ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
20 พ.ค.2006, 11:14 am |
  |
ท่านผู้ป่วย-เจ็บไข้ ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน
สิ่งที่จะบำรุงจิตใจที่สำคัญ ก็คือ การทำบุญ
การที่ได้มาใกล้ชิดพระรัตนตรัย
ได้อานุภาพบุญกุศล และอาศัยพุทธคุณ
ธรรมคุณ และสังฆคุณ เป็นเครื่องอภิบาลรักษา
ในยามเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งเป็นเวลาที่สำคัญนี้
เรื่องของจิตใจก็สำคัญมาก
ทั้งจิตใจของผู้ป่วยและจิตใจของญาติ
ตลอดท่านที่มีความเคารพนับถือ
ซึ่งพากันห่วงใย การรักษานั้นก็รักษาทั้งสองอย่าง
คือ ทั้งกายและใจ ส่วนที่เป็นโรคอย่างแท้จริง
ก็คือด้านร่างกาย แต่ในเวลาที่ร่างกายเป็นโรคนั้น
จิตใจก็มักพลอยป่วยไปด้วย
คือ จิตใจอาจจะอ่อนแอลง
หรือแปรปรวนไปเพราะทุกขเวทนา
หรือความอ่อนแอของร่างกายนั้น
จึงมีพุทธพจน์ที่ตรัสสอนไว้ให้ตั้งจิตตั้งใจว่า
ถึงแม้ร่างกายของเราจะป่วย
แต่ใจของเราไม่ป่วยไปด้วย
พระพุทธเจ้าได้สอนไว้อย่างนี้
เพื่อให้ส่วนหนึ่งแห่งชีวิตของเรา
ยังคงความเข้มแข็งไว้ได้
แล้วใจก็จะช่วยร่างกายด้วย
ถ้าหากว่าใจพลอยป่วยไปด้วยกับกาย
ก็จะทำให้ความป่วยหรือความเจ็บนั้น
ทับทวีขึ้นซ้ำเติมตัวเอง
แต่ถ้ากายป่วยเป็นเพียงส่วนหนึ่ง
ใจไม่ป่วยไปด้วย
ใจนั้นจะกลับมาเป็นส่วนช่วยดึงไว้
ช่วยอุ้มชูค้ำประคับประคองกายไว้
ยิ่งถ้ามีกำลังใจเข้มแข็ง
ก็กลับมาช่วยให้ร่างกายนี้แข็งแรงขึ้น
เราจะเห็นว่าในเวลาที่เจ็บไข้ได้ป่วยนี้
คนไข้จะต้องการกำลังใจมาก
ถ้าไม่สามารถจะมีกำลังใจด้วยตนเอง
ก็ต้องอาศัยผู้อื่นมาช่วย
ผู้ที่จะช่วยให้กำลังใจได้มาก
ก็คือญาติพี่น้องคนใกล้ชิดทั้งหลาย
เพราะฉะนั้นทางพระหรือทางธรรม
จึงได้สอนผู้ที่ใกล้ชิดให้มาให้กำลังใจ
แก่ผู้เจ็บไข้ได้ป่วย
ข้อสำคัญก็คือว่า ผู้ที่เป็นญาติของท่าน
ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยนั้น มีความรัก
มีความห่วงใยต่อท่านผู้เจ็บไข้
เมื่อเป็นอย่างนี้ จิตใจของผู้ใกล้ชิดที่เป็นญาตินั้น
บางทีก็พลอยป่วยไปด้วย พลอยไม่สบายไปด้วย
เลยไม่สามารถจะไปให้กำลังใจแด่ท่านผู้ที่เจ็บป่วย
อันนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ
จึงจะต้องมีอุบายมีวิธีการที่จะทำให้จิตใจเข้มแข็ง
ให้จิตใจสบาย เมื่อจิตใจของเราที่เป็นญาติ
เป็นผู้ที่ใกล้ชิดที่หวังดีนี้เข้มแข็งสบายดี
ก็จะได้เป็นเครื่องช่วยให้ท่านผู้เจ็บป่วยนั้น
พลอยมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้นด้วย
ในยามเช่นนี้ การวางจิตใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ
เรื่องการรักษาทางด้านร่างกายนั้น
ก็เป็นภาระของแพทย์
ที่จะพยายามจัดการแก้ไขไปตามวิชาการ
ตามหลักของการรักษา
แต่ทางด้านญาติของผู้ป่วย
ต้องถือด้านจิตใจนี้เป็นเรื่องสำคัญ
นอกจากการที่จะคอยเอื้ออำนวยให้ความสะดวก
การดูแลโดยทั่วๆไปแล้ว
สิ่งที่ควรทำก็คือ การรักษาทั้งจิตใจของตนเอง
และจิตใจของผู้ป่วยให้เป็นจิตใจที่เข้มแข็ง
ในด้านจิตใจของตนเอง
ก็ควรให้มีความปลอดโปร่งสบายใจ
อย่างน้อยก็มีความสบายใจว่า
เมื่อท่านผู้เป็นที่รักของเราป่วยไข้
เราก็ไม่ทอดทิ้งท่าน
ได้เอาใจใส่ดูแลรักษาอย่างเต็มที่
เมื่อได้ทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่แล้ว
ก็สบายใจได้ประการหนึ่งแล้วว่า
เราได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีที่สุด
เมื่อได้ทำหน้าที่ของตนเองแล้ว
ก็มีความสบายใจขึ้นมา
ความเข้มแข็ง ที่เกิดจากความสบายใจนั้น
ก็จะมาคอยช่วยคอยให้กำลังใจ ช่วยเสริม
ไม่ว่าท่านผู้เจ็บป่วยจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม
คนเรานั้น เรื่องจิตใจเราทราบไม่ได้
บางทีรู้ในทางประสาทสัมผัสไม่ได้
แต่มีความซึมซาบอยู่ภายใน
แม้แต่คนที่ไม่รู้ตัวแล้ว
ในบางระดับก็ยังมีการฝันบ้าง
ยังมีความรู้สึกรับรู้เล็กๆ น้อยๆ
บางทีเป็นความละเอียดอ่อน
ในทางการรับสัมผัสต่างๆ
ในทางประสาทในทางจิตใจ
จึงอาจจะได้รับรัศมีแห่งความสุขสบายใจ
ทำให้มีกำลังใจขึ้นมาอย่างน้อย
ก็ทำให้ไม่มีห่วงมีกังวล ใจก็จะเข้มแข็งขึ้น
ความปลอดโปร่ง ความสบายใจ
จิตใจที่ผ่องใสเบิกบานนั้น เป็นสิ่งที่ดีงาม
คนเรานั้นเรื่องจิตใจ เป็นสิ่งที่สำคัญ
คัดลอกจาก...
http://www.jarun.org
 |
|
|
|
   |
 |
I am
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
22 พ.ค.2006, 9:39 am |
  |
|
|
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
|