Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
ความสุขในการครองเรือน...หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 08 พ.ค.2006, 10:42 am
คนเราเกิดมามีเหตุการณ์และหน้าที่ที่จะต้องพบต้องกระทำเป็นระยะๆ ขณะยังเป็นเด็กเป็นเวลาที่มีชีวิตภายใต้ความดูแลของผู้อื่นอย่างแท้จริง กล่าวคือ ต้องอยู่ในความประคบประหงมของพ่อแม่ ในระยะนี้เด็กไม่สู้จะรู้สึกถึงความทุกข์ หากจะรู้สึกก็เพียงฉาบฉวย เช่นในขณะหิวหรือกระหาย หรือต้องเจ็บป่วยหรือป่วยไข้เป็นต้น ความทุกข์เหล่านี้เป็นแต่เพียงชั่วคราว รู้สึกชั่วขณะแล้วก็อาจลืมเสียโดยง่าย ดังจะเห็นได้จากอาการที่เด็กร้องไห้จ้าอยู่ชั่วประเดี๋ยวเดียวแล้วก็กลับหัวเราะได้ทั้งน้าตาเป็นต้น ถัดมาถึงช่วงที่จะต้องละการเล่นที่กำลังเพลิดเพลินอยู่เป็นนิตย์ต้องพรากจากพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายที่ตนกำลังติดอยู่ เพราะความเอาอกเอาใจของท่านเหล่านั้นไปเข้าโรงเรียน
แม้เป็นการชั่วคราววันไม่กี่ชั่วโมง แต่ในชั้นต้นเด็กย่อมรู้สึกถึงความทุกข์อย่างใหม่ๆ แปลกๆ ขึ้นอีก แต่เขาหารู้สึกไม่ว่าบัดนี้เขาได้เริ่มงานอันจะเป็นอุปการะยิ่งใหญ่การเป็นอยู่ในการข้างหน้าของเขาแล้ว เขาได้พบปะเกี่ยวข้องกับคนมาขึ้น ได้แก่ครูบาอาจารย์กับเพื่อนฝูงร่วมโรงเรียนร่วมสำนัก นับว่าหนทางของเขาเริ่มขยายกว้างออกแล้ว ช่วงแห่งการศึกษาเล่าเรียนก็หนักขึ้นโดยลำดับ และเขาได้พบเห็นอุปสรรคเครื่องขัดข้องต่างๆ มากขึ้น ซึ่งพอจะรวมความได้ว่า เขาได้ประสบความทุกข์มากขึ้นโดยลำดับ ระยะนี้ร่างการจิตใจของเขากำลังเจริญขึ้น เขาเพลิดเพลินอยู่กับการเล่นสนุกสนาน จึงไม่เล็งเห็นโลกในแง่แห่งความทุกข์
ต่อจากนั้นถึงเวลาที่เขาเริ่มประกอบการงานเพื่อเป็นอาชีพเลี้ยงตน เลี้ยงคนที่ควรเลี้ยง มีมารดา บิดา บุตร ภรรยา เป็นต้น สงเคราะห์ญาติมิตรสหาย บำรุงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งล้วนเป็นหน้าที่ที่จะต้องสงเคราะห์ต้องบำรุง ระยะนี้เป็นระยะที่ร่างกายและจิตใจเจริญเต็มที่ ชีวิตย่างเข้าสู่มัชฌิมวัย ถึงความเป็นผู้ใหญ่ เป็นช่วงเวลาของการงาน ของการรับผิดชอบ ของความหนักใจและความกังวลต่างๆ ความสนุกสนานต่างๆ ที่เคยเพลิดเพลินในปฐมวัยมาถึงวัยนี้ก็ซาไป ช่วงแห่การงานและความกังวลนี้ยาวตลอดมัชฌิมวัย หรือล้ำเข้าไปในมัชฌิมวัย แต่ในปัจฉิวัยนั้นร่างกายและจิตใจเริ่มเสื่อมทรุด การงานที่เคยขยันขันแข็งในวัยมัชฌิมวัย มาถึงวัยนี้ก็อ่อนลงไปไม่อดทนต่อความทุกข์และความกังวลเหมือนแต่ก่อน เป็นวัยที่ต้องการความสงบ เป็นช่วงที่มีโรคภัยไข้เจ็บ และเมื่อสุดช่วงนี้แล้วก็ถึงอายยุขัย ซึ่งผู้ใดดำรงชีวิตได้ก็นับว่าเป็นบุญหนักหนามีอยู่มากเดียวที่ต้องสิ้นชีวิตก่อนอายุขัย
ที่ได้บรรยายชีวิตของบุคคลตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุดเช่นนี้ ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นแนวทางแห่งชีวิตโดยกว้างขวางจะได้อุตสาหะประกอบกิจอันเป็นหน้าที่ของตน อดทนต่อความทุกข์ความกังวลทั้งหลายที่จำเป็นต้องผ่านในวัยนั้นๆ แต่เท่าที่กล่าวมาแล้ว เป็นเพียงแนวทาง ยังหาได้พรรณนาหน้าที่นั้นๆ โดยละเอียดไม่ ถ้าพรรณนาหน้าที่ของคนทุกอย่างก็จะไม่รู้จบรู้สิ้น และไม่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ เพราะฉะนั้นในที่นี้จะพรรณนาเฉพาะอย่างหนึ่ง คือหน้าที่ระหว่างสามีกับภรรยาที่พึงสงเคราะห์แก่กันและกันโดยย่อเท่านั้น
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 08 พ.ค.2006, 10:42 am
กุลบุตร กุลธิดา เมื่อมีอายุถึงปลายปฐมวัย หรือย่างเข้าสู่มัชฌิมวัย สมควรเป็นผู้ใหญ่มีเชื้อสายสืบวงศ์สกุลได้แล้ว บิดามารดาหรือผู้หลักผู้ใหญ่ย่อมใผ่ฝันที่จะจัดแจงให้ออกเหย้าแออกเรือน มีภรรยาหรือสามีตามประเพณีนิยมมารดาบิดให้สงเคราะห์บุตรธิดาให้มีศีลมีธรรมอันงาม และมีการศึกษาที่ดีแล้ว มาถึงตอนนี้ย่อมมีหน้าที่ที่จะต้องสงเคราะห์บุตรธิดาให้ได้ภรรยาหรือสามีที่มีศีลธรรมอันดีงามสมควรกัน
อันกุลบุตรกุลธิดา ผู้มีศีลธรรมอันงาม เมื่อไปได้ภรรยาหรือสามีที่เป็นคนไม่มีศีลไม่มีธรรม ก็เหมือนเทวดาไปอยู่ร่วมกับซากศพ ไม่สมควรเลย ถ้าได้ภรรยาหรือสามีที่มีศีลธรรมเสมอกัน ก็เหมือนเทวดาอยู่ร่วมกับเทวดา อนึ่งถ้าหากคู่สามีภรรยาหวังที่จะครองชีวิตด้วยความสุขในชาตินี้และพบกันอีกในชาติหน้า ก็ต้องเป็นผู้มีศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญาเสมอกันจึงจะสมหวัง
สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสสรรเสริญคู่สามีภรรยาที่สมควรแก่กันไว้ว่า ทั้งคู่มีศรัทธา รู้ถ้อยคำเสงี่ยมเจียมตนเลี้ยงโดยชอบธรรม คู่ผัวเมียนั้นเป็นผู้กล่าววาจาที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมเป็นผู้มีประโยชน์ มีความเจริญยิ่งนัก ความผาสุกย่อมบังเกิดปรากฏขึ้นตามกันกุลบุตรเมื่อได้ภรรยาแล้ว ก็มีหน้าที่ที่จะต้องสงเคราะห์ภรรยาของตนกุลธิดาเมื่อได้สามีแล้ว ก็มีหน้าที่ที่จะต้องอนุเคราะห์สามีของตนเช่นเดียวกัน หน้าที่ที่ทั้งสองจะพึงกระทำแก่กันและกันนั้น สมเด็จพระบรมศาสดาได้แสดงแก่สิงคาลกมาณพมีความว่า สามีพึงบำรุงภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังด้วยสถาน ๕ อย่างคือ
ด้วยการยกย่อง
ด้วยการไม่ดูหมิ่น
ด้วยการไม่ประพฤตินอกใจ
ด้วยการมอบความเป็นใหญ่ให้
ด้วยการให้เครื่องแต่งตัว
ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง อันสามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ อย่างแล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ อย่างคือ
ย่อมจัดการงานบ้านให้เรียบร้อย
ย่อมสงเคราะห์ญาติมิตรของสามีด้วยดี
ย่อมไม่ประพฤตินอกใจสามี
ย่อมรักษาทรัพย์สมบัติที่สามีหามาได
ย่อมขยันไม่เกียจตร้านในกิจการทั้งปวง
ใน ๖ ที่ทรงแสดงแก่สิงคาลกมาณพ คือ
ทิศเบื้องหน้า ได้แก่บิดามารดาย
ทิศเบื้องขวา ได้แก่ครูอาจารย์
ทิศเบื้องหลัง ได้แก่บุตรภรรยา
ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่มิตรสหาย
ทิศเบื้องล่าง ได้แก่บ่าวไพร่
ทิศเบื้องบน ได้แก่สมณพราหมณ์
ที่ตรัสว่า ภรรยาผู้อันสามีบำรุงด้วยสถาน ๕ อย่างนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ อย่านั้น ดูเหมือนจะทรงแสดงว่า สถาน ๕ อย่างอันเป็นหน้าที่ของภรรยานั้น เป็นผลแห่งการบำรุงสามี คือภรรยาจะกระทำต่อเมื่อได้รับการบำรุงจากสามีแล้ว แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ หน้าที่เหล่านั้นทั้งสองฝ่ายต่างจะต้องทำพร้อมกันไปไม่ต้องรอให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดกระทำก่อน ทางที่ดีควรรีบกระทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด โดยไม่พักต้องคำนึงถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะกระทำหน้าที่ของเขาหรือไม่ ในบาลีพระสูตรนี้ที่ทรงแสดงหน้าที่ของสามีก่อน แล้วจึงทรงแสดงหน้าที่ภรรยา โดยอาการประหนึ่งว่าเป็นผลแห่งการกระทำหน้าที่ของสามีนั้น ก็เพราะทรงแสดงแก่สิคาลกมาณพผู้เป็นบุรุษจึงมุ่งแสดงหน้าที่ของสามีเป็นสำคัญ แต่ถ้าผู้รับพระโอวาทเป็นสตรี พระองค์ย่อมทรงมุ่งแสดงหน้าที่ของภรรยาเป็นสำคัญอย่างเดียว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 08 พ.ค.2006, 10:46 am
ขอสาธกด้วยพระสูตรหนึ่งในปัญจกังคุตตระ แสดงโดยย่อว่า อุคคหเศรษฐี ผู้เป็นน้องแห่ง เมณฑกเศรษฐี กระทำมงคลเพื่อส่งนางกุมารีหลายคนไปสู่สกุลสามี ได้อาราธนาพระพุทธเจ้ากับพระภิกษุรวมเป็น ๔ องค์ด้วยกัน ไปรับภัตตาหารในนิเวศน์ของตน ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้ว อุคคหเศรษฐีได้กราบทูลขอให้ประทานพระโอวาทแก่เหล่านางกุมารีที่จะส่งไปสู่สกุลสามี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสอนกุมารีเหล่านั้นว่า กุมารีทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า "มารดาบิดาผู้ปรารถนาประโยชน์ หวังเกื้อกูลอนุเคราะห์ด้วยความเอ็นดู ยกให้สามีใด เราทั้งหลายจักตื่นก่อน นอนทีหลังสามีนั้น คอยรับใช้ปฏิบัติให้เป็นที่พอใจเขา พูดคำไพเราะต่อเขา" เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่านี้ว่า "ชนเหล่าใดเป็นที่เคารพของสามี คือ บิดา มารดา หรือสมณพราหมณ์ เราทั้งหลายจักสักการะ เคารพนับถือบูชาชนเหล่านั้น และต้อนรับท่านเหล่านั้นผู้มาถึงแล้วด้วยอาสระและน้ำ" เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า "การงานเหล่าใดเป็นการงานในบ้านของสามี คือการทำผ้าขนสัตว์หรือผ้าฝ้าย เราทั้งหลายจักขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานเหล่านั้น จักประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา อันเป็นอุบายในการงานเหล่านั้น สามารถทำได้" เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า "เราทั้งหลายจักรู้การงานในปกครองภายในบ้านสามี คือ ทาส คนใช้ หรือกรรมกร ว่าทำแล้วหรือยังไม่ได้ทำ จักรู้อาการของคนเหล่านั้นที่เป็นไข้ ว่าดีขึ้นหรือทรุดลง แลจักแบ่งปันของกินของใช้ตามส่วนที่ควร" เธอทั้งหลายพึงหลายพึงสำเหนียกอย่างนั้นแล
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า "เราทั้งหลายจักรักษาคุ้มครองสิ่งที่สามีหามาได้ จะเป็นทรัพย์ ข้าง เงิน หรือทองก็ตาม จักไม่เป็นนักเลงการพนัน ไม่เป็นขโมย ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ" เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
กุมารีทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นนิมมานรดี
มีเรื่องในบาลีว่า ท้าวสักกเทวราชมีพระราชประสงค์จะเสด็จพระราชอุทยาน ขณะที่เสด็จลงจากเวชยันตปราสาทย่อมย่อมทรงทำอัญชลีนอบน้อมทิศทั้งสิบ พระมาตลีเทพบุตรเห็นพระอาการดังนั้น จึงทูลถามเป็นใจความว่า พระองค์ทรงนอบน้อมใคร ท้าวเธอเมื่อจะตรัสบอกมาตลี จึงตรัสพระคาถามีความว่า ดูกรมาตลี คฤหัสถ์เหล่ามดเป็นผู้การทำบุญ มีศีลเป็นอุบาสกพอเลี้ยงภรรยาโดยธรรม เรานอบน้อมคฤหัสถ์เหล่านั้น พระมาตลีได้ตรัสพระราชดำรัสเช่นนั้นแล้วเมื่อจะนอบน้อมแก่คฤหัสถ์เหล่านั้นบ้าง จึงได้กล่าวคาถามีใจความว่า ข้าแต่พระวาสพผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงนอบน้อมชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นนับว่าเป็นผู้ประเสริฐในโลกโดยแท้ แม้ข้าพระองค์ก็ขอนอบน้อมชนเหล่านั้นที่พระองค์ทรงนอบน้อมอยู่ดังนี้ ฝ่ายกุลธิดาผู้เอาใจใส่อนุเคราะห์สามีโดยสถาน ๕ อย่างดังได้แสดงมาแล้วนั้น ก็ได้ชื่อว่าประพฤติธรรมของภรรยา ย่อมจะได้ความสุข อันเกิดแค่ความยกย่องนับถือ ความซื่อตรง และเมตตาปรานีของสามี และยังจะได้รับการยกย่องสรรเสริญของประชุมชนที่จะได้ผลต่อไปในชาติหน้า
เมื่อสามีภรรยาต่างประพฤติธรรมของตนอยู่เช่นนี้ ก็จะอยู่ด้วยกันโดยมีความสุข สมกับคำสรรเสริญว่า เทวดาอยู่ร่วมกับเทวดา ทั้งคู่มีธรรมเสมอกันต่างจะไม่มีความเกินแหนงแคลงใจ ในกันและกันในชาตินี้ หากจะมีความปรารถนาที่จะได้กันอีกในชาติหน้า ก็คงสมปรารถนาไม่ต้องสงสัย สมด้วยพุทธภาษิตที่ตรัสแก่บิดามารดาของนกุลมาณพ ความว่า ดูกรคหบดีทั้งหลาย ถ้าคู่สามีภรรยาหวังที่จะเห็นกันในทิฏฐธรรม(ปัจจุบัน) และที่จะพบกันในสัมปรายภพไซร้ ทั้งคู่พึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลธรรมกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน เขาเหล่านั้นย่อมจะเห็นกันในทิฏฐธรรม และย่อมจะพบกันในสัมปรายภพดังนี้คู่สามีภรรยานั้น ชื่อว่าอยู่เป็นสุขตามโลกียวิสัย เป็นผลแห่งความประพฤติธรรมดังกล่าวมา สมด้วยสุภาษิตที่ตั้งเป็นกระทู้ข้างต้นว่า ธมฺมจารี สขํ เสติ ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขด้วยปประการฉะนี้
คัคลอกจาก...หนังสือกฎแห่งกรรม เล่ม 18
วัดอัมพวัน อ. พรหมบุรี จ. สิงห์บุรี
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
http://www.jarun.org
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th