Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อาหารที่ทานเหลือแล้วให้กับคน, แมว, สุนัข จะบาปไหมคะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
อยากรู้จริง ๆ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 มี.ค.2006, 7:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าทานอาหารแล้วเหลือ ซึ่งจะทิ้งก็เสียดาย เลยคิดจะให้กับรปภ.บ้าง แมวบ้าง หรือสุนัขบ้าง จะเป็นการบาปไหมคะ
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 06 มี.ค.2006, 12:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบสวัสดี คุณอยากรู้จริงๆ

ถ้าจะให้รปภ. ก็ควรแบ่งอาหารให้ก่อนที่เราจะทานเหลือ เพราะรปภ.ก็คือมนุษย์คนนึง เราทำอาหารหรือซื้ออาหารหากคิดแบ่งปันแก่มนุษย์ด้วยกันก็ควรเผื่อแผ่ด้วยจิตเมตตา หากทำหรือซื้อและบริโภคพอประมาณก็ไม่เป็นไร ทำและซื้อมาเผื่อด้วยว่าเป็นมนุษย์ร่วมโลกที่อยู่ในสังคมที่พึ่งพาอาศัยกันเท่านี้จิตใจเราก็เป็นสุข

สำหรับแมวและสุนัข หากเราทานเผ็ด ก็อย่าเทรวมอาหารเผ็ดให้แมวและสุนัขทานเลย เพราะเค้าก็ชีวิต เราก็ชีวิต เราชอบเผ็ด แต่แมวและสุนัขอาจจะรับอาหารอย่างที่เราชอบเผ็ดๆไม่ได้ หากเป็นเศษอาหารก็ดูพอสมควรที่แมวและสุนัขจะรับได้ แต่ถ้าไม่เหนือบ่ากว่าแรงก็ซื้ออาหารมาทานอย่างที่แมวและสุนัขทานได้โดยไม่ทรมานท้องหรือเสียสุขภาพของขนของเค้าก็จะเป็นบุญ

เจริญในธรรม

มณี ปัทมะ ตารา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
I am
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 มี.ค.2006, 12:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องของทาสทาน , สหายทาน , สามีทาน
โดยหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ทานสามประเภทที่กล่าวถึงนี้คือ ทาสทาน , สหายทาน , สามีทาน
ทาสทานหมายความว่า การให้ของที่เลวกว่าที่เรากินหรือของที่เลวกว่าที่เราใช้
สหายทานหมายความว่าการให้ของเสมอที่เรากินอยู่หรือที่เราใช้อยู่
สามีทานหมายความว่าการให้ของที่ดีกว่าที่เรากินที่เราใช้อยู่

ถ้าจะถามว่า ทาสทานมีอานิสงส์ไหม ก็ต้องดูตัวอย่าง ท่านอาฬวีเศรษฐี เป็นมหาเศรษฐีมีทรัพย์ แปดสิบโกฏิ พระราชาตั้งเป็นมหาเศรษฐี แต่ว่าผ้าที่แกนุ่งนี่ ผ้าใหม่แกนุ่งไม่ได้ นุ่งผ้าที่ใกล้จะขาดแกจึงนุ่งได้ ข้าวที่จะกินเม็ดสวยๆก็กินไม่ได้ ต้องกินข้าวหักหรือปลายข้าวจึงจะกินได้ ของทุกอย่างที่แกใช้ทุกอย่างต้องเป็นของเลว แต่อย่าลืมว่า เขาก็เป็นมหาเศรษฐีได้ การตั้งใจว่าจะใส่บาตรด้วยของดีๆน่ะดี แต่ว่าวันไหน มีอาหารที่เราคิดว่าไม่ดีก็ใส่บาตรได้

การให้ทานพระพุทธเจ้าบอกว่า อย่าให้เบียดเบียนตัวเอง ถ้าเบียดเบียนตัวเองเป็น อัตตกิลมถานุโยค เป็นการทรมานตัวเอง และการให้ทานพระพุทธเจ้าให้ดูอีกว่า ควรให้หรือไม่ควรให้ ให้แล้วไปกินเหล้าเมายา ไปสร้างอันตรายให้กับคนอื่น เราไม่ให้ดีกว่าเป็นการต่อเท้าให้โจรให้พลังแก่โจร เวลาจะให้ท่านวางกฎไว้ดังนี้
๑.ผู้ให้บริสุทธิ์
๒.ผู้รับบริสุทธิ์
๓.วัตถุทานบริสุทธิ์
ถ้าผู้ให้บริสุทธิ์ ผู้รับบริสุทธิ์ วัตถุทานไม่บริสุทธิ์ ความดีก็ลดน้อยลง
แต่ถ้าผู้ให้บริสุทธิ์ ผู้รับไม่บริสุทธิ์ วัตถุทานไม่บริสุทธิ์ ให้บาทหนึ่งจะได้สักสตางค์หรือเปล่าก็ไม่รู้ รวมความว่าต้องบริสุทธิ์ทั้ง๓อย่าง ถ้าลดไปอย่างใดอย่างหนึ่ง อานิสงส์ก็ลดตัวลงมา
แต่ว่าการให้ทาน พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้อีกประเภทหนึ่ง ต้องให้ครบ ๓ กาล จึงจะมีอานิสงส์สูง

มีเรื่องเล่าว่าในสมัยหนึ่ง เมื่อท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีจนลง เพราะเคราะห์กรรมบางอย่างทำลายท่าน เงินที่เขากู้ไปก็ถูกโกง คนที่อยู่ภายในบ้านก็ขโมยของ ทรัพย์ที่ฝังไว้ชายทะเล ชายแม่น้ำ แผ่นดินก็พังทรัพย์จมไปหมด ท่านจนขนาดข้าวเป็นเม็ดแทบไม่มีกิน ต้องกินปลายข้าว แต่ว่าศรัทธาท่านยังไม่ถอย ท่านนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ ไปฉันภัตตาหารที่บ้าน ท่านเอาปลายข้าวละเอียด เรียกว่าข้าวปลายเกรียนต้ม แล้วก็เอาน้ำผักดองเปรี้ยวๆเค็มๆทำเป็นกับมาถวาย
พระพุทธเจ้าก็เสวยแบบนี้เหมือนกัน เวลาที่พระพุทธเจ้าเสวยอยู่ท่านก็นั่งอยู่ใกล้ๆกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า “เวลานี้ทานของข้าพระพุทธเจ้าเศร้าหมอง พระพุทธเจ้าข้า”
พระพุทธเจ้าถามว่า “ เธอมีเจตนายังไง.... ก่อนจะให้เธอมีความรู้สึกยังไง...”
ท่านจึงบอกว่า “ก่อนจะให้เต็มใจพร้อมเสมอ เตรียมใจไว้ก่อนแล้ว”
พระพุทธเจ้าก็ถามว่า “ในขณะที่ให้เธอมีความรู้สึกยังไง”
ท่านก็บอกว่า “ในขณะที่ให้ก็มีความรู้สึกปลื้มใจพระพุทธเจ้าข้า”
พระพุทธเจ้าก็ถามว่า “เมื่อให้แล้ว เป็นยังไง...”
ท่านก็บอกว่า “ให้แล้วเกิดความเลื่อมใส ดีใจว่าให้แล้ว”
พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงตรัสว่า “ดูก่อนมหาเศรษฐี ลูขัง วา ปะณีตัง วา”
ลูขัง แปลว่า เลว , ปะณีตัง แปลว่า ดี หรือประณีต
ท่านตรัสว่าถ้าคนให้ทานมีเจตนาพร้อมเพียงทั้ง ๓ กาลคือ
๑.ก่อนจะให้ก็ตั้งใจว่าจะให้
๒.ขณะที่ให้ก็ดีใจ
๓.เมื่อให้แล้วเกิดความเลื่อมใส
อย่างนี้ของดีก็ตาม ของเลวก็ตาม ย่อมมีอานิสงส์เลิศ มีอานิสงส์สูง แต่ที่ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีท่านทำนั้น ท่านถวายพระพุทธเจ้า และพระที่ฉันก็เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด นับเป็นยอดของทาน

ถ้าหากว่าเราไม่รู้จะเลือกอย่างไร องค์นี้จะเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ หรือเป็นพระโปเก พระเชียงกง ถ้าไม่รู้ก็ถวายเป็นสังฆทาน มีอานิสงส์สูงมาก รองจากวิหารทาน
พระพุทธเจ้าท่านว่าไว้ตอนหนึ่งบอกว่า สมัยพระพุทธกัสสปท่านเทศน์อย่างนี้คือ
"บุคคลใดทำบุญด้วยตนเอง ไม่ชักชวนคนอื่น ถ้าเกิดในชาติต่อไปจะร่ำรวยโภคสมบัติ แต่ขาดเพื่อน ขาดบริวารสมบัติ "
“ถ้าดีแต่ชักชวนเขาไม่ทำเอง ชาติต่อไป มีเพื่อนมาก แต่ตัวเองจน”
“ ถ้าทำบุญด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นด้วย รวยด้วย มีพรรคพวกมากด้วย”

นี่ท่านเทศน์แบบนี้นะ “ถ้าเราทำคนเดียวได้ก็ทำ ทีนี้ถ้าเราชวนเขาด้วย แต่ว่าการชวนนี่ก็ลำบากนะ ถ้าเราชวนเขาด้วยก็อย่าหวังว่าเขาจะให้เรานะ คิดว่าเขาให้หรือไม่ให้ก็เป็นเรื่องของเขา คือแนะนำเขาว่าเราทำโน่นทำนี่ จะทำบุญร่วมไหม....ถ้าบังเอิญเขาไม่ทำร่วมด้วยก็อย่าไปโกรธ เราถือว่าเราชวนเขาทำความดี ถ้าเราโกรธเขาเข้า บุญเราจะด้อยลงไปเพราะตัวโกรธเข้ามาตัด”

http://www.palungjit.com/board/showthread.php?t=9066
 
neoman
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 26 ก.พ. 2006
ตอบ: 64

ตอบตอบเมื่อ: 10 มี.ค.2006, 12:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จะบาปได้อย่างไร. ? เพราะเราให้ด้วยจิตอนุเคราะห์ ให้ด้วยจิตเมตตา

แต่วัตถุทานที่ให้ เป็นเดนแล้ว (ทานเหลือ)
ดังนั้น ในอนาคต เวลาที่กรรมนี้ส่งผล เราก็จะได้วัตถุที่เป็นเดนเช่นกันครับ

ถ้าเป็นเดน แต่ยังมีสภาพดี ประณีตอยู่ ก็ไม่เห็นเป็นไร ...นิ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ความสุขหรือความทุกข์ อยู่ใจเราจะคิดเอา ถ้าคิดว่าสุขก็สุข ถ้าคิดว่าทุกข์ก็ทุกข์.
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
รักษ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 มี.ค.2006, 6:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กฏเกณฑ์ของสังคมภายนอกทุกวันนี้ช่างซับซ้อน สับสนมากเหลือเกินแล้ว จนทำให้ชีวิตเราเองก็รู้สึกซับซ้อน สับสนตาม บางครั้งก็ทำอะไรที่ทำให้เราสบายใจบ้างก็ไม่ต้องกังวลมากเกินไป โดยเฉพาะใจของเราเอง จิตใจเราควรมีอิสระบ้าง อิสระจากกฏเกณฑ์ใดๆบ้าง...ทำผิดบ้าง ถูกบ้าง จะได้บุญบ้าง บาปบ้าง ก็ช่างมันบ้าง...

ไม่ทราบว่ามีเศษแบงค์พันเหลือใช้สักปึกสองปึกบ้างมัยคร๊าบ.... : )
 
แสนดี
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 มี.ค.2006, 10:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แค่คิดจะให้ก็ได้แล้วบุญ
ผลของกรรมย่อมอยู่ที่เจตนาและการกระทำ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง