Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ศีลเป็นเสมือนรั้วกันความชั่ว อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 21 เม.ย.2006, 6:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การักษาศีลเป็นที่รู้สึกกันโดยมากว่า
เหมือนเป็นการสร้างรั้วล้อมตนเอง
ศีลยิ่งมากข้อ ก็ยิ่งเหมือนรั้วที่แน่นหนาแข็งแรง
และยิ่งมีวงแคบ จะทำอะไรจะไปไหนก็ล้วนแต่มีข้อห้ามทั้งนั้น
เมื่อรู้สึกดังนี้จึงไม่พอใจจะรักษาศีล
ปรารถนาที่จะทำอะไรไปข้างไหนตามความพอใจ
มีเรื่องเล่าในอรรถกถาธรรมบทว่า

ภิกษุรูปหนึ่งรู้สึกว่าวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มีเป็นอันมาก
ไม่อาจที่จะรักษาให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้
มีความเบื่อหน่ายหมดกำลังใจ
พระพุทธเจ้าได้ทรงเรียกภิกษุนั้นไปตรัสถาม
ว่าสามารถจะรักษาเพียงข้อหนึ่งได้หรือไม่
ภิกษุนั้นก็กราบทูลว่า ถ้าเพียงข้อเดียวก็สามารถ
พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า
ถ้าอย่างนั้นก็ให้รักษาจิตของตน
เมื่อสามารถรักษาจิตของตนได้เพียงข้อเดียว
ก็สามารถรักษาข้ออื่นๆได้ทั้งหมด
ภิกษุนั้นได้ปฏิบัติตามพระพุทธโอวาท
ก็สิ้นความอึดอัดรำคาญ
สามารถรักษาพระวินัยให้บริสุทธิ์บริบูรณ์

อันที่จริงจะเปรียบศีลเหมือนอย่างรั้วล้อมก็ได้
แต่หมายความว่าล้อมมิให้ความชั่วเข้ามา
เหมือนอย่างรั้วล้อมบ้านป้องกันโจรผู้ร้าย
และรั้วบ้านนั้นก็มีประตูสำหรับเข้าออก
แม้ตัวบ้านเองก็มีประตูหน้าต่าง
คนโดยปกติก็เข้าออกทางประตู
ถ้าปีนรั้วหรือปีนหน้าต่างเข้าหรือออก
ก็เป็นการผิดปกติ
ศีลก็เช่นเดียวกัน
แม้เป็นข้อห้ามดังศีล ๕ เหมือนอย่างรั้วกั้น
แต่นอกจากที่ห้ามไว้นั้นก็อาจทำได้
เท่ากับมีประตูสำหรับเข้าออกอยู่ด้วยบริบูรณ์
เพราะข้อที่พึงทำมีมาก
จะแสดงไว้ก็คงไม่หมด
จึงได้แสดงไว้แต่ข้อห้ามที่มีเพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น
เมื่อเข้าใจดังนี้ ก็เข้าใจต่อไปได้ว่า
ผู้ที่เว้นจากข้อห้าม
ทำในข้อที่ท่านไม่ห้าม
เรียกได้ว่าเป็นคนปกติ
เหมือนอย่างเข้าออกทางประตูโดยปกติ
เป็นอันเข้าใจความหมายของศีลโดยตรง


คัดลอกจาก...ชุดความร่วมรู้เรื่องพระพุทธศาสนา
ศีลในพระพุทธศาสนา
พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ต้นหญ้า
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 เม.ย.2006, 8:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



1412_1140962021.gif


เข้ามาสาธุ ค่ะคุณลูกโป่ง
 
I am
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 เม.ย.2006, 9:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โมทนาครับ สาธุ..
 
ข้าน้อย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 เม.ย.2006, 3:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



3334-6.gif


สาธุครับคุณลูกโป่ง
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง