Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สันโดษ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.พ.2006, 9:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สันโดษ
โดย อาจารย์วิรัช ถิรพันธุ์เมธี


สันโดษ เป็นธรรมะข้อหนึ่งในพระพุทธศาสนา และรู้สึกว่าจะเป็นที่รังเกียจของคนไม่น้อยเลยทีเดียว โดยกล่าวหาว่าสันโดษทำให้คนงอมืองอเท้า, ทำให้คนยากจน, ขัดขวางการพัฒนา ฯลฯ

เหตุที่คน (บางคน) รังเกียจสันโดษ ก็เพราะสันโดษไปคล้ายคลึงกับ "ความมักน้อย" เข้าเท่านั้นเอง แล้วก็โมเมหรือสำคัญผิดคิดเอาว่า สันโดษคือมักน้อย หรือสันโดษกับมักน้อยเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งแท้ที่จริง สันโดษกับมักน้อย เป็นธรรมะคนละข้อคนละเรื่อง

เหมือนกับคำว่า "ทิวาราตรี" เรานำคำสอนคำนี้มาพูดหรือเรียกรวมกันแต่มิได้หมายความว่า ทิวาราตรี เป็นสิ่งเดียวกัน ทิวา แปลว่า กลางวัน ราตรี แปลว่า กลางคืน ซึ่งเป็นคนละเรื่อง ในทำนองเดียวกัน เรื่องสันโดษเรามักจะพูดรวมกันว่า "สันโดษมักน้อย" หรือ มักน้อยสันโดษ ก็เลยเข้าใจว่ามักน้อยเป็นคำแปลของสันโดษ

"สันโดษ" กับ "มักน้อย" เป็นหลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่อยู่ในหมวดเดียวกัน เรียกว่า "กถาวัตถุสิบ" ซึ่งแปลว่าหัวข้อธรรมะว่าด้วยเรื่องต่างๆ 10 ประการคือ

1. อัปปิจฉกถา เรื่องเกี่ยวกับความมักน้อย
2. สันตุฏฐิกถา เรื่องเกี่ยวกับความสันโดษ
ฯลฯ
10. วิมุตติญาณทัศนกถา เรื่องเกี่ยวกับความรู้ที่จะทำให้มองเห็นความพ้นทุกข์ สันโดษกับมักน้อยจึงเปรียบเหมือนคนที่อยู่ในบ้านเดียวกัน แต่มิใช่คนคนเดียวกัน คนที่อยู่บ้านเดียวกันอาจจะมีหน้าตาคล้ายคลึงกัน ส่วนอุปนิสัยใจคอตลอดถึงความประพฤติย่อมจะแตกต่างกันได้ แม้แต่ฝาแฝดสยามคู่แรก อิน-จัน มีหน้าตาคล้ายกัน มีตัวติดกัน แต่ก็ชอบอะไรไม่เหมือนกัน มีเมียยังมีคนละคน ดังนั้น มักน้อยกับสันโดษ เป็นธรรมะที่อยู่ในหมวดเดียวกัน แต่มีจุดมุ่งหมายในการสอนที่แตกต่างกัน

ในที่นี้จะไม่พูดถึงความมักน้อย จะขอเป็นทนายแก้ต่างให้สันโดษที่ถูกกล่าวหาในลักษณะต่างๆ ดังที่กล่าวข้างต้นนั้นเท่านั้น เพื่อให้ท่านที่รังเกียจสันโดษได้เข้าใจสันโดษอย่างถูกต้องแล้วนำสันโดษไปเป็นเครื่องมือพัฒนาคน พัฒนาสังคม สร้างความมั่นคงให้แก่ชาติบ้านเมืองต่อไป

"สันโดษ" แปลตามตัวอักษรว่า ความยินดี หมายถึง ความพอใจหรือเต็มใจหรือรักในสิ่งนั้นๆ ถ้าเขียนตามรูปภาษาบาลีเป็น "สันตุฏฐิ" ถ้าเขียนตามรูปสันสกฤตเป็น "สันโดษ" นำมาใช้ในภาษาไทยเป็น "สันโดษ" เรามิได้แปลบาลีเป็นไทย แต่เราแปลบาลี (สันตุฏฐิ) เป็นสันสกฤต (สันโดษ) เมื่อไม่รู้ว่าสันโดษแปลว่าอะไร ก็เลยไปคว้าเอาตำแปลของธรรมะในข้ออื่น (แต่หมวดเดียวกัน) มาเป็นความหมายของสันโดษจึงทำให้เข้าใจไขว้เขวไปดังกล่าวแล้ว

ความยินดี ตามความหมายของสันโดษนั้นมี 3 ลักษณะ มีความละเอียดอ่อนตามลำดับกันคือ

1. สะเกนะ สันโดษ ยินดีตามมี
2. สะเตนะ สันโดษ ยินดีตามได้
3. สะเมนะ สันโดษ ยินดีตามควร

ถ้าจะให้จำง่ายๆ สันโดษตามพุทธประสงค์นั้นได้แก่ "ยินดีในของที่มี, ที่ได้, และที่ควร" เท่านั้น

ยินดีตามมี หมายความว่า ยินดีกับของที่ตนมีอยู่แล้วคือสิ่งใดที่เป็นของเราอยู่แล้ว เรารักและยินดีในสิ่งนั้น ความยินดีกับของๆ ตนนี่แหละคือ สันโดษข้อแรก และก็ข้อนี้อีกนั่นแหละ ที่ถูกโจมตีมากที่สุดว่า ไม่ดี ทำให้คนไม่คิดก้าวหน้า ทำให้บ้านเมืองไม่เจริญ

ก่อนจะแก้ข้อกล่าวหานี้ ขอให้เราลองพิจารณา คน 2 ประเภทนี้ดูซิว่าเป็นอย่างไร

คนประเภท ก. คนประเภท ข.
คนรักตัว คนไม่รักตัว
คนรักพ่อแม่ของตัว คนไม่รักพ่อแม่ของตัว
คนรักลูกรักคู่ครองของตัว คนไม่รักลูกไม่รักคู่ครองของตัว
คนรักหน้าที่การงานของตัว คนไม่รักหน้าที่การงานของตัว

ขอให้ท่านตอบเองว่าคนประเภท ก. หรือประภท ข. เป็นคนที่ท่านประสงค์ พ่อแม่เป็นสิ่งที่เรามีอยู่แล้ว แต่เราไม่รักไม่ยินดี หรือเรามีลูกมีคู่ครองแล้วแต่ไม่รักไม่ยินดีตามที่ตนมี กลับไปยินดีไปรักลูกหรือคู่ครองคนอื่นๆ มีงานทำมีหน้าที่รับผิดชอบแต่ไม่ยินดี ไปยุ่งกับงานในหน้าที่ของคนอื่นหรือไม่เอาใจใส่งานใดๆ เลย คนอย่างนี้แหละคือคนไม่มีสันโดษตามความหมายประการแรก


ยินดีตามได้ หมายความว่า ยินดีกับส่วนที่เราได้ตามปกติทั่วๆ ไป คนเราแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนในทุกๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการหาเงินทอง หายศหาตำแหน่งหรือหาอะไรๆ ก็ตาม ผู้หาจะต้องมีสิ่งหนึ่งเป็นทุน เป็นตัวกระตุ้นให้แสวงหานั่นคือ ความอยาก ทีนี้ถ้าผลของการแสวงหาได้มาสมส่วนกับความอยาก อยากเท่าใดได้เท่านั้น อยากสิ่งใดได้สิ่งนั้น มันก็สิ้นเรื่อง

แต่ "อยาก"กับ"ได้"มักจะไม่สมส่วนกัน "อยาก" เราทำเอง เราสร้างเอง จะให้มีความอยากมากแค่ไหนก็ได้ "ได้"หรือสิ่งที่ได้นั้นคนอื่นทำ พูดง่ายๆ ก็คือ "อยาก" กับ "ได้" เกิดคนละจุด เดินทางมาคนละทิศเช่น เราอยากจะกินแกงส้มสัก 1 หม้อ แกงส้มจะสำเร็จมาให้เรากินได้ มักมาจากคนอื่น คนปลูกพริก ปลูกผัก คนหาปลา คนเก็บมะขาม คนทำหม้อ ทำเตา เผาถ่าน สิ่งเหล่านี้จะมาพร้อมกันเป็นแกงส้มให้เรากิน จึงยากและช้าการความที่เราอยากกิน ซึ่งเรานึกเอาชั่วพริบตาความอยากก็มีมาแล้ว เมื่ออยากกับได้ไม่สมส่วนกันทำให้เกิดทุกข์เรียกว่า "ทุกข์" เพราะอยากได้ ในการทำงานอื่นๆ ก็เช่นกัน เราทำงานอยากได้เงินเดือนสองขั้น ความอยากนี้ เราอยากด้วยกันทุกคน แต่ผู้สนองความอยากไม่ใช่เรา เป็นคนอื่น ดังนั้น เราตั้งความอยากไว้แล้ว แต่ผลที่ได้มันไม่สมกับความอยาก เราก็พอใจยินดีตามที่เราได้ ถ้าเราไม่ยินดี ก็ทำให้เราอยู่อย่างไม่เป็นสุข โทษโชคชะตาวาสนาบ้าง โทษผู้บังคับบัญชาว่าลำเอียงบ้าง โทษเพื่อนฝูงกลั่นแกล้วบ้าง แล้วเป็นเหตุให้ทำในสิ่งที่ไม่ดีไม่งามได้โดยง่าย นี่แหละคือลักษณะของคนขาดสันโดษข้อที่สอง ถ้ามีคนขาดสันโดษประเภทนี้มากๆ สังคมนั้นจะเจริญหรือเสื่อมกันแน่

ยินดีตามควร หมายความว่า ยินดีตามที่สมควร เป็นสันโดษขั้นที่ประณีตขึ้นไปอีกคือ ถึงแม้สิ่งที่เราได้มาแล้วหรือกำลังจะได้อยู่ก็ตาม ถ้าพิจารณาเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควรก็ไม่ยินดี-ปัญหาจึงมีว่า "สมควรกับไม่สมควร" นั้น มีอะไรเป็นเกณฑ์ ตรงนี้สำคัญ คนส่วนมากมักจะเอาความพอใจของตนเป็นเกณฑ์ ซึ่งก็มักจะเข้าข้างตัวเอง ตัวต้องการสิ่งใดก็คิดว่าสิ่งนั้นสมควรแก่ตน ทำให้เกิดความขัดแย้งกันเสมอ ในทางศาสนาท่านวางหลักเกณฑ์ในการตัดสินไว้ว่า สิ่งที่จะเรียกว่า ควรหรือสมควรนั้น จะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ 3 ประการดังต่อไปนี้

1. ยถาลาภะ สันโดษ ยินดีตามสมควรแก่ฐานะ
2. ยถาพละ สันโดษ ยินดีตามสมควรแก่สมรรถภาพ
3. ยถาสารูปะ สันโดษ ยินดีตามสมควรแก่เกียรติภูมิ

ยินดีตามสมควรแก่ฐานะ หมายความว่า สมควรแก่ฐานะของเรา คือเราต้องนึกว่าเราอยู่ในฐานะอะไร เช่น เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นผู้บังคับบัญชา เป็นผู้ใหญ่บ้าน เป็นลูกบ้าน ฯลฯ รวมความว่า คนเรามีฐานะเหมือนกันบ้างต่างกันบ้าง ลาภผลและยศศักดิ์ต่างๆ ที่จะมีมา บางอย่างมันก็ขึ้นอยู่กับฐานะเช่น โต๊ะนั่งทำงานสำหรับนายอำเภอตัวใหญ่ เก้าอี้บุนวม เสมียนพนักงานอื่นๆ โต๊ะตัวเล็กกว่า เก้าอี้ไม่ธรรมดา หรือค่าเบี้ยเลี้ยงค่าเช่าที่พักในการไปราชการ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งระดับสูงได้มากกว่าผู้ดำรงตำแหน่งต่ำกว่า นี้คือสิ่งที่ควรแก่ฐานะ ฐานะตำแหน่งอย่างเรา ควรจะได้แค่ไหน เราก็ยินดีตามฐานะนั้น

คนที่ขาดสันโดษประเภทนี้ มักจะทำอะไรเกินตัวเข้าลักษณะ "รายได้ต่ำแต่รสนิยมสูง" ฐานะของตนควรยินดีกินข้าวตามร้านข้าวแกงธรรมดา แต่ไปยินดีรสอาหารในภัตตาคารใหญ่มีเสียงเพลงเสียงดนตรี หรือแม้แต่ดื่มเหล้าฐานะของตนควรจะดื่มเหล้าของไทย กลับไปนิยมเหล้าต่างประเทศ คนที่ขาดสันโดษอย่างนี้ ทำให้ชาติเจริญไหม?

ยินดีตามสมควรแก่สมรรถภาพ "ยถาพละ" นั้นแปลตามตัวอักษรว่า "สมควรแก่กำลัง" ซึ่งหมายถึงสมรรถภาพหรือความสามารถของแต่ละบุคคลนั่นเอง อันกำลังหรือสมรรถภาพของคนเราย่อมไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นกำลังกาย กำลังทางสติปัญญาก็ตาม บางคนมีร่างกายแข็งแรง บางคนอ่อนแอ บางคนคล่องแคล่วปฏิภาณดี บางคนอืดอาด เป็นต้น รวมความว่า คนเหมือนกัน เขาก็คนเราก็คน แต่ว่ากำลังความสามารถในตัวคน ไม่เหมือนกัน

ดังนั้น สิ่งที่เราจะได้มันสมควรแก่สมรรถภาพของเราหรือเปล่า เราขุดดินได้วันละ 1 คิว ก็ควรได้ค่าแรงสำหรับดิน 1 คิว ก็ควรได้ค่าแรงสำหรับดิน 1 คิว จะให้ได้ค่าแรงเท่ากับคนที่ขุดได้วันละ 5 คิว ได้อย่างไร และมิได้บังคับว่า ทุกคนขุดวันละ 1 คิวพอ สันโดษมิได้สอนให้ทำงานหย่อนกว่าความสามารถที่มีอยู่ แต่ให้ทำงานเต็มความสามารถของแต่ละบุคคล ให้ยินดีในสิ่งที่ตนควรจะได้ตามความสามารถของตนเท่านั้น สันโดษข้อนี้เป็นการยืนยันว่าไม่ให้เป็นคนงอมืองอเท้า แต่ให้ทำงานหรือแสวงหาผลประโยชน์เต็มที่ ขอแต่เพียงว่าให้ยินดีเท่าที่ตนเองมีความสามารถทำได้เท่านั้น

ยินดีสมควรแก่เกียรติภูมิ คำว่า "ยถาสารูปะ" ถ้าแปลตามตัวอักษรก็ต้องแปลว่า "ตามสมควร" (ยถา = ตาม, สารูปะ = สมควร) ซึ่งหมายถึง เกียรติภูมิ หรือศักดิ์ศรี สิ่งของใดๆ ก็ตาม ถ้าพิจารณาตามฐานะก็ดี พิจารณาตามสมรรถภาพก็ดี เรามีได้ เราทำได้ แต่สิ่งนั้นเมื่อมีหรือทำไปแล้วทำให้เราเสียเกียรติภูมิ เสียชื่อเสียง เสียศักดิ์ศรี เราก็ไม่ควรยินดีในสิ่งเหล่านั้นเช่น ค้าของหนีภาษี หรือฉ้อราษฎร์บังหลวง ถึงแม้เราจะมีฐานะตำแหน่งหน้าที่เอื้ออำนวย มีความสามารถพอที่จะทำได้แต่เราก็ไม่ทำไม่ยินดี เพราะมันไม่สมควรแก่เกียรติภูมิ

เมื่อกล่าวโดยสรุป "สันโดษ" สอนให้คนรักและพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่แล้ว และให้แสวงหาสิ่งที่ตนไม่มีหรือมีแต่ยังไม่พอ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ต่อตำแหน่งหน้าที่ ตนเองมีความสามารถทำได้เท่าไร ยินดีรับเท่านั้น ไม่ทำลายศักดิ์ศรีเกียรติภูมิของตน เข้าลักษณะที่ว่า "อดตายอย่างราชสีห์ ดีกว่าอิ่มตายอย่างสุนัข"

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือความหมายที่แท้จริงของ "สันโดษ" เมื่อเปิดเผยทั้งโฉมหน้า โชว์ทั้งส่วนสัดให้ท่านผู้อ่านได้ชมความงามของสันโดษเช่นนี้แล้ว ยังจะจงเกลียดจงชัง หาว่าสันโดษคือตัวถ่วงความเจริญอยู่หรือ

ที่จริงสันโดษนี้แหละ ทำให้สังคมเกิดความยุติธรรม เกิดความสงบสุข ให้ทุกคนแสดงความสามารถของแต่ละบุคคลออกมาอย่างเต็มที่ ทั้งในการพัฒนาตัวเองและประเทศชาติทำให้คนที่มีความสามารถไม่หดหู่และท้อแท้ สังคมที่เดือดร้อนวุ่นวายก็เพราะคนทำงานมากแต่ไม่ได้รับสิ่งตอบแทนที่พอเหมาะพอควร คนไม่ทำงานแต่ดิ้นรนเพื่อให้ได้รับสิ่งตอบแทนมาก นั่นคือสังคมที่ขาดสันโดษ

..............................................
บทความจาก
http://www.budmgt.com/lifeways/lw02/solitary-virat.html

หลับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.พ.2006, 12:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนา สาธุด้วยค่ะ ...คุณสายลม

สาธุ สาธุ สาธุ

ธรรมะสวัสดีค่ะ

ขำ ยิ้มแก้มปริ แลบลิ้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง