Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
เจริญวัย-เสื่อมไป...หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 04 เม.ย.2006, 11:02 am
มีคำอยู่คำหนึ่ง คือคำว่า เจริญวัย
ซึ่งตามความเข้าใจของคนทั่วไปหมายถึง วัยเจริญขึ้น
โดยมุ่งทางความพัฒนาทางด้านร่างกาย
แต่ความจริงแล้ว คำว่าวัย เป็นภาษาบาลี แปลว่า เสื่อมไป
เจริญวัย จึงหมายถึงว่า ความเสื่อมเจริญ ความเสื่อมเพิ่มขึ้น
ซึ่งปีใหม่นั้นก็เกี่ยวข้องกับวัยหรืออายุของคนเรา
เพราะทำให้คนเรามีอายุหรือวัยเพิ่มขึ้นตามปีที่เปลี่ยนไป
ชีวิตของคนแบ่งออกเป็น ๓ ระยะ
คือ ระยะต้น ระยะกลาง และระยะสุดท้าย
๑.ระยะต้นของชีวิต เรียกว่า ปฐมวัย นับตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ ๒๕ ปี
๒.ระยะกลางของชีวิต เรียกว่า มัชฌิมวัย นับตั้งแต่อายุ ๒๖ ถึง ๕๐ ปี
๓.ระยะสุดท้ายของชีวิต เรียกว่า ปัจฉิมวัย นับตั้งแต่ ๕๑ ปีขึ้นไป
นักปราชญ์ท่านสอนคนเราให้พยายาม
สร้างประโยชน์ตามวัยทั้ง ๓ ดังต่อไปนี้
๑. ปฐมวัย ให้รีบเร่งศึกษาหาความรู้ใส่ตัว
บอกให้ลูกเรียนหนังสือ วัยปฐมนี้สำคัญมาก
๒. มัชฌิมวัย ให้เร่งก่อสร้างตัว และสร้างฐานะเป็นหลักฐาน
๓.ปัจฉิมวัย ให้เร่งสร้างคุณงามความดี คือทำบุญไว้
เพื่อเป็นเสบียงเครื่องเดินทางต่อไปของตน
และเป็นตัวอย่างแก่อนุชนคนรุ่นหลัง
คนที่ไม่ได้สร้างประโยชน์ตามวัย
ย่อมเสียใจและเสียดายเมื่อผ่านพันวัยนั้นๆ แล้ว
เช่น เป็นเด็กไม่สนใจการศึกษาเล่าเรียน
เมื่อโตขึ้นไม่มีวิชาความรู้เป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตแล้ว
ยามที่มีกำลังไม่รีบเร่งสร้างฐานะ
เมื่อหมดกำลังแล้วย่อมเป็นคนอนาถา คือไม่มีที่พึ่ง
ถึงวัยใกล้ตายควรรีบเร่งทำบุญ แต่กลับมาประมาทมัวเมาในเรื่องอื่นเสีย
จะต้องโศกเศร้าสงสารตัวเองเมื่อจะสิ้นชีวิต
ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่เราจะเรียกว่าปีเก่า ก็กำลังจะผ่านพ้นไปแล้ว
ก่อนจะถึงปี พ.ศ.๒๕๔๑ ที่เราจะเรียกว่าปีใหม่นั้น
ขอท่านสาธุชนทั้งหลายลองมาพิจารณาตัวเองว่าปีที่ผ่านมา
ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันบ้าง โดยเฉพาะให้พิจารณาตัวเองว่า
ได้เป็นมนุษย์จำพวกไหน ๕ จำพวก
ที่อาตมาได้กล่าวมาแล้วหลายครั้ง
๑.มนุสฺสเปโต ได้แก่ มนุษย์เปรต
หมายถึง คนที่มีร่างกายพิกลพิการมีอาการไม่ครบ ๓๒
ต้องขอทานเลี้ยงชีวิต เป็นอยู่ลำบากและอด ๆ อยาก ๆ
ซึ่งคล้ายกับลักษณะและความเป็นอยู่ของเปรต
๒.มนุสฺสติรจฺฉาโน ได้แก่ มนุษย์ดิรัจฉาน
หมายถึง คนที่มีร่างกายสมประกอบ
มีอาการครบ ๓๒ มีกำลังเรี่ยวแรง สติปัญญา
แต่ไม่ทำการงานเลี้ยงชีพเอง
คอยแต่อาศัยผู้อื่นกินไปวัน ๆ
มีพฤติกรรมเหมือนสัตว์เลี้ยง
๓.มนุสฺสเนรยิโก ได้แก่ มนุษย์สัตว์นรก
หมายถึง คนที่มีความประพฤติหยาบช้า
กระทำการทารุณเบียดเบียนฆ่าฟันผู้อื่น
หากินโดยโจรกรรม ฉ้อสงฆ์ บังศาสน์
ฉ้อราษฎร์ บังหลวง
ประกอบอาชีพไม่สุจริต
จนในที่สุดต้องติดคุกติดตะรางเหมือนสัตว์นรก
๔.มนุสฺสภูโต ได้แก่ มนุษย์แท้
หมายถึง คนที่มีความประพฤติดีงาม
รักษาศีล ๕ โดยเคร่งครัด
ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนและคนอื่น
๕.มนุสฺสเทโว ได้แก่ มนุษย์เทวดา
หมายถึง คนที่มีความประพฤติดีเยี่ยม
มีหิริ คือความละอายต่อบาป
โอตตัปปะ คือความเกรงกลัวต่อบาป
ทั้งมีนิสัยบำเพ็ญทาน รักษาศีล
และเจริญภาวนาประพฤติตนดีเลิศคล้ายเทวดา
เมื่อได้พิจารณาดูตัวเองในรอบปีที่ผ่านมา
ว่าตนเองเป็นมนุษย์จำพวกไหน
ถ้าเป็นจำพวกที่ไม่ดีก็พยายามเร่งสร้างคุณงามความดี
ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ ซึ่งแปลว่าผู้มีใจสูง
คือ สูงด้วยคุณธรรม แต่หลายคนอาจจะนึกน้อยใจ
ว่าในรอบปีที่ผ่านมาตนเองได้พยายามทำแต่ความดี
แต่ทำไมจึงไม่ได้รับผลแห่งความดี
ที่จนก็ยังจนอยู่เหมือนเดิม ชีวิตไม่มีอะไรดีขึ้น
ถึงกับบางคนต้องพูดว่า "ทำดีได้ดี มีที่ไหน ทำชั่วได้ดี มีถมไป"
การทำดีที่จะให้ได้รับผลของความดีตอบแทนนั้น
ต้องประกอบด้วยเหตุ ๔ ประการ
คือ ๑. ทำดีให้ถูกเวลา
๒.ทำดีให้ถูกสถานที่
๓.ทำดีให้ถูกบุคคล
๔. ทำดีให้ติดต่อกันเสมอต้นเสมอปลาย
คนที่ทำดีแล้วไม่ได้ดีนั้น ส่วนมากทำกันผิดหลัก
เพราะทำดีไม่ถูกเวลาบ้าง ทำดีไม่ถูกสถานที่บ้าง
ทำดีไม่ถูกบุคคลบ้าง และทำดีไม่ติดต่อกัน
เมื่อไม่ได้รับผลของความดีสมความมุ่งหมาย จึงเสียใจน้อยใจ
ถึงกับบ่นตาม ๆ กันว่า "ทำดีแล้วไม่ได้ดี"
ก็ขอให้พิจารณาถึงการกระทำของตนเองก่อนว่า
ที่ตนทำดีแล้วนั้น ถูกต้องตามหลักการทำความดี ๔ ประการหรือไม่
ไม่ว่าท่านจะอยู่ในวัยไหน เป็นมนุษย์จำพวกไหน
ได้ทำดีแล้วหรือยังก็ตาม
ข้อคิดที่อยากจะฝากไว้เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๔๑ นี้
เป็นข้อคิดอันดับสุดท้ายก็คือ ข้อที่บุคคลควรพิจารณาอยู่เสมอ
พิจารณาอยู่บ่อย ๆ เพื่อทำใจให้ยอมรับความจริง
ที่มีอยู่ตามธรรมชาติที่ภาษาพระท่านเรียกว่า
อภิณหปัจจเวกขณะ มี ๕ คือ
๑.ควรพิจารณาทุก ๆ วันว่า
เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
๒.ควรพิจารณาทุก ๆ วันว่า
เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้
๓.ควรพิจารณาทุก ๆ วันว่า
เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
๔.ควรพิจารณาทุก ๆ วันว่า
เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕.ควรพิจารณาทุก ๆ วันว่า
เรามีกรรมเป็นของตัวเอง เราทำดีก็จะได้ดี ทำชั่วก็จะได้ชั่ว
I am
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 04 เม.ย.2006, 11:23 am
สาธุครับ...
ข้าน้อย
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 04 เม.ย.2006, 12:43 pm
สาธุครับ
ทำดีให้ตลอดสมวัยที่เจริญ และเหมาะสมตามกาล อ่านแล้วดีมากๆครับ ขอบพระคุณครับ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th