Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
งามทั้งภายในและภายนอก (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2006, 8:05 pm
งามทั้งภายในและภายนอก
โดย หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
ความงามเป็นสมบัติที่มนุษย์ต้องการ
คนเราจึงมีเครื่องแต่งตัวประดับประดา
ด้วยเครื่องอลังการต่างๆ
เครื่องประดับทำให้งามภายนอก
ส่วนศิลปวิทยาและความประพฤติ
คือ เครื่องประดับภายใน
ผู้ซึ่งแต่งตัวด้วยเครื่องประดับภายนอก
แต่ไม่มีศิลปวิทยา ก็จะงามชั่วคราวไม่ยั่งยืน
ถ้ามีวิชาความรู้ดูสง่า
แต่ความประพฤตินั้นเสีย
ไม่อาจรักษาความสง่านั้นไว้ได้
ความประพฤติจะเป็นไปถูกทางได้
ต้องอาศัยธรรม คือ ขันติ ความอดทน
โสรัจจะ ความเสงี่ยม เป็นหลัก
ขันติ แปลว่า ความอดทน มี ๓ ประการ
คือ
ทนตรากตรำ ทนลำบาก ทนเจ็บใจ
ความทนตรากตรำ ย่อมเป็นปัจจัยให้ทำงานสำเร็จ
ได้ทรัพย์สมบัติ ยศศักดิ์ชื่อเสียง
เป็นผลบำรุงตนและหมู่คณะให้รุ่งเรืองไพศาล
ความทนลำบาก ย่อมเป็นปัจจัยมิให้เสียสติสัมปชัญญะ
ซึ่งเป็นคุณควรต้องประสงค์ในเวลาจำเป็น
ความทนเจ็บใจ ย่อมเป็นปัจจัยไม่ให้ประพฤติผิดพลั้ง
ด้วยกำลังโทสะ สกัดกั้นกายวาจา
มิให้แสดงกิริยาแปรผัน
ซึ่งเป็นอาการน่าเกลียดน่าอาย
การรักษามารยาทให้เรียบร้อย ได้ชื่อว่า โสรัจจะ
พูดสั้นๆ คือ
ความเสงี่ยม
ข้อนี้ต้องมีเป็นคู่กัน
ถ้ามีแต่ความอดทนอย่างเดียว
ไม่รู้จักรักษากิริยามารยาท
กายวาจาก็จะไม่เรียบร้อยต้องตามความนิยม
เมื่อมีโสรัจจะเข้ากำกับคู่กัน
ย่อมทำให้งามทั้งภายในและภายนอก
แม้สาธุชนก็ยึดธรรมข้อนี้เป็นหลัก
ต้องทนตรากตรำทำกิจให้สำเร็จตามหน้าที่ของตน
เวลาเจ็บไข้ไม่ทำใจเสาะ ต้องอดทน
ทำใจให้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
จึงจะถูกต้องตามลักษณะของสาธุชน
ท่านต้องเป็นผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำที่แสลงหู
ไม่ทำใจโมโหหุนหันในเมื่อยังไม่ถึงเวลา
ซึ่งเป็นกิริยาทำให้เสียการ
ต้องเป็นผู้รักษากายวาจา
รักษามรรยาทให้ให้ถูกต้องตามวินัยของตน
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะบำรุงตนและหมู่คณะของตน
ให้รุ่งเรืองไพศาลเป็นที่สรรเสริญ
ของนักปราชญ์ทั้งทางโลก และทางธรรม
ดังพรรณนามางามด้อย
จะเป็นใครก็ตาม เมื่อเกิดความโกรธ ความงามจะด้อย
และยิ่งขาดธรรมะ คือ ขันติ โสรัจจะ แล้วจะหมดงามทันที
...............................................................
คัดลอกจาก..
http://www.jarun.org/
I am
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2006, 3:12 pm
ขันติเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์
โมทนาครับ สาธุ..
seven11
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 19 ก.ย. 2006, 10:24 pm
เปลือกของสุภาพชน
ครั้งหนึ่งเอกอัครราชทูตเยอรมันมาขอพบไอน์สไตน์ที่บ้าน ภรรยาของไอน์สไตน์บอกสามีว่า "ทำไมคุณไม่ไปเปลี่ยนชุดที่มันเรียบร้อยกว่านี้เล่า ?"
ไอน์สไตน์ตอบว่า "ถ้าเขาอยากพบตัวฉัน ฉันก็อยู่นี่แล้วงัย แต่ถ้าอยากดูเสื้อผ้าของฉัน ก็พาเขาไปเปิดตู้เสื้อผ้าดูซี"
ผมชอบไอน์สไตน์มิใช่เพราะเขาฉลาดปราดเปรื่องเกินมนุษย์ทั่วไป ที่คิดสมการพิสดารออกมาได้ หากเพราะเขาเป็นคนขวานผ่าซาก ผ่าตรงเป้า คิดง่ายๆ เสมอ
หลายปีมาแล้ว ผมลองไปเรียนเรื่องมารยาทสังคมจากสถาบันสอนบุคลิกภาพแห่งหนึ่ง ได้ความรู้ติดหัวมาว่า "การแต่งกายดีนั้นก็เพื่อให้เกียรติสถานที่ที่เราไป"
มาครุ่นคิดนานหลายปีว่าจริงหรือ ? และถ้าจริง จำเป็นหรือ ?
เวลาเราไปงานแต่งงานของใครสักคู่ เราสวมสูทและชุดราตรี เหตุผล ? เพราะเป็นมารยาทสังคม เพราะเป็นการให้เกียรติคู่บ่าวสาวในงานสำคัญของพวกเขา เพราะเป็นการให้เกียรติสถานที่ที่หรูหรา และเพราะสุภาพชนพึงทำเช่นนั้น
อดคิดต่อไม่ได้ว่า อะไรคือความสุภาพ ? อะไรคือมาตรวัดความสุภาพ ? การพูดคำว่า "ครับ/ค่ะ" ตลอดเวลา หรือว่าการแต่งกายเหมาะสม ? หรือทั้งสองอย่าง ? ถ้าใช่ อะไรเป็นมาตรวัดความเหมาะสมของการแต่งกาย ?
โรงแรมระดับห้าดาวส่วนใหญ่ไล่แขกที่สวมรองเท้าแตะออกจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์นั้น (มักใช้คำว่า "เชิญ") ทั้งที่รองเท้าแตะก็ปกป้องตีนได้ดีไม่แพ้เกือกบู๊ทหรือรองเท้าหุ้มส้น และคนสวมรองเท้าแตะก็สามารถเอ่ยคำว่า "ครับ/ค่ะ" ได้เช่นกัน
ดูเหมือนว่าค่านิยมของสังคมจะเดินไปในทิศทางที่ว่า "ความสุภาพ" ของการแต่งกายวัดกันที่ "แบบ" ของเสื้อผ้า เช่น รองเท้าแตะไม่เรียบร้อย รองเท้าฟองน้ำไม่สุภาพ การไม่เสียบชายเสื้อเข้าในกางเกงน่าดูแคลน
ผมเคยทดลองสวมเสื้อยืดกับรองเท้าแตะไปในร้านหรู ไม่มีพนักงานคนใดเดินเข้ามาต้อนรับเลย ซึ่งตรงข้ามกับเมื่อสวมเสื้อผ้าแบบ "สุภาพชน" เสื้อเชิร์ตแขนยาว รองเท้าหนังมันเงา เข้าไปในร้านเดียวกัน พนักงานเข้ามาพูดจาอย่างสุภาพ เพราะปรัชญาการทำธุรกิจของหลายองค์กรไม่ต้อนรับ "ผ้าขี้ริ้วห่อทอง" หรืออย่างน้อยก็ไม่เชื่อว่า ภายในผ้าขี้ริ้วมีทอง
ไอน์สไตน์กล่าวว่า "คนจำนวนมากรู้สึกละอายที่สวมเสื้อผ้าเก่าและเครื่องเรือนคร่ำคร่า เราน่าจะละอายในความคิดเก่าคร่ำคร่ากับปรัชญาไร้ค่ามากกว่า น่าเศร้านะถ้ากระดาษที่ห่อหุ้มดีกว่าเนื้อภายใน"
คนถ่อยสวมสูทตัวละแสนบาท ก็ยังถ่อยอยู่เช่นเดิม
ความจริงคือ มารยาทย่อมไม่มีกฏเกณฑ์ การสวมชุด "สุภาพชน" มิได้เป็นการให้เกียรติต่อทั้งสถานที่และบุคคลเสมอไป
การเปลือยกายในสังคมหนึ่งอาจเป็นเรื่องน่าละอาย ขณะที่เป็นค่านิยมปกติของอีกสังคมหนึ่ง
ความจริงการเปลี่ยนแปลงกติกาของการแต่งกายเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อโลกแคบลงและความเป็นสากลสูงขึ้น ปัญหามักเกิดจาก ความพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้เข้ากับวัฒนธรรมที่ (เราคิดว่า) เหนือกว่าเราอย่างไม่มีราก อย่างหลับหูหลับตา และตีค่าของคนมากกว่าเปลือกนอกมากกว่าภายใน
สุภาพชนที่แท้ย่อมเป็นอิสระจาการเดินตามกฎและการไม่เดินตามกฏ อิสรภาพหมายถึงการไม่ยึดติดกับค่านิยมของสังคม แต่ก็ไม่จำเป็นต้องต่อต้านเพียงเพื่อแสดงให้ชาวโลกเห็นว่า ตนเองไม่ยึดติดกับค่านิยมของสังคม
คัดลอกจาก หนังสือ รอยเท้าเล็กๆ ของเราเอง (วินทร์ เลียววาริน)
กราบขอบพระคุณครับ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th