Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 จิต ใจ เจตสิก อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ปิงปอง ม.ราม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.พ.2006, 12:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากทราบว่า จิต ใจ เจตสิก คืออะไรเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
 
จ๋อมแจ๋ม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.พ.2006, 1:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จิต คือธรรมชาติที่ทำหน้าที่เห็น, ได้ยิน, รับกลิ่น, รับรส, รู้สัมผัส ถูกต้อง ตลอดจนธรรมชาติที่ทำให้เกิดการคิด นึก

จิตเป็นนามธรรม และมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น วิญญาณ, มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ, มโน( ใจ )วิญญาณธาตุ และ มนายตนะ เป็นต้น

เจตสิกเป็นนามธรรม ที่เกิดร่วมกับจิต คือเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต และอาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต สภาพของจิต เป็นเพียงประธานในการรู้อารมณ์ แต่การที่จิตโกรธ หรือจิตโลภ เป็นเพราะ มีเจตสิกเข้าประกอบปรุงแต่ง ให้เกิดความโกรธ หรือความโลภนั่นเอง จิต เปรียบเสมือนเม็ดยา เจตสิกเปรียบเสมือนตัวยา ที่อยู่ในเม็ดยา จิตเกิดโดย ไม่มีเจตสิกไม่ได้ และเจตสิกเกิด โดยไม่มีจิตก็ไม่ได้เช่นกัน

จิต และ เจตสิก เป็นธรรมชาติที่ต้องเกิดร่วมกัน ต้องอิง อาศัยซึ่งกันและกัน และไม่สามารถแยกออกจากกันได้

คัดลอกมาบางส่วนจาก ศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย สาธุ

http://www.buddhism-online.org/Section01_03.htm
 
อุบาสก
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 13 ก.พ. 2006
ตอบ: 11

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.พ.2006, 9:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่จิต ชื่อว่า [ มนายตนะ ] เพราะความหมายว่าเป็นที่อยู่อาศัย

เนื้อหา

พระผู้มีพระภาคจะได้ทรงแสดงความหมายของคำว่า “มนายตนะ” ที่ (จิต) ชื่อว่า

“มนายตนะ” อธิบายในคำว่ามนายตนะนั้น มนะ พึงทราบว่า อายตนะ เพราะความ

หมายว่าเป็นที่อยู่อาศัย เป็นบ่อเกิด เป็นที่ประชุม และเป็นเหตุ จริงดังนั้น แม้ผัสสะ

เป็นต้น ย่อมเกิดในมนะนี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะภายนอก ย่อมประชุมที่มนะ

โดยความเป็นอารมณ์ แม้เพราะความหมายว่าเป็นเหตุ เพราะเป็นเหตุแห่งผัสสะ

เป็นต้น โดยอรรถว่าเป็นสหชาตปัจจัย


จิตทุกขณะเป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ เป็นอาการรู้ แต่ที่จะเข้าใจลักษณะซึ่งเป็นอนัตตา

ของจิตได้ยิ่งขึ้น ก็โดยรู้ว่าจิตเป็นมนายตนะ เพราะเป็นที่อยู่อาศัย เป็นบ่อเกิด

เป็นที่ประชุมและเป็นเหตุ ขณะใดที่สีสันวัณณะปรากฏ ขณะนั้นจิตเป็นมนายตนะ

เป็นที่ประชุมของรูปที่กระทบกับจักขุปสาท เสียงต้องกระทบกับโสตปสาทและ

กระทบกับจิต จิตจึงเกิดขึ้นรู้เสียงที่ปรากฏได้ ฉะนั้น จิตจึงเป็นมนายตนะ

เป็นที่ประชุมของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

หาคำตอบเพิ่มเติมได้ที่...
http://www.dhammahome.com
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง