญ และจะเป็นประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ในอนาคตกาลข้างหน้า ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสไว้ว่า
"เราไม่ดำรงอยู่นาน แต่ศาสนาของเราจักตั้งอยู่ด้วยพระภิกษุสงฆ์ ในภายภาคหน้าชน
รุ่นหลัง จงเคารพยำเกรงในสงฆ์ ถ้าเป็นเช่นนี้ พระศาสนาจักตั้งอยู่ได้นาน"
อานิสงส์ของสังฆทาน
.......พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงอานิสงส์ของสังฆทานว่ามีผลมาก ดังเรื่องต่อไปนี้
เวลามสูตร
.......พราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อว่าเวลามะ อยู่ในชมพูทวีป เวลามพราหมณ์นั้น เป็นคนมีจิตใจเลื่อมใส
ต่อการบริจาคทาน ได้จัดสร้างโรงทานขึ้นที่บ้านของตน และประกาศทั่วไปให้คนทั้งหลาย
ที่อยู่ในชมพูทวีปนี้มารับทาน คือ อาหารที่โรงทานนี้ได้ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน หรือถ้า
หากบุคคลใดไม่มีที่พักอาศัย ไม่มีเครื่องนุ่งห่มแล้ว ขอให้มาแจ้งความประสงค์ต่อตน จะได้
จัดการให้ทานแก่ผู้นั้นโดยทั่วถึงทั้งหมด และในวันสุดท้ายได้ให้ถาดทอง ถาดเงิน ถาดสำริด
ซึ่งมีทองและเงินอยู่เต็มถาด อย่างละ ๘๔,๐๐๐
และช้าง รถ หญิงสาว บัลลังก์ ซึ่งประดับอย่างงดงาม อย่างละ ๘๔,๐๐๐ โคนมอีก
๘๔,๐๐๐ ตัว และผ้าคู่อีก ๘๔,๐๐๐ คู่ ทานที่เวลามพราหมณ์ทำนั้นได้ชื่อว่า "มหาทาน"
อานิสงส์ของการให้มหาทานมีมากน้อยเพียงไร พระพุทธองค์ทรงเปรียบเทียบเป็นข้อๆ ไว้
ดังนี้
๑. การทำทานของเวลามพราหมณ์นี้ ย่อมได้อานิสงส์ถึงอสงไขยภพ
๒. อานิสงส์ที่เวลามพราหมณ์ได้รับนี้ ยังสู้อานิสงส์ของผู้ถวายอาหารแด่พระโสดาบันบุคคล
เพียงองค์เดียวและครั้งเดียวไม่ได้
๓. อานิสงส์ที่ได้รับจากการถวายอาหารแด่พระโสดาบันบุคคล ๑๐๐ องค์ ยังสู้อานิสงส์ของ
การถวายอาหารแด่พระสกทาคามีบุคคลเพียงองค์เดียวและครั้งเดียวไม่ได้
๔. อานิสงส์ที่ได้รับจากการถวายอาหารแด่พระสกทาคามีบุคคล ๑๐๐ องค์ ยังสู้อานิสงส์ของ
การถวายอาหารแด่พระอนาคามีบุคคลเพียงองค์เดียวและครั้งเดียวไม่ได้
๕. อานิสงส์ที่ได้รับจากการถวายอาหารแด่พระอนาคามีบุคคล ๑๐๐ องค์ ก็ยังสู้อานิสงส์ของ
การถวายอาหารแด่พระอรหันต์บุคคลเพียงองค์เดียวและครั้งเดียวไม่ได้
๖. อานิสงส์ที่ได้รับจากการถวายอาหารแด่พระอรหันต์ ๑๐๐ องค์ ก็ยังสู้อานิสงส์ของการถวาย
อาหารแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์เดียวและครั้งเดียวไม่ได้
๗. อานิสงส์ที่ได้รับจากการถวายอาหารแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ องค์ ก็ยังสู้อานิสงส์ของ
การถวายอาหารแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงองค์เดียวและครั้งเดียวไม่ได้
๘. อานิสงส์ที่ได้รับจากการถวายอาหารแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เดียวนั้นก็ยังสู้อานิสงส์
ของการถวายอาหารแด่ภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย (สังฆทาน) มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข
ไม่ได้
๙. อานิสงส์ที่ได้รับจากการถวายอาหารแด่ภิกษุสงฆ์ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุขนั้น
ก็ยังสู้อานิสงส์ของการสร้างวิหารทาน (ถาวรทาน) แด่ภิกษุสงฆ์ที่อยู่ทั่วทั้ง ๔ ทิศ ไม่ได้
(การถวายอาหารเป็นสังฆทาน มีอานิสงส์น้อยกว่าการถวายถาวรทานเป็นสังฆทาน)
.......จากนั้นพระศาสดาทรงแสดงอานิสงส์ของการสร้างบุญที่มีมากยิ่งกว่าสังฆทานขึ้นไป ดังนี้
อานิสงส์ที่ได้รับจากการสร้างวิหารเพื่อสงฆ์ทั้ง ๔ ทิศนั้น ก็ยังสู้อานิสงส์ของการเข้าถึง
ไตรสรณคมน์ไม่ได้
อานิสงส์ที่ได้รับจากการเข้าถึงไตรสรณคมน์นั้น ก็ยังสู้อานิสงส์ของการสมาทานศีล ๕
ศีล ๘ พร้อมด้วยไตรสรณคมน์นั้นไม่ได้
อานิสงส์ที่ได้รับจากการสมาทานศีล ๕ ศีล ๘ พร้อมด้วยไตรสรณคมณ์นั้น ก็ยังสู้อานิสงส์
ของการแผ่เมตตาให้แก่สัตว์ทั้งหลายมีความสุขเพียงชั่วคราวหนึ่งไม่ได้
อานิสงส์ที่ได้รับจากการแผ่เมตตาให้แก่สัตว์ทั้งหลายมีความสุขเพียงชั่วคราวนั้น ก็ยังสู้
อานิสงส์ของการเจริญวิปัสสนาเพียงชั่วคราวไม่ได้
จะเห็นได้ว่าอานิสงส์ของการบำเพ็ญสังฆทานจะมีผลมากกว่าปาฎิปุคคลิกทาน แต่อานิ
สงส์ของการรักษาศีล และการเจริญวิปัสสนามีมากกว่านั้นอีก ทั้งนี้มิได้หมายความว่า จะมุ่ง
แต่เจริญวิปัสสนาเพียงอย่างเดียวโดยไม่ทำทาน เพราะการให้ทานย่อมมีประโยชน์แก่บุคคล
ทุกจำพวก
เพราะเหตุว่า ผู้ที่เคยสั่งสมบุญด้วยการทำทานไว้ดีแล้ว ไม่ว่าจะเกิดภพชาติใดๆ ย่อมอุดม
สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์สมบัติ ไม่ต้องกังวลในการแสวงหาทรัพย์เพื่อเลี้ยงชีพ เมื่อเป็นเช่นนี้
จิตใจของผู้นั้นจึงมีความสุข สบาย จะรักษาศีลก็เป็นไปได้โดยง่าย แม้จะน้อมใจไปเพื่อการ
เจริญภาวนา ก็ทำได้อย่างสะดวกสบาย และสามารถบรรลุผลของการปฎิบัติธรรมนั้นได้เป็น
อย่างดี
ส่วนผู้ที่ไม่เคยทำทานไว้ ย่อมเกิดเป็นคนยากจน ต้องร้อนใจในการหาเลี้ยงชีพ จะรักษา
ศีลก็เป็นการยาก อาจต้องพลั้งพลาดไปทำอาชีพที่ผิดศีล เช่นฆ่าสัตว์ เป็นต้น เมื่อจะหาเวลา
เจริญภาวนา ก็ยังต้องมีภาระกังวลเกี่ยวกับเรื่องปากท้องจึงปฎิบัติธรรมไม่ได้สะดวก
องค์แห่งการให้ (ที่ทำให้ได้อานิสงส์มาก)
๑. วัตถุบริสุทธิ์ (สิ่งของที่จะบริจาคทานต้องได้มาโดยสุจริต)
๒. เจตนาบริสุทธิ์ (ผู้ให้มีความบริสุทธิ์ใจ มุ่งให้เกิดความดี)
๓. บุคคลบริสุทธิ์ (ผู้ให้และผู้รับ ต้องมีศีล มีธรรม)
........ก่อนให้ทาน ก็มีความดีใจ
........ขณะให้ทาน ก็มีความเลื่อมใส
........หลังจากให้ทาน ก็มีความเบิกบานใจ ไม่เสียดายในภายหลัง
เมื่อผู้ใดมีเจตนาบริสุทธิ์ครบทั้ง ๓ ระยะอย่างนี้ ย่อมได้บุญมาก มีอานิสงส์ใหญ่
ที่มา :: พันทิพ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th