Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิศวกรรมศาสตร์ในทัศนะมุมมองของข้าพเจ้า : แง่ความเป็นมา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
PhramahaSurasak Suramedhi
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2006, 9:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิศวกรรมศาสตร์ในทัศนะมุมมองของข้าพเจ้า : แง่ความเป็นมา
Engineering In My View : Its Historical Background
โดย พระมหาสุรศักดิ์ สุรเมธี (ชะมารัมย์)
นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
2 nd Year Student of Dhammakaya Open University, California, USA

.............................................................

บทนำ

โดยส่วนตัวแล้ว ข้าพเจ้าเห็นว่า วิชาวิศวกรรมศาสตร์เป็นวิชาการแขนงหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยการพิจารณาจากเหตุปัจจัยและองค์ประกอบหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องสถาปัตยกรรม หัตถกรรม ประติมากรรม ฯลฯ ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน จะมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ที่เป็นเช่นนี้ ก็เนื่องมาจากการที่มนุษย์เรามีความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ในแต่ละยุคสมัยไม่เหมือนกันนั่นเอง กล่าวคือ สิ่งก่อสร้างบางยุคบางสมัยมีขนาดที่ใหญ่โตมหึมา บางยุคมีขนาดเล็ก บางยุคมีลักษณะที่สวยงามมาก บางยุคดูไม่สู้สวยงามนัก ก็ล้วนแล้วแต่เกิดจากฝีมือมนุษย์เราที่มีการพัฒนาความรู้ทางด้านวิชาวิศวกรรมศาสตร์และได้ใช้ความรู้ในวิชาการดังกล่าว มาประยุกต์ใช้ในการสร้างสิ่งต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมของตนเอง

หากเราย้อนดูประวัติศาสตร์แล้ว ก็จะทำให้เราเห็นประจักษ์ว่า มนุษย์เราเริ่มมีการใช้ความรู้ทางด้านวิชาวิศวกรรมศาสตร์เข้ามามีส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันเมื่อหลายพันปีมาแล้ว ดังมีสิ่งก่อสร้างที่เป็นตัวอย่างในเรื่องนี้คือ ปิรามิด ของชาวอียิปต์โบราณ ที่ถือว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถยืนยันได้ว่า มนุษย์มีความรู้ในด้านวิศวกรรมศาสตร์และสามารถนำความรู้ในวิชาการดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการก่อสร้างถาวรวัตถุ และต่อมาสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์ในยุคแรกๆ ได้สร้างขึ้นนี้ ได้กลายมาเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก มีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนั้นแล้ว ยังมีสิ่งก่อสร้างอีกจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ได้ใช้ความรู้ในด้านวิชาวิศวกรรมศาสตร์สร้างขึ้น อาทิ ปราสาทหินนครวัด – นครธม สนามกีฬาโคลอสเซียม แห่งกรุงโรม สวนลอยฟ้าบาบิโลน หอเอน เมือง ปิซา ฯลฯ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ ต่อมาก็ได้กลายมาเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่มีคุณค่า โดดเด่น และมีความสง่างามอย่างมาก จากพัฒนาการทางด้านวิชาวิศวกรรมศาสตร์ในยุคเริ่มแรกนี้เอง ที่ถือได้ว่าเป็นแบบอย่างในการพัฒนาการทางด้านวิชาวิศวกรรมศาสตร์ในยุคต่อมา

หากจะให้วิเคราะห์แล้ว ในช่วงเริ่มแรก ถึงแม้ว่ามนุษย์จะมีความรู้ทางด้านวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดจนมีความสามารถที่จะใช้ความรู้ในด้านวิชาวิศวกรรมศาสตร์ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ แต่มนุษย์ยังขาดเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ช่วยในการทุ่นแรงที่ทันสมัย มาช่วยในการก่อสร้าง จึงเป็นผลทำให้สิ่งก่อสร้างในยุคแรกๆนั้น ไม้สู้คงทนถาวรมากนัก กล่าวคือ มีการผุผังง่าย จนบางแห่งหักพังแทบไม่เหลือซากให้เห็นกัน

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าวิชาวิศวกรรมศาสตร์จะมีมานานแล้ว แต่มนุษย์ได้เริ่มตื่นตัวและมีการศึกษากันอย่างจริงจังเมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี้เอง เมื่อครั้งที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ราวคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่ผ่านมา มนุษย์ได้เริ่มให้ความสนใจในวิชาการแขนงนี้มากขึ้น รวมทั้งได้นำความรู้ในด้านวิชาการดังกล่าวนี้ไปประยุกต์ใช้กับวิชาการแขนงต่างๆ จนทำให้วิชาวิศวกรรมศาสตร์แตกแขนงขึ้นเป็นหลายสาขามากในปัจจุบัน
ความหมายของวิชาวิศวกรรมศาสตร์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายของวิชาวิศวกรรมศาสตร์ไว้ว่า วิชาวิศวกรรมศาสตร์ หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้

จากความหมายข้างต้น จะเห็นได้ว่า วิชาวิศวกรรมศาสตร์จะเน้นหนักและให้ความสำคัญในเรื่องการนำความรู้ทางด้านวิชาคณิตศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ อาทิ ด้านกระบวนการผลิต ด้านเครื่องจักร ด้านไฟฟ้า ด้านอุตสาหกรรม ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่ออำนวยประโยชน์แก่มนุษย์เอง


การนำความรู้ทางด้านวิชาวิศวกรรมศาสตร์ไปใช้ในวิชาการแขนงต่างๆ ( เกิดวิชาการใหม่)

ในปัจจุบัน ได้มีการนำความรู้ทางด้านวิชาวิศวกรรมศาสตร์ไปประยุกต์กับวิชาการแขนงต่างๆ อย่างแพร่หลาย จนทำให้เกิดเป็นวิชาการแขนงต่างๆ ขึ้นมาใหม่อีกเป็นจำนวนมาก จึงทำให้วิชาวิศวกรรมศาสตร์ได้เผยแผ่และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน วิชาการที่เกิดขึ้นมาใหม่ เช่น

- วิชาวิศวกรรมเครื่องยนต์ (Mechanical Engineering) เกิดจากการที่มนุษย์ได้นำความรู้ บวกกับประสบการณ์ ไปประยุกต์ใช้กับเครื่องจักรกล โดยการใช้ความรู้ในด้านวิชาวิศวกรรมศาสตร์คิดค้นและพัฒนาการเครื่องจักรกลใหม่ๆ ตลอดจนการบำรุงรักษา และซ่อมแซมเครื่องจักรกล ฯลฯ

- วิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering) ถือได้ว่าเป็นสาขาหนึ่งที่มีคนให้ความสนในและศึกษากันเป็นอย่างมากในปัจจุบันวิชาการดังกล่าวนี้ เกิดมาจากการที่มนุษย์นำความรู้ในด้านวิชาวิศวกรรมศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในด้านไฟฟ้า จึงทำให้เกิดการพัฒนาการในด้านไฟฟ้าในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น อาทิ ไฟฟ้านิวเคลียร์ ไฟฟ้าจากพลังงานธรรมชาติ ฯลฯ

- วิชาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering) เป็นสาขาหนึ่งที่เกิดขึ้นมานาน และต่อมาได้กลายมาเป็นที่รู้จักกว้างขวางในปัจจุบัน และถือได้ว่าเป็นสาขาที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่นิสิตนักศึกษา วิชาการดังกล่าวนี้เกิดมาจากการนำความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มาช่วยอำนวยความสะดวกในการก่อสร้างสิ่งต่างๆ อันเป็นผลทำให้ใช้เวลาในการก่อสร้างรวดเร็วขึ้น และสะดวกสบายมากขึ้นรวมทั้งประหยัดเวลาและงบประมาณในการก่อสร้างมากขึ้น เมื่อเทียบกับสมัยแต่ก่อน ฯลฯ เป็นต้น


ความสำคัญและประโยชน์ของการศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์

การศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ในปัจจุบันนั้น ถือได้ว่ามีประโยชน์และมีความสำคัญอย่างมากสำหรับเรา ภายใต้ยุคโลกาภิวัฒน์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไร้ขอบเขตและไร้เป้าหมายเช่นนี้ นานาประเทศล้วนแล้วแต่แข่งขันกันในด้านวัตถุนิยม คือเอาวัตถุแข่งขันกัน กล่าวคือ ประเทศไหนที่มีความเจริญทางด้านวัตถุ ประเทศนั้นก็จะได้ชื่อใหม่ว่า เป็นประเทศที่พัฒนา และสามารถก้าวมาเป็นผู้นำของโลกได้ในยุคปัจจุบัน หากว่าประเทศใดที่ไม่มีการพัฒนาทางด้านวัตถุ หรือมีการพัฒนาทางด้านวัตถุน้อย ประเทศนั้นก็จะได้ชื่อว่า เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา หรือเป็นประเทศยากจนไป และซึ่งสิ่งที่เป็นปัจจัยและถือได้ว่ามีอิทธิพลในด้านการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัตถุแทบจะว่าโดยตรงเลยก็ว่าได้ที่นอกเหนือจากมนุษย์ นั่นคือ วิชาวิศวกรรมศาสตร์

หากจะว่าไปแล้ว วิชาวิศวกรรมศาสตร์ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ตามลำพังมันเอง ต้องอาศัยมนุษย์เป็นผู้นำพา และนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการต่างๆ จึงจะเกิดประโยชน์ หากเราได้ศึกษาและมีความรู้ทางด้านวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษามาไปประยุกต์ใช้กับวิชาการแขนงต่างๆ แล้วละก็ มันก็จะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาลในการพัฒนาประเทศชาติ และเป็นผลทำให้ประเทศชาติของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางด้านวัตถุอย่างรวดเร็วทัดเทียมกับนานาประเทศ ตลอดจนสามารถที่จะยืนยัดและแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างไม่น้อยหน้า


ข้อคิดทิ้งท้าย

วิชาวิศวกรรมศาสตร์ในปัจจุบันนั้น ได้กลายเป็นสาขาวิชาที่มีผู้ศึกษามากที่สุดแขนงหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทยเอง รวมทั้งประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพราะประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างก็ตระหนักและให้ความสำคัญในวิชาการแขนงนี้ และยังได้ส่งเสริมบุคลากรภายในประเทศของตนให้ได้ศึกษาเรียนรู้วิชาการแขนงนี้อย่างกว้างขวาง โดยเล็งเห็นประโยชน์และช่องทางในการพัฒนาประเทศของตนในอนาคต โดยเฉพาะในการพัฒนาทางด้านวัตถุ โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์จากบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาในวิชาวิศวกรรมศาสตร์นี้

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าวิชาวิศวกรรมศาสตร์จะเป็นวิชาที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน แต่มันก็ยังไม่ได้ชื่อว่าเป็นวิชาการแขนงที่สำคัญที่สุด ยังมีวิชาการแขนงต่างๆ อีกมากที่สำคัญ ที่เราไม่ควรปล่อยปละละเลย ควรที่จะศึกษาเรียนควบคู่กับวิชาการแขนงนี้ไป อาทิ วิชาศีลธรรมจริยธรรม วิชาสังคมศึกษา วิชาประวัติศาสตร์ ฯลฯ โดยเฉพาะวิชาศีลธรรมจริยธรรมนั้น เป็นวิชาที่สำคัญอย่างมากที่เราต้องศึกษาเรียนรู้และต้องนำออกมาใช้อยู่เสมอ ในที่นี้คือใช้ควบคู่กับวิชาวิศวกรรมศาสตร์ หากเราขาดก็จะทำให้เราใช้ความรู้ในด้านวิศวกรรมศาสตร์ไปใช้ในการแสวงหาประโยชน์มากกว่าที่จะทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติของเราและประเทศชาติของเราก็จะเสื่อมโทรมลง เพราะคนมีความรู้ แต่ขาดศีลธรรม มุ่งแต่จะเอาชนะกัน โดยลืมมองถึงผลดี – ผลเสีย ที่จะเกิดขึ้นตามมาในภายหลัง จึงขอฝากไว้เป็นข้อคิดทิ้งท้ายสำหรับเรื่องนี้



.............................................................
 
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2006, 10:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง